ค้นหาสินค้า

วิธีการเพาะถั่วงอกปลอดสารพิษ

วัสดุและอุปกรณ์    
1. เมล็ดถั่วเขียวที่มีคุณภาพดี    
2. ภาชนะผิวเรียบทรงสูงตรง เช่น ขวดน้ำมันพืชขนาด 2 ลิตร โถ พลาสติกหรือกระป๋องพลาสติก ใช้ตะปูเผาไฟเจาะรูระบายน้ำให้มีขนาดเล็ก กว่าเมล็ดถั่วเขียวที่ก้นภาชนะประมาณ 10-15 รู    
3. ถุงเพาะสีดำ (สำหรับเพาะต้นไม้) ขนาด 5x10 นิ้ว    
4. ผ้าขนหนูผืนเล็ก    
5. อุปกรณ์อื่น ๆ เช่น ถังแช่เมล็ด ขันน้ำ ฝักบัวหรือสายยาง    
6. น้ำสะอาด เช่น น้ำประปา หรือน้ำบาดาลที่ทิ้งให้ตกตะกอนและ เย็น    
7. สถานที่เพาะควรเป็นที่ร่มและเย็น    
   
วิธีการเพาะ    
1. ใช้เมล็ดถั่วเขียวประมาณ 1 ถ้วยตวง แช่ในน้ำอุ่นอุณหภูมิประ- มาณ 55-60 องศาเซลเซียส ประมาณ 1/2-1 ชั่วโมง แล้วล้างเมล็ดถั่ว- เขียวให้สะอาด โดยล้างเอาสิ่งเจือปนต่างๆ และเมล็ดที่พองตัวออกเพราะจะ เป็นเมล็ดอ่อน เมล็ดที่ถูกแมลงทำลายและเมล็ดที่เสื่อมคุณภาพ ซึ่งเป็น สาเหตุให้ถั่วงอกเน่าเสียหายได้ หลังจากนั้นแช่น้ำต่อไปอีก 8-10 ชั่วโมง หรือ 1 คืน    
2. วันรุ่งขึ้นล้างเมล็ดที่แช่น้ำแล้ว นำขึ้นมาผึ่งในตะแกรงสักครู่เมล็ด จะพองตัวขึ้นได้ประมาณ 2 ถ้วยตวง จากเมล็ดถั่วเขียวแห้ง 1 ถ้วยตวง ถ้า เพาะในขวดน้ำมันพืชใช้เมล็ดที่แช่น้ำแล้วประมาณ 1 ถ้วยตวงต่อขวด สามารถเพาะได้ประมาณ 2 ขวด ใส่เมล็ดในภาชนะเพาะปิดทับเมล็ดด้วยผ้า ขนหนู รดน้ำให้ชุ่มทุก 2-3 ชั่วโมง    
3. ปิดคลุมภาชนะเพาะอีกครั้งด้วยถุงเพาะสีดำ เพื่อไม่ให้โดนแสง นำไปวางไว้ในร่มและเย็น    
4. เมื่อเพาะถึงวันที่ 3 (ประมาณ 65-72 ชั่วโมง) นำมาล้างเอา เปลือกถั่วเขียวออกจะได้ถั่วงอกสำหรับบริโภค 1-2 มื้อ    
5. ระยะเวลาในการเพาะถั่วงอกขึ้นอยู่กับอุณหภูมิในช่วงเวลา ระหว่างการเพาะ    
   
เทคนิคในการเพาะถั่วงอก
   
1. การเลือกเมล็ดถั่วเขียว ควรเป็นเมล็ดที่มีคุณภาพดีไม่ใหม่หรือ เก่าเกินไป อายุการเก็บรักษาประมาณ 3-6 เดือน    
2. ภาชนะเพาะถั่วงอก มีให้เลือกหลายแบบและหลายชนิด ขึ้นอยู่ กับวิธีการเพาะและการใช้วัสดุเพาะ แต่ที่เหมาะสำหรับการเพาะถั่วงอกควร เป็นภาชนะผิวเรียบทรงตรง หรือปากแคบเล็กน้อย เพื่อเป็นการจำกัดพื้นที่ ในการงอกของเมล็ดถั่วเขียวจะทำให้ถั่วงอกมีลักษณะอวบอ้วนมากขึ้นและ ภาชนะควรมีสีดำ หรือสีทึบเพื่อป้องกันแสงสว่าง และข้อสำคัญภาชนะต้อง สะอาดก่อนนำไปเพาะถั่วงอกทุกครั้ง    
3. การเตรียมเมล็ดก่อนเพาะ การแช่เมล็ดก่อนเพาะเป็นการช่วย เร่งให้ระยะเวลาเพาะถั่วงอกเร็วขึ้น ในกรณีที่เพาะหลายครั้งแล้วถั่วงอกยัง เน่าอยู่ ไม่แน่ใจว่าเมล็ดมีเชื้อโรคติดมาหรือไม่ ให้แช่เมล็ดในน้ำคลอรีนก่อน โดยใช้คลอรีนผง 1/2-1 ช้อนชา ผสมน้ำ 1 ลิตร แช่นาน 1 ชั่วโมง เพื่อล้าง เชื้อโรคที่ติดมากับเมล็ด หลังจากนั้นจึงแช่ในน้ำอุ่นประมาณ 55-60 องศา- เซลเซียส อีกประมาณ 8-10 ชั่วโมง จุดสำคัญอีกประการหนึ่งคือ ในชั่วโมง แรกของการแช่น้ำของเมล็ด จะมีเมล็ดบางส่วนพองตัวอย่างรวดเร็ว เมล็ด ลักษณะนี้จะเป็นเมล็ดอ่อน เมล็ดที่ถูกแมลงทำลาย และเมล็ดที่เสื่อม คุณภาพ ต้องล้างหรือเก็บออกให้หมด รวมทั้งเมล็ดแตกด้วย เพราะเมล็ด เหล่านี้จะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ถั่วงอกเน่า ดังนั้น การล้างเมล็ดในช่วงนี้ เพื่อจะช่วยให้เมล็ดถั่วเขียวมีความงอกสม่ำเสมอมากยิ่งขึ้น    
4. น้ำ เป็นปัจจัยสำคัญต่อการงอกของเมล็ด ควรเป็นน้ำสะอาด เช่น น้ำประปาหรือถ้าเป็นน้ำบาดาลต้องปล่อยทิ้งให้เย็นและตกตะกอนก่อนนำมาใช้รด ถั่วงอก การให้น้ำถั่วงอกนอกจากใช้ในการเจริญเติบโตแล้ว ยัง ใช้ในการระบายความร้อนที่เกิดขึ้นจากการหายใจระหว่างการเจริญเติบโต ของต้นอ่อนภายในภาชนะด้วยการให้น้ำ ควรให้อย่างสม่ำเสมอ ทุก ๆ 2-3 ชั่วโมง การให้น้ำแต่ละครั้งควรให้ในปริมาณที่มากพอ กล่าวคือให้จน กระทั่งน้ำที่ไหลออกมาทางก้นภาชนะเย็นเท่ากับน้ำที่รดให้ การให้น้ำเพียง เล็กน้อย เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ถั่วงอกเน่าได้ เพราะเกิดการสะสมความ ร้อนในภาชนะ    
5. ระยะเวลาในการเพาะถั่วงอก ถั่วงอกปกติจะใช้เวลาเพาะประ- มาณ 3-4 วัน (นับตั้งแต่เริ่มแช่เมล็ดถั่ว) การเพาะในฤดูหนาวที่มีอุณหภูมิ ต่ำ อาจใช้เวลาในการเพาะมากกว่าฤดูร้อนที่มีอุณหภูมิสูงกว่า    
6. ลักษณะของถั่วงอก ในสภาพอากาศหนาว ถั่วงอกจะมีลักษณะ ค่อนข้างอ้วนรากสั้นกว่าถั่วงอกที่เพาะในสภาพอากาศร้อน การเพาะใน ภาชนะปากแคบจะทำให้ถั่วงอกมีลักษณะอวบอ้วนกว่าภาชนะปากกว้าง    
7. การใช้สารเคมีกับถั่วงอก สารที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย คือ สารส้ม และน้ำมะนาวที่ใช้แช่ถั่วงอก เพื่อช่วยให้ถั่วงอกกรอบ มีสีขาวไม่เขียว คล้ำ การเพาะถั่วงอกด้วยวิธีการดังกล่าวนี้ ทำให้ได้ถั่วงอกปลอดสารพิษไว้ รับประทาน เพื่อสุขภาพที่ดีของผู้บริโภคและประหยัดค่าใช้จ่าย และหาก เพาะในปริมาณมาก จะสามารถสร้างรายได้เสริมให้แก่ครอบครัวได้เป็น อย่างดี

คำสำคัญ: