ค้นหาสินค้า

ความรู้เรื่อง พริก


โดย พีพีเมล็ดพันธุ์

พริก เป็นพืชในตระกูล Solanaceae มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Capsicum frutescens L. ชื่อภาษาอังกฤษว่า Chilli peppers, chili, chile หรือ chilli มาจากคำภาษาสเปน ว่า chile โดยส่วนมากแล้ว ชื่อเหล่านี้มักหมายถึง พริกที่มีขนาดเล็ก ส่วนพริกขนาดใหญ่ที่มีรสอ่อนกว่าจะเรียกว่า Bell Pepper ในสหรัฐอเมริกา Pepper ในประเทศอังกฤษและไอร์แลนด์, capsicum ในประเทศอินเดียกับออสเตรเลีย และ Paprika ในประเทศทวีปยุโรปหลายประเทศ พริกชนิดต่างๆ มีต้นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกา ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้มีปลูกกันในหลายประเทศทั่วโลก เพราะพริกเป็นเครื่องเทศที่สำคัญชื่อหนึ่ง และยังมีคุณสมบัติเป็นยาสมุนไพรด้วยเช่นกัน    
   
พริก มี 5 สปีชี่    
The five domesticated species of chili peppers are:    
   
1.Capsicum annuum, which includes many common varieties such as bell peppers, wax, cayenne, jalape?os, and the chiltepin    
   
2.Capsicum frutescens, which includes malagueta, tabasco and Thai peppers, piri piri, and Malawian Kambuzi    
   
3.Capsicum chinense, which includes the hottest peppers such as the naga, habanero, Datil and Scotch bonnet    
   
4.Capsicum pubescens, which includes the South American rocoto peppers    
   
5.Capsicum baccatum, which includes the South American aji peppers    
   
-------------    
ข้อมูลจาก : http://en.wikipedia.org/wiki/Chili_pepper    
   
   
ชนิดของพริก    
พริกมีหลายชนิด เช่น พริกขี้หนู พริกไทย พริกหยวก พริกเหลือง พริกชี้ฟ้า พริกหนุ่ม พริกกะเหรี่ยง ประเทศไทยนั้นมักนิยมปลูกพริกอยู่ 2 ชนิดซึ่งได้แก่    
พริกหวาน พริกหยวก พริกชี้ฟ้า (ในกลุ่ม C. annuum)    
พริกเผ็ดได้แก่ พริกขี้หนูสวน พริกขี้หนูใหญ่ (ในกลุ่ม C. furtescens)    
   
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์    
   
พริกมีแหล่งกำเนิดในอเมริกาเขตร้อน ตั้งแต่ก่อนโคลัมบัสพบทวีปอเมริกา พันธุ์พริกที่นิยมปลูกในปัจจุบันถูกนำมาจากตัวอย่างที่เก็บมาเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ เมื่อเทียบกับการกระจายตัวของพันธุกรรมในธรรมชาติ พริกพันธุ์ปลูกแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ใหญ่ ๆ ได้แก่ Capsicum baccatum และ C. pubescens R. and P. ซึ่งแยกออกจากกันได้อย่างชัดเจนโดยลักษณะทางพฤกษศาสตร์ และอีกกลุ่มหนึ่งที่รวม ๆ กันอยู่ปัจจุบันยอมรับให้แยกอีก 3 ชนิด(species) ด้วยกัน ได้แก่ C. annuum L., C. frutescens L. และ C. chinense Jacq.    
   
1. Capsicum annuum L.    
   
เป็นชนิดที่ปลุกมากและมีความสำคัญมากที่สุดเมื่อเทียบกับพริกชนิดอื่น ๆ มีแหล่งดั้งเดิมอยู่ที่อเมริกากลาง ได้แก่ ประเทศเม็กซิโกและประเทศใกล้เคียง พริกชนิดนี้เห็นได้ชัดว่าแตกต่างจากชนิดอื่น ได้แก่ การที่มีดอกเดี่ยวและผลเดี่ยว ๆ และมีกลีบดอกสีขาว จากการสำรวจในประเทศไทยพบว่า พริก C. annuum ที่ใช้เป็นพันธุ์ปลูกมีมาก สายพันธุ์ที่ดีที่สุดเมื่อเทียบกับชนิดอื่น รวบรวมได้ 31 สายพันธุ์ ชื่อสายพันธุ์เรียกตามชื่อพื้นเมืองได้แก่ พริกชี้ฟ้า พริกชี้ฟ้าใหญ่ พริกจินดา พริกแดง พริกฟักทอง พริกขี้หนู พริกขี้หนูชี้ฟ้า พริกขี้หนูจินดา พริกหวานและพริกยักษ์ เป็นต้น ชื่อที่ใช้เรียก เช่น พริกชี้ฟ้าและพริกขี้หนู ใช้เรียกในพริกชนิดอื่นด้วย เช่น C. chinense และ C. frutescens    
   
2. Capsicum chinense Jacq.    
   
เป็นพริกที่มีความสำคัญในการใช้เป็นพันธุ์ปลูกมากในแถบภูเขาแอนดีสในอเมริกาใต้ การกระจายพันธุ์ของพริกชนิดนี้มีมากในบริเวณอเมซอน พริกในกลุ่มนี้ที่มีผลใหญ่เนื้อหนา ใช้รับประทานสด พริกที่เนื้อบางใช้ทำพริกแห้ง ส่วนพริกผลเล็กมีกลิ่นและรสเผ็ดจัดเชื่อว่ามีรสเผ็ดที่สุดในพริกที่ปลูกทั้งหมด    
   
พริกนี้ไม่นิยมในเอเชียแถบร้อน ในประเทศไทยสายพันธุ์พริกที่เก็บรวบรวมมีพริกชนิดนี้อยู่ 18 สายพันธุ์ มีชื่อเรียกว่า พริกขี้หนู พริกขี้หนูแดง พริกกลาง พริกเล็บมือนาง พริกขี้หนูหอม พริกสวนและพริกใหญ่ เป็นต้น พริกพวกนี้มีลักษณะทางพันธุศาสตร์คล้ายกับ C. annuum และ C. frutescens สีกลีบดอกสีเขียวอ่อน มีดอก 2 ดอกหรือมากกว่า 2 ดอกต่อข้อ เมื่อผลแก่จะมีรอยคอดที่กลีบเลี้ยงติดกับก้านของผล    
   
3. Capsicum baccatum L.    
   
พริกชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศโบลิเวีย มีหลักฐานทางโบราณคดีของประเทศเปรูว่าพริกชนิดนี้ C. baccatum var. pendulum ปลูกโดยคนโบราณก่อนคริสต์ศตวรรษถึง 2500 ปี การกระจายของพริกชนิดนี้พบในประเทศเปรู ประเทศโบลิเวีย ประเทศอาร์เจนตินา และประเทศบราซิลตอนใต้ ต่อจากนั้นได้กระจายไปยังตอนใต้ของประเทศสหรัฐอเมริการัฐฮาวาย และประเทศอินเดีย ในศตวรรษที่ 17 มีการกระจายของพริกชนิดนี้ไปถึงยุโรป พริกนี้ไม่เป็นที่นิยมปลูกในทวีปเอเชียและแอฟริกา ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ C. annuum และ C. frutescens ได้รับความนิยมอยู่แล้ว จากการรวบรวมพันธุ์พริกในประเทศไทยสงสัยว่ามีพริกชนิดนี้ปลูกอยู่สายพันธุ์หนึ่ง พริกพวกนี้มีความแตกต่างจากพริกชนิดอื่นที่มีดอกสีขาวและมีจุดสีเหลืองที่กลีบดอกขาวในกลุ่มพริกนี้ยังมี C. pendulum และ C. microcarpum ที่ถูกจัดให้อยู่ใน C. baccatum ด้วย    
   
4. Capsicum frutescens L.    
   
ถิ่นกำเนิดพริกชนิดนี้อยู่ในอเมริกาใต้เช่นเดียวกับชนิดอื่น และพบหลักฐานทางโบราณคดีในประเทศเปรูก่อนคริสต์ศตวรรษถึง 1200 ปี พบว่า มีการกระจายพันธุ์อยู่ในประเทศบราซิลตอนใต้ไปถึงตอนกลางของทวีปอเมริกา หมู่เกาะ west indies ทวีปแอฟริกาและทวีปเอเชีย พันธุ์ที่ปลูกในอเมริกาเป็นผลชนิดโต เรียกว่า Tobasco pepper ซึ่งเป็นพันธุ์ที่รู้จักกันแพร่หลายนอกจากนี้ยังมีพันธุ์ผลโตอื่น ๆ อีก มีปลูกแถบทะเลแคริบเบียน ทวีปยุโรปและทวีปเอเชีย แต่พันธุ์ที่นิยมปลูกในทวีปเอเชียมีผลเล็ก มีความเผ็ดมาก บางแห่งใช้พริกพวกนี้ในการสกัดสาร ในประเทศไทย มีรายงานว่ามีพริกชนิดนี้ 3 สายพันธุ์ ได้แก่ พริกชี้ฟ้า พริกเกษตร และพริกขาว พริกชนิดนี้มีลักษณะเด่นที่มีดอกเดี่ยว แต่พริกพันธุ์ป่าของ C. frutescens มี 2-3 ดอกในแต่ละข้อ ดอกมีสีเขียวอ่อน ผลพริกของพันธุ์ป่าใช้บริโภคได้และมีรสเผ็ด    
   
5. Capsicum pubescens Ruiz & Pavon    
   
พริกชนิดนี้เป็นพริกที่ปลุกบนพื้นที่สูงเนื่องจากทนต่อความหนาวได้ พบว่าปลุกอยู่ในแถบเขาแอนดีสและบนที่สูงของอเมริกากลาง แต่ก็พบพริกชนิดนี้ในที่ราบเช่นเดียวกันกับ C. annuum , C. baccatum และ C. chinense แหล่งกำเนิดของพริกชนิดนี้ไม่ค่อยติดผลได้ง่ายเช่นพริกชนิดอื่นเมื่อปลูกในแถบร้อนพันธุ์ที่ใช้ปลูกมีลักษณะการกระจายน้อยกว่าพืชชนิดอื่นที่กล่าวมาข้างต้น ผลของพริกมีเนื้อหนา มีเปอร์เซ็นต์ของน้ำสูง แต่มีรสเผ็ด ลักษณะเดิมของพริกชนิดนี้ได้แก่ กลีบดอกสีม่วง ไม่มีจุดและเมล็ดสีดำ จากการสำรวจและรวบรวมพันธุ์พริกในประเทศไทยอาจมีพริกชนิดนี้อยู่เพียงสายพันธุ์เดียว เรียกว่า พริกขาวดำ    
   
พริกมีดอกทั้งดอกเดี่ยวและดอกช่อ ช่อละ 2-3 ดอก ก้านช่อดอกตั้งตรง(erect) หรือโน้มลง (pendant)ออกดอกทั้งปี เป็นพืชยืนต้น ดอกเป็นดอกสมบูรณ์มีเกสรตัวผู้ (stamen) แยกจากเกสรตัวเมีย (stigma) โดยธรรมชาติการผสมพันธุ์แล้วพริกเป็นพืชผสมตัวเอง แต่การผสมข้ามพันธุ์เกิดได้ในเปอร์เซ็นต์ที่สูง      
   
จาก    
http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-3/chilli/05.html

ประวัติความเป็นมาของพริก    
   
คนไทยรู้จักปลูกพริก และมีวิธีบริโภคพริกหลายรูปแบบ ทั้งในลักษณะสด แห้ง ดอง เผา และแกง และมักแบ่งพริกออกเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มที่เผ็ดมาก ซึ่งได้แก่ พริกขี้หนูสวน พริกขี้หนูไทย และพริกเหลือง กับกลุ่มที่เผ็ดน้อย ซึ่งได้แก่ พริกหยวก พริกชี้ฟ้า และพริกฝรั่ง    
   
ถึงแม้ว่าเราจะคุ้นเคยกับพริกดีเสียจนทำให้คิดไปว่า พริกเป็นพืชพื้นเมือง แต่นักประวัติพฤกษศาสตร์ได้พบว่า ถิ่นกำเนิดของพริกคือ ทวีปอเมริกากลาง และใต้ และจากที่นั่นนักผจญภัยก็ได้นำพริกมาปลูกเผยแพร่ในยุโรปแล้วจากยุโรปพริกก็ถูกนำไปปลูกกันแพร่หลายทั่วโลก    
   
หลักฐานทางโบราณคดีแสดงให้เห็นว่า ชาวอินเดียนใน Mexico รู้จักบริโภคพริกเป็นอาหารมานานร่วม 9,000 ปีแล้ว เพราะอุจจาระที่เป็นก้อนแข็งที่พบที่เมือง Huaca Prieta มีซากเมล็ดพริกที่มีอายุประมาณ 9,000 ปี การศึกษาวิถีชีวิตของชนเผ่า Olmec, Toltec และ Aztec ต่างก็แสดงให้รู้ว่า ชาวอินเดียนเหล่านี้รู้จักปลูกและบริโภคพริกเช่นกัน นอกจากนี้นักประวัติศาสตร์ยังได้ขุดพบซากของต้นพริกที่มีอายุกว่า 2,000 ปี ในเทวสถานของเปรูด้วย หรือแม้แต่ลายปักเสื้อผ้าของคนอินเดียนที่อาศัยอยู่ในเปรู เมื่อ 1,900 ปีก่อน ก็มีลวดลายปักเป็นต้นพริก    
   
ในปี 2036 นักประวัติศาสตร์ชื่อ Peter Martyr ได้รายงานว่า พริกแดงที่ Columbus นำมาจากอเมริกามีรสเผ็ด และแพทย์ที่ติดตาม Columbus ไปอเมริกาเป็นครั้งที่สองในปี 2037 ก็ได้กล่าวถึงชาวอินเดียนว่า นิยมปรุงอาหารด้วยพริก และเมื่อกองทัพสเปนบุกอาณาจักร Aztec นายพล Cortez ได้เขียนจดหมายเล่าว่า กษัตริย์ Aztec ทรงโปรดเสวยพระสุคนธรสที่มีพริกปน    
   
คุณสมบัติที่โดดเด่นที่สุดของพริกคือ มีรสเผ็ด และการมีคุณสมบัติที่ดุเดือดรุนแรงนี้เองที่ทำให้ชาวอินเดียนนิยมใช้พริกทรมานเชลยหรือศัตรู เช่น เผาพริกปริมาณมากให้ควันพริกขับไล่ทหารสเปน ส่วนชาว Maya ก็มีประเพณีว่า ผู้หญิง Maya คนใดเวลาถูกจับได้ว่าแอบดูผู้ชาย จะถูกพริกขยี้ที่ตา และบิดามารดาของผู้หญิง Maya คนใดถ้ารู้ว่า บุตรสาวของตนเสียพรหมจรรย์อย่างผิดประเพณี "บริเวณลับ" ของเธอจะถูกละเลงด้วยพริก สำหรับชาวอินเดียนเผ่า Carib ใน Antilles นั้น ก็นิยมใช้พริกทาบาดแผลของเด็กผู้ชายเพื่อฝึกให้อดทน และเวลาจับเชลยได้ ชาวอินเดียนเผ่านี้ก็จะใช้ไฟจี้ตามตัวจนเป็นแผลพุพองแล้วเอาพริกทา และเมื่อเชลยเสียชีวิตลงเนื้อของเชลยก็จะถูกแล่เอาไปปรุงด้วยพริกเป็นอาหาร เป็นต้น    
   
นักประวัติศาสตร์ชื่อ Francisco Hernandez ซึ่งเป็นแพทย์ในกษัตริย์ Philip ที่ 2 แห่งสเปน และได้เคยถูกส่งตัวไปศึกษาธรรมชาติของพืชและสัตว์ในดินแดนใหม่ (อเมริกา) ก็ได้รายงานกลับมาว่า ชาวอินเดียนนิยมปลูกพริกมาก ส่วน P. Bernabe Cobo ผู้ใช้เวลาสำรวจอเมริกานาน 50 ปี ในศตวรรษที่ 20-21 ก็ได้รายงานทำนองเดียวกันว่า ชาวอินเดียนในเม็กซิโกนิยมปลูกพริก โดยได้เขียนลงในหนังสือ Historia ว่า ชาวอินเดียนถือว่าพริกเป็นพืชที่สำคัญรองจากข้าวโพด เพราะชอบบริโภคพริกสด และใช้พริกในพิธีสักการะบูชาเทพเจ้าทุกงาน แต่เมื่อถึงเทศกาลอดอาหาร คนอินเดียนเหล่านี้จะไม่บริโภคอาหารที่มีพริกปนเลย Cobo ยังกล่าวเสริมว่า ไม่เพียงแต่ผลพริกเท่านั้นที่เป็นอาหาร แม้แต่ใบพริกก็ยังสามารถนำมาทำเป็นอาหารได้ด้วย และสำหรับ Garcilaso de la Vega ผู้เป็นบุตรของขุนนางสเปนนั้น ก็ได้เล่าว่า ชาวอินคาถือว่าพริกเป็นผลไม้ที่มีคุณค่ามาก เพราะอาหารอินคาจะมีพริกปนไม่มากก็น้อย นอกจากนี้หมอชาวบ้านของชนเผ่านี้ก็มีความรู้อีกว่า ใครก็ตามที่บริโภคพริกในปริมาณที่พอดี ระบบขับถ่ายของคนคนนั้นจะทำงานปกติ แต่ถ้าบริโภคมากเกินไป กระเพาะจะเป็นอันตราย Alexander von Humboldt นักปราชญ์ชาวเยอรมันก็เป็นบุคคลอีกท่านหนึ่งที่ได้เดินทางไปสำรวจทวีปอเมริกาเป็นเวลานานหลายปี และได้เปรียบเทียบความสำคัญของพริกว่าคนยุโรปถือว่า เกลือมีความสำคัญต่อชีวิตเพียงใด คนอินเดียนก็ถือว่าพริกมีความสำคัญต่อเขาเพียงนั้น    
   
การศึกษาประวัติการเดินทางของพริกจากทวีปอเมริกาสู่โลกภายนอก ทำให้เรารู้ว่า Alvarez Chanca ชาวสเปนเป็นบุคคลแรกที่นำพริกสู่ประเทศตน ในปี 2036 และคนสเปนเรียกพริกว่า Chili ซึ่งเป็นคำที่แปลงมาจากคำ Chile อันเป็นชื่อของประเทศที่ให้กำเนิดพริกในอเมริกาใต้ และอีก 55 ปีต่อมา ชาวอังกฤษก็เริ่มรู้จักพริก เมื่อถึงปี 2098 บรรดาประเทศต่างๆ ในยุโรปกลางก็เริ่มรู้จักปลูกพริกกันแล้ว และเมื่อถึงปี 2300 พ่อค้าชาวโปรตุเกสก็ได้นำพริกจากยุโรปไปปลูกในอินเดีย และเอเชียอาคเนย์    
   
นักชีววิทยาจัดพริกอยู่ในวงศ์ Solanaceae ซึ่งเป็นวงศ์ของมะเขือเทศ มันฝรั่ง และยาสูบ และให้พริกอยู่ในสกุล Capsicum ซึ่งมาจากคำว่า Kapto ที่แปลว่า กัดกร่อน แต่นักภาษาศาสตร์บางคนคิดว่า รากศัพท์ที่แท้จริงของคำคำนี้คือ capsa ซึ่งแปลว่า กล่อง ถึงความคิดเห็นเรื่องที่มาของชื่อจะแตกต่างกัน แต่ทุกคนก็ยอมรับในประเด็นเดียวกันว่า พริกมีรสเผ็ด แม้แต่ชาว Maya ก็เรียกพริกว่า Huuyub ซึ่งแปลว่า สูดปาก หลังจากที่ได้กินพริกเข้าไป การศึกษาคุณสมบัติด้านเภสัชวิทยาของพริก ทำให้เรารู้ว่าแพทย์ในอดีตเคยใช้พริกเป็นยารักษานานาโรค เช่น โรคบวม เสียดท้อง ปวดท้อง อาเจียน อหิวาต์ อาหารไม่ย่อย ปวดหัว ปวดประสาท ปวดตามข้อ ท้องร่วง กระเพาะอักเสบ แก้เมาคลื่น โรคหวัด ลดน้ำมูก ป้องกันการติดเชื้อ ลดอาการไขมันอุดตันของเส้นเลือด ลดความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็ง บรรเทาอาการปวด ทำให้มีอารมณ์ดี และใช้เป็นยาไล่แมลงก็ยังได้ด้วย    
   
ส่วนนักโภชนาการได้พบว่า พริกชี้ฟ้า พริกขี้หนู และพริกหวานต่างก็มีวิตามิน C เช่น ในเนื้อพริก 100 กรัม จะมีวิตามิน C ตั้งแต่ 87-90 มิลลิกรัม และมี betacarotene (หรือวิตามิน A) ซึ่งช่วยให้สายตาดีด้วย    
   
นักชีวเคมีได้วิเคราะห์พบว่า รสเผ็ดของพริกเกิดจากสาร capsicin ที่แฝงอยู่ในบริเวณรก (placenta) ของผล แต่ไม่อยู่ในเนื้อและเปลือกพริก การวิเคราะห์โครงสร้างเคมีของ capsicin ทำให้รู้ว่ามันมีชื่อ 8-methyl-n-vanillyl-6-noneamide ซึ่งมีสูตร C18 H23 NO3 มีน้ำหนักโมเลกุล 305.46 มีจุดหลอมเหลว 65 องศาเซลเซียส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ละลายน้ำได้เล็กน้อย และละลายในไขมัน น้ำมัน และแอลกอฮอล์ได้ดี นอกจากนี้มันยังมีสมบัติทนความร้อน ความเย็นได้ดีด้วย ดังนั้น การต้มหรือการแช่แข็งจะไม่ทำให้พริกเผ็ดน้อยลงหรือมากขึ้นแต่อย่างใด และถ้าต้องการจะแก้รสเผ็ด ผู้สันทัดกรณีแนะนำว่า น้ำหรือเบียร์ก็พอช่วยได้บ้าง แต่ถ้าจะให้ดีให้กินอาหารที่มีไขมัน หรือเครื่องดื่มที่มี ethonol มาก ก็จะช่วยได้ดีขึ้น และถ้าพริกมีรสขม นั่นก็เพราะคนกินได้เคี้ยวเมล็ดพริกครับ    
   
จาก    
http://blog.eduzones.com/sippa/274

ศัตรูพืชที่สำคัญและวิธีการป้องกันกำจัด    
   
1. โรค    
โรคกุ้งแห้ง กำจัดโดยคัดเลือกพันธุ์ที่ปราศจากโรค ใช้สารกำจัดราประเภทไดเท็นเอ็ม 45 อัตราพ่นทุกๆ 7-10 วัน    
   
2. แมลง    
เพลี้ยไฟ , เพลี้ยอ่อน ทำให้พริกใบหงิกงอลักษณะใบม้วนผิดปกติ ระบาดในช่วงแห้งแล้ง การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมีกำจัดแมลงในกลุ่มคาบาเมท เช่น เซพวิน ฟอส ฉีดพ่นทุก 5-7 วันในช่วงที่ระบาด    
   
3. ศัตรูอื่นๆ    
ไรขาว ทำให้ใบหงิก ระบาดในช่วงที่ฝนตกชุก การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมีกำจัดไรโดยเฉพาะ เช่น เดลเทน โอไมด์ เป็นต้น    
   
การเก็บเกี่ยว    
   
พริกจะเริ่มให้ผลผลิตได้ภายหลังจากย้ายปลูกแล้วประมาณ 2 เดือน และจะเริ่มเก็บเกี่ยวผลแดงได้เมื่อมีอายุประมาณ 100 วัน และจะสามารถเก็บเกี่ยวได้ทุก ๆ 10 วัน ในระยะแรกจะให้ผลผลิตน้อยแล้วจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเป็นลำดับตั้งแต่เริ่มให้ผลผลิตและเก็บเกี่ยวได้จนกระทั่งพริกมีอายุ 7-8 เดือน ผลผลิตเฉลี่ยที่เก็บเกี่ยวได้แต่ละครั้งประมาณ 100 กิโลกรัมต่อไร่ หลังจากนั้นผลผลิตจะลดน้อยลงและหยุดการให้ผลผลิตในที่สุด แต่ถ้ามีการบำรุงรักษาดีและให้น้ำอย่างเพียงพอ พริกอาจจะมีอายุถึง 1 ปีหรือนานกว่านั้นก็ได้      
   
จาก    
http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-3/chilli/04.html

คำสำคัญ: