ค้นหาสินค้า

อบรมเรื่อง “สมบัติของยางพาราเพื่อการนำไปใช้งาน : จากธรรมชาติสู่อุตสาหกรรม” วันที่ 20 สิงหาคม 2555

การอบรมเรื่อง    
“สมบัติของยางพาราเพื่อการนำไปใช้งาน    
: จากธรรมชาติสู่อุตสาหกรรม”    
วันที่ 20 สิงหาคม 2555    
ณ ห้องประชุมชั้น 8    
อาคารอุตสาหกรรมเกษตร 3    
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
   
   
หลักการและเหตุผล    
ปัจจุบัน ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตยางพาราเป็นอันดับ 1 ของโลก ซึ่งในปี 2554 มีผลผลิต 3.97 ล้านตัน ปริมาณการส่งออกประมาณ 2.95 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 74.31 ของผลผลิตยางทั้งหมด โดยส่งออกเป็นยางแท่งมากที่สุดร้อยละ 44 ยางแผ่นรมควัน ร้อยละ 26 น้ำยางข้น ร้อยละ 18และผลิตภัณฑ์ยางในประเภทอื่นๆ ส่วนผลผลิตที่ใช้ในประเทศประมาณ4 แสนตัน คิดเป็นร้อยละ 12 ของผลผลิตยางทั้งหมด ซึ่งส่วนใหญ่ร้อยละ60 ถูกนำไปแปรรูปเป็นยางล้อรถยนต์ ที่เหลือนำมาผลิตเป็นถุงมือยางคิดเป็นร้อยละ 14 ยางยืดคิดเป็นร้อยละ 14 และอื่นๆ เป็นต้น    
   
ยางธรรมชาติได้จากการกรีดต้นยางพารา (Hevea Brasiliensis) ได้ในรูปของน้ำยาง (latex) ซึ่งประกอบด้วยเนื้อยางที่เป็นองค์ประกอบหลัก 30-40% ที่กระจายในน้ำ และส่วนที่ไม่ใช่ยาง (nonrubber component) ที่มีเป็นส่วนน้อย (5-6 %) ซึ่งได้แก่ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต น้ำตาล และโลหะ เป็นต้น ทั้งนี้ปริมาณขององค์ประกอบเหล่านี้ จะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ลักษณะดินที่ใช้ปลูก ฤดูกาล สายพันธุ์และอายุของต้นยางเวลาของการกรีดยาง รวมถึงวิธีการเตรียมยางแห้ง ซึ่งมีความสำคัญต่อคุณภาพและสมบัติของยางพาราในการนำไปใช้งาน    
   
ดังนั้นสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้จัดการอบรมเรื่องสมบัติของยางพาราเพื่อการนำไปใช้งาน : จากธรรมชาติสู่อุตสาหกรรมเนื่องจากได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของการนำความรู้ที่ได้จากทฤษฎี และงานวิจัยรวมทั้งประสบการณ์ เพื่อนำมาถ่ายทอดให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อนิสิต นักศึกษา เกษตรกร และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับยางพาราตั้งแต่วัตถุดิบไปจนถึงผลิตภัณฑ์    
   
วัตถุประสงค์    
1. เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้เบื้องต้น ทฤษฎี และสมบัติ การใช้ประโยชน์ของยางพารา ให้กับบุคลากรของรัฐและเอกชน    
2. เพื่อให้ผู้อบรมสามารถนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาและประยุกต์ใช้กับงานวิจัย หรือการนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล    
   
วิธีการอบรม    
บรรยาย จากทฤษฏี ผลงานวิจัย และประสบการณ์    
   
ระยะเวลา – สถานที่อบรม    
1 วัน วันที่ 20 สิงหาคม 2555 เวลา 9.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมชั้น8 อาคารอุตสาหกรรมเกษตร 3 สถาบันผลิตผลเกษตรฯ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน    
   
กลุ่มเป้าหมาย / จำนวน    
- บุคลากรในองค์กรภาคเอกชนและรัฐบาล    
- บุคคลทั่วไปที่สนใจ    
จำนวน 10-15 คน    
   
วิทยากร    
รศ. ดร. กล้าณรงค์ ศรีรอต และทีมงานนักวิจัยของห้องปฏิบัติการเทคโนโลยียางพาราและพอลีเมอร์ชีวภาพ ฝ่ายเทคโนโลยีชีวมวลและพลังงานชีวภาพ สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์    
   
วิธีการสมัคร    
1.ติดต่อแจ้งชื่อเข้าร่วมอบรม หรือส่งแบบลงทะเบียนสมัครเข้าอบรมในวันและเวลาราชการ ได้ที่ คุณจันทร์เพ็ญ กรอบทอง โทรศัพท์ : 02-942-8600-3 ต่อ 207 โทรสาร : 02-562-0338 E-mail : [email protected]    
2. ชำระค่าลงทะเบียนล่วงหน้า โดยการโอนเงินเข้าบัญชี พร้อมทั้งส่งหลักฐานการชำระเงินทางโทรสาร 02-5620338 (กรุณาเขียนชื่อ-ที่อยู่ของผู้เข้าอบรมลงในใบโอนเงินให้ชัดเจน)    
3. ปิดรับสมัครเมื่อครบจำนวน หรือ ก่อนการอบรม 2 สัปดาห์    
   
** กรณีที่ไม่สามารถเข้าอบรมได้ กรุณาแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 1 สัปดาห์มิฉะนั้นผู้สมัครจะต้องชำระค่าลงทะเบียนเต็มอัตรา **    
   
ค่าลงทะเบียน    
1,500 บาท / คน (อัตรานี้รวมค่าอุปกรณ์ในการสอน, ค่าเอกสาร,อาหารกลางวันและอาหารว่าง)(กรุณาชำระเงินล่วงหน้าอย่างช้า 1 สัปดาห์ก่อนการอบรม มิฉะนั้น จะถือว่าท่านสละสิทธิ์ที่จะเข้ารับการอบรม)    
*** สำหรับ ข้าราชการหรือพนักงานของรัฐวิสาหกิจ สามารถเบิกค่าลงทะเบียนได้ตามระเบียบกระทรวงการคลังและเข้าร่วมอบรมโดยไม่ถือเป็นวันลา***    
   
โปรแกรมการอบรม    
9.00-9.15 พิธีเปิด    
9.15-9.45 สถานการณ์และทิศทางงานวิจัยของน้ำยาง    
9.45-10.00 อาหารว่าง    
10.00-11.00 เกรดและมาตรฐานที่ เกี่ยวข้องกับการผลิตยางแท่งเพื่ออุตสาหกรรม    
11.00-12.00 ผลของสารที่ไม่ใช่ยางที่มีต่อสมบัติของน้ำยางและยางพารา    
12.00-13.00 รับประทานอาหาร    
13.00-14.00 ทำไมยางพาราจึงมีสมบัติที่แตกต่างจากยางสังเคราะห์    
14.00-15.00 สมบัติการติดของยางและการนำไปใช้งาน    
15.00-15.15 อาหารว่าง    
15.15-16.15 อนาคตของงานวิจัยและการพัฒนายางเพื่ออุตสาหกรรม    
16.15-16.30 คำถามและข้อเสนอแนะ    
   
ที่มา: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์    

คำสำคัญ: