ค้นหาสินค้า

ปัจจัยที่ทำให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลลดลง

ระยะสั้น    
   
1.มีการระดมใช้สารเคมีและสารชีวินทรีย์ หรือที่เรียกว่า ชีววิธี ในการควบคุม    
2.การจัดการเขตกรรม โดยการควบคุมน้ำเพื่อลดความชื้น คือลดปริมาณน้ำในแปลง เมื่อความชื้นลดลงไข่ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจะลดลงด้วย    
   
ระยะยาว
   
   
1.ใช้พันธุ์พืชที่มีความต้านทาน เช่น กข23 กข31 สุพรรณบุรี3    
2.การจัดการเขตกรรม    
 - การปลูกข้าวแบบหว่านจะทำให้มีการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสูง เนื่องจาก การหว่านใช้เมล็ดข้าวมาก ทำให้ข้าวกอแน่น ความชื้นในทรงพุ่มสูง ทำให้เพลีี้ยกระโดดหลบอยู่ได้    
ดังนั้นการเขตกรรมที่น่ามาใช้คือ การปักดำ ซึ่งมักไม่พบการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และทำให้ลดปัญหาวัชพืชได้อีกด้วย

แนะวิธีการป้องกัน และกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล    
   
- โดยเกษตรกรควรใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เช่น กข. 9, กข.23 สุพรรณบุรี1, พิษณุโลก 2, สุพรรณบุรี 90    
- ไม่ควรปลูกพันธุ์เดียวติดต่อกันเกิน 4 ฤดูกาลผลิต    
- เมื่อพบปริมาณเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมาก ให้ระบายน้ำออกให้แห้งประมาณ 7 ถึง 10 วัน เพื่อปรับสภาพไม่ให้เหมาะสมกับการเจริญของตัวอ่อนเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และใช้เชื้อราขาวบิวเวอเรีย อัตรา 1 ก.ก / น้ำ 20 ลิตร ผสมสารจับใบฉีดพ่นตอนเช้าหรือเย็น

พันธุ์ข้าวที่ทนต่อการระบาด ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลคือพันธุ์ กข 29 หรือ RD29  กับ กข 31 และกข 41    
   
กข 29 (ชัยนาท 80) เป็นข้าวเจ้า ได้รับจากการผสมสามทางระหว่างลูกผสมชั่วที่ 1 ของพันธุ์สุพรรณบุรี 60 และสายพันธุ์ ไออาร์ 29692-99-3-2-1 กับสายพันธุ์ไออาร์ 11418-19-2-3 ที่ศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท เมื่อ พ.ศ.2532 คัดเลือกจนได้สายพันธุ์ซีเอ็นที 89098-281-2-1-2-1 ทางคณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าว มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง ชื่อ กข 29 (ชัยนาท 80) เพื่อแนะนำให้เกษตรกรปลูก เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2550    
   
เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง ข้อดีคือมีอายุเก็บเกี่ยวสั้นหากเป็นฤดูนาปี 103 วัน และ 99 วันในฤดูนาปรังเท่านั้น การปลูกใช้วิธีหว่านน้ำตม กอตั้ง ต้นแข็งไม่ล้มง่าย สูงเฉลี่ย 104 ซม. ผลผลิตเฉลี่ย 876 กิโลกรัม/ไร่  ลักษณะเด่น หากเป็นช่วงนี้ก็คือ ค่อนข้างต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในภาคเหนือตอนล่าง และโรคขอบใบแห้ง สามารถสีเป็นข้าวขาว 100% ครับ แต่ถ้าเป็นในเขต จ.นครปฐม ปทุมธานี ราชบุรี และฉะเชิงเทรา ข้าวพันธุ์นี้กลายเป็นอ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล    
   
ส่วน กข 31 (RD31) ก็เป็นข้าวเจ้าเหมือนกัน ผสมพันธุ์ระหว่าง สายพันธุ์เอสพีอาร์ 85163-5-1-1-2 กับสายพันธุ์ไออาร์ 54017-131-1-3-2  เมื่อ พ.ศ.2536 ปลูกคัดเลือกตั้งแต่ พ.ศ.2537-พ.ศ.2539 ได้สายพันธุ์เอสพีอาร์ 93049-PTT-30-4-1-2  ทดสอบความต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูข้าวที่สำคัญพบว่า ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดหลังขาว ค่อนข้างต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โรคขอบใบแห้ง โรคใบจุดสีน้ำตาล และโรคเมล็ดด่าง ได้ระดับหนึ่ง    
   
ส่วนพันธุ์ กข 41กับ ส่วน กข 31 กำลังพัฒนาอยู่

ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว ได้ประสบความสำเร็จในการใช้เทคโนโลยีชีวภาพช่วยในการค้นหาตำแหน่งยีน บีพีเอช 3 จากพันธุ์ข้าวราตูฮีนาติและค้นหาตำแหน่งยีน บีพีเอช 4 จากพันธุ์ข้าวบาบาวี พบว่ายีนทั้งสองมีตำแหน่งอยู่ใกล้กันบนโครโมโซม 6 ทั้งนี้นักวิจัยของศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานีได้ใช้เทคนิคเครื่องหมายโมเลกุลเพื่อช่วยในการคัดเลือก ซึ่งไม่ใช่เทคนิคการตัดต่อยีนที่จะทำให้เกิดข้าว GMOs ทำให้ได้สายพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพดีเหมือนพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และให้ผลผลิตสูงกว่า มีความต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและเพลี้ยกระโดดหลังขาว ใช้ระยะเวลาศึกษาวิจัยเพียง 5 ปี จากปกติต้องใช้เวลานานถึง 10 ปีหรือมากกว่า เท่ากับเป็นการลดระยะเวลา และลดลักษณะที่ไม่ต้องการที่ติดมากับลักษณะที่ต้องการ    
   
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี โทรศัพท์ 0-4534-4103-4 ในวันและเวลาราชการ

การตัดวงจรอาหารของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่เป็นพาหะของโรค    
   
เกษตรกรต้องทำการไถกลบต้นข้าวในพื้นที่ระบาดและเว้นระยะการทำนา 2 เดือน สำหรับการป้องกันกำจัดโรคเขียวเตี้ยและโรคใบหงิก นอกจากวิธีดังกล่าวแล้วหากพบต้นที่เป็นโรคน้อยกว่าร้อยละ 10 ให้ถอนฝังดินหรือเผา    
ส่วนแปลงที่พบโรคในระยะรวงหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต ให้ดำเนินการไถกลบตอซัง เพื่อเป็นการทำลายแหล่งสะสมของโรค ที่ก่อให้เกิดการระบาดในรอบการปลูกครั้งต่อไป และควรเปลี่ยนพันธุ์ข้าว อาทิ พันธุ์ กข 29 กข 31 กข 41 พิษณุโลก 2 สุพรรณบุรี 2 สุพรรณบุรี 3 และสุพรรณบุรี 90 ในฤดูการเพาะปลูก

คำสำคัญ: