ค้นหาสินค้า

มารู้จักโรคแคงเกอร์ในมะนาว


โดย ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ

สาเหตุของโรค เชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas campestris pv.citri ( Hasse )Dye. ลักษณะอาการ ใบส้มแสดงอาการจุดนูนสีน้ำตาลเล็ก ๆ ล้อมรอบด้วยวงเหลือง พบทั้งสองด้านของใบ จุดเกิดกระจัดกระจายหรืออาจรวมกันทำให้เป็นแผลกว้าง เนื้อเยื่อกลางจุดนูนสีน้ำตาลจะหยาย และมักบุ๋มตรงกลาง อาการที่ผลเห็นจุดสีน้ำตาล เนื้อเยื่อกลางจุดมักแตกเป็นแอ่ง จุดแคงเกอร์บนผลที่เป็นโรคมากจะเชื่อมตัวกันเป็นแผลกว้างบนผล เชื้อแบคทีเรียเข้าทำลายกิ่งและลำต้น    
   
ทำให้เป็นจุดแตกนูนสีน้ำตาลบนกิ่ง ต้นส้มที่เป็นโรคแคงเกอร์มากผลผลิตจะลดลง ส้มที่เป็นโรครุนแรงได้แก่ มะนาว มะกรูด ส้มเขียวหวาน และส้มโอ การแพร่ระบาด เชื้อแบคทีเรียกระเซ็นทางน้ำ และลมฝนจากเนื้อเยื่อที่เป็นโรคไปยังส่วนอื่นของลำต้น สภาพที่มีฝนตกชุกทำให้โรคระบาดมาก วิธีการให้น้ำโดยการฉีดเข้าทางทรงพุ่มก็จะแพร่โรคให้ระบาดมาก แหล่งแพร่ระบาดคือ ส่วนของต้นที่เป็นโรคที่ตกค้างภายในสวนและกิ่งพันธุ์ที่เป็นโรค การระบาดของหนอนชอนใบจะช่วยแพร่โรคบนใบด้วย การป้องกันกำจัด ใช้กิ่งพันธุ์ที่ปลอดโรค ตัดแต่งกิ่ง ลำต้น ใบ ผล ที่เป็นโรคเผาทำลายและฉีดพ่นป้องกันด้วยสารชีวภาพกำจัดโรคพืช โคโค-แม็กซ์ KOKOMAX อัตรา 5 ช้อนแกง/น้ำ 20 ลิตร แช่น้ำทิ้งไว้ 3-5 ชั่วโมงแล้วนำมาฉีดพ่นในตอนเย็น ทุก 3-5 วัน *กรณีระบาด หรือ 7-15 วันครั้ง *กรณีป้องกัน ไม่ควรใช้ร่วมกับสารเคมีเพื่อประสิทธิภาพสูงสุด    
   
ชมรมส่งเสริมเกษตรชีวภาพ        
http://www.kokomax.com

คำสำคัญ: ยากำจัดโรคแคงเกอร์