ค้นหาสินค้า

เมล็ดทานตะวันงอก


โดย ก้องวัฒนา

เมล็ดทานตะวันมีองค์ประกอบทางเคมีหลายชนิด มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ประกอบด้วย โปรตีน ไขมัน สังกะสี เหล็กฟอสฟอรัส แคลเซียม ใยอาหาร วิตามินเอ วิตามินเค วิตามินบี 2 และวิตามินอี โดยเฉพาะวิตามินอีมีสูงกว่าพืชอื่นๆ มีสารอาหารจำพวกกรดไขมันไม่อิ่มตัว(Linoleic Acid) ซึ่งเป็นสารอาหารที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นมาเองได้ จึงต้องรับประทานเข้าไปเท่านั้น ซึ่งไขมันไม่อิ่มตัวนี้มีประโยชน์มากกับร่างกายโดยจะช่วยป้องกันโรคเส้นเลือดอุดตันในหัวใจ เป็นตัวนำสารอาหารเข้าสู่เซลล์ เพราะทำให้วิตามินหลายตัวละลายในไขมัน เช่น วิตามินเอ วิามินดี วิตามินอี วิตามินเค ชะลอความแก่ของผิวหนัง บำรุงผิวพรรณให้เต่งตึงดูอ่อนวัย    
   
วิตามินอีมีความสำคัญต่อสุขภาพต่างๆ ได้แก่    
   
1. รักษาผิวหนังให้แลดูสดใส เยาว์วัย  เมล็ดทานตะวัน เป็นธัญพืชที่อุดมด้วยวิตามินอี และสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) ที่ช่วยต่อต้านริ้วรอย ชะลออายุของเซลล์ผิว จึงช่วยให้ผิวสดใส    
   
2. ทำให้ระบบสืบพันธุ์ปกติ    
   
3. ช่วยลดไขมันในหลอดเลือด เนื่องจากในเมล็ดทานตะวันมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวอยู่สูง กรดนี้จะช่วยลดไขมันในหลอดเลือด อีกทั้งทำให้เม็ดเลือดแดงสมบูรณ์ คงทน ไม่รวมตัวเป็นกลุ่มก้อน อันเป็นสาเหตุให้หลอดเลือดอุดตัน เพิ่มการไหลเวียนของโลหิตให้ดีขึ้น    
   
4. บำรุงสายตา เนื่องจากวิตามินอีเป็นสารที่ช่วยป้องกันมิให้ออกซิเจนเข้าทำปฏิกิริยากับกรดไขมันไม่อิ่มตัวภายในแก้วตา จึงน่าจะช่วยป้องกันต้อกระจกได้    และวิตามินเอยังช่วยในการมองเห็น บำรุงสายตา    
   
   
   
เมล็ดทานตะวันงอก    
   
ต้นอ่อนของเมล็ดทานตะวัน มีโปรตีนสูงกว่าถั่วเหลือง คิดเป็นโปรตีน ๒๕ เปอร์เซนต์ มีวิตามินเอ และวิตามินอีสูง บำรุงสายตา ผิวพรรณ และชะลอความชรา    
   
นอกจากนี้ต้นอ่อนทานตะวัน ยังมีสารอาหารอื่นๆ อีกหลายตัวตัวด้วยกัน เช่น วิตามินเอ วิตามินอี โปรตีน อื่นๆ อีกมากมาย  เช่น มีวิตามิน บี 1 บี 6 โอเมก้า 3 โอเมก้า 6 โอเมก้า 9 ซึ่งช่วยบำรุงเซลล์สมอง ป้องกันโรคสมองเสื่อม (อัลไซเมอร์) และธาตุเหล็กสูง    
   
การเพาะเมล็ดทานตะวันงอก    
   
ใช้เมล็ดแบบมีเปลือกหรือไม่มีเปลือกก็ได้ นำไปแช่น้ำ 1-2 ชม. หรือมากกว่านี้ก็ได้ เอาผ้าขาวปิดไว้ วางในที่ร่มมีอากาศถ่ายเทดี    
   
พอแช่ได้ 4-5 ชม. ก็นำมาล้างน้ำและเปลือกบางๆ ทิ้งไป ล้างสัก 2-3 ครั้ง แล้วเทน้ำออกปิดผ้าไว้เหมือนเดิม  ทำวันละสองครั้ง เช้า เย็น ในระหว่างหนี้จะเห็นตุ่มงอกยาวออกมาเรื่อยๆ ซึ่งสามารถทานได้เลยแล้วแต่ว่าจะชอบให้งอกระยะไหน ระยะการเพาะเพื่อเป็นอาหาร จะเพาะประมาณ 2 วัน หรือจะนำไปปลูกเป็นต้นก็ได้    
   
ประโยชน์ต้นอ่อนทานตะวัน    
   
เมล็ดทานตะวันงอก มากมายด้วยคุณค่าทางอาหาร  เมล็ดธัญพืชงอก ถือเป็นอาหารที่มีการนำมาบริโภคกันมานาน ที่รู้จักกันเป็นอย่างดี คือถั่วงอก ซึ่งเป็นผลผลิตมาจากถั่วเขียว โดยถั่วงอกมีการนำมาทำเป็นเมนูอาหารได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นผัด ต้ม หรือทานสดๆและที่โด่งดังกันสุดๆ คือ ข้าวกล้องงอกที่อุดมไปด้วยสารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นสาร GABA (gamma aminobotyric acid) ที่มีคุณสมบัติช่วยป้องกันโรคต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง เบาหวาน ช่วยมนการควบคุมน้ำหนักตัว และที่สำคัญช่วยบำรุงเซลล์ประสาท ทำให้สองเกิดการผ่อนคลาย ป้องกันการทำลายสมอง ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคสูญเสียความทรงจำ หรืออัลไซเมอร์นั่นเอง รวมไปถึงสารอาหารอื่นๆ เช่น ใยอาหาร กรดไฟติก (Phytic acid) วิตามินซี วิตามินอี ล่าสุดมีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับเมล็ดธัญพืชอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเรารู้จักกันเป็นอย่างดี นั่นคือ “ทานตะวัน” แต่ที่ผ่านมานั้นเรารู้จักประโยชน์ของเมล็ดทานตะวันของพืชที่มีดอกใหญ่ มีการสกัดน้ำมันจากเมล็ดโดยน้ำมันดอกทานตะวันมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงสามารถนำไปใช้ในการฟอกหนัง และประกอบอาหาร แต่ข้อมูลจากการศึกษาและวิจัยพบว่า ต้นอ่อนของเมล็ดทานตะวัน มีโปรตีนสูงกว่าถั่วเหลือง มีวิตามินเอ และวิตามินอีสูง บำรุงสายตา ผิวพรรณและชะลอความชรา มีวิตามิน บี 1 บี 6 โอเมก้า 3 โอเมก้า 6 โอเมก้า 9 ซึ่งช่วยบำรุงเซลล์สมอง ป้องกันโรคสมองเสื่อม (อัลไซเมอร์) และธาตุเหล็กสูงนอกจากนี้ต้นอ่อนทานตะวัน ยังมีสารอาหารอื่นๆ อีกหลายตัวตัวด้วยกัน เช่น วิตามินเอ วิตามินอี โปรตีน ฯลฯ ต้นอ่อนทานตะวันจึงเหมาะในการนำมาปรุงเป็นอาหารสุขภาพอีกชนิดหนึ่ง โดยเมนูอาหารก็สามารถทำได้เหมือนถั่วงอก ไม่ว่าจะเป็น ผัด ต้ม ใส่ก๋วยเตี๋ยว ผัดพริกกับกุ้ง เวลาผัดอย่าใช้เวลานาน ปรุงรสต่างๆ ก่อน เสร็จแล้วใส่ทานตะวันงอกลงไปกลับเร็วๆ สองสามที หากร้อนนานไปจะทำให้สีเขียวกลายเป็นสีคล้ำ

คำสำคัญ: เมล็ดทานตะวันงอก