ค้นหาสินค้า

กระชายดำ สุดยอดสมุนไพรไทย ส่งออก


โดย สวน นายกระจอก

กระชายดำอบแห้ง ส่งออกญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย    
08-9206-6080    
กระชายดำอบแห้ง กระชายดำสด พันธุ์กระชายดำ จากชาวเขาเผ่าม้งในเขตอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ (ต๊ะ-สวนนายกระจอก)    
   
กระชายดํา    
กระชายดำ: (โสมไทย, โสมกระชายดำ) ชื่อสามัญ Black Galingale    
กระชายดํา: มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Kaempferia parviflora Wallich. ex Baker. (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ K. rubromarginata (S.Q. Tong) R.J. Searle และ Stahlianthus rubromarginatus S.Q. Tongl.) จัดอยู่ในวงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE)    
สมุนไพรกระชายดำ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ขิงทราย (มหาสารคาม), กะแอน ระแอน ว่านกั้นบัง ว่านกำบัง ว่านกำบังภัย ว่านจังงัง ว่านพญานกยูง (ภาคเหนือ) เป็นต้น    
   
ลักษณะของกระชายดำ    
ต้นกระชายดำ มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบได้หนาแน่นในแถบมาเลเซีย สุมาตรา เกาะบอร์เนียว อินโดจีน และในประเทศไทย และมีเขตการกระจายพันธุ์ทั่วไปในเอเชียเขตร้อน ในประเทศจีนตอนใต้ อินเดีย และพม่า สำหรับประเทศไทยนั้นมีการปลูกกระชายดำมากในจังหวัดเลย ตากกาญจนบุรี และจังหวัดอื่น ๆ ทางภาคเหนือ โดยจัดเป็นไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เหง้ากระชายดำ นั้นมีลักษณะเป็นรูปทรงกลม เป็นปุ่มปมเรียงต่อกัน และมักมีขนาดเท่า ๆ กัน มีหลายเหง้าและอวบน้ำ ผิวเหง้ามีสีน้ำตาลอ่อนถึงสีน้ำตาลเข้ม และอาจพบรอยที่ผิวเหง้าเป็นบริเวณที่จะงอกของต้นใหม่ ส่วนเนื้อภายในของเหง้ามีสีม่วงอ่อน สีม่วงเข้ม ไปจนถึงสีม่วงดำ เหง้ามีกลิ่นหอมเฉพาะตัว และมีรสชาติขมเล็กน้อย โดยกระชายดําที่ดีนั้นจะต้องมีสีม่วงเข้มถึงสีดำ กระชายดำเป็นพืชที่ชอบที่ร่ม ดินร่วนซุยหรือเป็นดินปนทรายที่มีการระบายน้ำได้ดี ชอบอากาศหนาวเย็น และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแบ่งเหง้า สามารถขยายพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี แต่ถ้าต้องการให้หัวหรือเหง้ามีคุณภาพต้องปลูกและเก็บเกี่ยวตามฤดูกาล คือปลูกในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม และเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม    
   
ใบกระชายดำ    
มีใบเป็นใบเดี่ยว ลักษณะเป็นรูปรีหรือรูปไข่ มีความกว้างประมาณ 5-10 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ขอบใบหยักตามเส้นใบ ผิว ใบเป็นร่องคลื่นตลอดใบตามแนวของเส้นใบ ใบมีสีเขียวสด ส่วนโคนก้านใบมีลักษณะเป็นกาบหุ้มลำต้นไว้ ขอบก้านใบมีสีแดงตลอดความยาวของก้าน ส่วนกลางก้านเป็นร่องลึก    
   
ดอกกระชายดำ    
ดอกออกเป็นช่อแทรกขึ้นมาจากโคนกาบใบ ก้านช่อดอกมีความยาวประมาณ 5-6 เซนติเมตร กลีบดอกที่ส่วนโคนเชื่อมเป็นหลอด ยาวประมาณ 3-3.2 เซนติเมตร ที่ปลายแยกเป็นแฉก เกสรตัวผู้เป็นหมัน มีสีขาว ลักษณะเป็นรูปขอบขนาน มีความกว้างประมาณ 3 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 10-13 มิลลิเมตร ส่วนกลีบปากมีสีม่วง    
   
