ค้นหาสินค้า

เทคนิคการปลูกอ้อย ลดต้นทุน แต่ผลผลิตเพิ่ม


โดย ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ

เรื่องที่ผู้เขียนจะนำเสนอในวันนี้เป็นเรื่องของเกษตรกรที่ปลูกอ้อยแล้วได้ผลผลิตค่อนข้างสูงเลยที่เดียวมาบอกเล่าเก้าสิบให้กับท่านเกษตรกรที่ทำไร่อ้อยอยู่ในเวลานี้ได้ทราบข้อมูลของเพื่อนสมาชิกที่ปลูกอ้อยเหมือนกันเผื่อไว้เป็นข้อมูลและได้เทคนิคใหม่ๆไปปรับใช้ในไร่ของตัวท่านเองในการทำไร่อ้อยในปีหน้าได้ เกษตรกรท่านนี้มีนามว่า คุณบุญลอง ประทุมมา อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 7/14 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ประวัติส่วนตัวของพี่บุญลอง คร่าวๆ พี่บุญลอง ประทุมมา มีอาชีพเป็นมนุษย์เงินเดือนในโรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งย่าน อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี ส่วนพื้นที่ปลูกอ้อย อยู่ที่ อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์    
   
พื้นที่ปลูกอ้อยอยู่นั้นเป็นที่ของพ่อตา เดิมเลยที่ตรงนั้นไม่ได้ทำอะไรเป็นที่รกร้างว่างเปล่า พี่บุญลองเลยขอพ่อตาลองเอาอ้อยไปปลูกเพราะพื้นที่บริเวณนั้นทำนาไม่ได้เพราะไม่มีน้ำทำ เกษตรกรในพื้นที่แถบนั้นจะทำไร่อ้อยกันเกือบ 100% วิธีการก็ปลูกอ้อยของพี่บุญครอง จะปลูกแบบฝากเทวดาเลี้ยงดู ไม่ได้ดูแลอะไรมากมายนัก โดยวิธีการปลูกอ้อยของพี่ประลองก็ปลูกตามแบบชาวไร่อ้อยท่านอื่นๆปกติคือหาพันธุ์อ้อยมาปักลงในแปลงหลังจากนั้น 1 เดือนก็ได้ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 จำนวน 6 กระสอบ ผสมร่วมกับหินแร่ภูเขาไฟ “พูมิชซัลเฟอร์” 5 กระสอบหว่านไปในไร่อ้อยทั้ง 10 ไร่ ที่ทำเพียงแค่ครั้งเดียวแล้วไม่ได้ใส่ปุ๋ยอีกเลยจนกระทั่งเก็บเกี่ยวผลผลิต    
   
จากการสอบถามเก็บข้อมูลกับคุณประลองหลังจากตัดอ้อยขายแล้ว ได้ข้อมูลว่า อ้อยที่ตัดไปขายได้ผลผลิตไร่ละเกือบ 18 ตันเลยทีเดียว ซึ่งเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับไร่อ้อยในพื้นที่ใกล้เคียงจะได้มากกว่าประมาณ 5 ตันต่อไร่เลยทีเดียว ซึ่งผลผลิตอ้อยแถบนั้นอย่างมากสุดไม่น่าเกิน 15 ตันต่อไร่และการใส่ปุ๋ยยังใส่กัน 2-3 ครั้งต่อการทำ 1 รอบ ซึ่งจะต่างจากของคุณประลองที่ใส่ปุ๋ยเพียงแค่รอบเดียว คุณประลองยังบอกอีกว่าปัจจัยที่มีผลทำให้อ้อยที่ปลูกได้ผลผลิตก็คือตัว”พูมิชซัลเฟอร์”ที่ไปจับตรึงปุ๋ยที่หว่านไปเพียงรอบเดียวให้ละลายช้าทำให้อ้อยมีปุ๋ยไว้กินเป็นเวลานาน ประกอบกับดินที่ปลูกเป็นดินใหม่ยังไม่เคยเพาะปลูกอะไรเลยทำให้สารอินทรีย์วัตถุและธาตุอาหารต่างๆที่อยู่ในดินยังอุดมสมบูรณ์ทำให้อ้อยที่ปลูกได้สารอาหารที่เพียงพอ ทำให้การเจริญเติบโตดี และผลผลิตก็ดีตามไปด้วย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คุณจตุโชค จันทรภูมี(ผู้เขียน) โทร.085-9205846 หรือสอบถามไปยังเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการของทางชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โทร.02-9861680-2 หรือสอบถามทางระบบ LINE ID : tga003 และ tga004    
   
เขียนและรายงานโดย : นายจตุโชค จันทรภูมี(นักวิชาการ)    
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com    
แนะนำติชม : [email protected]    
Credit : http://www.thaigreenagro.com/Aticle.aspx?id=21447&Param2=13

คำสำคัญ: อ้อย