ค้นหาสินค้า

อุปกรณ์ของระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ หลักๆมีอะไรบ้าง


โดย Smart Garden

อุปกรณ์หรือองค์ประกอบของระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ (สปริงเกอร์)    
   
   
ในการติดตั้งระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ แต่ละงานนั้นจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของการออกแบบของระบบ ซึ่งก็จะใช้อุปกรณ์ที่แตกต่างกันไป แต่โดยทั่วๆไปแล้วอุปกรณ์หลักๆ จะมีดังนี้    
   
ถังสำรองน้ำ    
   
   
ถังสำรองน้ำมีความจำเป็นอย่างมากที่ต้องมี โดยทำหน้าที่สำรองน้ำไว้ให้เพียงพอก่อนที่ปั๊มจะผลักดันน้ำไปใช้กับระบบรดน้ำต้นไม้    
โดยทั่วไปในปัจจุบันบ้านพักอาศัยจะมีถังพักน้ำอยู่แล้วสำหรับการใช้น้ำภายในบ้าน และภายนอกบ้าน รวมไปถึงใช้สำหรับการรดน้ำต้นไม้รอบบ้าน จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องติดถังสำรองน้ำเพิ่มเติมสำหรับระบบรดน้ำต้นไม้ จึงสามารถใช้ถังน้ำร่วมกันกับถังน้ำที่มีอยู่แล้ว    
   
การใช้น้ำสำหรับระบบรดน้ำต้นไม้ก็ใช้น้ำในปริมาณคล้ายกันที่เราใช้ฉีดสายยางรดน้ำต้นไม้  แต่ด้วยระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติอัตราการจ่ายน้ำอาจจะมากกว่าแต่ใช้เวลาในการรดน้ำน้อยกว่า ซึ่งโดยรวมแล้วจะใช้น้ำในปริมาณที่น้อยกว่า    
   
ปั๊มน้ำ    
   
การเลือกใช้ปั๊มที่เหมาะสมขึ้นกับการพิจารณาภาระโหลดของการจ่ายน้ำ สภาพพื้นที่ และอีกหลายๆประการ ทางเลือกเรื่องปั๊มน้ำสำหรับงานสปริงเกอร์มีดังนี้    
1. ถ้าหากพื้นที่การจ่ายน้ำไม่ใหญ่ ไม่ต้องการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม ต้องการระบบง่ายๆ ค่าใช้จ่ายไม่สูงมาก อาจจะพิจารณาใช้ปั๊มน้ำของบ้านถ้าหากปั๊มน้ำอัตโนมัติของบ้านมีแรงดันที่มากเพียงพอ    
2. ติดตั้งปั๊มน้ำอัตโนมัติสำหรับระบบสปริงเกอร์โดยเฉพาะ ทางเลือกนี้มีข้อดีคือจะไม่ทำให้แรงดันของน้ำที่ใช้ในบ้านตกลงในขณะที่สปริงเกอร์ทำงานใช้ปั๊มในการจ่ายน้ำ เพราะใช้ปั๊มน้ำคนละตัวกัน    
หรืออาจจะเป็นกรณีที่ปั๊มน้ำอัตโนมัตที่มีอยู่มีขนาดเล็กเกินไป จึงต้องลงปั๊มที่ใหญ่ขึ้น    
3. ใช้ปั๊มหอยโข่ง ซึ่งจะต้องมีตู้ควบคุมการทำงานให้มีการเปิด ปิดเมื่อสปริงเกอร์ทำงาน    
   
กรองน้ำ    
   
ชุดกรองตะกอนมีความจำเป็นจะต้องติดตั้งหากใช้แหล่งน้ำจากแหล่งธรรมชาติ เช่นจากแม่น้ำ ลำคลองเป็นต้น    
   
ตู้ควบคุมปั๊มน้ำ    
   
   
Controller (Timer)    
   
ตัวควบคุมระบบรดน้ำต้นไม้      
Controller เปรียบเสมือนกับสมองกลของระบบควบคุมการทำงานของระบบรดน้ำต้นไม้แบบอัตโนมัติ ซึ่งหากระบบใดไม่มี Controller ก็จะไม่มีการสั่งงานโดยอัตโนมัติ แต่ระบบก็สามารถทำงานได้เช่นกับแต่ด้วยการเปิดปิดด้วยมือ (Manual)    
โดยหากต้องการประหยัดงบประมาณ และต้องการระบบแบบไม่ซับซ้อน และมีบุคลากรพอเพียงที่จะมีเวลามาเปิดปิดวาล์วน้ำได้ การออกแบบระบบทำงานแบบ Manual ก็เป็นทางเลือกหนึ่ง    
Controller เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ปกติแล้วจะได้รับการติดตั้งโดยผู้รับเหมาติดตั้งระบบรดน้ำต้นไม้ ยี่ห้อที่มีในท้องตลาดได้แก่ Hunter, Rain Bird, Weathermatic.    
Controller ทำหน้าที่ในการสั่งงานทั้งปั๊มให้ทำงาน พร้อมๆกับสั่งการทำงานให้วาล์วไฟฟ้า (Solinoid Valve) แต่ละตัวให้ทำการเปิดปิดสลับกันไป สามมารถตั้งค่าเวลารดน้ำต้นไม้ และระยะเวลาในการรดน้ำต้นไม้ของแต่ละโซน จำนวนครั้งในการรดน้ำตั้งได้ถึงวันละ 12 ครั้ง ครั้งหนึ่งตั้งเวลารดน้ำได้ 1 นาทีจนถึงหลายชั่วโมง    
   
Rain Sensor    
   
เป็นอุปกรณ์ติดตั้งเสริมจาก Controller เป็นเซ็นเซอร์ตรวจจับปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมา โดยอาศัยหลักการจำรองสภาพความเปียกชื้นของดินภายในสวน หากเกินฝนตก Rain Sensor จะทำการปิดระบบรดน้ำต้นไม้ไว้ชั่วคราว หากถึงกำหนดเวลารดน้ำต้นไม้ตามเวลาที่ตั้งไว้เป็นประจำ ระบบก็จะไม่ทำงานจ่ายน้ำออกมา จนกว่าฝนจะหยุดตกและมีแดดออกเพียงพอที่จะทำให้ตัวเซ็นเซอร์แห้ง มันจึงจะอนุญาตให้ระบบทำงานเมื่อถึงเวลารดน้ำที่ตั้งไว้    
   
Solenoid Valve    
   
วาล์วไฟฟ้า    
   
เป็นวาล์วที่ควบคุมโดยสัณญาณไฟฟ้าจาก Controller มีหน้าที่เปิด ปิดตามการสั่งงานของ Controller มีหลายขนาดด้วยกัน คือ 1", 1-1/2" และ 2"    
   
ท่อน้ำ    
   
ที่ใช้งานในระบบสปริงเกอร์เช่น ท่อ PVC ท่อ HDPE และท่อ LDPE    
   
   
หัวจ่ายน้ำ    

คำสำคัญ: สปริงเกอร์ สปริงเกอร์ป๊อปอัพ