สรรพคุณของกระชายดำ    
1.จากการค้นคว้าเอกสารงานวิจัยพบว่า สมุนไพรไทยกระชายดำนั้นมีสรรพคุณมากมาย และสามารถช่วยรักษาโรคต่าง ๆ ได้เกือบ 100 ชนิด    
2.ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยชะลอความแก่ มีคุณค่าทางคงกระพันชาตรี ด้วยการใช้เหง้านำมาหั่นเป็นแว่น แล้วนำไป    
ตากแดดจนแห้ง นำมาบดให้เป็นผงละเอียดผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นยาลูกกลอน ใช้กินเช้าเย็น    
3.ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง ด้วยการใช้เหง้าผสมกับสมุนไพรชนิดอื่นเป็นยาดองเหล้า (เหง้า)    
4.ว่านกระชายดำ สรรพคุณช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (เหง้า)    
5.ช่วยบำรุงผิวพรรณของสตรีให้สวยสดใส ดูผุดผ่อง (เหง้า)    
6.ช่วยบำรุงฮอร์โมนเพศชาย หากสุภาพสตรีทานแล้วจะช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนทางเพศ (เหง้า)    
7.ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ บำรุงสมรรถภาพทางเพศชาย แก้กามตายด้าน ด้วยการใช้เหง้าสดนำมาดองกับเหล้าขาวและน้ำผึ้งแท้ (ในอัตราส่วน 1 กิโลกรัม : เหล้าขาว 3 ขวด : น้ำผึ้ง 1 ขวด) ดองทิ้งไว้ประมาณ 9-15 วัน แล้วนำมาใช้ดื่มวันละ 1-2 เป๊ก (เหง้า) (กระชายดําไม่ได้เป็นยาปลุกอารมณ์ทางเพศ แต่ช่วยทำให้อวัยวะเพศชายแข็งตัวได้ง่ายและบ่อยขึ้น มีระยะเวลาในการแข็งตัวที่นานขึ้น และสำหรับผู้ที่ไม่ได้มีปัญหาดังกล่าวก็สามารถรับประทานเพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแรงขึ้นได้)    
8.ช่วยกระตุ้นระบบประสาท บำรุงประสาท ทำให้ร่างกายกระชุ่มกระชวย (เหง้า)    
9.ช่วยในการนอนหลับ แก้อาการนอนไม่ค่อยหลับในตอนกลางคืน ช่วยทำให้นอนหลับดีขึ้น (เหง้า)    
10.ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยขยายหลอดเลือดหัวใจ แก้โรคหัวใจ (เหง้า)    
11.ช่วยบำรุงโลหิตของสตรี (เหง้า)    
12.ช่วยในระบบหมุนโลหิตของร่างกาย ทำให้โลหิตไหลเวียนได้ดีขึ้น (เหง้า)    
13.ช่วยทำให้เจริญอาหาร (เหง้า)    
14.ช่วยรักษาโรคความดันโลหิต รักษาสมดุลของความดันโลหิต (เหง้า)    
15.ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด (เหง้า)    
16.ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้ (เหง้า)    
17.ช่วยแก้หอบหืด (เหง้า)    
18.ช่วยแก้อาการใจสั่นหวิว แก้ลมวิงเวียน (เหง้า)    
19.เหง้าใช้ต้มดื่มแก้โรคตา ช่วยรักษาสายตา (เหง้า)    
20.ช่วยรักษาแผลในช่องปาก ปากเป็นแผล ปากเปื่อย ปากแห้ง (เหง้า)    
21.ช่วยแก้โรคตานซางในเด็ก แก้ซางตานขโมยในเด็ก (เหง้า)    
22.ช่วยแก้อาการแน่นหน้าอก (เหง้า)    
23.ช่วยรักษาโรคในช่องท้อง มีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ (เหง้า)    
24.ช่วยขับลม แก้อาการจุกเสียด (เหง้า)    
25.ช่วยแก้อาการปวดท้อง ปวดมวนในท้อง อาการท้องเดิน (เหง้า) หากมีอาการท้องเดินให้ใช้เหง้านำมาปิ้งไฟให้สุกแล้วนำมาตำให้ละเอียดใช้ผสมกับน้ำปูนใสแล้วคั้นเอาแต่น้ำมาดื่มครั้งละ 3-5 ช้อนแกงหลังจากการถ่ายเนื่องมีอาการท้องเดิน (เหง้า)    
26.ช่วยรักษาโรคท้องร่วง (เหง้า)    
27.ช่วยในการย่อยอาการ รักษาระบบการย่อยอาหารให้เกิดความสมดุล (เหง้า)    
28.กระชายดำ สรรพคุณแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ (เหง้า)    
29.ช่วยรักษาโรคบิด แก้อาการบิดเป็นมูกเลือด (เหง้า)    
30.สรรพคุณกระชายดำ ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร อันเนื่องมาจากการรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา (เหง้า)    
31.ช่วยขับปัสสาวะ แก้อาการขัดเบา แก้ปัสสาวะพิการ (เหง้า)    
32.ช่วยแก้อาการตกขาวของสตรี (เหง้า)    
33.ช่วยขับประจำเดือน แก้อาการประจำเดือนมาไม่เป็นปกติของสตรี (เหง้า)    
34.เหง้าใช้โขลกผสมกับเหล้าขาวคั้นเป็นน้ำดื่ม ช่วยแก้โรคมดลูกพิการ มดลูกหย่อนได้ (เหง้า)    
35.ช่วยแก้ฝีอักเสบ (เหง้า)    
36.ช่วยรักษากลากเกลื้อน (เหง้า)    
37.ช่วยแก้อาการปวดหลัง ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดกล้ามเนื้อ และมีอาการเหนื่อยล้า (เหง้า)    
38.ช่วยรักษาโรคปวดข้อ (เหง้า)    
39.ช่วยรักษาโรคเก๊าท์ (เหง้า)    
40.ช่วยแก้อาการเหน็บชา (เหง้า)    
41.กระชายดำ สรรพคุณทางยาช่วยขับพิษต่าง ๆ ในร่างกาย (เหง้า)    
42.ช่วยรักษาอาการมือเท้าเย็น (เหง้า)    
43.กระชายดำมีฤทธิ์ในการช่วยรักษาเชื้อราที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคผิวหนัง (เหง้า)    
44.เหง้าใช้ต้มกับน้ำให้ตรีหลังคลอดบุตรดื่ม จะช่วยขับน้ำนม รักษาอาการตกเลือด และช่วยทำให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น (เหง้า)    
   
วิธีใช้กระชายดํา    
สำหรับวิธีการใช้กระชายดำ เพื่อเป็นยาอายุวัฒนะ ใช้เป็นยาแก้ปวดท้อง แก้โรคบิด และลมป่วงทุกชนิดถ้าเป็นเหง้าสด ให้ใช้ประมาณ 4-5 นำมาดองกับเหล้าขาว 1 ขวดก่อนนำมารับประทานเป็นอาหารเย็น ในปริมาณ 30 cc. หรือจะฝานเป็นแว่นบาง ๆ แช่กับน้ำดื่ม หรือนำมาดองกับน้ำผึ้งในอัตราส่วน 1:1 หากเป็นเหง้าแห้งก็ให้ใช้ดองกับน้ำผึ้งในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 นาน 7 วัน แล้วนำมาใช้ดื่มก่อนนอนหากเป็นแบบชงหรือแบบผง ให้ใช้ผงแห้ง 1 ซอง ชงกับน้ำร้อน 1 แก้ว (ขนาด 120 cc.) และแต่งรสด้วยน้ำผึ้งหรือน้ำตาลตามความต้องการ แล้วนำมาดื่ม    
   
ข้อควรระวังในการใช้กระชายดำ    
ห้ามใช้กระชายดำในเด็ก และในผู้ป่วยที่เป็นโรคตับ    
ผลข้างเคียงของกระชายดำ การรับประทานในขนาดสูง อาจทำให้เกิดอาการใจสั่นได้    
การรับประทานเหง้ากระชายดำติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้เหงือกร่น    
กระชายดำสามารถรับประทานได้ทั้งหญิงและชายโดยไม่เกิดผลข้างเคียงใด ๆ ยิ่งสำหรับผู้สูงอายุก็พบว่านิยมใช้กันมานานมากแล้ว แม้จะมีงานวิจัยในสัตว์ทดลองที่ระบุว่ากระชายดำไม่พบว่ามีความเป็นพิษ แต่ยังไม่มีรายงานการศึกษาวิจัยเพื่อประเมินประสิทธิผลของการใช้กระชายดำในคน จึงควรรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ เพื่อความปลอดภัย    
   
ขอขอบคุณข้อมูลจาก...    
http://frynn.com/    
   
รายละเอียดการส่งสินค้า:    
จัดส่งทางไปรษณีย์ 3-5 กิโลกรัม (จัดส่งให้ในกรณีสั่งของ 1000 กิโลกรัมขึ้นไป ไม่รวมค่าน้ำมัน)    
   
ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม    
http://www.khaokhothailand.com/krachaidam.html    
   
Line ID : tahandaonz    
e-mail : [email protected]    
https://www.facebook.com/kaempferia    
โทร: 08-9206-6080 (นายกระจอก)    
   
สำเนาบัตรประชาชน ไว้เพื่อใช้ในการติดตาม และตรวจสอบ (แปลว่าท่านมั่นใจในการซื้อ/ขายได้ในระดับหนึ่ง เนื่องจากทางผู้ประกาศได้ยืนยันตนโดยบัตรประชาชน)    
http://www.khaokhothailand.com/images/id-card.pdf

ข้อมูลทั่วไป    
กระชายดำมีลักษณะหัว กลิ่น รสชาด ไม่เหมือนกับกระชายเหลือง คือกระชายดำจะมีกลิ่นฉุนและแรงกว่า จึงเหมาะจะใช้ทำเป็นยาสมุนไพรมากกว่าทำอาหารครับ.    
   
มิตรภูเรือดอทคอม จำหน่ายสมุนไพรกระชายดำ กระชายดำทำให้ชายเหนือชาย..."กระชายดำ" (เป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่ง อยู่ในตระกูล ZINGIBERACEAE)    
กระชาย มี 3 ชนิด คือ    
1.กระชายเหลืองหรือกระชายขาว    
2.กระชายแดง    
3.กระชายดำ    
   
กระชายเหลืองและกระชายแดงนิยมใช้เป็นเครื่องเทศปรุงอาหารมิตรภูเรือดอทคอม จำหน่ายสมุนไพรกระชายดำ กระชายดำทำให้ชายเหนือชาย...ส่วนกระชายดำใช้เป็นสมุนไพร เมื่อผ่าเหง้าหัวออกดูจะมีสีม่วงคล้ำ มีกลิ่นคล้ายกระชายทั่วไป(แต่ฉุนกว่า) ลักษณะใบและลำต้นเหมือนกระชายเหลืองและกระชายแดง แต่ขอบใบและก้านใบอาจมีสีม่วงแกมเล็กน้อย เดิมชาวเขาเผ่าม้งนำกระชายดำเข้ามาปลูกในอำเภอด่านซ้ายและอำเภอนาแห้ว เพื่อใช้เป็นสมุนไพรประจำบ้าน ต่อมามีการขยายพันธุ์ออกไปเรื่อยๆ จนมีพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มมากขึ้น    
   
"กระชายดำ" มีสรรพคุณทางยาดังนี้ คือ รากเหง้า เป็นยาขับปัสสาวะ, ขับลม, แก้บิด, แก้ท้องอืดเฟ้อ, แก้โรคกระเพาะอาหาร โดยใช้รากเหง้าดองกับสุราขาว หรือนำไปตากแห้งแล้วบดเป็นผงใช้ผสมน้ำสุกรับประทาน หรือผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอนขนาดประมาณเม็ดพุทรารับประทานทุกวันเป็นยาอายุวัฒนะ, กระตุ้นประสาททำให้กระชุ่มกระชวย และเป็นยาบำรุงกำลัง

คำสำคัญ: กระชายดำ ต้นกระชาย