ค้นหาสินค้า

การเพาะถั่วงอกปลอดสารพิษ วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม 2555

การเพาะถั่วงอกปลอดสารพิษ    
   
วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม  2555    
ณ ห้องฝึกอบรม สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร    
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์    
   
   
หลักการและเหตุผล    
ถั่วงอกเป็นแหล่งอาหารที่มีไวตามิน C สูง และเป็นใยอาหารที่ช่วยในเรื่องระบบขับถ่ายได้เป็นอย่างดี ประเทศไทยเรามีการบริโภคถั่วงอกกันวันละหลายแสนกิโลกรัม และใช้ในอาหารที่หลากหลาย เช่น ก๋วยเตี๋ยว , ผัดไทย , ขนมจีนน้ำยา ฯลฯ ปริมาณการนำไปใช้มีแต่เพิ่มปริมาณขึ้นอยู่ตลอด  สามารถนำไปผลิตเป็นอาชีพได้ดี    
   
วัตถุประสงค์    
1.    เพื่อเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรจากถั่วเขียว    
2.    เพื่อการผลิตถั่วงอกไว้รับประทานหรือจำหน่ายเป็นอาชีพ    
3.    เพื่อเป็นแหล่งอาหารที่มีไวตามิน C สูง จากพืชผักให้คุณค่าทางโภชนาการสูง    
4.    เพื่อกระจายการผลิตถั่วงอกให้ขยายกว้างออกไป    
   
หลักสูตรการอบรม    
08:30 – 09:00 น.    ลงทะเบียน    
ภาคบรรยาย    
09:00 – 10:00 น.    ศึกษา CD ทัศน์  เรื่องวิธีการเพาะถั่วงอกแบบต่าง ๆ    
10:00 – 11:00 น.    อธิบายปัจจัยพื้นฐานในการเพาะถั่วงอก , การเพาะถั่วงอกเพื่อบริโภคในครัวเรือน    
   การเพาะถั่วงอกระดับชุมชน , การเพาะถั่วงอกแบบเป็นอุตสาหกรรม    
ภาคปฏิบัติ    
11:00 – 12:00 น.    ฝึกปฏิบัติ การเพาะถั่วงอกปลอดสารพิษในระดับครัวเรือน    
12:00 – 13:00 น.    พักกลางวัน    
13:00 – 14:00 น.    ฝึกปฏิบัติ การเพาะถั่วงอกปลอดสารพิษในระดับชุมชน    
14:00 – 15:00 น.    ฝึกปฏิบัติ การเพาะถั่วงอกปลอดสารพิษในระดับอุตสาหกรรม    
15:00 – 16:00 น.    การบรรจุถั่วงอกเพื่อการจำหน่ายเป็นการค้า    
   
ผู้สอน  นายสมโภชน์  ใหญ่เอี่ยม  และ นายวีรชัย  โทบาง    
   
คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม  จบการศึกษาขั้นต่ำชั้น ป.4  ขึ้นไป  อ่านออกเขียนได้    
   
ระยะเวลาการฝึกอบรม  วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม  2555    
   
สถานที่    
บรรยาย ชั้น 2 และฝึกปฏิบัติ โรงงานผลิต 2 สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์    
   
ค่าลงทะเบียน  คนละ 1,200.- บาท (รวมค่าวัตถุดิบ  และเอกสารประกอบการอบรม)    
   
จำนวนผู้เข้ารับการอบรม    28 คน  (ปิดรับเมื่อครบจำนวน)  และขอสงวนสิทธิในการแจ้งยกเลิกในกรณีที่มีผู้เข้าอบรมน้อยกว่า 15 คน    
   
หากต้องการติดต่อเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อ ที่หมายเลข 0-2942-8629 – 35    
   
ที่มา: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ: