ค้นหาสินค้า

การถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรไทย วันที่ 26 – 28 มีนาคม 2556

การถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรไทย    
   
วันที่ 26 – 28 มีนาคม 2556
   
   
         ปัจจุบันกระแสการดูแลรักษาสุขภาพในทิศทางของการใช้สมุนไพรในชีวิตประจำ วันของคนมีแนวโน้ม สูงขึ้น    
ความต้องการบริโภคสมุนไพรทั้งที่เป็นสมุนไพรสดและทั้งที่แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ อย่างไร ก็ตามเมื่อมีการส่งเสริม    
ให้มีการปลูกสมุนไพรมากขึ้นและตลาดสำหรับ สมุนไพรสดมีจำกัด การแปรรูปสมุนไพรให้มีอายุการเก็บรักษาไว้ให้นานมากขึ้น    
หรือแปรรูปเป็น ผลิตภัณฑ์พร้อมบริโภคให้มีความหลาก หลายมากขึ้นจึงมีความจำเป็น เพื่อเป็นการขยายตลาดและโอกาส    
ในการจำหน่ายสมุนไพรออกไปใน รูปของผลิตภัณฑ์ ต่างๆ ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มีนักวิจัย    
ที่มีองค์ความรู้ทั้งที่ได้มา จากการศึกษาทางด้านทฤษฎีและภาค ปฏิบัติที่สามารถนำมาใช้แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรต่างๆ    
ได้จริง เช่น ชาสมุนไพร (รางจืด อัญชัน กระเจี๊ยบแดง เกสรบัวหลวง ฯลฯ) น้ำสมุนไพร (น้ำใบ บัวบก น้ำกระเจี๊ยบแดง    
น้ำเสาวรส น้ำฟักข้าว น้ำมะขามป้อม ฯลฯ)นอกจากนี้ยังสามารถสกัด น้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพรเพื่อนำมาแปรรูปเป็น    
ผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าได้อีกด้วย องค์ความรู้เหล่านี้พร้อมถ่ายทอดให้กับผู้ที่สนใจที่จะนำไปประกอบเป็นอาชีพ    
หรือนำไปประยุกต์สร้างเป็น ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ตามความถนัด    
   
วัตถุประสงค์    
ถ่ายทอดและเผยแพร่องค์ความรู้ ด้านการแปรรูปสมุนไพรเพื่อให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ในการสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ    
   
ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม    
ผู้เข้าอบรมได้รับการยกเว้นค่าลงทะเบียน แต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเรื่องอาหารกลางวันและอาหารว่าง    
ที่ทางโครงการจัดเตรียมไว้ให้ เป็นเงินจำนวน 500 บาท และต้องเสียค่าที่พักและค่าเดินทาง ไป–กลับเอง    
   
ผู้สนใจขอทราบรายละเอียดและสมัครเข้ารับการอบรมได้ที่    
นางสาวภคพร สาทลาลัย    
ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง    
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน    
อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม 73140    
โทรศัพท์ 034-281-092, 086-109-4465 โทรสาร 034-351-392    
E-mail: [email protected]    
   
ผลผลิต และผลลัพธ์/ผลกระทบของโครงการวิจัยตามเป้าหมาย    
มีผู้เข้ารับการอบรมไม่น้อยกว่า 20 คนต่อรุ่น(รวม 40 คนต่อปี)และมีผู้นำไปใช้ประโยชน์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60    
และผู้เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ80    
   
ประโยชน์ ผลสำเร็จ และความคุ้มค่าของโครงการที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์    
ผู้เข้ารับการอบรมนำความรู้ ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆจากการแปรรูปสมุนไพร    
   
การประเมินผลการฝึกอบรม    
ประเมินความเหมาะสมของเนื้อหา การจัดฝึกอบรมและวิทยากรโดยใช้แบบสอบถามเมื่อสิ้นสุดการอบรม    
และประเมินความรู้ ก่อนและหลังการฝึกอบรมของผู้เข้ารับการฝึกอบรม    
   
ตารางฝึกอบรม    
โครงการฝึกการอบรม "การถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรไทย" ปี พ.ศ.2556    
ณ ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง    
ระหว่างวันที่ 26-28 มีนาคม 2556
   
   
วันที่ 26 มีนาคม 2556    
08.00น. - 09.00น.  ลงทะเบียนและพิธีเปิด    
09.00น. - 10.00น. บรรยายความรู้เบื้องต้นเรื่องสมุนไพร (สุรัตน์วดี  จิวะจินดา)    
10.30น. - 12.00น. บรรยายขั้นตอนการผลิตสมุนไพรและเทคโนโลยีการทำให้แห้ง (สุรัตน์วดี  จิวะจินดา)    
12.00น. - 13.00น. พักรับประทานอาหารกลางวัน    
13.00น. - 15.00น. ปฏิบัติการน้ำมันหอมระเหยและการสกัดน้ำมันหอมระเหย (สุรัตน์วดี  จิวะจินดา, ภคพร สาทลาลัย และสุรินทร์ พูสุวรรณ)    
15.00น. - 17.00น. การทำน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น (ภคพร  สาทลาลัย)    
   
วันที่ 27 มีนาคม 2556    
08.00น. - 12.00น. การสกัดสารจากสมุนไพร (สุรัตน์วดี  จิวะจินดา, ภคพร สาทลาลัย)    
12.00น. - 13.00น. พักรับประทานอาหารกลางวัน    
13.00น. - 17.00น. การทำสบู่ธรรมชาติและผลิตภัณฑ์เครื่องหอม (สุรัตน์วดี  จิวะจินดา, ภคพร สาทลาลัย)    
   
วันที่ 28 มีนาคม 2556    
08.00น. - 12.00น การทำสบู่ธรรมชาติและผลิตภัณฑ์เครื่องหอม (ต่อ) (สุรัตน์วดี  จิวะจินดา, ภคพร สาทลาลัย)    
12.00น. - 13.00น พักรับประทานอาหารกลางวัน    
13.00น. - 17.00น การทำสบู่ธรรมชาติและผลิตภัณฑ์เครื่องหอม (ต่อ) (สุรัตน์วดี  จิวะจินดา, ภคพร สาทลาลัย)    
   
ที่มา: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ: