ค้นหาสินค้า

สธ. คาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ยาสมุนไพรไทย จะดึงเงินเข้าประเทศ 30,000 ล้านบาท


โดย สวนแดงจินดา

สาธารณสุขขยายบริการด้านการแพทย์แผนไทย และการใช้ยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ ในสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับ รักษาอาการเจ็บป่วย เพื่อพร้อมก้าวสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558   คาดเมื่อไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ยาสมุนไพรจะดึงเงินเข้าประเทศไม่ต่ำกว่า 30,000 ล้านบาท    
วันนี้ (30 เมษายน 2555) ที่จ.นครราชสีมา นายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดสัมมนาวิชาการบุคลากรการแพทย์และสาธารณสุขจำนวน 120 คนจาก 17 จังหวัดในภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรื่องยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติกับมุมมองจากทฤษฎีการแพทย์ไทยและข้อมูลเอกสารทางวิชาการ จัดโดยคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ระหว่างวันที่ 30 เมษายน -1 พฤษภาคม 2555  เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรทางการแพทย์รู้จักตำรับยาสมุนไพรไทยในบัญชียาหลักแห่งชาติ  สร้างความเข้าใจและสร้างความเชื่อมั่นต่อการแนะนำและการสั่งจ่ายยาสมุนไพรแก่ผู้รับบริการ ลดผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้าอาเซียน    
นายแพทย์สุรวิทย์กล่าวว่า การรวมกลุ่มสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศไปสู่เขตเศรษฐกิจเดียวหรือที่เรียกว่าประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC)ในปี พ.ศ. 2558 และเปิดเขตเสรีทางการค้าอาเซียนหรืออาฟตา AFTA (AFTA :ASEAN Free Trade Area) เป็นยุทธศาสตร์เชิงรุกของประเทศสมาชิกร่วมกันสร้างพลังต่อรองด้านเศรษฐกิจ การค้าและสังคมกับเขตประชาคมเศรษฐกิจอื่นๆ ซึ่งทุกประเทศต้องเร่งพัฒนาจุดแข็งด้านสินค้าและบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐานสามารถแข่งขันในตลาดเสรี ไทยจัดว่าเป็นประเทศมีทรัพยากรและภูมิปัญญาด้านการแพทย์แผนไทยอยู่มาก การก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของไทย จะทำให้การเจรจาทางการค้าที่รวมถึงตลาดยาสมุนไพร อาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น โดยคาดการณ์ว่าในช่วงปีดังกล่าวประเทศไทยจะสามารถดึงการค้าอุตสาหกรรมที่ใช้ยาสมุนไพรเข้าประเทศได้ไม่ต่ำกว่า30,000 ล้านบาท    
นายแพทย์สุรวิทย์กล่าวต่อว่า รัฐบาลให้ความสำคัญในการส่งเสริมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกในระบบบริการสาธารณสุขทุกระดับ เพื่อสนับสนุนการเติบโตของแพทย์แผนไทยและอุตสาหกรรมยาสมุนไพร ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขเตรียมขยายการให้บริการด้านการแพทย์แผนไทยเพื่อก้าวสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี2558เริ่มตั้งแต่ปี 2555 โดยตั้งเป้าภายในปี 2558 ไว้ดังนี้1.ประชาชนได้รับบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 10และเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ในปีถัดไป2.เพิ่มรายการยาสมุนไพรเข้าในบัญชียาหลักแห่งชาติจาก 75 รายการเป็น 100รายการ 3.สถานบริการที่เป็นศูนย์บริการด้านการแพทย์แผนไทยและมีแพทย์แผนไทยประจำเพิ่มขึ้นจาก 200แห่งเป็น 800แห่ง มีบริการทั้งยาสมุนไพร นวด ประคบ และฝากครรภ์4.ร้อยละ 50ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีบริการแพทย์แผนไทยพื้นฐาน เน้นการใช้ยาสมุนไพรพื้นฐานและบริการนวดไทย และครบทุกแห่งคือ9,750 แห่งภายในปี 2558      
ทางด้านรศ.ดร.สมภพ ประธานธุรารักษ์ รองคณบดีฝ่ายแผนและพัฒนาคุณภาพ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนการค้าเสรีหรือเอฟทีเอ(FTA) กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เพื่อพัฒนาจุดแข็งยาสมุนไพรไทย 3 ประการ ได้แก่ การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นรูปธรรม การพัฒนาโรงงานผลิตยาด้วยเทคโนโลยีทันสมัย และการสร้างความเข้าใจในหลักการของการแพทย์และสมุนไพรไทย  เพิ่มความน่าเชื่อถือทั้งบุคลากรทางการแพทย์และผู้บริโภค โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา                                                                                            / ในปี 2555 นี้...    
- 2 -    
ในปี 2555 นี้ ได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยาสมุนไพร  เพื่อลดผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้าอาฟต้า ด้วยสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ มีกิจกรรม 3 ส่วน ประกอบด้วย 1.การพัฒนาการผลิตยาสมุนไพรไทยทั้งภาครัฐและเอกชน ให้มีขีดความสามารถทางการแข่งขันสูงขึ้นและการพึ่งตนเองทางด้านยารักษาโรค  มีผู้ประกอบการผลิตยาสมุนไพรภาคเอกชนร่วมโครงการ 60 คน และภาครัฐ 50 คน 2. การศึกษาวิจัยทางคลินิกตำรับยาครีมไพลสกัด และการวิจัยพัฒนารูปแบบตำรับยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติอีก 8 ตำรับ ได้แก่ ตรีผลาไฟประลัยกัลป์ริดสีดวงมหากาฬสหัศธาราประสะจันทร์แดง ประสะไพลเบญจกูล และยาบำรุงโลหิต 3. การส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพรไทยในบัญชียาหลักแห่งชาติในทุกภาคส่วน เพื่อการพึ่งตนเองทางด้านยารักษาโรค และการปกป้องตลาดยาภายในประเทศ โดยนำเสนอผลงานวิจัยที่สนับสนุนการใช้ตามภูมิปัญญาดั้งเดิมของไทยซึ่งดำเนินการโดยนักวิจัยไทย โดยเฉพาะตำรับยาหอมนวโกฐและอินทรจักร ยาแก้ไข้จันทลีลา ยาแก้ท้องเสียยาเหลืองปิดสมุทร รวมทั้งข้อมูลการวิจัยด้านเภสัชวิทยา พิษวิทยา และการศึกษาทางคลินิกของยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ และยังได้จัดทำคู่มือการใช้ยาสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติจำนวน 19 ตำรับ สำหรับบุคลากรทางการแพทย์      
** เวปไซค์ http://www.localpostnews.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539505500&Ntype=1**

คำสำคัญ: