ค้นหาสินค้า

การปลูกเสารส


โดย โอ๊ค

การปลูกเสาวรส    
“พืชเศษฐกิจ บนพื้นที่สูง”    
   
เขาค้อเป็นอำเภอที่มีประวัติศาสตร์สงครามที่หน้าศึกษา และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อแห่งหนึ่งของประเทศไทยแล้วยังเป็นอยู่อาศัยของคนนานาเผ่าพันธุ์ ที่มีวิถีการดำเนินชีวิตด้วยการเกษตรประมาณ 70 % ของอำเภอเขาค้อ  จังหวัดเพชรบูรณ์  เช่นการเลี้ยงสัตว์ โคเนื้อ โคนม แพะ ไหม  ไม้ดอกไม้ประดับ เช่น เบญจมาศ กุหลาบ  หรือ พืชผักต่างๆ เช่น ผักกาดขาวปลี ผักกาดหัว กะหล่ำปลี พริก และ ขิง ชาโยเต้  ผักชี ผักกาดหัว ไม้ผลเช่น มะคาเดเมีย กาแฟอาราบิก้า และ เสาวรสเป็นที่นิยมปลูกของเกษตรกรและเริ่มมีบทบาทสำคัญทางเศรษฐกิจของท้องถิ่นอย่างมาก เสาวรสมีชื่อเรียกอีกหลายชื่อ กทกรก  กทกรกฝรั่ง แฟสชั่นฟรุต ซึ่งเกษตรปลูกผสมผสาน    
   
ไปกับการปลูกพืชผัก เช่น ช่วงเดือน ปลายมีนาคม ของทุกๆปีปลูกผักกาดขาวปลีเป็นแซม เมื่อผักกาดขาวปลีอายุได้ 15 – 20 วัน จะเริ่มปลูก พริกหยวกแซมเป็นพืชรอง พร้อมทั้งปลูก เสาวรส เป็นพืชประธานเป็นพืชข้ามปี เมื่อเก็บผลผลิตของผักกาดขาวปีแล้ว ก็เก็บผลผลิตของพริกหยวก ต่อด้วยผลิตของเสาวรสเก็บได้นานสองปีในเชิงการค้า ในพื้นที่เดียวกัน ซึ่งในรอบปีจะเก็บผลผลิตได้ตลอดทั้งปี ปัจจุบัน เสาวรส ปลูกบนพื้นที่สูง อำเภอเขาค้อมีการปลูกไม่น้อยกว่า 500 ไร่เลยทีเดียวเมื่อปี 2550-2552 ที่ผ่านมามีราคาที่คอนข้างดีจึงทำให้มีการปลูกเพิ่มมากขึ้น และในอาอนาคตอาจมีการปลูกเพิ่มมากขึ้นอีก 1-2 เท่า เสาวรสเป็นพืชที่รู้จักกันแพร่หลายถ้าพูดถึง เสาวรส แฟสชั่นฟรุตหรือกรทกรกฝรั่งแล้วก็บางคนอาจได้ชิมและลิ้มรสของมันแล้วเพราะมันมีเสน่ห์ที่หน้าหลงใหล เช่น ยอดสามารถนำมาเป็นผักรับประทานกับน้ำพริกคล้ายกับผักตำลึงแต่มีรสชาติขมเล็กน้อยเป็นที่ถูกใจของคนที่ชอบรสชาติขม เนื้อที่หุ้มเมล็ดของผลเสาวรสใช้รับประทานสดได้และน้ำมาแปรรูปเป็นน้ำผลไม้มีรสชาติดีและกลิ่นหอมเฉพาะตัว และน้ำนำไปผสมกับน้ำผลไม้อื่นๆ เปลือกสามารถนำไปเป็นอาหารสัตว์ได้เช่น โคเนื้อ โคนม มีการให้น้ำนมเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมและสามารถนำไปเป็นปุ๋ยหมักได้ดี หลังจากที่คั้นน้ำแล้วคงเหลือแต่เมล็ดสามารถนำไปเพาะได้ต่อและสกัดน้ำมันหอมระเหย น้ำเสาวรสยังสามารถนำไปใช้แต่งกลิ่นและรสชาติของ ไอศกรีม ขนมเค้ก เยลลี่ ลูกเกดและไวน์ สารอาหารที่มีในเสาวรสเช่น วิตามินเอค่อนข้างสูงโดยเฉพาะสารแคโรทีนอยด์ช่วยบำรุงสายตาและผิวพรรณยังมีสรรพคุณช่วยแก้อาการนอนไม่หรับ ลดไขมันในเส้นเลือดและโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เสาวรส ชื่อวิทยาศาสตร์ : Passifora  spp.  ตระกูล : Malpighiales  ชื่อสามัญ : Passion Fruit  วงศ์ : Passifloraceae  ชื่ออื่น : กระทกรก, กระทกรกฝรั่ง,แฟสชั่นฟรุต    
สาวรสเป็นไม้ผลที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนแถบพื้นที่สูงในอเมริกาใต้ ถูกค้นพบครั้งแรกที่ประเทศเม็กซิโก โดยนักบวชชาวสเปนชื่อ ฟลอส แพชั่นนิส ในคริสศวรรษที่ 17 ต่อมาได้แพร่กระจายไปสู่ประเทศต่างๆในเขตร้อนและกึ่งโลก ได้แก่ ออสเตรเรีย อินเดีย เคนยา นิวซีแลนด์ นิวกินี และแอฟริกาใต้ เริ่มมีการปลูกในประไทยเริ่มครั้งแรกในปี พ.ศ. 2498 โดยเป็นพันธุ์สีม่วงมีรสชาติค่อนข้างเปรี้ยว และเสาวรสมีอยู่ 2 ประเภท คือ เสาวรสส่งโรงงานอุสาหกรรม  มีการส่งเสริมปลูกมานานแล้ว และเสาวรสสำหรับรับประทานสดมีการคัดเลือกพันธุ์ในปี พ.ศ. 2539 และส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกในปี พ.ศ. 2540  แหล่งผลิตที่สำคัญในประเทศไทย ได้แก่ แม่สะป๊อก แม่ลาน้อย แม่ทาเหนือ แม่โถ หนองเขียว หมอกจ๋าม  และที่ อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ มีการผลิตไม่น้อยกว่าปีละประมาณ 500 ต้น/ปี ไม่น้อยกว่า 600-1000 ไร่    
   เสาวรสเป็นไม้ผลประเภทเถาเลื้อยมีอายุหลายปีแต่ในเชิงการค้า เกษตรกรนิยมปลูก 1-2 ปีเท่านั้นเพราะปีที่ 3-4 ให้ผลผลิตต่ำต้อยคุณภาพ ต้นขนาดกลาง เถาสีเขียวเข้มและเมื่อแก่เถาจะเป็นสีน้ำตาลใบเป็นใบเดี่ยว ลักษณะคล้ายใบตำลึงใบออกสลับกัน ใบดกหูใบมีลักษณะเป็นแผ่นใบสีเขียวเป็นมันปลายจักแหลม ๆ ขนาบอยู่ที่ฐานก้านใบ ระหว่างฐานใบกับลำต้นมีมือเกาะลักษณะเป็นเส้นม้วนงอ แผ่นใบมีขนละเอียดปกคลุมจับนุ่มมืออกจากข้อ ๆ และตรงปลายก้านใบมีต่อมอยู่ 1 คู่ ดอกเป็นดอกที่มีขนาดใหญ่ เป็นดอกเดียว ลักษณะดอกจะหัอยลงคล้ายโคมไฟดอกมีสีม่วง หรือม่วงขาวมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ และกลีบดอกอีก 5  กลีบ  กลีบดอกรูปขนาน และมีรยางค์เป็นเส้นฝอยสีม่วงจำนวนมาก มีก้านเกสรจะแยกออกเป็นเกสร ตัวผู้ 5 อันและเกสรตัวเมียอีก 3 อัน ดอกมีกลิ่นหอมเพื่อดึงดูดแมลงให้มาช่วยผสมดอกเสาวรสพันธุ์สีม่วงจะเริ่มบานในตอนเช้าผสมตัวเองได้ดี (Self-pollination) และดอกของเสาวรสพันธุ์สีเหลืองจะเริ่มบานตั้งแต่เที่ยงวันเป็นตันไปและส่วนมากจะผสมตัวเองไม่ติดต้องมีการผสมข้ามต้น (Cross-pollination) โดยแมลงช่วยผสมข้ามโดยใช้ผึ้ง แมลงภู่ และแมลงต่างๆช่วยผสม    
   
   
   
   
ขั้นตอนการแปรรูป เสาวรส    
เพื่อส่งโรงงาน      
   
                                 
  ใช้ผลที่มีความสุกแก่ 70 %                              รวบรวมผลผลิต    
   
เลือกผลที่สุก 70 % ของผล ผลทั้งหมดหรือผลที่สุก 100 % (พันธุ์สีเหลือง) และรวบรวมให้ได้จำนวนที่ต้องการ อัตรา ผล/เนื้อ 3-3.5/1 เช่นต้องการเนื้อเสาวรส 1,000 กิโลกรัม ต้องรวบรวมให้ได้ผลเสาวรส 3,000 กิโลกรัม หรือ 3,500 กิโลกรัม ตามคุณภาพของแต่ละสวนและฤดูกาล    
   
               
จากนั้นทำความสะอาดโดยเด็ดขั้วทิ้งและล้างน้ำให้สะอาด                   ใส่ตะกร้าทิ้งไว้ให้แห้ง        
   
                                   
ใช้มีดผ่ากลางผลแล้วใช้ช้อนนำเนื้อด้านในสีเหลืองออกมา    
   
         
ระวังอย่าให้เยื่อสีขาวติดมาด้วย    
   
   
   
   
   
                       
   
     
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   
   

คำสำคัญ: