ค้นหาสินค้า

พืช GMO คืออะไร ?


โดย พีพีเมล็ดพันธุ์

จีเอ็มโอ (GMO)  คืออะไร    
   
หลายคนคงเคยได้ยินมาบ้างกับคำว่า จีเอ็มโอ วันนี้เรามาทำความเข้าใจกันครับว่ามันคืออะไร    
   
สรุปความหมายแล้ว สั้นๆ  จีเอ็มโอ (GMO)  คือ   สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม    
   
       จีเอ็มโอ (GMOs : Genetically Modified Organism) คือ สิ่งมีชีวิตที่เกิดจากการนำยีนหรือสารพันธุกรรมจากสิ่งมีชีวิตอื่น  ใส่เข้าไปในสิ่งมีชีวิตที่ต้องการทำให้เกิดใหม่ตามลักษณะ หรือคุณสมบัติที่ต้องการ หรือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากพันธุ์ที่มีในธรรมชาติ วิธีการดังกล่าวนี้ เรียกว่า “พันธุวิศวกรรม” (Genetic Engineering) หรือเรียกกันง่ายๆ ว่า การตัดแต่งยีน    
   
        การตัดต่อพันธุกรรม ดัดแปลงพันธุกรรม หรือดัดแปรพันธุกรรม ที่นิยมทำกับสิ่งมีชีวิตขณะนี้ คือ พืช และด้วยเหตุที่เทคโนโลยีการสร้างพันธุ์พืชขึ้นใหม่ด้วยวิธีนี้ไม่ได้เป็นไปตามธรรมชาติ ทำให้คนบางกลุ่มหวั่นวิตกว่า พืชดัดแปลงพันธุกรรมนี้จะส่งกระทบต่อสภาพแวดล้อม ทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ และเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคผลผลิตของพืชชนิดนั้นๆ จึงเกิดการต่อต้านพืชดัดแปรพันธุกรรมขึ้นด้วยแนวคิดดังกล่าว    
   
        พืชที่ได้รับการตัดแต่งยีน เรียกว่า พืชจำลองพันธุ์ หรือ Transgenic Plant ส่วนคำว่า GMOs เป็นคำที่เรียกสิ่งมีชีวิตทั่วไปที่ได้รับการตัดแต่งยีนหรือบางตำราเรียกว่า “ตัดแต่งพันธุกรรม” หรือ “ดัดแปลงพันธุกรรม” แต่ราชบัณฑิตยสถาน บัญญัติว่า “ดัดแปลงพันธุกรรม” จึงขอให้เข้าใจว่า ศัพท์ทั้ง 3 คำนี้มีความหมายเดียวกันจีเอ็มโอ (GMOs : Genetically Modified Organism) คือ สิ่งมีชีวิตที่เกิดจากการนำยีนหรือสารพันธุกรรมจากสิ่งมีชีวิตอื่น  ใส่เข้าไปในสิ่งมีชีวิตที่ต้องการทำให้เกิดใหม่ตามลักษณะ หรือคุณสมบัติที่ต้องการ หรือทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากพันธุ์ที่มีในธรรมชาติ วิธีการดังกล่าวนี้ เรียกว่า “พันธุวิศวกรรม” (Genetic Engineering) หรือเรียกกันง่ายๆ ว่า การตัดแต่งยีน    
   
           พืชดัดแปลงพันธุกรรม คือ พืชที่ได้รับการคัดเลือกให้มาผ่านกระบวนการทางพันธุวิศวกรรม (Genetic Engineering) เพื่อที่จะให้พืชชนิดนั้น มีคุณลักษณะหรือคุณสมบัติที่จำเพาะเจาะจง ตรงตามความต้องการ เช่น พืชที่ทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศที่ไม่เอื้อต่อการเจริญเติบโต, พืชที่มีความสามารถต้านทานแมลงศัตรูพืชได้, พืชที่มีสารอาหารทางโภชนาการหรือสารชีวโมเลกุลบางชนิดที่เพิ่มขึ้น เช่น มี โปรตีน หรือ วิตามิน หรือ ไขมัน ที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น    
   
           พืชจีเอ็มโอ ที่ได้มีการวางจำหน่ายแล้วตามท้องตลาดในปัจจุบัน ได้แก่ ข้าวโพด, มะเขือเทศ, ถั่วเหลือง, ฝ้าย, มันฝรั่ง, มะละกอ, สควอช (Squash) และ คาโนลา (Canola) (พืชที่ให้น้ำมัน)    
   
   
ข้อแตกต่างระหว่าง GMOs กับ GMO (Difference between GMOs and GMO)    
   
    GMOs ย่อมาจากคำว่า Genetically Modified Organisms ส่วน GMO ย่อมาจากคำว่า Genetically Modified Organism ซึ่งคือ GMOs เป็นรูปพหูพจน์ของ GMO โดยที่ GMO เป็นรูปเอกพจน์ หมายความว่าตัว s ที่ตามหลังคำว่า GMO ทำให้ GMOs เป็นรูปพหูพจน์ ดังนั้น ความแตกต่างระหว่าง GMOs และ GMO คือ คำว่า GMO กล่าวถึงสิ่งมีชีวิตที่ถูกดัดแปลงทางพันธุกรรมเพียงตัวเดียวหรือเพียงต้นเดียว ส่วน GMOs กล่าวถึงสิ่งมีชีวิตที่ถูกดัดแปลงทางพันธุกรรมที่มากกว่า 1 ตัวหรือ 1 ต้น ขึ้นไป

ข้อดีของ GMOs    
   
          GMOs คือผลผลิตจากความก้าวหน้าของวิทยาการทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพและชีววิทยาระดับโมเลกุล (molecular biology) โดยเฉพาะพันธุวิศวกรรมศาสตร์ ที่ได้พัฒนาอย่างรวดเร็วจนถึงระดับสูงมาก สิ่งที่เป็นแรงผลักดันให้นักวิทยาศาสตร์และสถาบันวิจัยทั่วโลก ทุ่มเทพลังความคิดและทุนวิจัยจำนวนมหาศาลเพื่อศาสตร์นี้ คือ ความมุ่งหมายที่จะพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรโลก ทั้งทางด้านโภชนาการ การแพทย์ และสาธารณสุข    
   
          ความสำเร็จแห่งการพัฒนาศาสตร์ดังกล่าว มีรูปธรรมคือการยกระดับคุณภาพอาหาร ยา และเทคโนโลยีทางการแพทย์ ดังที่เราได้รับผลประโยชน์อยุ่ทุกวันนี้ และในภาวะที่จำนวนประชากรโลกเพิ่ม มากขึ้นทุกวัน ในขณะที่พื้นที่การผลิตลดลง พันธุวิศวกรรมเป็นเทคโนโลยีที่ดีที่สุดอันหนึ่ง ที่จะช่วยแก้ปัญหา การขาดแคลนอาหารและยาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ เนื่องจากประสิทธิภาพของพันธุวิศวกรรมเป็นที่ยอมรับว่า สามารถช่วยเพิ่มอัตราผลผลิตต่อพื้นที่สูงขึ้นมากกว่าการผลิตในรูปแบบดั้งเดิม ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การเกษตรในสหรัฐอเมริกา และด้วยการที่พันธุวิศวกรรม สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตได้ดังกล่าว จึงมีการกล่าวกันว่า พันธุวิศวกรรมคือการปฏิวัติครั้งใหญ่ในด้านการเกษตร และการแพทย์ ที่เรียกว่า    
genomic revolution    
   
          GMOs ที่ได้รับการพัฒนาจนเสร็จสมบูรณ์แล้ว และกำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนา ได้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ในหลายด้าน ได้แก่    
   
ประโยชน์ต่อเกษตรกร    
          1. ทำให้เกิดพืชสายพันธุ์ใหม่ที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม เช่น ทนต่อศัตรูพืช หรือมีความสามารถในการ ป้องกันตนเองจากศัตรูพืช เช่น เชื้อไวรัส เชื้อรา แบคทีเรีย แมลงศัตรูพืช หรือแม้แต่ยาฆ่าแมลง และยาปราบวัชพืช หรือในบางกรณีอาจเป็นพืชที่ทนแล้ง ทนดินเค็ม ดินเปรี้ยว คุณสมบัติ เช่นนี้เป็นประโยชน์ ต่อเกษตรกร เราเรียกลักษณะเช่นนี้ว่าเป็น agronomic traits    
   
          2. ทำให้เกิดพืชสายพันธุ์ใหม่ที่มีคุณสมบัติเหมาะแก่การเก็บรักษาเป็นเวลานาน ทำให้สามารถอยู่ได้นานวัน และขนส่งได้เป็นระยะทางไกลโดยไม่เน่าเสีย เช่น มะเขือเทศที่สุกช้า หรือแม้จะสุกแต่ก็ไม่งอม เนื้อยังแข็ง และกรอบ ไม่งอมหรือเละเมื่อไปถึงมือผู้บริโภค ลักษณะนี้ก็ถือว่าเป็น agronomic traits เช่นเดียวกัน เพราะให้ประโยชน์แก่เกษตรกรและผู้จำหน่าย สินค้า GMOs ส่วนใหญ่ที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้อยู่ในจำพวก ข้อ 1 หรือ ข้อ 2 ที่กล่าวมานี้    
   
ประโยชน์ต่อผู้บริโภค    
          3. ทำให้เกิดธัญพืช ผัก หรือผลไม้ที่มีคุณสมบัติเพิ่มขึ้นในทางโภชนาการ เช่น ส้มหรือมะนาวที่มีวิตามินซีเพิ่ม มากขึ้น หรือผลไม้ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิม ให้ผลมากกว่าเดิม ลักษณะเหล่านี้เป็นการเพิ่มคุณค่าเชิงคุณภาพ (quality traits)    
   
          4. ทำให้เกิดพันธุ์พืชใหม่ๆ ที่มีคุณค่าในเชิงพาณิชย์ เช่น ดอกไม้หรือพืชจำพวกไม้ประดับสายพันธุ์ใหม่ที่มี รูปร่างแปลกกว่าเดิม ขนาดใหญ่กว่าเดิม สีสันแปลกไปจากเดิม หรือมีความคงทนกว่าเดิม ซึ่งถือว่าเป็น quality traits เช่นกัน    
   
          GMOs ที่มีลักษณะที่กล่าวมาในข้อ 3 และข้อ 4 นี้ในบางประเทศเช่น สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นเริ่มมีจำหน่าย เป็นสินค้าแล้ว และคาดว่าจะมีความแพร่หลายมากขึ้นในช่วงหลายปีต่อจากนี้ ทั้งหมดที่กล่าวมาตั้งแต่ข้อ 1-4 นี้ อาจเรียกได้ว่าเป็นการลัดขั้นตอนของการผสมพันธุ์พืช ซึ่งในหลายกรณีหากช่วงชีวิตของพืชยาว ทำให้ต้องกิน เวลานานกว่าจะได้ผลเนื่องจากต้องมีการคัดเลือกหลายครั้ง การทำ GMOs ทำให้ขั้นตอนนี้เร็วและแม่นยำยิ่งขึ้น กว่าเดิมมาก    
   
ประโยชน์ต่ออุตสาหกรรม    
          5. คุณสมบัติของพืชที่ทำให้ลดการใช้สารเคมี และช่วยให้ได้พืชผลมากขึ้นกว่าเดิมมีผลทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง วัตถุดิบที่มาจากภาคเกษตร เช่น กากถั่วเหลือง อาหารสัตว์จึงมีราคาถูกลง ทำให้เพิ่มอำนาจในการแข่งขัน    
   
          6. นอกจากพืชแล้ว ยังมี GMOs หลายชนิดที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น เอ็นไซม์ที่ใช้ ในการผลิตน้ำผักและน้ำผลไม้ หรือเอ็นไซม์ ไคโมซิน ที่ใช้ในการผลิตเนยแข็งแทบทั้งหมดเป็นผลิตภัณฑ์ที่ ได้จาก GMOs และมีมาเป็นเวลานานแล้ว    
   
          7. การผลิตวัคซีน หรือยาชนิดอื่นๆ ในอุตสาหกรรมยาปัจจุบันนี้ล้วนแล้วแต่ใช้ GMOs แทบทั้งสิ้น อีกไม่นานนี้ เราอาจมีน้ำนมวัวที่มีส่วนประกอบของยาหรือฮอร์โมนที่จำเป็นต่อมนุษย์ ซึ่งผลิตจาก GMOs ลักษณะที่กล่าวถึง ตั้งแต่ข้อ 6-8 ล้วนมีส่วนทำให้ลดต้นทุนการผลิตและเวลาที่ต้องใช้ลงทั้งสิ้น    
   
ประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม    
          8. ประโยชน์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมคือ เมื่อพืชมีคุณสมบัติสามารถป้องกันศัตรูพืชได้เอง อัตราการใช้สารเคมีเพื่อ ปราบศัตรูพืชก็จะลดน้อยลงจนถึงไม่ต้องใช้เลย ทำให้มีลดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น จากการใช้สารเคมี ปราบศัตรูพืช และลดอันตรายต่อเกษตรกรเองที่เกิดขึ้นจากพิษของการฉีดสารเหล่านั้นในปริมาณมาก (ยกเว้น บางกรณีเช่น พืชที่ต้านทานยาปราบวัชพืชที่อาจมีโอกาสทำให้เกิดแนวโน้มในการใช้สารปราบวัชพืชของบาง บริษัทมากขึ้น ซึ่งขณะนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่)    
   
          9. หากยอมรับว่าการปรับปรุงพันธุ์ และการคัดเลือกพันธุ์พืชเป็นการเพิ่มความหลากหลายของสายพันธุ์ให้มากขึ้น แล้ว การพัฒนา GMOs ก็ย่อมมีผลทำให้เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพขึ้นเช่นกัน เนื่องจากยีนที่มีคุณสมบัติ เด่นได้รับการคัดเลือกให้มีโอกาสแสดงออกได้ในสิ่งมีชีวิตหลากหลายสายพันธุ์มากขึ้น

ข้อเสียของ GMOs    
   
          เทคโนโลยีทุกชนิดเมื่อมีข้อดีก็ย่อมมีข้อเสีย ในกรณีของ GMOs นั้นข้อเสียคือ มีความเสี่ยงและความซับซ้อนใน การบริหารจัดการเพื่อให้มีความปลอดภัยเพื่อให้เกิดประโยชน์มากกว่าโทษ แม้ว่าในขณะนี้ยังไม่มีรายงานว่ามี ผู้ใดได้รับอันตรายจากการบริโภคอาหาร GMOs แต่ความกังวลต่อความเสี่ยงของการใช้ GMOs เป็นสิ่งที่ หลีกเลี่ยงได้ยาก เช่น กรณีตัวอย่างดังต่อไปนี้    
   
ความเสี่ยงต่อผู้บริโภค    
          1. สารอาหารจาก GMOs อาจมีสิ่งปนเปื้อนที่เป็นอันตราย เช่น เคยมีข่าวว่า กรดอะมิโน L-Tryptophan ของบริษัท Showa Denko ทำให้ผู้บริโภคในสหรัฐเกิดอาการป่วยและล้มตาย อย่างไรก็ตาม กรณีที่เกิดขึ้นนี้แท้จริงแล้วเป็น ผลมาจากความบกพร่องในขั้นตอนการควบคุมคุณภาพ (quality control) ทำให้มีสิ่งปนเปื้อนหลงเหลืออยู่ หลังจาก กระบวนการทำให้บริสุทธิ์ มิใช่ตัว GMOs ที่เป็นอันตราย    
   
          2. ความกังวลในเรื่องของการเป็นพาหะของสารพิษ เช่น ความกังวลที่ว่า DNA จากไวรัสที่ใช้ในการทำ GMOs อาจเป็นอันตราย เช่น การทดลองของ Dr.Pusztai ที่ทดลองให้หนูกินมันฝรั่งดิบที่มี lectin และพบว่าหนูมีภูมิคุ้ม กันลดลง และมีอาการบวมผิดปกติของลำไส้ ซึ่งงานชิ้นนี้ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างสูง โดยนักวิทยาศาสตร์ ส่วนใหญ่มีความเห็นว่าการออกแบบการทดลองและวิธีการทดลองบกพร่อง ไม่ได้มาตรฐานตามหลักการวิทยา ศาสตร์ ในขณะนี้เชื่อว่ากำลังมีความพยายามที่จะดำเนินการทดลองที่รัดกุมมากขึ้นเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้ มากขึ้น และจะสามารถสรุปได้ว่าผลที่ปรากฏมาจากการตบแต่งทางพันธุกรรมหรืออาจเป็นเพราะเหตุผลอื่น    
   
          3. สารอาหารจาก GMOs อาจมีคุณค่าทางโภชนาการไม่เท่าอาหารปกติในธรรมชาติ เช่น รายงานที่ว่าถั่วเหลืองที่ ตัดแต่งพันธุกรรมมี isoflavone มากกว่าถั่วเหลืองธรรมดาเล็กน้อย ซึ่งสารชนิดนี้เป็นกลุ่มของสารที่เป็น phytoestrogen (ฮอร์โมนพืช) ทำให้มีความกังวลว่า การเพิ่มขึ้นของฮอร์โมน estrogen อาจทำให้เป็นอันตรายต่อ ผู้บริโภคหรือไม่ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กทารก จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาผลกระทบของการเพิ่มปริมาณของสาร isoflavine ต่อกลุ่มผู้บริโภคด้วย    
   
          4. ความกังวลต่อการเกิดสารภูมิแพ้ (allergen) ซึ่งอาจได้มาจากแหล่งเดิมของยีนที่นำมาใช้ทำ GMOs นั้น ตัวอย่าง ที่เคยมีเช่น การใช้ยีนจากถั่ว Brazil nut มาทำ GMOs เพื่อเพิ่มคุณค่าโปรตีนในถั่วเหลืองสำหรับเป็นอาหารสัตว์ จากการศึกษาที่มีขึ้นก่อนที่จะมีการผลิตออกจำหน่าย พบว่าถั่วเหลืองชนิดนี้อาจทำให้คนกลุ่มหนึ่งเกิดอาการแพ้ เนื่องจากได้รับโปรตีนที่เป็นสารภูมิแพ้จากถั่ว Brazil nut บริษัทจึงได้ระงับการพัฒนา GMOs ชนิดนี้ไป อย่างไร ก็ตามพืช GMOs อื่นๆ ที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วไปในโลกในขณะนี้ เช่น ถั่วเหลืองและข้าวโพดนั้น ได้รับการประเมิน แล้วว่า อัตราความเสี่ยงไม่แตกต่างจากถั่วเหลืองและข้าวโพดที่ปลูกอยู่ทั่วไปในปัจจุบัน    
   
          5. การตบแต่งพันธุกรรมในสัตว์ปลอดภัยต่อผู้บริโภคหรือไม่? ในบางกรณี วัว หมู รวมทั้งสัตว์ชนิดอื่นที่ได้รับ recombinant growth hormone อาจมีคุณภาพที่แตกต่างไปจากธรรมชาติ และ/หรือมีสารตกค้างหรือไม่ ขณะนี้ยัง ไม่มีข้อยืนยันชัดเจนในเรื่องนี้ อย่างไรก็ตาม สัตว์มีระบบสรีระวิทยาที่ซับซ้อนมากกว่าพืช และเชื้อจุลินทรีย์ ทำให้การตบแต่งพันธุกรรมในสัตว์ อาจทำให้เกิดผลกระทบอื่นๆ ที่ไม่คาดคิดได้ โดยอาจทำให้สัตว์มีลักษณะและ คุณสมบัติเปลี่ยนไป และมีผลทำให้เกิดสารพิษอื่นๆ ที่เป็นสารตกค้างที่ไม่ปรารถนาขึ้นได้ การตบแต่งพันธุกรรม ในสัตว์ที่เป็นอาหารโดยตรง จึงควรต้องมีการพิจารณาขั้นตอนการประเมินความปลอดภัยที่ครอบคลุมมากกว่า เชื้อจุลินทรีย์และพืช    
   
          6. ความกังวลเกี่ยวกับการดื้อยา กล่าวคือเนื่องจากใน marker gene มักจะใช้ยีนที่สร้างสารต่อต้านปฏิชีวนะ (antibiotic resistance) ดังนั้นจึงมีผู้กังวลว่าพืชใหม่ที่ได้อาจมีสารต้านปฏิชีวนะอยู่ด้วย ทำให้มีคำถามว่า    
                     6.1 ถ้าผู้บริโภคอยู่ในระหว่างการใช้ยาปฏิชีวนะอยู่ อาจจะทำให้การรักษาไม่ได้ผลหรือไม่ เนื่องจากมีสารต้าน ทานยาปฏิชีวนะอยู่ในร่างกาย ซึ่งเป็นปัญหาที่นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่ามีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อย และสามารถแก้ไข หรือหลีกเลี่ยงได้    
                     6.2 ถ้าเชื้อแบคทีเรียที่ตามปกติมีอยู่ในร่างกายคน ได้รับ marker gene ดังกล่าวเข้าไปโดยผนวก (integrate) เข้าอยู่ในโครโมโซมของมันเอง ก็จะทำให้เกิดแบคทีเรียสายพันธุ์ใหม่ที่ดื้อยาปฏิชีวนะได้ ข้อนี้มีโอกาสเป็นไปได้ น้อยมาก    
แต่เมื่อมีความกังวลเกิดขึ้น ขณะนี้นักวิทยาศาสตร์จึงได้คิดค้นวิธีใหม่ที่ไม่ต้องใช้ selectable marker ที่เป็นสาร ต่อต้านปฏิชีวนะ หรือบางกรณีก็สามารถนำยีนส่วนที่สร้างสารต่อต้านปฏิชีวนะออกไปได้ก่อนที่จะเข้าสู่ห่วงโซ่ อาหาร    
   
          7. ความกังวลเกี่ยวกับการที่ยีน 35S promoter และ NOS terminator ที่อยู่ในเซลล์ของ GMOs จะหลุดรอดจากการ ย่อยภายในกระเพาะอาหารและลำไส้ เข้าสู่เซลล์ปกติของคนที่รับประทานเข้าไป แล้วเกิด active ขึ้นทำให้เกิด การเปลี่ยนแปลงของยีนในมนุษย์ ซึ่งข้อนี้จากผลการทดลองที่ผ่านมายืนยันได้ว่า ไม่น่ากังวลเนื่องจากมีโอกาส เป็นไปได้น้อยที่สุด    
   
          8. อย่างไรก็ตาม อาจจำเป็นต้องใช้ความระมัดระวังบ้างในบางกรณี เช่น เด็กอ่อนที่มีระบบทางเดินอาหารที่สั้นกว่า ผู้ใหญ่ทำให้การย่อยอาหารโดยเฉพาะ DNA ในอาหาร เป็นไปโดยไม่สมบูรณ์เมื่อเทียบกับผู้ใหญ่ ในข้อนี้แม้ว่า จะมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดอันตรายค่อนข้างต่ำ แต่ก็ควรมีการวิจัยโดยละเอียดต่อไป    
   
ความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อม    
          9. มีความกังวลว่า สารพิษบางชนิดที่ใช้ปราบแมลงศัตรูพืช เช่น Bt toxin ที่มีอยู่ใน GMOs บางชนิดอาจมีผล กระทบต่อแมลงที่มีประโยชน์ชนิดอื่นๆ เช่น ผลการทดลองของ Losey แห่งมหาวิทยาลัย Cornell ที่กล่าวถึงการ ศึกษาผลกระทบของสารฆ่าแมลงของเชื้อ Bacillus thuringiensis (บีที) ในข้าวโพดตบแต่งพันธุกรรมที่มีต่อผีเสื้อ Monarch ซึ่งการทดลองเหล่านี้ทำในห้องทดลองภายใต้สภาพเงื่อนไขที่บีบเค้น และได้ให้ผลในขั้นต้นเท่านั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการทดลองภาคสนามเพื่อให้ทราบผลที่มีนัยสำคัญ ก่อนที่จะมีการสรุปผลและนำไปขยาย ความ    
   
          10. ความกังวลต่อการถ่ายเทยีนออกสู่สิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพเนื่องจาก มีสายพันธุ์ใหม่ที่เหนือกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมในธรรมชาติ หรือลักษณะสำคัญบางอย่างถูกถ่ายทอดไปยังสายพันธุ์ ที่ไม่พึงประสงค์ หรือแม้กระทั่งการทำให้เกิดการดื้อต่อยาปราบวัชพืช เช่น ที่กล่าวกันว่าทำให้เกิด super bug หรือ super weed เป็นต้น ในขณะนี้มีการวิจัยจำนวนมากเกี่ยวกับการถ่ายเทของยีน แต่ยังไม่มีข้อยืนยันในเรื่องนี้    
   
ความกังวลในด้านเศรษฐกิจ-สังคม    
          11. ความกังวลอื่นๆ นั้นมักเป็นเรื่องนอกเหนือวิทยาศาสตร์ เช่น ในเรื่องการครอบงำโดยบรรษัทข้ามชาติที่มีสิทธิ บัตร ถือครองสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับ GMOs ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับความมั่นคงทาง อาหาร ตลอดจนปัญหาความสามารถในการพึ่งตนเองของประเทศในอนาคต ที่มักถูกหยิบยกขึ้นมากล่าวถึงโดย NGOs และปัญหาในเรื่องการกีดกันสินค้า GMOs ในเวทีการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นประเด็นปัญหาของ ประเทศไทยอยู่ในปัจจุบัน    
   
          แม้ว่าจะมีความกังวลอยู่ แต่ควรทราบว่า GMOs เป็นผลิตผลจากเทคโนโลยีที่ได้รับการดูแลอย่างดีที่สุดอย่างหนึ่ง เท่าที่มนุษย์เคยคิดค้นมา ในประเทศไทยมีแนวปฏิบัติในเรื่องความปลอดภัยทางชีวภาพสำหรับนักวิจัย (biosafety guidelines) ทุกขั้นตอน ทั้งในระดับห้องปฏิบัติการและในการทดลองภาคสนามเพื่อให้การวิจัยและ พัฒนา GMOs มีความปลอดภัยสูงสุด และเป็นพื้นฐานในการประเมินความเสี่ยงต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ซึ่งการ ประเมินความเสี่ยงนี้เป็นสิ่งที่จำเป็นที่ต้องกระทำอย่างต่อเนื่องในแต่ละสภาพแวดล้อม เพื่อให้ได้ข้อมูลที่รอบด้าน และรัดกุมที่สุด    
          อย่างไรก็ดี กรณี GMOs เป็นโอกาสที่ดีในการที่ประชาชนในชาติได้มีความตื่นตัวและเร่งสร้างวุฒิภาวะ โดย เฉพาะอย่างยิ่งความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากการตัดสินใจใดๆ ของสังคมควรเป็นไปโดยอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจในวิทยาศาสตร์ และโดยขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ นั่นคือ การให้ความสำคัญกับที่มาของข้อมูลและการตรวจสอบความถูกต้องแม่นยำของข้อมูล มิใช่เป็นไปโดยความ ตื่นกลัว หรือการตามกระแส    
   
อ้างอิง มธุรา สิริจันทรัตน์

ตัวอย่างของ พืช GMOs หรือ พืชดัดแปลงพันธุกรรม (Examples of GMOs, Plants)    
   
    มะเขือเทศ GMOs    
    ทำให้ได้มะเขือเทศมีลักษณะที่ดีขึ้น มีความทนทานต่อโรคมากขึ้น จากการที่ใส่ antisense gene ของยีน(gene)ที่ผลิตเอนไซม์ polygalacturonase (PG) ทำให้เอนไซม์ polygalacturonase ถูกรบกวนการแสดงออก มีผลทำให้เนื้อของมะเขือเทศมีความแข็งมากขึ้นทำให้ลดความเสียหายหรือการบอบช้ำขณะทำการขนส่งลง ทำให้มะเขือเทศเน่าช้าลงหลังจากที่เก็บเกี่ยวแล้ว    
   
    มะละกอ GMOs    
    ทำให้ได้มะละกอที่ต้านทานโรคห่าได้ หรือต้านทานโรคไวรัสใบด่างวงแหวนได้ และทำให้ได้มะละกอมีจำนวนเมล็ดที่น้อยลง    
   
    ถั่วเหลือง GMOs    
    ทำให้ได้ถั่วเหลืองที่มีลักษณะที่ดีขึ้น จากการนำยีน(gene)จากแบคทีเรียใส่ลงไปในดีเอ็นเอ(DNA)ของถั่วเหลือง ทำให้ถั่วเหลืองมีความสามารถที่ทนทานต่อสารเคมีที่ปราบวัชพืชชนิด Roundup (glyphosate) หรือ glufosinate ได้ดีกว่าถั่วเหลืองแบบทั่วไป มีผลทำให้สามารถใช้สารเคมีชนิด Roundup ได้ในปริมาณที่มากขึ้น ก่อให้เกิดได้ผลผลิตของถั่วเหลืองมีจำนวนมากขึ้นไปด้วย, จากการที่ทำการ knocked out ยีน(gene)เดิมที่ทำให้เกิดไขมันชนิดอิ่มตัว ทำให้ได้ถั่วเหลืองที่มีไขมันชนิดอิ่มตัวน้อยลง, จากการที่นำยีน(gene)พวกยีนบีทีใส่ลงไปในถั่วเหลืองทำให้ถั่วเหลืองสามารถฆ่าหนอนแมลงที่เป็นศัตรูของถั่วเหลืองได้    
   
   
    ฝ้าย GMOs    
    ทำให้ได้ฝ้ายที่สามารถฆ่าหนอนที่เป็นศัตรูของฝ้ายได้ โดยได้ใส่ยีน(gene)ของแบคทีเรียที่ชื่อ Bacillus thuringiensis var. kurataki (B.t.k) แทรกเข้าไปในโครโมโซม(chromosome)ของต้นฝ้าย ทำให้ฝ้ายสามารถที่จะสร้างโปรตีน Cry 1A ที่สามารถฆ่าหนอนที่เป็นศัตรูของฝ้ายได้    
   
    มันฝรั่ง GMOs    
    ทำให้ได้มันฝรั่ง (Potato)ที่มีลักษณะที่ดีขึ้น มีคุณค่าทางสารอาหารที่เพิ่มมากขึ้นโดยได้ใส่ยีน(gene)ของแบคทีเรียที่ชื่อ Bacillus thuringiensis แทรกเข้าไปในยีน(gene)ของมันฝรั่ง ทำให้มันฝรั่ง GMOs มีคุณค่าทางสารอาหาร(เพิ่มปริมาณโปรตีน)ที่เพิ่มมากขึ้น และในบางชนิดอาจมีประโยชน์ในทางการแพทย์ที่สามารถผลิตวัคซีนที่เป็นประโยชน์กับมนุษย์ได้อีกด้วย    
   
    ข้าวโพด GMOs    
    ทำให้ได้ข้าวโพดที่มีลักษณะที่ดีขึ้น สามารถสร้างสารพิษทำให้แมลงที่มากัดกินข้าวโพดตายได้ โดยได้ใส่ยีน(gene)ของแบคทีเรียที่ชื่อ Bacillus thuringiensis แทรกเข้าไปในยีน(gene)ของเมล็ดข้าวโพด จึงสามารถทำให้ข้าวโพดสร้างสารที่เป็นพิษต่อแมลงที่เป็นศัตรูของข้าวโพดได้ โดยเมื่อแมลงที่เป็นศัตรูของข้าวโพดมากัดกินข้าวโพด GMOs แมลงก็จะตายลง    
   
    อ้อย GMOs    
    ทำให้ได้อ้อยที่มีลักษณะที่ดีขึ้น ทำให้สามารถต่อต้านยาฆ่าแมลง และมีปริมาณน้ำตาลซูโครสในปริมาณที่สูงขึ้น    
   
    ข้าว GMOs    
    ทำให้ได้ข้าวที่มีลักษณะที่ดีขึ้น สามารถทนแล้ง ทนเค็มได้ หรือ มีสารอาหารอย่างบีต้าแคโรทีน(beta-carotene) ที่เป็นสารเริ่มต้น (precursor)ของวิตามิน A ได้    
   
    พริกหวาน GMOs    
    ทำให้ได้พริกหวานที่มีลักษณะที่ดีขึ้น จากการที่ใส่ยีน(gene) coat protein ของไวรัสลงไปในดีเอ็นเอ(DNA)ทำให้สามารถต้านทานไวรัสได้    
   
    สตรอเบอรี่ GMOs    
    ทำให้ได้สตรอเบอรี่ที่มีลักษณะที่ดีขึ้น อย่างเช่น ผลของสตรอเบอรี่เน่าเสียได้ช้าลง ก่อให้เกิดความสะดวกในการขนส่งมากยิ่งขึ้น ทำให้ผลของสตรอเบอรี่มีสารอาหารเพิ่มมากขึ้น    
   
    แอปเปิล GMOs    
    ทำให้ได้แอปเปิลที่มีลักษณะที่ดีขึ้น คือ ทำให้แอปเปิลมีความสดใหม่และมีความกรอบของผลแอปเปิลเป็นระยะเวลาที่ยาวนานขึ้นหรือคือทำให้ระยะเวลาในการเน่าเสียช้าลง (delay ripening) ทำให้แอปเปิลทนทานต่อแมลงต่างๆ ที่เป็นศัตรูของแอปเปิล    
   
    วอลนัท GMOs    
    ทำให้ได้เม็ดวอลนัทมีลักษณะที่ดีขึ้น คือ ทนทานต่อโรคของวอลนัทมากขึ้น    
   
    คาโนลา(Canola) GMOs    
    ทำให้ได้คาโนลา(Canola)มีลักษณะที่ดีขึ้น ต้านทานยาปราบวัชพืชพวก glyphosate หรือ glufosinate ได้ ทำให้ได้น้ำมันจากคาโนลา(Canola)มากขึ้น    
   
    สควอช(Squash) GMOs    
    ทำให้ได้สควอช(Squash)มีลักษณะที่ดีขึ้น จากการที่ใส่ยีน(gene) coat protein ของไวรัสลงไปในดีเอ็นเอ(DNA)ทำให้สามารถต้านทานไวรัสได้

พืชดัดแปลงพันธุกรรมกับความปลอดภัย    
   
          การพิจารณาว่า จี เอ็ม โอ ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และ/หรือ สิ่งแวดล้อมนั้น จะต้องผ่านการทดลองหลายด้านเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้ เนื่องจากสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีความหลากหลายทางพันธุกรรมและมีบทบาท ในสิ่งแวดล้อมต่างๆกันไป และก่อนที่ผู้ผลิตรายใดจะนำเอาจี เอ็ม โอ หรือผลผลิตจากจี เอ็ม โอแต่ละชนิดออกสู่ผู้บริโภคนั้น จะต้องได้รับการประเมินความปลอดภัยจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ต้องอาศัยผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละสาขาวิชาเพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์นั้นๆมีความปลอดภัยเทียบเท่ากับผลิตภัณฑ์ในลักษณะเดียวกันที่มีอยู่แล้วในธรรรมชาติ ดังนั้นจึงถือได้ว่าผลิตพันฑ์จี เอ็ม โอ ทุกชนิด ทั้งที่นำมาเป็นอาหาร หรือที่นำมาปลูกเพื่อจำหน่ายในทางพาณิชย์มีความปลอดภัยแล้ว บางคนคิดว่าจีเอ็มโอคือสารปนเปื้อนที่มีอันตราย ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ไม่ใช่อย่างแน่นอน เพราะจี เอ็ม โอ ไม่ใช่สารปนเปื้อนและไม่ใช่สารเคมี แต่จี เอ็ม โอนั้นคือ “สิ่งไม่มีชีวิต” ที่เป็นผลพวงจากการใช้เทคนิคทางเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ ซึ่งเกิดจากความตั้งใจของนักวิทยาศาสตร์ที่จะปรับปรุงพันธุ์ให้มีคุณสมบัติตามอย่างที่ต้องการ ยกตัวอย่างเช่น การดัดแปรพันธุกรรมของมะเขือเทศให้มีลักษณะการสุกงอมที่ช้าลงกว่าปรกติ การดัดแปลงพันธุกรรมของถั่วเหลืองให้มีไขมันชนิดไม่อิ่มตัวสูงซึ่งให้ประโยชน์ต่อมนุษย์สูง เป็นต้น ดังนั้นการใช้คำว่า “ปนเปื้อน” ในกรณีนี้จึงไม่ถูกต้อง เพราะ ”ปนเปื้อน” มีความหมายในลักษณะที่ไม่ต้องการให้มี เช่นไม่ต้องการให้อาหารมีการปนเปิ้อนของสารปรอทหรือสารหนูปนเปื้อนในอาหารเป็นต้น ดังนั้น จีเอ็มโอไม่ใช่สารปนเปื้อนแน่นอน

พืชจีเอ็มโอกับประเทศไทย    
   
          ประเทศไทยนำเข้าวัตถุดิบจีเอ็มโอจำนวนมากเพื่อใช้ผลิตอาหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งถั่วเหลือง ซึ่งนำเข้ามาจาก สหรัฐอเมริกา และอาร์เจนตินา มากที่สุด (ทั้งสองประเทศนี้เป็นผู้ผลิตและส่งออก ถั่วเหลืองจีเอ็มโอ รายใหญ่ที่สุดในโลก โดย ๙๙% ของถั่วเหลือง ที่ปลูกในอาร์เจนตินา เป็นถั่วเหลือง จีเอ็มโอ และ ๘๐% ของถั่วเหลืองที่ปลูกในสหรัฐอเมริกา เป็นจีเอ็มโอ) จากการ ตรวจสอบของ กรีนพีซพบว่า ผลิตภัณฑ์อาหาร สำเร็จรูปในท้องตลาด มีการปนเปื้อนถั่วเหลือง จีเอ็มโอ โดยไม่ได้ติดฉลาก ให้ประชาชนได้รับทราบ    
   
          ระบบการตรวจสอบความปลอดภัยของอาหารจีเอ็มโอในปัจจุบัน ยังไม่สมบูรณ์ และข้ออ้างว่า อาหารจีเอ็มโอ ปลอดภัย ก็เชื่อถือไม่ได้ เพราะในความเป็นจริง อาหารจีเอ็มโอกับอาหารปกตินั้น แตกต่าง    
   
จนถึงวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๔๗ ประเทศไทยยังไม่อนุญาตให้ปลูกพืชจีเอ็มโอ เพื่อการค้า และ ยังมีมติ ครม. สั่งระงับการทดลองปลูกพืช จีเอ็มโอระดับไร่นา    
   
พืชจีเอ็มโอกับประเทศไทย    
   
         ไม่เฉพาะประเทศไทยเท่านั้น ที่มีมาตรการในการควบคุมพืชจีเอ็มโอ ในระดับนานาชาติก็มีมาตรการกำหนดไว้เช่นเดียวกัน โดยได้จัดทำพิธีสารว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ ภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งมีสาระสำคัญประการหนึ่งคือ การเสนอให้ใช้หลักการตกลงที่ได้มีการเห็นชอบล่วงหน้า โดยส่งออกสินค้าจีเอ็มโอต้องให้ข้อมูลอย่างละเอียดต่อประเทศผู้นำเข้า โดยเฉพาะข้อมูลด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ รวมทั้งการจัดการประเมินความเสี่ยงเพื่อขอนุญาตนำเข้า ซึ่งประเทศผู้นำเข้าต้องมีมาตรการในการตรวจสอบด้วย    
         สหภาพยุโรป ใช้มาตรการปิดฉลากสินค้าอาหารที่ประกอบด้วยวัตถุดิบที่ใช้เทคโนโลยีชีวภาพ หรือวัตถุดิบที่เป็นจีเอ็มโอ    
         อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการเจรจาเกี่ยวกับปัญหาสินค้าจีเอ็มโอในเวทีการค้าระหว่างประเทศ เช่น ใน CODEX หรือ WTO แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่สามารถสรุปเป็นข้อปฏิบัติมาตรฐานระหว่างประเทศสำหรับสินค้านำเข้า-ส่งออกได้    
         สำหรับมาตรการหรือนโยบายเกี่ยวกับพืชจีเอ็มโอของไทยไม่ว่าจะผ่านมากี่รัฐบาล หรือไม่ว่าใครจะพูดอย่างไรโดยสรุปก็คือ ไม่อนุญาตให้มีการนำเข้าเมล็ดพันธุ์หรือพันธุ์พืชจีเอ็มโอ เพื่อเพาะปลูกในเชิงพาณิชย์ ยกเว้นเพื่อการศึกษาวิจัยเท่านั้น และการศึกษาวิจัยก็ให้ดำเนินการเฉพาะในโรงเรือนหรือแปลงทดลองเท่านั้นมิให้ดำเนินการในไร่นาของเกษตรกร    
         เพื่อให้ท่านผู้อ่านเข้าใจมากยิ่งขึ้น จึงขอนำมาตรการในการควบคุมดูแลพืชจีเอ็มโอ หรือพืชดัดแปรพันธุกรรมของไทยมาเสนอไว้ดังนี้    
   
          1.  มาตรการด้านกฎหมาย    
                   -  ในพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 ระบุว่าพืชตัดต่อสารพันธุกรรมเป็น “สิ่งต้องห้าม” ผู้นำเข้าจะต้องขออนุญาตนำเข้า โดยมีอธิบดีกรมวิชาการเกษตร เป็นผู้อนุมัติและการอนุญาตให้นำเข้านี้ต้องเพื่อทำการทดลอง และวิจัยเท่านั้น ห้ามมิให้นำเข้ามาปลูกเพื่อการค้า    
                   -  ในการนำเข้าพืชดัดแปรพันธุกรรมเพื่อการทดลองและวิจัย จะต้องดำเนินการตามเงื่อนไข และหลักเกณฑ์ที่กรมวิชาการเกษตรกำหนด ซึ่งเป็นไปตามประกาศกรมวิชาการเกษตรเรื่อง “กำหนดแนวทางปฏิบัติในการขออนุญาตนำเข้าหรือนำผ่านสิ่งต้องห้ามตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537”    
                   -  พระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) เมื่อ พ.ศ. 2542 และได้มีการแก้ไขประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง “การกำหนดแนวทางปฏิบัติในการขออนุญาตนำเข้า หรือนำผ่าน ซึ่งสิ่งต้องห้ามตามพระราชบัญญัติกักพืช เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2544 เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติ และสถานการณ์ในปัจจุบัน    
                   -  ในประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง กำหนดแนวทางในการขออนุญาตนำเข้าหรือ นำผ่าน ซึ่งสิ่งต้องห้ามตามพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 ที่แก้ไขแล้ว (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2544 ได้มีการปรับปรุงเงื่อนไขการศึกษาทดลอง ตรวจสอบ และมาตรการป้องกันและควบคุมความปลอดภัยทางชีวภาพ เพื่อให้การควบคุมเป็นไปอย่างเข้มงวด รัดกุมยิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดความมั่นใจในความปลอดภัยทางชีวภาพในระหว่างการทดสอบในขั้นตอนต่าง ๆ โดยได้แต่งตั้งคณะกรรมการ อนุกรรมการ คณะทำงาน ขึ้นมากำกับดูแล    
                   -  ในประกาศกรมวิชาการเกษตรฉบับดังกล่าวได้ระบุให้ผู้นำเข้าพืชดัดแปรพันธุกรรม ต้องให้รายละเอียดต่าง ๆ เพื่อประกอบการพิจารณา ได้แก่    
                             -  วัตถุประสงค์และเหตุผลในการนำเข้า    
                             -  รายงานวิธีการ และผลการทดลอง รวมทั้งความปลอดภัยทางชีวภาพของพืชนั้น ๆ ที่เคยดำเนินการมาก่อน    
                             -  ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับชนิดพืช สายพันธุ์แหล่งที่มาของสารพันธุกรรม พาหะที่ใช้ในการถ่ายทอดสารพันธุกรรม ขนาด และการเรียงลำดับเบส ลักษณะ หรือบทบาทเฉพาะของสารพันธุกรรมที่ใช้    
         ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้นำเข้าพืชดัดแปรพันธุกรรม ต้องมีใบรับรองปลอดศัตรูพืช จากประเทศต้นทางกำกับมาด้วยรวมทั้งต้องแจ้งกำหนดการนำเข้าพืชดัดแปลงพันธุกรรมให้กรมวิชาการเกษตรทราบก่อนล่วงหน้า 60 วัน โดยต้องระบุด่านตรวจพืชที่นำเข้าด้วยว่าเป็นด่านตรวจพืชใด    
   
   
เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง    
          บริษัทผลิตอาหารข้ามชาติบางบริษัทใช้มาตรฐานต่างระดับกับประชาชนชาวไทย โดยประกาศ นโยบายปลอดจีเอ็มโอ ในยุโรป แต่ยังยืนยันว่า จะใช้ส่วนประกอบอาหาร ที่มีจีเอ็มโอ สำหรับ ประเทศไทย เช่น บริษัท เนสท์เล่ ซึ่งกรีนพีซตรวจพบจีเอ็มโอ ในซีรีแล็ค อาหารเสริมสำหรับเด็ก และทารก ซ้ำแล้วซ้ำเล่า    
   
          -ยึดหลักการป้องกันไว้ก่อน โดยหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่ตรวจพบว่ามีจีเอ็มโอ จนกว่าบริษัท ผู้ผลิต อาหารนั้นๆ จะมีนโยบาย และมีมาตรการ ปลอดจีเอ็มโอ ที่เป็นรูปธรรมและปฏิบัติได้จริง ตรวจสอบรายชื่อบริษัทที่มีนโยบายปลอดจีเอ็มโอ ได้จากคู่มือจ่ายตลาด สำหรับซื้ออาหาร ปลอด จีเอ็มโอ    
   
          -ตั้งข้อสงสัยอาหารสำเร็จรูปที่นำเข้าจากสหรัฐอเมริกา อาร์เจนตินา หรือ แคนาดาซึ่งเป็นประเทศที่ เพาะปลูกพืชจีเอ็มโอ มากที่สุดในโลก ตรวจสอบรายชื่อ บริษัทผลิตอาหารในสหรัฐอเมริกา ที่ใช้ส่วนประกอบจีเอ็มโอ ได้ที่เว็บไซต์ www.truefoodnow.org    
   
          -ตรวจดูฉลากข้างกล่องว่า อาหารนั้นมีส่วนผสมของถั่วเหลืองและข้าวโพดและผลิตภัณฑ์ที่ทำ จากถั่วเหลือง หรือข้าวโพดหรือไม่ (เช่น ฟองเต้าหู้ แป้งถั่วเหลือง ใยถั่วเหลือง ผักสกัด ถั่วเหลืองสกัด โปรตีนถั่วเหลือง เลคซิตินจากถั่วเหลือง สารปรุงแต่งจากถั่วเหลือง น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันพืช แป้งข้าวโพด น้ำตาลข้าวโพด น้ำมันจากคาโนลา น้ำมันจากเมล็ดฝ้าย เป็นต้น) หากไม่ปรากฏ รายการส่วนผสมดังกล่าวนี้ ก็พอจะเชื่อมั่นได้ว่า อาหารสำเร็จรูปชนิดนั้น ปลอดจีเอ็มโอ    
   
          -ซื้อผักผลไม้และอาหารที่ใช้วัตถุดิบที่ปลูกในประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยยังคงห้าม การปลูกพืช จีเอ็มโอเพื่อการค้าอยู่ แต่หากท่านพบวัตถุดิบ ที่ปลูกในประเทศไทย เป็นจีเอ็มโอ แสดงว่ามีการละเมิดกฎหมาย ท่านสามารถแจ้งเบาะแส ให้แก่ทางการได้    
   
          -บริโภคอาหารธรรมชาติที่เพาะปลูกโดยเกษตรกรรายย่อย และอาหารจากเกษตรอินทรีย์ โดยสังเกต ตรารับรอง จากสำนักงานมาตรฐาน เกษตรอินทรีย์ (มกท.) ซึ่งรับรองได้ว่าปลอด ทั้งสารเคมี และ จีเอ็มโอ ท่านสามารถสอบถามถึงแหล่งผลิต และขายสินค้า เกษตรอินทรีย์ ได้จากกรีนเนท โทรศัพท์ ๐-๒๖๕๑-๙๐๕๕-๖

ผลเสีย ของ GMOs (Disadvantages of GMOs)    
   
ปัญหาด้านของความเสี่ยงต่อผู้บริโภค    
   
- ปัญหาเรื่อง อาจมีสิ่งอื่นเจือปนที่ทำให้เกิดอันตรายจากสารอาหารที่ได้จากจีเอ็มโอ(GMOs) ได้ เช่น เคยมีข่าวว่า คนในสหรัฐอเมริกาเกิดการล้มป่วยและเสียชีวิตเกิดขึ้น ซึ่งมีสาเหตุมาจากการบริโภค กรดอะมิโน L-Tryptophan ซึ่งเป็นสารอาหารที่ได้จากจีเอ็มโอ(GMOs)โดยเป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท Showa Denko แต่ความจริงแล้วจีเอ็มโอ(GMOs) ไม่ได้เป็นสาเหตุของอันตราย แต่เกิดจากความผิดพลาดในกระบวนการหลังการทำให้บริสุทธิ์ของผลิตภัณฑ์ โดยในขั้นของการควบคุมคุณภาพ (Quality Control) มีความบกพร่องจนมีสิ่งเจือปนที่ไม่ต้องการเหลืออยู่    
   
   
- ปัญหาเรื่อง จีเอ็มโอ(GMOs)อาจเป็นพาหะของสารที่เป็นอันตรายได้ อย่างในการทดลองของ Dr.Pusztai ได้ทำการทดลองให้หนูกินมันฝรั่งดิบที่มีสารเลคติน(lectin)เจือปนอยู่ แล้วผลออกมาว่าหนูมีภูมิคุ้มกันลดลง รวมถึงลำไส้ของหนูมีลักษณะบวมอย่างผิดปกติ นักวิทยาศาสตร์จำนวนมากวิจารณ์การทดลองนี้ว่า มีความบกพร่องในการออกแบบการทดลองรวมถึงในวิธีการทดลอง ซึ่งเชื่อว่าต่อไปจะมีการทดลองที่รัดกุมมากขึ้น และมีคนกังวลว่า ดีเอ็นเอ (DNA) จากไวรัสที่ใช้ในการทำจีเอ็มโอ(GMOs) อาจเป็นอันตรายได้    
   
- ปัญหาเรื่อง อาจมีสารบางอย่างจากจีเอ็มโอ(GMOs) มีไม่เท่ากับปริมาณสารปกติในธรรมชาติ (สารที่ไม่ได้เกิดจากการตัดต่อพันธุกรรมแล้วใส่ยีน(gene)ที่จะผลิตสารนั้นโดยตรงลงไป) อย่างมีรายงานว่าถั่วเหลืองที่เกิดจากการตัดต่อพันธุกรรมมีสาร isoflavone {เป็นสารจำพวก phytoestrogen <ซึ่งคล้ายสารจำพวกฮอร์โมนเอสโตรเจน(estrogen)ในคน>} มากกว่าถั่วเหลืองในธรรมชาติเล็กน้อย ซึ่งยังไม่แน่ใจว่า การเพิ่มขึ้นของฮอร์โมน estrogen อาจทำให้เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค จีเอ็มโอ(GMOs) หรือเปล่า โดยเฉพาะในเด็กทารก    
   
- ปัญหาเรื่อง อาจการเกิดสารภูมิแพ้(allergen)ซึ่งอาจได้มาจากสิ่งมีชีวิตที่เป็นแหล่งเดิมของยีน(gene)ที่นำมาใช้ทำจีเอ็มโอ(GMOs)นั้น อย่างการใช้ยีน(gene)จากถั่ว Brazil nut มาทำจีเอ็มโอ(GMOs)เพื่อเพิ่มคุณค่าของโปรตีนในถั่วเหลืองให้มากขึ้นสำหรับเป็นอาหารสัตว์ ก่อนที่จะออกจำหน่ายพบว่าจีเอ็มโอ(GMOs)ที่เป็นถั่วเหลืองชนิดนี้อาจทำให้คนกลุ่มหนึ่งเกิดอาการแพ้ได้ เนื่องจากได้รับโปรตีนที่เป็นสารภูมิแพ้จากถั่ว Brazil nut ทางบริษัทจึงได้ระงับการพัฒนาและการจำหน่ายจีเอ็มโอ(GMOs)ชนิดนี้ แต่ถึงอย่างนั้นพืชจีเอ็มโอ(GMOs)ชนิดอื่นๆ ที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วโลกในขณะนี้ อย่างพวก ถั่วเหลืองและข้าวโพดนั้น ได้มีการประเมินแล้วว่า มีอัตราความเสี่ยงไม่แตกต่างจากถั่วเหลืองและข้าวโพดที่ปลูกอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ    
   
- ปัญหาเรื่อง ความปลอดภัยต่อผู้บริโภคในการตัดต่อพันธุกรรมในสัตว์ อย่างใน วัว หมู ไก่ รวมถึงสัตว์ชนิดอื่นที่จะได้รับ recombinant growth hormone ทำให้อาจมีคุณภาพที่ไม่เหมือนจากในธรรมชาติ และอาจมีสารตกค้าง โดยไม่มีข้อยืนยันชัดเจนในเรื่องนี้ ซึ่งในระบบสรีระวิทยาของสัตว์นั้นมีความซับซ้อนมากกว่าทั้งของในพืชและจุลินทรีย์ อาจมีผลกระทบอื่นๆ ที่ไม่คาดคิดได้จากการตัดต่อพันธุกรรมในสัตว์ ซึ่งอาจมีสารพิษอื่นๆที่ไม่ต้องการตกค้างได้ ทำให้ในการตัดต่อพันธุกรรมในสัตว์ที่เป็นอาหารโดยตรง ต้องมีการพิจารณาของขั้นตอนในการประเมินในด้านความปลอดภัยที่ครอบคลุมมากกว่าการตัดต่อพันธุกรรมในจุลินทรีย์และพืช    
   
- ปัญหาเรื่อง การดื้อยาในการทำจีเอ็มโอ(GMOs)จะใช้ selectable marker ที่มักเป็นยีน(gene)ที่สร้างสารต้านยาปฏิชีวนะ (antibiotic resistance) ในจีเอ็มโอ(GMOs)อาจมีสารต้านยาปฏิชีวนะอยู่ ซึ่งถ้าผู้บริโภคจีเอ็มโอ(GMOs)กำลังอยู่ระหว่างการใช้ยาปฏิชีวนะ อาจทำให้การรักษาไม่ได้ผล โดยเรื่องนี้นักวิทยาศาสตร์บอกว่าโอกาสที่จะเกิดขึ้นมีน้อยและสามารถหลีกเลี่ยงหรือแก้ไขได้ และถ้าหากเชื้อจุลินทรีย์ที่มีตามปกติในร่างกายเกิดได้รับ marker gene เข้าไปในส่วนดีเอ็นเอ(DNA)ของมัน อาจทำให้เกิดจุลินทรีย์สายพันธุ์ใหม่ที่อาจดื้อยาปฏิชีวนะได้ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์บอกว่ามีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก แต่ในตอนนี้นักวิทยาศาสตร์ก็ได้คิดหาวิธีใหม่ที่ไม่ต้องใช้ selectable marker ที่เป็นสารต้านยาปฏิชีวนะ หรือนำยีน(gene)ในส่วนที่สร้างสารต้านปฏิชีวนะออกไปก่อนเป็นจีเอ็มโอ(GMOs)เป็นผลิตภัณฑ์เต็มตัว    
   
- ปัญหาเรื่อง อาจมีส่วนของยีน(gene)จำพวก 35S promoter และ NOS terminator ที่อาจมีอยู่ในเซลล์ของจีเอ็มโอ(GMOs)ซึ่งอาจจะไม่ถูกย่อยในส่วนของกระเพาะอาหารและส่วนของลำไส้ แล้วเข้าสู่เซลล์ปกติของคนที่รับประทานจีเอ็มโอ(GMOs)เข้าไป แล้วอาจทำให้มีการ active ของสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น มีผลอาจทำให้ยีน(gene)ของคนที่รับประทานเข้าไปเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ แต่จากผลการทดลองที่ผ่านๆมาได้มีการยืนยันว่า มีโอกาสเป็นไปได้น้อยมาก    
   
- ปัญหาเรื่อง บางสิ่งเล็กน้อยที่ต้องระวัง เช่น เด็กทารกซึ่งอาจย่อยดีเอ็นเอ(DNA)ในอาหารได้ไม่สมบูรณ์หากเทียบกับผู้ใหญ่ เนื่องจากเด็กทารกมีระบบทางเดินอาหารที่สั้นกว่าของผู้ใหญ่ แต่อาจทำให้เกิดอันตรายค่อนข้างต่ำ แต่ก็ต้องทำการศึกษาวิจัยต่อไป    
   
ปัญหาด้านของความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อม    
   
- ปัญหาเรื่อง สารพิษบางชนิดที่ใช้ปราบแมลงศัตรูพืช อาจกระทบถึงแมลงและสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆที่มีประโยชน์ต่อพืช เช่น Bt toxin ที่มักใส่ในจีเอ็มโอ(GMOs) อย่างผลการทดลองของ Losey มหาวิทยาลัย Cornell ได้ศึกษาผลกระทบของสารฆ่าแมลงของเชื้อ Bacillus thuringiensis (บีที) ในข้าวโพดตัดต่อพันธุกรรมที่มีต่อผีเสื้อ Monarch ในการทดลองนี้ทำในสถานที่ทดลองภายใต้สภาวะเงื่อนไขที่ Stress โดยให้ผลเพียงในขั้นต้นเท่านั้น ซึ่งต้องมีการทดลองในภาคสนามอีกเพื่อให้ได้ผลที่มีนัยสำคัญ ก่อนที่จะมีการสรุปผลและมีการนำไปขยายความต่อไป    
   
- ปัญหาในเรื่อง การนำจีเอ็มโอ(GMOs)ออกสู่สิ่งแวดล้อมทั่วไป โดยอาจมีผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งอาจทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะเด่นเหนือกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมในธรรมชาติมากจนกลืนสายพันธุ์ดั้งเดิมในธรรมชาติให้หายไปหรือสูญพันธุ์ไป หรืออาจเกิดลักษณะเด่นอะไรบางอย่างถูกถ่ายทอดไปยังสายพันธุ์ที่ไม่ต้องการ หรืออาจทำให้ศัตรูพืชดื้อต่อสารเคมีปราบศัตรูพืช อาจทำให้เกิด “สุดยอดแมลง(super bug)” หรือ “สุดยอดวัชพืช(super weed)”ได้    
   
ปัญหาด้านของเศรษฐกิจและสังคม    
   
- ปัญหาในเรื่องอื่น ที่ไม่ใช่เรื่องวิทยาศาสตร์ เช่น การผูกขาดทางสินค้าจีเอ็มโอ(GMOs)ของบริษัทเอกชนที่จดสิทธิบัตรเกี่ยวกับจีเอ็มโอ(GMOs)นั้น ทำให้ในอนาคตอาจเกิดความไม่มั่นคงทางด้านอาหารได้และไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ต่อไป รวมถึง ปัญหาในเวทีการค้าระหว่างประเทศที่กีดกันสินค้าจีเอ็มโอ(GMOs)

        การตัดต่อพันธุกรรม ดัดแปลงพันธุกรรม หรือดัดแปรพันธุกรรม ที่นิยมทำกับสิ่งมีชีวิตขณะนี้ คือ พืช และด้วยเหตุที่เทคโนโลยีการสร้างพันธุ์พืชขึ้นใหม่ด้วยวิธีนี้ไม่ได้เป็นไปตามธรรมชาติ ทำให้คนบางกลุ่มหวั่นวิตกว่า พืชดัดแปลงพันธุกรรมนี้จะส่งกระทบต่อสภาพแวดล้อม ทำลายความหลากหลายทางชีวภาพ และเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคผลผลิตของพืชชนิดนั้น ๆ จึงเกิดการต่อต้านพืชดัดแปรพันธุกรรมขึ้นด้วยแนวคิดดังกล่าว    
   
         แต่ถ้าพิจารณากันให้ดี ๆ การปรับปรุงพันธุ์พืชที่เรียกว่า Conventional breeding ที่บอกว่าเป็นการปรับปรุงพันธุ์โดยวิธีปกตินั้น ๆ จริง ๆ แล้วอาจจะถูกเพียงครึ่งเดียว เพราะถ้าคนไม่ช่วยเอาเกสรจากต้นนี้ไปใส่ต้นนั้น หรือเอาตาจากต้นนี้ไปติดบนต้นนั้น โอกาสที่จะได้พันธุ์ใหม่อย่างที่ต้องการก็คงไม่มีเช่นกัน เพียงแต่ว่า Conventional breeding ทำกันเห็นๆ ที่ภายนอกจับต้องได้แต่ตัดแต่งยีนทำอยู่ภายในกับสิ่งที่เล็กมากมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ต่างกันอีกประการหนึ่ง Conventional breeding ต้องใช้เวลานานมากกว่าจะได้พันธุ์ที่มีลักษณะที่คงที่อาจเป็น 10 – 20 ปี แต่ตัดแต่งยีนใช้เวลาเพียงปีเดียวก็ได้พันธุ์ใหม่แล้ว แต่ที่ต้องรอถึง 4-5 ปี ก็เพื่อทดสอบความปลอดภัยทางชีวภาพ ซึ่งเป็นข้อบังคับสำหรับพืชดัดแปรพันธุกรรม          ดร. สุพัฒนา อรรถธรรม แห่งศูนย์ข้อมูลเทคโนโลยีชีวภาพและความปลอดภัยทางชีวภาพ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เคยเขียนไว้ในเอกสารเผยแพร่ ความรู้ด้านเทคโนโลยีชีวภาพของพืชอาหารเรื่อง “จีเอ็มโอ GMOs” ว่า “ในทางอุตสาหกรรมและการแพทย์ มีการนำเทคโนโลยีการตัดต่อยีนมาใช้ เพื่อให้จุลินทรีย์ผลิตสาร หรือผลิตภัณฑ์บางชนิดมาเป็นเวลานานแล้ว ส่วนทางด้านการเกษตร เริ่มมีการผลิตพืชจีเอ็มในทางการค้าเมื่อ ค.ศ. 1994 ต่อมาได้มีการพัฒนาพืชจีเอ็มที่ต้านทานต่อแมลงสัตรูพืช โรคพืช และยาปราบวัชพืชแพร่หลายมากขึ้น นอกจากนี้ได้มีการปรับปรุงพืชน้ำมันให้มีคุณภาพที่ดี เหมาะสมต่อการบริโภค ดังจะเห็นได้จากพื้นที่การปลูกพืชจีเอ็มทั่วโลกในปี ค.ศ. 1996 ประมาณ 10.75 ล้านไร่ และเพิ่มขึ้นเป็น 328 ล้านไร่ในปี ค.ศ. 2001”    
   
         ปัจจุบันข้อมูลในเว็บไซต์ของ ISAAA ระบุว่า ในปี ค.ศ. 2003 หรือ ปี พ.ศ. 2546 มีพื้นที่ปลูกพืชดัดแปรพันธุกรรม 423.125 ล้านไร่ หรือเพิ่มขึ้นถึง 40 เท่า จากปี 1996 โดยพื้นที่เหล่านี้กระจายอยู่ใน 18 ประเทศ คือ อาร์เจนตินา สหรัฐอเมริกา แคนาดา จีน ออสเตรเลีย อินเดีย โรมาเนีย บราซิล อุรุกวัย อัฟริกาใต้ บัลแกเรีย เม็กซิโก ฮอนดูรัส โคลัมเบีย สเปน เยอรมัน ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย    
   
         พืชที่ปลูกได้แก่ ถั่วเหลือง ข้าวโพด ฝ้าย พืชน้ำมัน คาโนลา (Canola) มะละกอ มันฝรั่ง และสควอช (Squash)    
   
         ดร. สุพัฒน์ อรรถธรรม ยังได้กล่าวถึงการใช้ประโยชน์พืชตัดต่อยีน หรือพืชดัดแปนพันธุกรรมไว้ในเอกสารเดียวกันนั้นว่า “การตัดต่อยีน เป็นเทคโนโลยีที่นักวิทยาศาสตร์ได้วิจัยและพัฒนามาจากองค์ความรู้ที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตเป็นเทคนิคที่รวมอยู่ในเทคโนโลชีวภาพ (Biotechnology) ซคางเกี่ยวข้องกับการนำสิ่งมีชีวิต เช่น เซลล์ เนื้อเยื่อ หรือจุลินทรีย์มาใช้ในการสร้างผลิตภัณฑ์ หรือกระบวนการต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์หากสามารถปรับปรุงสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ให้มีประสิทธิภาพสูงโดยการตัดต่อยีนย่อมส่งผลให้ประสิทธิภาพการผลิตด้านเทคโนโลยีชีวภาพดีขึ้นกว่าเดิม แนวทางการใช้ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดคือ ด้านการเกษตร เทคนิคการตัดต่อยีนสามารถแก้ปัญหาที่เป็นข้อจำกัดทางด้านการผลิตทางการเกษตรได้อย่างกว้างขวาง เช่น    
                   -  การเพิ่มผลผลิต โดยการพัฒนาพันธุ์พืช หรือสัตว์ที่ให้ผลผลิตสูง    
                   -  การลดต้นทุนการผลิต การผลิตทางการเกษตรในปัจจุบันมีการใช้สารเคมีเพื่อการกำจัดแมลงศัตรูพืชและโรคพืชในอัตราค่อนข้างสูง เกษตรกรรายย่อยมักจะประสบปัญหาเรื่องการขาดแคลนทุนทรัพย์ ในการจัดหาปัจจัยการผลิต หรือประสบภาวะการขาดทุน เพราะต้นทุนการผลิตสูง ยิ่งไปกว่านั้นสารเคมีที่ใช้ในการกำจัดสัตรูพืชมีผลเสียต่อสภาพแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของเกษตรกรผู้ผลิต และผู้บริโภคเป็นอย่างมาก การนำเทคโนโลยีด้านการตัดต่อยีน มาใช้เพื่อผลิตพันธุ์พืชที่ต้านทานต่อโรค หรือแมลงศัตรูพืช จึงเป็นการช่วยลดต้นทุนการผลิต ลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร ส่งผลดีต่อสภาพแวดล้อม และความเป็นอยู่ของประชากรโลกความจริงประโยชน์ในข้อนี้เห็นได้ชัดเจนในเรื่องของการช่วยรักษาสภาพแวดล้อม พราะไม่ต้องใช้สารเคมี แต่กลับวิตกกันว่า ตัวพืชตัดต่อยีนเองจะเป็นตัวทำลายสิ่งแวดล้อม (ไม่ทราบว่าข้อกล่าวหานี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของอะไร…งงเหมือนกัน…)    
   
                   -  การรักษาสภาพแวดล้อม และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ในด้านการเกษตร หากเกษตรกร สามารถเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรได้สูงขึ้น ขณะเดียวกันลดตันทุนด้านการผลิตลง ทำให้ผู้ผลิตสามารถผลิตในพื้นที่เดิมได้ต่อไป โดยไม่ต้องตัดไม้ทำลายป่าเพื่อเพิ่มพื้นที่การเพาะปลูก นับว่าเป็นการรักษาป่าและสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีสามารถเอื้อต่อการอนุรักษ์พันธุ์พืช หรือสัตว์ป่าที่หายาก หรือใกล้สูญพันธุ์โดยการนำมาเพิ่มปริมาณ หรืออนุรักษ์ไว้ในรูปแบบที่เหมาะสม

ข้อมูลและเอกสารอ้างอิง    
ศูนย์ข้อมูลเทคโนโลยีชีวภาพและความปลอดภัยทางชีวภาพ, คุณรู้จัก “พืชดัดแปรพันธุกรรม” ดีแค่ไหน, เอกสารแผ่นพับเผยแพร่ความรู้ หมายเลข 2    
นเรศ ดำรงชัย, ผลกระทบของ GMOs ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย, สิ่งที่ประชาชนควรทราบ, โครงการศึกษานโยบายด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC), พิมพ์ครั้งที่ 2 มีนาคม 2543, 14 หน้า    
http://www.pharm.chula.ac.th/news/clinic/GMOs.htm    
http://dnatec.kps.ku.ac.th/new-dnatec/service/gmos.cgi?subject=gmos%20bar    
http://www.nfi.or.th/current-trade-issues/gmo3.html    
กลุ่มวิเคราะห์สินค้า 13, กองการค้าสินค้าทั่วไป กรมการค้าต่างประเทศ (12 พฤศจิกายน 2545)    
http://www.doae.go.th/library/html/detail/gmos/gmos.htm    
http://www.asoke.info/09Communication/DharmaPublicize/Kid/k168/065.html    
http://th.wikipedia.org/wiki/พืชดัดแปลงพันธุกรรม    
http://digital.lib.kmutt.ac.th/magazine/issue4/articles/article2.html    
http://www.thaibiotech.info/disadvantages-of-gmos.php

คำสำคัญ: