ค้นหาสินค้า

การผลิตน้ำหมักชีวภาพสูตรเพื่อการช่วยต่อต้านโรคพืช รุ่นที่ 1 วันที่ 25 เมษายน 2554

โครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการ    
เรื่อง การผลิตน้ำหมักชีวภาพสูตรเพื่อการช่วยต่อต้านโรคพืช รุ่นที่ 1    
โดย คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์    
วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
   
   
หลักการและเหตุผล    
ปัจจุบันเกษตรกรส่วนใหญ่มีแนวโน้มทำการเกษตรผสมผสานและปลอดสารเคมี ดังนั้นน้ำหมักชีวภาพสูตรต่างๆ ตามภูมิปัญญาท้องถิ่นจึงเป็นทางเลือกหนึ่ง ซึ่งนอกจากจะลดต้นทุนของการใช้ปุ๋ยเคมีแล้ว ยังนำไปสู่การเกษตรที่ไร้สาร ที่ปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภคแม้ว่ามีการตรวจสอบคุณภาพในด้านต่างๆ ของน้ำหมักชีวภาพ จากหน่วยงานราชการและเอกชนหลายแห่ง แต่ยังไม่มีการศึกษาเปรียบเทียบน้ำหมักชีวภาพจากต่างสูตรอย่างเป็นระบบปัญหาดังกล่าวจึงเป็นที่มาของงานวิจัยจากความร่วมมือระหว่างคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์และสำนักงานคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการวิจัย ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบน้ำหมักชีวภาพสูตรต่างๆ จำนวนกว่าสิบสูตรจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดนครปฐม ในด้านต่างๆทั้งคุณสมบัติทางกายภาพ คุณสมบัติทางชีวภาพ และศึกษาผลของน้ำหมักชีวภาพต่อจุลินทรีย์มีประโยชน์ซึ่งเกษตรกรมักเลือกใช้ในแปลงปลูก โดยพืชที่เลือกใช้เป็นพืชทดสอบนั้น เน้นศึกษาพืชผักกินสดที่สำคัญของจังหวัดนครปฐม ได้แก่ ข้าว ผักสลัด ต้นหอม ผักชีและพริกผลการวิจัยนี้ทำให้เกษตรกรมีข้อมูลเบื้องต้น และใช้เป็นแนวทางในการเลือกใช้น้ำหมักชีวภาพสูตรต่างๆ ให้เหมาะกับการเพาะปลูกของตนเองต่อไปผลจากงานวิจัยพบน้ำหมักชีวภาพสูตรเพื่อการช่วยต่อต้านโรคพืช ซึ่งมีคุณสมบัติในการช่วยต่อต้านโรคพืช โดยเฉพาะโรคกุ้งแห้งหรือแอนแทรกโนสในพริก ซึ่งโครงการอบรมพัฒนาวิชาการนี้ จะดำเนินการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ วิธีการเตรียมน้ำหมักชีวภาพสูตรเพื่อการช่วยต่อต้านโรคพืช พร้อมคำแนะนำการใช้น้ำหมักชีวภาพสูตรนี้ เมื่อเสร็จสิ้นการอบรม ผู้เข้าอบรมจะทราบวิธีการเตรียมน้ำหมักชีวภาพเพื่อใช้เอง รวมถึงได้น้ำหมักชีวภาพที่ตนเองฝึกเตรียมนั้นกลับไปหมักต่อจนครบเวลา และทดลองใช้ในการปลูกพืชของตนเองต่อไป ผลในภาพรวมและระยะยาวจะทำให้เกษตรกรมีแนวทางในการเลือกใช้น้ำหมักชีวภาพ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้เหมาะกับเกษตรกร เป็นทางเลือกหนึ่งในการลดการใช้สารเคมีเพื่อการเกษตร รวมทั้งจะเกิดความร่วมมือและประสานงานกันในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการเกษตรเพื่อลดการใช้สารเคมีระหว่างเกษตรกรกับนักวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ต่อไป    
   
ระยะเวลาและสถานที่จัดการอบรม    
วันที่ 25 เมษายน 2554 เวลา 13-16 น.ณ. โรงเรียนสบู่ดำ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม (โรงเรียนสบู่ดำ ตั้งอยู่ที่ฝ่ายเครื่องจักรกลการเกษตรแห่งชาติจังหวัดนครปฐม สถาบันวิจัยและพัฒนากำแพงแสน)    
2    
   
คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม    
เกษตรกร หน่วยงานราชการ หน่วยงานเอกชน และบุคคลทั่วไป(ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม 1. เป็นผู้ที่มีความสนใจ ตั้งใจ และพร้อมเข้ารับการฝึกอบรมตลอดหลักสูตรไม่จำกัดเพศและวัย 2. เป็นผู้ที่มีความยินดีที่จะสนับสนุน เผยแพร่ ถ่ายทอดองค์ความรู้ และสร้างเครือข่ายการผลิตน้ำหมักชีวภาพในเชิงวิชาการ)    
   
ที่มา : http://www.ku.ac.th

วิธีการฝึกอบรม/หลักสูตร: ประกอบด้วยการอบรมภาคบรรยาย และ ฝึกปฏิบัติการ    
13.00 น. พิธีเปิดการอบรม โดย    
ผศ. ดร. ชานันก์ สุดสุข คณบดีคณะศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และ    
ดร. อนามัย ดำเนตร ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและวิเทศน์สัมพันธ์    
   
13.15 น. ชมวีดีทัศน์การเผยแพร่งานวิจัยเรื่องน้ำหมักชีวภาพและการใช้จุลินทรีย์เพื่อการเกษตร    
ทางสื่อมวลชนบรรยายสรุปคุณสมบัติน้ำหมักชีวภาพเพื่อการช่วยต่อต้านโรคพืช    
โดย รศ. จิตราภรณ์ ธวัชพันธ์    
   
13.30 น. ปฏิบัติการ : การเตรียมน้ำหมักชีวภาพเพื่อการช่วยต่อต้านโรคพืช    
โดย รศ. ดร. จุรีย์รัตน์ ลีสมิทธิ์ รศ. จิตราภรณ์ ธวัชพันธ์ นายขวัญชัย นิ่มอนันต์ และคณะทำงาน    
   
14.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง พร้อมเดินชมองค์ความรู้งานวิจัยจากโรงเรียนสบู่ดำ(โรงเรียนสบู่ดำเป็นหน่วยงานที่เผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากพืชพลังงาน ซึ่งก่อตั้งโดย รศ. ดร. สมบัติ ชิณะวงศ์ รองอธิการบดีประจำ    
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน)    
   
14.45 น. ปฏิบัติการ : การเตรียมน้ำหมักชีวภาพเพื่อส่งเสริมการเจริญของผักกินสด (ต่อ)    
   
15.45 น. สรุปการฝึกอบรมน้ำหมักชีวภาพสูตรเพื่อส่งเสริมการเจริญของผักกินสด    
โดย รศ. จิตราภรณ์ ธวัชพันธ์    
   
16.00 น. ปิดโครงการฝึกอบรม    
   
จำนวนผู้เข้ารับการอบรม    
รับผู้เข้าอบรมจำกัด จำนวน 30 คน    
(เนื่องจากต้องฝึกปฏิบัติจริงทุกท่าน ทุกท่านจะได้รับเอกสารประกอบการอบรม และได้รับน้ำหมักชีวภาพที่ท่านเตรียมกลับไปหมักต่อจนครบอายุ เพื่อทดลองใช้ในแปลงปลูกของท่าน โดยวิทยากรขอความอนุเคราะห์ให้ผู้เข้าอบรมส่งแบบสอบถามผลการใช้น้ำหมักชีวภาพกลับมาเพื่อประโยชน์ในเชิงวิชาการ)    
   
ค่าลงทะเบียน    
1,500 บาท กรณีผู้เข้ารับการอบรมเป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ สามารถเบิกค่าใช้จ่ายจากต้นสังกัดได้ตามระเบียบของทางราชการและไม่ถือเป็นวันลา (ต้องลงทะเบียนล่วงหน้าใบเสร็จรับเงินค่าลงทะเบียนจะได้รับในวันอบรม) ราคานี้รวมอาหารว่าง 1 มื้อ เอกสารประกอบการอบรม และวัสดุอุปกรณ์เพื่อการผลิตน้ำหมักชีวภาพ ที่ทุกท่านจะได้นำกลับบ้าน    
   
วิธีการสมัครและการชำระเงิน
   
รับสมัครตั้งแต่บัดนี้ ถึง วันพฤหัสที่ 21 เมษายน 2554 กรุณาส่งใบสมัครพร้อมชำระเงินสดได้ที่ คุณวิไล แจ้งบุญ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม 73140 โทร 034 281105-6 ต่อ 7109 โทรสาร 034 281057 อีเมลล์ [email protected] หรือ [email protected] หรือส่งใบสมัครทางไปรษณีย์ ถึงคุณวิไล แจ้งบุญ ตามที่อยู่ข้างต้น พร้อมชำระเงินทางธนาณัติ สั่งจ่าย นางสาววิไล แจ้งบุญ    
กรุณาส่งใบสมัครพร้อมหลักฐานการชำระค่าลงทะเบียน 1,500 บาท ภายในวันพฤหัสที่ 21 เมษายน 2554    
   
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ (ในวันเวลาราชการ)    
1. การลงทะเบียนและการชำระค่าอบรม : นางสาววิไล แจ้งบุญ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม    
73140 โทร 034 281105-6 ต่อ 7109    
2. การฝึกอบรมและคำถามทั่วไป : นายขวัญชัย นิ่มอนันต์/รศ. ดร. จุรีย์รัตน์ ลีสมิทธิ์    
โทรศัพท์ 034 281105-6 ต่อ 7654 และ โทรศัพท์มือถือ 083 559 7557    
   
ที่มา : http://www.ku.ac.th

คำสำคัญ: