ค้นหาสินค้า

พริกพิโรธ


โดย พีพีเมล็ดพันธุ์

พริกพิโรธ    
   
พริกชนิดนี้เป็นพืชตระกูลเดียวกับ มะเขือ มันฝรั่ง ยาสูบ กล่าวกันว่า มีถิ่นกำเนิดที่ลุ่มน้ำอะเมซอนประมาณ 7,000 ปี (พริกพันธุ์ Capsicum chinensis Jacq.) แล้วกระจายไปยังแถบทะเลแคริบเบียน ทวีปอเมิกาเหนือ ก่อนขยายมายังยุโรปโดยเฉพาะที่สเปน อังกฤษ และเอเชีย ส่วนการเข้ามาในเมืองไทยตั้งแต่เมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานที่ชัดเจน แต่ชาวบ้านที่ ต.ท้ายตลาด อ.เมือง จ.ลพบุรี หลายชั่วอายุคนรู้ดีว่า พริกชนิดนี้มีความเผ็ดไม่เป็นรองพันธุ์ใด และเชื่อว่าเผ็ดกว่าพริกแทบทุกชนิดที่ปลูกในเมืองไทย ทั้งนี้จากข้อมูลทางวิชาการระบุว่า พริกขี้หนู พริกจินดา พริกชี้ฟ้า พริกมัน มีความเผ็ดอยู่ที่ 3.5-7 หมื่นสโควิลล์ ขณะที่พริกพิโรธร้อยครก มีความเผ็ดอยู่ที่ 8 แสน ถึง 1 ล้านสโควิลล์      
   
เทคโนโลยีการเกษตร    
พริกพิโรธร้อยครก โคตรพริก ที่ลพบุรี    
ที่ ตำบลท้ายตลาด อำเภอเมืองลพบุรี มีเกษตรกรสืบทอดพันธุกรรมพริกชนิดหนึ่งที่มีความเผ็ดเป็นเลิศนานมาแล้ว สืบสาวราวเรื่องกันจริงๆ ก็สมัยปู่ ย่า ตา ทวด เหตุที่มีการสืบทอดสิ่งดีๆ โดยไม่ละทิ้งเป็นเพราะพริกที่ว่ามีความเผ็ด รสชาติดี เมื่อนำมาปรุงอาหาร    
   
พริกที่ว่าชื่อ "พิโรธร้อยครก"    
ผู้ ที่ให้ข้อมูลกับนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านคือ คุณจตุพร ไวปรีชี อยู่บ้านเลขที่ 125/5 หมู่ที่ 1 ตำบลโพธิ์เก้าต้น อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี    
   
พริกโคตรเผ็ด    
คุณ จตุพร เล่าว่า พริกพิโรธร้อยครก ปลูกสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ เข้าใจว่าตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานี คุณสมบัติเป็นพริกที่มีรสชาติเผ็ดมาก แต่กลมกล่อม เมื่อนำไปปรุงอาหารได้รสชาติอร่อย ผู้รับประทานเจริญอาหาร    
"แถวถิ่น ที่ปลูก มีการบอกเล่าว่า พริกที่มีอยู่รสชาติเผ็ดมาก บางคนไม่เชื่อ ลองกัดกร้วมเข้าไป คนกัดต้องลงไปแช่ในคูน้ำตั้งนานจึงหายเผ็ด ผมทดลองนำไปตำส้มตำ ใส่เพียง 1 ใน 4 ผล เท่านั้น แม่ค้าบอกว่าจะเผ็ดหรือ แต่เมื่อได้ชิม แม่ค้ายกนิ้วให้ หากใส่ทั้งผลรับรองทานไม่ได้แน่ รสชาติส้มตำที่ออกมาคนชอบ คุณสมบัติของพริกที่มีอยู่นั้น เนื้อหนา เมื่อยังอ่อนอยู่สีเขียว ครั้นเริ่มเปลี่ยนสีจะเผ็ดจัด เมื่อแก่เป็นสีแดง เก็บได้นาน อายุของต้น 2-3 ปี หลังปลูก 3 เดือน เริ่มมีผลผลิต" คุณจตุพร เล่า    
คุณจตุพร เล่าว่า ระยะหลังๆ มีการศึกษาเรื่องราวของพริกพิโรธร้อยครก แล้วลองเปรียบเทียบกับพริกต่างชาติ อย่างพริก "พุตโจโลเกีย" หรือ "พริกปีศาจ" ของอินเดีย ซึ่งเผ็ดที่สุดในโลก พริกพิโรธร้อยครก ความเผ็ดน่าจะใกล้เคียงหรือเท่ากับพริกของอินเดีย ทั้งนี้เพราะรูปร่าง สีสัน คล้ายๆหรือเกือบเหมือนกัน    
พริกโดยทั่วไป ของไทย อย่างพริกขี้หนู ที่ว่าเผ็ดแล้ว ความเผ็ดอยู่ที่ 35,000-70,000 สโควิลส์ (สโควิลส์ คือหน่วยวัดความเผ็ด) ส่วนเจ้าพุตโจโลเกียของอินเดีย ที่ว่าเผ็ดที่สุดในโลกนั้น เผ็ด 800,000-1,000,000 สโควิลส์    
พริก พิโรธร้อยครก น่าจะเผ็ด 800,000 สโควิลส์ ขึ้นไป แต่ทางคุณจตุพร รวมทั้ง คุณสุชาติ ม่วงสกุล ผู้ปลูก บอกว่า ยังไม่มีการนำพริกพิโรธร้อยครกไปวัดหาความเผ็ดแต่อย่างใด    
มีลู่ทางในการพัฒนา    
คุณ จตุพร บอกว่า พริกพิโรธร้อยครก มีการเจริญเติบโต และต้องการการดูแลจากผู้ปลูกคล้ายๆ พริกทั่วไป ไม่มีอะไรแปลกและแตกต่าง โดยปลูกในดินทั่วไปได้ ปลูกในกระถางเพื่อเป็นไม้ประดับก็ดี    
ส่วนคำ ว่า ร้อยครก นั้น เข้าใจว่า ที่มาของชื่อเกิดจากมีคนไม่ทราบถึงความเผ็ดของพริกชนิดนี้ จึงนำไปต้มยำทำแกง โดยใส่เหมือนพริกปกติทั่วไป เมื่อปรุงอาหารเสร็จ ปรากฏว่ารับประทานไม่ได้ เกิดความเสียดายอาหารที่ปรุงไป จึงโกรธหัวฟัดหัวเหวี่ยง พร้อมกับบอกว่า พริกที่ปรุงอาหารไปนั้น น่าจะทำอะไรได้เป็นร้อยครก เช่น ตำเครื่องแกง และทำอาหารอย่างอื่น    
คุณจตุพรและคุณสุชาติ ร่วมให้ข้อมูลเกี่ยวกับพริกพิโรธร้อยครกว่า สามารถพัฒนาให้ก้าวหน้าหลายอย่างด้วยกัน    
โดยมีข้อมูลสนับสนุนดังนี้    
เป็นพริกที่มีกลิ่นหอม มีความเผ็ดมาก เมื่อนำไปปรุงอาหารได้รสชาติกลมกล่อม    
ผลมีขนาดใหญ่ เปลือกหนา เก็บได้นาน    
ใช้เป็นไม้ประดับได้    
ทำเป็นสารป้องกันและกำจัดแมลงได้ดี    
ทำเป็นยาอมแก้ง่วงนอน ลดอุบัติเหตุจากการขี่ยวดยาน    
ถ้าใช้ปริมาณที่พอเหมาะและถูกต้อง ช่วยเรื่องการปวดเมื่อยได้    
ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ได้    
สารแคปไซซิน ที่มีอยู่ในพริก สามารถพัฒนาในวงการแพทย์ได้อย่างกว้างขวาง    
คุณ จตุพร บอกว่า ปัจจุบัน เกษตรกรที่ตำบลท้ายตลาด ได้พัฒนาการปลูกพริกพิโรธร้อยครก รวมทั้งพัฒนาการแปรรูป เพื่อตอบสนองความสนใจของผู้คนจากภายนอก เพราะปัจจุบันนี้ หลังจากมีการเผยแพร่ข่าวสารออกไปตามสื่อต่างๆ ปรากฏว่า มีการถามไถ่ไปมาก    
   
http://trinidadmorugaseed.blogspot.com/    
   
ขอบคุณข้อมูลจาก    
http://info.matichon.co.th/techno/techno.php?srctag=05048010251&srcday=2008/02/01&search=no

ขอบคุณภาพ จากคุณ priraya

คำสำคัญ: