ค้นหาสินค้า

สมุนไพรรางจืดกับสรรพสารพัดการรักษา


โดย ภิตินันท์

    กระทรวงสาธารณสุขได้เลือกสมุนไพรรางจืดมาทำการรณรงค์ เพื่อใช้ในการล้างพิษในกระแสเลือดให้เกษตรกร ซึ่งสมุนไพรรางจืดที่มีการศึกษาวิจัยทั้งในห้องทดลองและการศึกษาในคนจริง ๆ มากกว่า ๓๐ ปีแล้ว โดยการศึกษาทางเภสัชวิทยาของรางจืด ในครั้งแรกโดยแพทย์หญิงพาณี เตชะเสน คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้พบว่าสมุนไพรรางจืดสามารถช่วยชีวิตแมวของท่านที่ถูกวางยาพิษได้ จึงทำให้เป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้มีการศึกษาวิจัยสมุนไพรตัวนี้ ในการแก้พิษสารกำจัดศัตรูพืช ตั้งแต่ พ.ศ ๒๕๒๒-๒๕๒๓ โดยเริ่มจากสารกำจัดศัตรูพืชในกลุ่มของออร์กาโนฟอสเฟต (organophostpate)เช่น โฟลิดอล พาราไทออน คาร์บาเมต (carbamate) เช่น เมโทรมิล ทั้งชนิดออร์กาโนฟอสเฟส และอาการที่จะเกิดขึ้นจากการรับสารพิษคือ วิงเวียนศรีษะ อาเจียน ปวดเมื่อย และระบบสมองเสื่อมเร็ว รวมไปถึงการพัฒนาสู่การเป็นมะเร็ง - See more at: http://thaiherbtherapy.com/Herbs/Herb_Rangjoud.html#sthash.U0tKpkhF.dpuf    
   
ประโยชน์สรรพคุณของสมุนไพรรางจืด    
   
รางจืดสามารถแก้พิษจากสัตว์ที่เป็นพิษและพืชพิษ    
    สามารถใช้นำมาแก้พิษแมงดาทะเล นี้เป็นอีกหนึ่งรายงานของการใช้รางจืดแก้พิษ เมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่โรงพยาบาลชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เรื่องมีอยู่ว่า มีครอบครัว ๆ หนึ่ง ๔ คนได้รับประทานไข่แมงดาทะเล ๒ ราย และมีมีอาการแพ้อย่างรุนแรงจนทำให้หมดสติ ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ซึ่งพิษที่อยู่ในแมงดาทะเล คือ เทโทรโดท็อกซิน (Tetrodotoxin) สารนี้จะสามารถพบได้ในแมงดาทะเลและปลาปักเป้า ซึ่งมีพิษร้ายแรงมากสามารถทำให้ผู้ป่วยอาจถึงตายได้    
    ความรุนแรงของอาการพิษที่เกิดขึ้น จะขึ้นอยู่กับปริมาณไข่แมงดาทะเล ที่ได้รับเข้าไปอาการจะเริ่มแสดงอาการตั้งแต่ ๔๐ นาทีไปถึง ๔ ชั่วโมง ในผู้ป่าวยทุกรายมีอาการชารอบปาก คลื่นไส้ อาเจียน อาการชาจะลามไปยังกล้ามเนื้อมัดต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายคือ ทำให้หายใจไม่ได้ อาการรุนแรงถึงกับหมดสติและต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ วิธีการรักษาในปัจจุบันนี้ไม่มีวิธีเฉพาะ และไม่มีสารแก้พิษโดยเฉพาะอีกด้วย จึงจำเป็นต้องรักษาแบบประคับประคองจนผู้ป่วยขับเอาสารนี้ออกจากร่างกายเองให้หมด แพทย์ผู้รักษาได้ใช้สมุนไพรรางจืดจากการร้องขอของญาติ และเมื่อกรอกใส่สายยางลงไปประมาณ ๔๐ นาที อาการค่อย ๆ ดีขึ้น ซึ่งแพทย์ที่ทำการผู้รักษารู้สึกประทับใจกับสมุนไพรรางจืดมาก และบอกว่าจังหวัดที่อยู่ชายทะเลปีหนึ่ง ๆ จะมีคนตายจากพิษแมงดาทะเลหรือปลาปักเป้า ทุกปี แต่ถ้าทุกโรงพยาบาลสามารถปลูกต้นรางจืดนี้และ ก็จะได้ใช้กับผู้ป่วยของตัวเองจะช่วยให้ไม่มี ผู้ป่วยเสียชีวิตเพิ่มขึ้นได้    
   
รางจืดสู้กับมลภาวะ ออกฤทธิ์ต้านพิษของตะกั่วที่มีต่อสมอง    
    ตะกั่ว เป็นมลพิษที่เกิดจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ คนที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ ๆ ที่มีรถติดจำนวนมากจะมีโอกาสที่จะได้รับสารตะกั่วสูงกว่าคนตามชนบท พิษจากตะกั่วที่มีผลต่อร่างกาย มีอยู่หลายระบบแต่ที่เห็นจะสำคัญที่สุดคือสมอง เนื่องจากสารตะกั่วจะเข้าไปสะสมอยู่ในสมองในส่วนฮิปโพแคมพัส ซึ่งเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และความจำ มีงานวิจัยออกมาว่าสมุนไพรรางจืด แม้จะไม่ได้ช่วยลดระดับตะกั่วในเลือดของหนูที่เราใช้ทดลอง แต่จะไปช่วยลดพิษของตะกั่วต่อความจำและการเรียนรู้ของหนู และทำให้เซลล์ประสาทมีอัตราการตายน้อยลง ด้วยกลไกการต้านออกซิเดชัน โดยสมุนไพรรางจืดเองและการไปช่วยรักษาระดับเอนไซม์ที่เกี่ยวข้อง - See more at: http://thaiherbtherapy.com/Herbs/Herb_Rangjoud.html#sthash.U0tKpkhF.dpuf

รางจืดกับโรคมะเร็ง    
    ในสมุนไพรรางจืดยังจะมีฤทธิ์ในการต่อต้านมะเร็ง โดยมีได้มีการศึกษาฤทธิ์ต้านการกลายพันธุ์ กล่าวคือสารใด ๆ มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์มีศักยภาพสูงจะสามารถก่อให้เกิดมะเร็งได้ แต่ในสมุนไพรรางจืดมีฤทธิ์ต้าน ไม่ให้สารนั้นออกฤทธิ์ได้ จากการศึกษาและได้ทดลองในหนูที่กินสารสกัดของกวาวเครือ ซึ่งกวาวเครือจะไปมีฤทธิ์กระตุ้นการแบ่งตัวและช่วยสร้างนิวเคลียสของเม็ดเลือดแดง นิวเคลียสของเม็ดเลือดแดงจะเป็นก้อนและจะใหญ่ขึ้น ๆ และมีการแบ่งตัวออก นั่นคือ กวาวเครือจะเข้าไปทำให้เกิด micronuclei ของเม็ดเลือดแดงเพิ่มอย่างมีนัยที่สำคัญ แต่ถ้าให้สัตว์ที่นำมาทำการทดลองกินรางจืดร่วมเข้าไปด้วย จึงพบว่าจะสามารถลดการเกิด micronuclei ได้ ไม่ว่าจะเป็นรางจืดทั้งแบบสดหรือจะแบบแห้งก็สามารถ ใช้ได้ผลเช่นกัน นับเป็นข้อดีอีกข้อหนึ่งของสมุนไพรรางจืด    
    จากที่ได้ทดลองจึงได้พบว่าสารออกฤทธิ์อาจเป็นกรดฟีนอลิก ได้แก่ caffeic acid และ apigenin และสารกลุ่มคลอโรฟิลล์ ได้แก่ chlorophyll a, chlorophyll b, pheophorbide a และ pheophytin a ซึ่งสารเหล่านี้มีฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระสูงมาก    
   
รางจืด ผักพื้นบ้านที่มีความปลอดภัย    
    สมุนไพรรางจืดมีพืชที่มีความปลอดภัยสูงอีกชนิดหนึ่ง ชาวบ้านส่วนใหญ่จะใช้กินยอดอ่อน ดอกอ่อนเป็นผัก ใช้ลวกกินหรือจะนำไปใช้แกงกินก็ได้เช่นเดียวกับผักพื้นบ้านชนิดอื่น ๆ นอกจากจะใช้ทำเป็นอาหารแล้ว ยังพบว่าชาวบ้านยังนิยมกินน้ำหวานจากดอกรางจืดที่บานอีกด้วย ในส่วนของการศึกษาวิจัยมีการศึกษาทั้งพิษเฉียบพลันและพิษเรื้อรัง โดยการศึกษาทั้งหมดเป็นเวลา ๒๘ วัน หนูที่นำมาใช้ทดลองก็ไม่พบว่าหนูตาย หรือว่าจะเกิดความผิดปกติในอวัยวะภายใน และต่อมา มีการศึกษาที่เพิ่มขึ้นเป็นระยะเวลา ๖ เดือน เพื่อศึกษาพิษเรื้อรัง และได้พบว่ามีค่าที่เกิดการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในซีรั่มในเนื้อเยื่อของหนูทดลองก็ไม่ได้แตกต่างจากกลุ่มที่ควบคุม จึงเรียกได้ว่าสมุนไพรรางจืดมีความปลอดภัยที่สูง ค่าที่พบเปลี่ยนแปลงบางค่า หรือบิลิลูบินเพิ่มขึ้นแต่ก็อยู่ในช่วงค่าปกติ แต่อย่างไรก็ตามการที่เรากินสมุนไพรรางจืดในปริมาณที่มากและกินแบบต่อเนื่องกัน ยังมีคำเตือนว่าต้องมีการศึกษาติดตามการเปลี่ยนแปลงโลหิตวิทยา หรือเคมีคลินิกที่อาจเกิดขึ้น    
   
บทสรุปสำหรับสมุนไพรรางจืด    
    จากประวัติการใช้ที่ยาวนานในแผ่นดินไทย ประกอบกับการศึกษาวิจัยได้คำตอบว่า มีความปลอดภัยและการศึกษาวิจัยที่สนับสนุนการใช้ของคนโบราณร่วมกับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนไปด้วย สารพิษและปัญหายาเสพติดทุกหย่อมหญ้าในขณะที่อีกทางต้องไปแก้ไขที่ต้นตอแห่ง ปัญหาเช่น การลดการใช้สารเคมี ในขณะเดียวกันก็ต้องหาทางช่วยเหลือเยียวยาปัญหาจะยังคงดำรงอยู่ ขอเพียงแค่มีดินให้รากยึดเพื่อหาอาหาร มีโครงให้สามารได้เลื้อยได้ สมุนไพรรางจืดก็จะแตกใบ แตกยอด เพื่อเป็นยาสมุนไพรที่หามาใช้ได้แบบแสนสะดวก เพียงแค่นำรางจืดมาต้ม หรือนำมาใช้ชงกิน ทำให้ภูมิปัญญาไทยของเรายังสามารถจะยังใช้ประโยชน์ได้อยู่เสมอ - See more at: http://thaiherbtherapy.com/Herbs/Herb_Rangjoud.html#sthash.U0tKpkhF.dpuf

คำสำคัญ: