ค้นหาสินค้า

ต้องการต้นโสมซานชี

ถ้าใครมีตอบกลับด้วยนะครับ สนใจมากเลย

“โสมซานชี”    
พืชอาหารเพื่อสุขภาพ    
รัตนา ไชยมูล    
เจ้าหน้าที่หน่วยเคลื่อนเพื่อความปลอดภัยด้านอาหาร    
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา    
หลายๆ คน ยังคงไม่คุ้นกับชื่อของโสมซานชี เพราะเมื่อเราเอ่ยถึง “โสม” ขึ้นมา คนส่วนใหญ่ก็จะนึกถึงโสมเกาหลีกัน แต่“โสมซานชี” นั้น มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ Panax Notoginseng ชื่อสามัญได้แก่ Sanchi Ginseng เป็นพืชอยู่ในตระกูล“โสมคน” ซึ่งนำมาใช้ปรุงยาของจีนสืบเนื่องกันมายาวนานกว่า 250 ล้านปี นอกจากนี้คนจีนมีความเชื้อว่าโสมซานชีเป็นอาหารทิพย์กินแล้วทำให้ร่างกายแข็งแรงจึงนิยมนำมาปรุงอาหาร เช่น นำมาตุ๋นหรือต้มกับเนื้อสัตว์ เป็นต้นซานซี เขียนในภาษาจีนว่า ภาษาอังกฤษ เขียนได้ 2 แบบ คือ “SANCHI” หรือ “SAN-QI” ต้นโสม ซานชีจะมี 3กิ่ง แต่ละกิ่งจะมี 7 ใบ (ซาน หมายถึง 3 : ชี หมายถึง 7) ซึ่งเมื่อรวมกันเรียกว่า ซานชี หมายถึงต้นไม้ ที่มีกิ่ง 3 กิ่ง แต่ละกิ่งมีใบ 7 ใบ โสมซานชีเป็นพืชยืนต้น สูงประมาณ 1.2 เมตร ใบโสมซานชีมีสีเขียวเข้ม เมล็ดเล็กๆ สีแดงรวมกลุ่มกันอยู่ตรง    
กลาง มีอัตราการเจริญเติบโตช้า โสมซานชีกระจัดกระจายอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงใต้ของจีน มีแหล่งกำเนิด ณ“เหวินซานโจว” จังหวัดยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน    
โดยทั่วไปเราจะทราบว่าโสมซานซีมีสารซาโปนินซึ่งเป็นสารที่มีฟองคล้ายสบู่ มีคุณสมบัติในการละลาย    
ไขมันที่เกาะอยู่ตามหลอดเลือดและป้องกันการเกาะตัวของไขมันในผนังหลอดเลือด ป้องกันการเกิดอาการหัวใจขาดเลือด อาการเส้นเลือดฝอยที่ไปเลี้ยงสมองตีบทำให้สมองตายเป็นสาเหตุของอัมพฤกษ์และอัมพาต ปรับระบบความดันเลือดให้คงที่ มีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันเชื้อโรค และช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายได้    
โสมซานชีต่อระบบไหลเวียนเลือด    
ในปี ค.ศ. 2007 หลิงและคณะแห่งมหาวิทยาลัยโมนาชในออสเตรเลีย    
ได้ทำการศึกษาผลของโสมซานชีต่อเซลล์ของผนังหลอดเลือดของคน พบว่าโสมซานชี    
สามารถยับยั้งการสะสมไขมันที่ผนังเส้นเลือดทำให้ลดภาวะผนังเส้นเลือดแดงหนาและ    
มีความยึดหยุ่นน้อยลง และในปี ค.ศ. 2005 อู๋และคณะแห่งมหาวิทยาลัยฟูตันในจีน    
ได้รายงานว่าสารซาโปนินชนิดจินเซนโนไซด์ Rg1 ในโสมซานชีสามารถลดบริเวณเนื้อ    
ตายของกล้ามเนื้อหัวใจ เนื่องจากหัวใจขาดเลือดที่เกิดจากหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยง    
หัวใจอุดตัน ช่วยลดอาการบวมน้ำของสมองและการอุดตันของเส้นเลือดที่เลี้ยงสมองใน    
หนูได้ ต่อมาในปี ค.ศ. 2004 หวังและคณะแห่งโรงพยาบาลซีหยวนในจีน ได้    
ทำการศึกษาผลของสารซาโปนินในโสมซานชีต่อผู้ป่วยที่เลือดมีความหนืดสูงซึ่งเกิด    
จากการรวมตัวของเกล็ดเลือด โดยได้ทำการทดลองเปรียบเทียบการใช้สารซาโปนินกับ    
ยาแอสไพลิน โดยใช้ผู้ป่วย 120 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 60 คน กลุ่มแรกให้กิน    
สารซาโปนิน กลุ่มที่ 2 ให้กินยาแอสไพลิน เป็นเวลา 28 วัน ผลการทดลองพบว่า__    
การรวมตัวของเกล็ดเลือดในผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ    
สารซาโปนินในโสมซานชีสามารถยับยั้งการรวมตัวของเกล็ดเลือดได้ดีกว่า    
ยาแอสไพลิน โดยสารซาโปนินจะไปช่วยป้องกันการเกิดลิ่มเลือดที่ทำให้เส้นเลือด    
อุดตัน มีผลทำให้ระบบการไหลเวียนของเลือดดีขึ้นและยับช่วยบำบัดอาการทาง    
คลีนิคของผู้ป่วยได้ดีกว่ายาแอสไพลิน    
โสมซานชีต่อการเพิ่มสมรรถภาพการทำงานของร่างกาย    
ในปี ค.ศ. 2005 เหลียงและคณะแห่งมหาวิทยาลัยโปลีเทคนิครัฐ    
แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ได้ทำการศึกษาผลของโสมซานชีที่ใช้เป็นอาหารเสริมให้กับผู้ออกกำลังกายและติดตามผลทำการศึกษาโดยใช้ผู้ทดลองทั้งหมด 29 คน อายุ 20-35 ปี กลุ่มที่ 1 ใช้ผู้ทดลอง 13 คน ให้กินโสมซานชีทุกวันวันละ1,350 กรัม บรรจุในแคปซูล และกลุ่มที่ 2 ใช้ผู้ทดลอง 16 คน ให้กินแป้งที่บรรจุในแคปซูล เป็นกลุ่มควบคุม จากผลการทดลองพบว่า กลุ่มที่ให้กินโสมซานชีทุกวันสามารถออกกำลังกายได้นานกว่ากลุ่มควบคุม โดยโสมซานชีสามารถเสริมสร้างความทนทานต่อการออกกำลังกายของผู้ทดสอบ ลดความเหนื่อยอ่อนในระหว่างการออกกำลังกาย และระดับความดันเลือดต่ำในระหว่างการออกกำลังกาย แสดงให้เห็นว่าร่างกายสามารถนำออกซิเจนไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ    
โสมซานชีต่อต้านการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง    
ในปี ค.ศ. 2007 ไฮและคณะแห่งมหาวิทยาลัยถงจี้ในจีนได้ทำการศึกษาผลของสารพานาไซดอลซึ่งเป็น    
สารซาโปนินอีกชนิดหนึ่งในโสมซานชีต่อการลดจำนวนเซลล์เนื้องอกในสมองของหนู พบว่าสารพานาไซดอลสามารถลดและยับยั้งการเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วของเซลล์เนื้องอกในสมองของหนู ต่อมาในปี ค.ศ. 2006 เฉินและคณะแห่งมหาวิทยาลัยเจ้อเจียงในจีนได้ทำการสกัดโสมซานชีโดยใช้เอทานอล จากนั้นทำการศึกษาผลของสารสกัดต่อมะเร็งตับในหนู พบว่าสารสกัดโสมซานชีสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งตับในหนูได้    
โสมซานชีต่อการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย    
ปี ค.ศ. 2005 ชันและคณะแห่งมหาวิทยาลัยเจ้อเจียงในจีน ทำการสกัดสารซาโปนินจากรากโสมซานชี    
แห้ง ได้แก่ จินเซนโนไซด์ Rd จินเซนโนไซด์ Rb1 และโนโตจินเซนโนไซด์ K ต่อระบบภูมิคุ้มกันในหนู พบว่าสารซาโปนินจากรากโสมซานชีแห้งทั้งสามชนิดสามารถเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในหนูได้    
โสมซานชีมีสารที่ทำหน้าที่คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนปี ค.ศ. 2002 ชานและคณะแห่งมหาวิทยาลัยโปลีเทคนิคฮ่องกง ได้รายงานว่าจินเซนโนไซด์ Rg1 ในโสมซานชีมีผลต่อประสาทส่วนกลาง หัวใจและหลอดเลือดหัวใจ และมีผลต่อระบบต่อมไร้ท่อ โดยจินเซนโนไซด์ Rg1 ทำหน้าที่คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ผลิตจากรังไข่ ต่อมาในปี ค.ศ. 2001 เฉินและคณะแห่งวิทยาลัยการแพทย์จีนได้ทำการศึกษาผลของจินเซนโนไซด์ Rb2 และ Rc ในโสมซานชีมีผลต่อการเคลื่อนที่ของตัวอสุจิที่อ่อนแอในหลอดทดลอง    
พบว่า จินเซนโนไซด์ Rc มีผลทำให้ตัวอสุจิตัวมีการเคลื่อนที่เพิ่มมากขึ้นหลังจากการบ่มไว้นาน 1 และ 2 ชั่วโมง ต่อมาในปี ค.ศ. 1999 เฉินและคณะแห่งวิทยาลัยการแพทย์จีนได้ทำการศึกษาผลของสารสกัดโสมซานชีที่มีต่อการเคลื่อนที่ของตัวอสุจิที่อ่อนแอ พบว่าสารสกัดโสมซานชีมีผลทำให้ตัวอสุจิเคลื่อนที่มากขึ้นหลังจากการบ่มไว้นาน 1 และ 2 ชั่วโมง“จากที่กล่าวมาข้างต้นแม้ว่าการกินโสมซานชีจะช่วยให้ร่างกายของเราแข็งแรง แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้เรามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์อย่างแท้จริงนั้น เรายังต้องรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่__    
พักผ่อนอย่างเพียงพอ หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำลายสุขภาพ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เราไม่ควร    
ละเลย เพื่อการมีสุขภาพที่ดีอย่างแท้จริงนั้นเอง”    
ข้อควรระวังในการกินโสม    
• เพื่อให้ได้ผลสูงสุดเวลากินโสมจะต้องเลี่ยงอาหารบางอย่าง อย่ากินรวมกัน จะให้ดีอาหารอื่นต้องกินหลังกินโสม    
อย่างน้อย 3 ชั่วโมง อาหารต่างๆเหล่านี้ ได้แก่ ผลไม้ที่มีกรดสูงๆ น้ำผลไม้ที่มีฤทธิ์เป็นกรด เช่น น้ำส้มคั้น น้ำ    
มะนาว และห้ามกินวิตามินซี ร่วมกับโสม อาหารหรือสารอาหารต่างๆ ดังกล่าวจะไปทำลายฤทธิ์ที่ควรจะได้จาก    
โสม    
• ไม่ควรดื่มกาแฟหรือสารกระตุ้นอื่นๆ ขณะที่กินโสมเพราะถ้าใช้ร่วมกันอาจทำให้ความดันเลือดสูงและนอนไม่    
หลับได้    
• ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ไอมีเลือดปน โรคไต ไข้หวัด นอนไม่หลับ ไม่ควรกินโสม    
• ควรเก็บโสมไว้ในภาชนะที่แห้งสนิทเพื่อป้องกันเชื้อรา    
เอกสารอ้างอิง    
1. ศักดิ์ บวร. 2537. โสมราชันย์สมุนไพรแห่งโลกตะวันออก. (พิมพ์ครั้งแรก) กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สมิต. 143 หน้า.    
2. อรชุน เลียววัฒนาผล. 2533. ความลับของโสม. (พิมพ์ครั้งแรก) กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์รวมทรรศน์. 95 หน้า.    
3. นิติ โตชนันท์. 2551. โสมซานชี....เลือดบริสุทธิ์....พลังบริสุทธิ์. <ระบบออนไลน์>. แหล่งที่มา    
4. Ling S, Nheu L, Gou Z and Komesaroff P. 2007. Effect of four medicinal herb on human vascular    
endothelial cells in culture. Department of Medicine, Monash University Central and Eastern Clinical    
School, Prahran, Melbourne, Victoria, Australia. Int J Cardiol.    
5. Hai J, Lin Q, Lu Y, Zhang H and Yi J. 2007. Induction of apoptosis in rat C6 glioma cells by panaxydol.    
Department of Neurosurgery, Tongji Hospital, Tongji University, 389 Xin-Cun Road, Shanghai 200065,    
China. Cell Biol Int, 31(7): 711-715.    
6. Chen PF, Liu LM, Chen Z, Lin SY, Song WX and Xu YF. 2006. Effects of ethanol extracts of Panax    
notoginseng on liver metastasis of B16 melanoma grafted in mice. Department of Oncology, First    
Hospital, Zhejiang University of Traditional Chinese Medicine, Hangzhou, Zhejiang Province 310006,    
China. Zhong Xi Yi Jie He Xue Bao, 4(5): 500-503.    
7. Sun HX, Qin F and Ye YP. 2005. Relationship between haemolytic and adjuvant activity and structure of    
protopanaxadiol-type saponins from the roots of Panax notoginseng. College of Animal Sciences,    
Zhejiang University, Hangzhou, Zhejiang 310029, China. Vaccine, 23(48-49): 5533-5542.    
8. Liang MT, Podolka TD and Chuang WJ. 2005. Panax notoginseng supplementation enhances physical    
performance during endurance exercise. Department of Kinesiology and Health promotion, California    
State Polytechnic University, pomona, California 91768, USA. J Strength Cond Res, 19(1): 108-114.    
9. Wu YJ, Zhu XY, Sha XY and Fang XL. 2005. The pharmacokinetics and pharmacodynamics of intranasal    
preparation of Panax notoginseng Saponins. Department of Pharmaceutics, School of Pharmacy, Fudan    
University, Shanghai 200032, China. Yao Xue Xue Bao, 40(4): 377-381.    
10. Wang J, Xu J and Zhong JB. 2004. Effect of Radix notoginseng saponins on platelet activating molecule    
expression and aggregation in patients with blood hyperviscosity syndrome. Xiyuan Hospital, China    
Academy of TCM, Beijing 100091. Zhongguo Zhong Xi Yi Jie He Za Zhi, 24(4): 312-316.    
11. Chan RY, Chen WF, Dong A, Guo D and Wong MS. 2002. Estrogen-like activity of ginsenoside Rg1 derived from Panax    
notoginseng. The Open Laboratory of Chirotechnology, Department of Applied Biology and Chemical Technology, The    
Hong Kong Polytechnic University, Hung Hom, Kowloon, Hong Kong, Peoples Republic of China. J Clin Endocrinol    
Metab, 87(8): 3691-3695.    
12. Chen JC, Chen LD, Tsauer W, Tsai CC, Chen BC and Chen YJ. 2001. Effects of Ginsenoside Rb2 and Rc on inferior    
human sperm motility in vitro. Research Institute of Chinese Medicine, China Medical College, Taichung, Taiwan. Am J    
Chin Med, 29(1):155-160.    
13. Chen JC, Xu MX, Chen LD, Chen YN and Chiu TH. 1999. Effect of panax notoginseng extracts on inferior sperm motility    
in vitro. Research Institute of Chinese Medicine, China Medical College, Taichung, Taiwan. Am J Chin Med, 27(1): 123-    
128.

ให้ราคายังไงคะ  ตอนนี้พอจะหาได้ค่ะ  ตอบด่วนนะคะ

มีแต่ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารพร้อมดื่ม โสมซานชี    
   
ขนาด 420cc ปกติราคา 4,200 บาท ลดเหลือ 3,500 บาท + จัดส่งฟรี    
ขนาด 250cc ราคา 2,150 บาท + จัดส่งฟรี    
   
โสมซานชี http://promotion.igetweb.com/product/233608/Sanchi.html    
   
http://www.promotionok.com/private_folder/TKL/Sanchi.jpg    
   
โทรสอบถาม 082-1591565

คำสำคัญ: