ค้นหาสินค้า

การเลี้ยงไส้เดือน

        ก่อนการเลี้ยงเรามาทำความรู้จักสายพันธุที่มีการเลี้ยงในบ้านเราก่อนครับ    
อัฟริกันไนต์คลอเรอร์(AF)เป็นไส้เดือนที่มีความเหมาะสมกับสภาพอากาศร้อนแต่ไม่ชอบอากาศหนาวเย็น    
ไทเกอร์(Eiseniafoetida)เป็นไส้เดือนที่มีความเหมาะสมกับสภาพอากาศเย็นไปถึงหนาว    
ขี้ตาแร่เป็นไส้เดือนที่มีความเหมาะสมกับสภาพอากาศอากาศร้อนแต่ไม่ชอบอากาศหนาวเย็น    
บูลเป็นไส้เดือนที่มีความเหมาะสมกับสภาพอากาศอากาศร้อนแต่ไม่ชอบอากาศหนาวเย็น    
ทั้งหมด4สายพันธุ์นิยมเลี้ยงตามวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน    
   
-ขั้นตอนแรก หาสายพันธุ์ไส้เดือนที่มีความเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ก่อน    
- ขั้นตอนที่ 2 ในการเลี้งไส้เดือนดิน คือให้ไปศึกษาวิธีการทำเบดดิ้ง(ที่อยู่ของไส้เดือนดิน)จะใช้ดินหรือไม่ใช้ก็ได้ แต่ส่วนใหญ่ไม่ใช้วิธีการทำเบดดิ้ง เป็นวิธีการเดียวกียวกับการหมักอินทรีย์ซึ่งมีสูตรหาได้ในเวปไซต์ด้านเกษตรต่างๆ    
- ขั้นตอนสุดท้าย  คือการเก็บเกี่ยว(Harvest) ขั้นตอนนี้ เป็นการนำตัวไส้เดือนดินออกจาก    
เบดดิ้ง(Bedding)เพื่อไปจำหน่ายหรือการเพาะเลี้ยงต่อไป    
   
การเพาะเลี้ยงไส้เดือนสิ่งที่สำคัญมากสิ่งหนึ่งก็คือการทำเบดดิ้งและการรักษาสภาพของเบดดิ้ง ระหว่างการเพาะเลี้ยงเรามีสูตรจำง่ายๆ 3 อย่างคือเบดดิ้งต้อง ไม่ร้อน ไม่เป็นกรด และไม่แฉะ ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือแพงๆเอามาวัดค่า เช่นค่า pH ความ เป็นกรดของ เบดดิ้ง    
สภาพแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ ความชื้น การถ่ายเทอากาศ อาหารและสภาพความเป็นกรด-ด่าง มีอิทธิพลต่อการขยายพันธุ์ การเจริญเติบโตและสุขภาพของ    
อุณหภูมิ ไส้เดือนจะตายเมื่ออุณหภูมิถึงจุดเยือกแข็ง อุณหภูมิทีเหมาะสมอยู่ระหว่าง 29-32 องศาซี บางสายพันธ์สามารถดำรงชีวิตได้ในอุณหภูมิ 37 องศาซี แต่ต้องมีการพลางแสงอย่างดีและมีความชื้นที่พอเพียง การเลี้ยงน้องๆเพื่อการค้าจะเลี้ยงอยู่ในอุณหภูมิ 15-27 องศาซี แล้วในเวลาระยะวางไข่(cocoon)และฟัก ควรควบคุมอุณหภูมิประมาณ 15-21 องศาซี    
แสง ไส้เดือนไม่ต้องการแสงสว่างและแสงอุลต้าไวโอเล็ทเป็นอันตรายต่อไส้เดือน เมื่อถูกแสงแดดที่ความเข้มแสงสูง ไส้เดือนจะเกิดอาการอัมพาต ไส้เดือนจะปล่อยน้ำเมือกจากลำตัวออกเพื่อรักษาความความชื้นแวดล้อมโดยรอบ  ซึ่งเป็นกลไกรักษาชีวิตให้อยู่รอดของไส้เดือน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้ภาชนะปิดป้องกันแสงและไม่ต้องการคุ้ยเขี่ย เพราะว่าหลังจากคุ้ยเขี่ยไส้เดือนก็จะหยุดกินอาหารไประยะหนึ่ง ดังนั้นการคุ้ยเขี่ยโดยไม่จำเป็นควรที่จะหลีกเลี่ยง    
   
วิธีการให้อาหาร ในที่เลี้ยงมี 2 วิธีคือ.-        
1. การให้อาหารบนที่อยู่(Top feeding)คือการให้อาหารบนเบดดิ้งในที่เลี้ยง แต่มักจะพบปัญหาตามมาคือการมีแมลงวันมาวางไข่และแมลงอื่นๆเช่นแมงหวี่เป็นต้น การแก้ไขโดยหากระดาษลังหรือกระดาษหนังสือพิมพ์ชุบน้ำมาปิดบนอาหารก็จะลดและช่วยให้มีน้อยลง    
2. การให้อาหารแบบฝังกลบ(Pock feeding)คือ การให้อาหารในเบดดิ้งในที่เลี้ยง โดยขุดเป็นหลุมหรือเป็นแถว แต่ให้น้อยๆและเกลี่ยให้บางเพราะถ้าให้มากๆแล้วจะเกิดเป็นกรดได้ในที่เราให้อาหาร และต้องเปลี่ยนที่ฝังกลบใหม่ทุกครั้งที่ให้    
   
ตามประสบการณ์ที่ผ่านมา ปัจจัยที่ทำให้ไส้เดือนขยายพันธุ์ไม่ได้ตามที่ควรจะเป็น พอจะแบ่งออกเป็นข้อ ๆ ได้ดังต่อไปนี้    
- เบดดิ้ง(ที่อยู่ของไส้เดือน) มีสภาพไม่เหมาะสม หรือมีความเป็นกรดด่างมากเกินไป อาจเกิดจากมีอาหารมากเกินไป แก้ไขตามสถานการณ์ เช่นถ้าร้อนก็ใช้น้ำรดให้พอชื้นเป็นต้น    
- เบดดิ้ง(ที่อยู่ของไส้เดือน) มีความแน่นหรือมีโปรงอากาศน้อย จึงทำให้ไส้เดือนเคลื่อนที่ได้ลำบาก อาจเกิดจาก เบดดิ้งมีอายุมากเกินไป จึงทำให้เกิดการกดทับตามแรงโน้มถ่วงของโลก    
- และอื่นๆ อีกมากมาย แก้ไขตามสถานการณ์    
   
แนวทางในการแก้ไขเบื้องต้น    
- เมื่อเบดดิ้ง มีอายุประมาณ 45-90 วัน ควรทำการฮาเวส(คัดแยก)แล้วเปลี่ยนใหม่    
- ควรพลิกเบดดิ้ง เอาข้างล่างขึ้นข้างบน ทุก ๆ 15 วันหรือเมื่อพบว่าเบดดิ้งติดกันเป็นก้อนแข็ง เพื่อป้องกันการกดทับ ทำให้เบดดิ้งแน่น และเป็นการเติมอากาศให้กับเบดดิ้งด้วยครับ    
- ปัญหาอื่นๆ ให้แก้ไขตามสถานการณ์    
   
การตรวจสอบความชื้นโดยใช้มือกำบีบเบดดิ้งแล้วแบมือถ้าเบดดิ้งไม่แยกคลายก็ใช้ได้แล้วครับการผสมพันธุ์เริ่มด้วยไส้เดือนดินสองตัวจับคู่กลับหัวกลับหางเอาท้องประกบกัน โดยให้รูตัวผู้ของตัวหนึ่ง ไปตรงกับรูสเปิร์มมาติกาช่องใดช่องหนึ่งของไส้เดือนดินอีกตัวหนึ่ง จากนั้นแต่ละฝ่ายก็จะปล่อยสเปิร์มเข้าไปเก็บไว้ในถุงสเปิร์มมาติกาของอีกตัวหนึ่ง เสร็จแล้วจึงแยกออกจากกันลักษณะ เช่นนี้จึงเป็นการผสมข้ามตัวต่อมา เมื่อไข่สุก ไคลเตลลัม จะเริ่มสร้างถุงไข่ขึ้น ถุง ไข่ เกิดขึ้นจากไคลเตลลัม ปล่อยน้ำ เมือกออกมานอกร่างกาย เมื่อถูกกับอากาศจะแห้งกลาย เป็นถุงไข่ที่สุกแล้วจะ ออกจากรูออก ไข่ตรงปล้องที่ 14 เข้า ไปอยู่ในถุงไข่ที่สร้างเสร็จ แล้ว จากนั้นถุงไข่จะค่อยๆเลื่อนออกมาทางส่วนหัว และรับสเปิร์มมาติกา ตรงปล้องที่ 9,8 และ7 มาผสมกับ ไข่ ในถุงไข่ ต่อมาถุงไข่จะ ไปข้างหน้าจนหลุดออกจากหัว แล้วผนึกติดกันกลาย เป็นถุงตกอยู่บนพื้นดินและเจริญเติบโตเป็นไส้เดือนดินต่อไป โดยไม่มีระยะตัวอ่อนเลย    
ในรูปเป็นระยะที่มีไคทาลัมจะมีลักษณะเหมือนปลอกคอ ครับ    
   
- วิธีการเลี้ยง นำเบดดิ้งใส่ในวงบ่อรองซีเมนต์หรือภาชนะให้สูงประมาณเศษ1ส่วน3ของวงบ่อรองซีเมนต์หรือภาชนะ ปล่อยไส้เดือนดินอายุ 2 - 3 เดือนลงไป (ถ้ามีอายุมากหรือขนาดโตจะให้ลูกน้อย) 100-200 ตัว บนดินคลุมด้วยกระดาษแข็ง หรือใบไม้แห้ง เพื่อช่วยกันความชื้นและเป็นอาหารของไส้เดือนดิน ทิ้งไว้ประมาณ 2 - 3 เดือนก็จะได้ลูกไส้เดือนเป็นจำนวนมาก(ขึ้นอยู่กับเทคนิคและวิธีเลี้ยงของแต่ละคน)    
.ปุ๋ยหมักจากไส้เดือน (Vermicompost) - ประกอบด้วย มูลไส้เดือน (Vermicast) และเศษอินทรียวัตถุที่เหลือ    
   
2.น้ำจากมูลไส้เดือน (Worm tea) - มีสีน้ำตาลอ่อนถึงเข้ม ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ สารอาหารและฮอร์โมนสำหรับพืช    
เท่าที่ได้อ่านจากบทความของฝรั่งมา เขาบอกว่า WormTea หรือ Compost Tea ประกอบไปได้ด้วยสิ่งมีชีวิตเซลเดียวต่างๆ จำนวนมากๆ และเป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืชในการออกดอกออกผล    
ดังนั้นวิธีการเก็บรักษาควรระวังเรื่องความร้อนจากแสงแดดที่ส่องโดยตรงกับน้ำปุ๋ย    
ขอแถมให้อีกหน่อย การนำน้ำปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน(Worm Tea) ไปรดต้นไม้ ต้องทำก่อน 10.00 น. และ หลังเวลา 17.00 น.    
   
- การที่ไส้เดือนหนีมีปัจจัยหลายอย่างครับ    
1.เบดดิ้งร้อน    
2.มีความเป็นกรดสูง    
3.จำนวนตัวไส้เดือนมีความหนาแน่นเกินไป    
4.ไม่มีอาหาร    
   
-อัตราการขยายพันธุ์    
ขนาดตัวโตเต็มวัยระยะ8เดือนขึ้นไปสมบูรณ์เต็มที่จะอยู่ที่13ถุงไข่ต่อเดือนแต่การฟักตัวออกจากถุงไข่นั้นยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นกี่เปอร์เซ็นต์แต่จะมีไส้เดือนตัวเล็กๆถุงละ2-5ตัวครับ    
เมื่อไหร่จะเป็นมูลไส้เดือน    
   
-จากประสบการณ์ต้องสังเกตว่าเมื่อไหร่ถึงจะเก็บได้ฟาร์มของผมใช้ระยะเวลาการเลี้ยงเพื่อทำมูลอย่างน้อย2เดือนจะได้มูล200กิโลกรัม    
ความจริงเรื่องน้ำมูลไส้เดือนกับน้ำฉี่ไส้เดือน    
น้ำที่ได้จากการชะล้างไม่ถือว่าเป็นฉี่ครับ เพราะไส้เดือนฉี่น้อยมากๆส่วนใหญ่จะถ่ายเป็นมูลมากกว่า ที่เห็นไส้เดือนจะปล่อยเมือกหรือของเหลวออกมาเมื่อรู้สึกว่ามีกรดหรือแห้งเช่นเดียวกับคนที่มีน้ำมูกเวลาไม่สบาย ที่เรียกฉี่นั้นเริ่มมาจากผู้เลี้ยงไม่อยากเสียเวลาทำตามวิธีการละลายธาตุอาหารออกมาจากมูลไส้เดือน เป็นการใช้น้ำรดลงไปบนเบดดิ้งแล้วปล่อยให้ไหลออกมา วิธีจริงๆต้องใช้มูลที่ผ่านการเลี้ยงมาจนย่อยสลายแล้วมาทำครับ ผมถึงได้บอกอยู่เสมอว่าข้อมูลที่ได้มาผู้ให้มีความจริงใจในการให้ข้อมูลแค่ไหน ส่วนใหญ่จะได้ข้อมูลจากคนที่มีข้อมูลไม่ครบหรือยังมีไม่ทั้งหมด บางทีข้อมูลในเชิงวิชาการก็เป็นเพียงการเริ่มต้นเท่านั้นการสังเกตและเรียนรู้นำเอามาใช้ถึงจะเป็นของจริง    
ข้อมูลที่มีในบางช่วงเป็นข้อมูลเชิงวิชาการใช้กับการเลี้ยงเพื่อทำปุ๋ยไม่ได้ เช่น การใช้กระดาษ แต่การใช้ขุยมะพร้าว เพราะจะทำให้เสียลูกๆไส้เดือนเวลาคัดแยกครับ    
   
                                จงอย่าเชื่อถ้าไม่ลองแต่อย่าลองเพราะเชื่อ    
                                   "ทุกอย่างมีคำตอบถ้าลงมือทำ"
   
            ขอให้ทุกท่านประสบความสำเร็จครับ ขอบคุณครับ  ฟาร์มงามดี    

ผมเป็นคนหนึ่งที่เริ่มเลี้ยงไส้เดือนมาได้เกีอบสองเดือนแล้ว เริ่มแรกก็ทราบจากในเวฟไซด์ต่างๆ แล้วก็เห็นว่ามันเลี้ยงไม่ยาก ใช้ต้นทุนน้อยเพียงหาซื้อพันธุ์มาเลี้ยง และดูการทำ เบดดิ่ง หาดูได้ใน youtube มีเยาะแยะครับ    
   
ไส้เดือนทีใช้เลี้ยงเป็นพันธุ์ แอฟริกัน (AF) เริ่มแรกก็เลี้ยงในลิ้มชักหรือเรียกกันว่า คอนโดไส้เดือน ใช้เศษอาหารในบ้านหรือขอเศษผักจากตลาดสดมาให้เป็นอาหารไส้เดือน ได้มูลปริมาณไม่มากสัก สองถึงสามกิโลกรัมต่อรอบการเลี้ยง และน้ำมูลไส้เดือน ตอนนี้ผมมีปริมาณไส้เดือนเพิ่มมากขึ้นก็ขยายการเลี้ยงไปรองเลี้ยงโดยมูลวัว ซึ่งก็หาซื้อมูลวัวได้ตามบริเวณที่เขามีต้นไม้ขายตามข้างทาง (เนื่องจากผมอยู่บางบัวทอง ดังนั้นแถวบางใหญ่ที่เขาขายต้นไม้ข้างทางจึงเป็นแหล่งหาซื้อมูลวัวได้)    
   
ไส้เดือน มีขนาดลำตัวใหญ่ขึ้น แต่ก็ยังเลี้ยงโดยใช้เศษอาหาร ผักในครัวเรือนอยู่ ไส้เดือนมีมากขึ้น ตัวใหญ่ขึ้น(บางตัวยาวเกือบ 12 นิ้ว) มูลและน้ำไส้เดือนก็นำมารดต้นไม้ในบ้านและแบ่งให้เพื่อนบ้านได้รองใช้ดู (เนื่องจากยังมีไม่มากพอเพื่อการจำหน่าย)    
   
แต่ถ้ามีผู้สนใจที่อยู่บริเวณใกล้เคียงสนใจก็ยินดีแนะนำครับ โดยติดต่อผมได้ที่ 081-459-2245    

คำสำคัญ: