ค้นหาสินค้า

ตะคร้ำ (Ta khram)

ร้าน ลพบุรีไม้ล้อม/บ่อแก้วพันธุ์ไม้
ตะคร้ำ | ลพบุรีไม้ล้อม/บ่อแก้วพันธุ์ไม้ - เมืองลพบุรี ลพบุรี

ลพบุรีไม้ล้อม/บ่อแก้วพันธุ์ไม้ | เมืองลพบุรี ลพบุรี
ตะคร้ำ
1. ชื่อพันธุ์ไม้ ตะคร้ำ
2. ชื่อสามัญ (ไทย) กะตีบ แขกเต้า ค้ำ หวีด (ภาคเหนือ) ตะคร้ำ (ภาคกลาง ภาคเหนือ) ปีชะออง (กะเหรี่ยง กาญจนบุรี) อ้อยน้ำ (จันทบุรี)
(อังกฤษ) -
3. ชื่อวิทยาศาสตร์ Garuga pinnata Roxb.
4. ชื่อวงศ์ Burseraceae

5. การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ
ตะคร้ำ เป็นพันธุ์ไม้ที่พบขึ้นตามป่าดิบแล้ง ในที่ ๆ ค่อนข้างราบและใกล้ลำห้วยทั่ว ๆ ไป และตามป่าเบญจพรรณชื้น ที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 50-800 เมตร

6. ลักษณะทางวนวัฒนวิทยา
ตะคร้ำเป็นไม้ยืนต้นขนาดลาง สูง 10-20 เมตร โตวัดรอบ 100-200 ซม. ผลัดใบ ลำต้นเปลา ตรง โคนต้นเป็นพูพอน เรือนยอดมีกิ่งก้านสาขา ตามกิ่งอ่อนและก้านช่อดอกมีขนสีเทา ๆ กระจายทั่วไป จะมีรอยแผลใบปรากฏอยู่ตามกิ่ง เปลือกสีน้ำตาลปนเทาแตกเป็นสะเก็ดหรือเป็นหลุมตื้น ๆ ทั่วไป เปลือกในสีนวล มีทางสีชมพูสลับ และมียางสีชมพูปนแดงไหลออกเมื่อสับดู ยางนี้จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองคล้ำเมื่อทิ้งไว้นาน กระพี้สีชมพูอ่อน ๆ แก่นสีน้ำตาลแดง
ใบ ออกเรียงเวียนสลับกันเป็นกลุ่มตอนปลาย ๆ กิ่ง ช่อหนึ่ง ๆ มีใบย่อย 7-13 ใบ เรียงตรงข้ามกัน หรือทแยงกันเล็กน้อย ใบย่อยรูปมนแกมรูปขอบขนาน ขนาด 2-4 x 3-10 ซม. โคนใบเบี้ยว ปลายใบสอบหรือหยักเป็นติ่งแหลม ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อยถี่ ๆ ใบอ่อนมีขนนุ่ม ใบแก่เกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง ใบแก่จะร่วงก่อนผลิดอก และจะเริ่มผลิใบใหม่เมื่อดอกเริ่มบาน
ดอก สีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ เป็นดอกสมบูรณ์ ออกเป็นช่อใหญ่ ตามง่ามใบและปลายกิ่ง โคนกลีบรอบกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยก 5 แฉก กลีบดอกมี 5 กลีบ เกสรตัวผู้มี 10 อัน รังไข่มี 5 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อน 2 ปลายหลอดท่อรังไข่มี 5 แฉก ก่อนออกดอกจะผลัดใบหมด ออกดอกระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม และเป็นผลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม
ผล ลักษณะกลมรี ขนาดเล็ก ๆ อุ้มน้ำ

7. การขยายพันธุ์
ตะคร้ำขยายพันธุ์โดยเมล็ด พันธุ์ไม้ชนิดนี้สามารถสืบพันธุ์ได้ดีทั้งในที่ ๆ ถูกแผ้วถางลง มีความต้านทานต่อไฟป่าได้เป็นอย่างดี
ปัญหาในการเพาะชำเมล็ดของไม้ตะคร้ำคือ ความแข็งของเปลือกหุ้มเมล็ดใน จากการทดลองของศิริพันธ์ ชำนาญกิจ (2525) พบว่า การใช้น้ำยาไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ทำให้อัตราการงอกของเมล็ดตะคร้ำเพิ่มขึ้น การเพาะในแปลงกลางแจ้งโดยไม่ใช้วัสดุคลุมแปลงจะให้ผลดีกว่าการใช้ฟางข้าวและพลาสติกคลุมแปลง ดังนั้นในทางปฏิบัติควรเพาะเมล็ดในแปลงเพาะที่อยู่กลางแจ้ง ควรนำเมล็ดมาแช่ในน้ำยาไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ นาน 30-45 นาที แต่ถ้าไม่มีก็ควรเพาะเมล็ดด้วยเมล็ดธรรมดาโดยไม่จำเป็นต้องแช่น้ำแต่อย่างใด

8. การปลูก การเจริญเติบโต และการปรับปรุงพันธุ์
ในปัจจุบันนี้ข้อมูลเกี่ยวกับการปลูกไม้ตะคร้ำยังไม่มีการศึกษากันอย่างจริงจัง รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับอัตราการเจริญเติบโตและการปรับปรุงพันธุ์ไม้ตะคร้ำก็ยังไม่มีการศึกษากัน แต่อย่างไรก็ตาม การปลูกไม้ตะคร้ำก็เช่นเดียวกับการปลูกไม้ป่าชนิดอื่น ๆ กล่าวคือ ควรปลูกในช่วงฤดูฝน มีการเตรียมพื้นที่ปลูก กล้าไม้ที่นำมาปลูกควรใช้ต้นกล้าที่มีการเจริญเติบโตและเป็นกล้าไม้ที่ผ่านการทดสอบความแกร่งแล้วเพื่อให้ต้นกล้ามีอัตราการรอดตายสูง หากมีการใส่ปุ๋ยด้วยก็จะทำให้กล้าไม้ที่ปลูกเติบโตดียิ่งขึ้น

9. วนวัฒนวิธิ
ความรู้เกี่ยวกับวนวัฒนวิธีของไม้ชนิดนี้ก็ยังไม่มีการศึกษากัน แต่ในการปลูกไม้ป่าส่วนใหญ่แล้วจะมีวิธีการปฏิบัติและดูแลรักษาคล้าย ๆ กัน ซึ่งสามารถนำความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาไม้ป่าชนิดอื่นมาประยุกต์ใช้กับไม้ตะคร้ำได้เช่นกัน สิ่งที่ควรปฏิบัติจะประกอบด้วยการกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก การใส่ปุ๋ย การปลูกซ่อมต้นไม้ที่ตาย การป้องกันไฟ การดูแลเรื่องโรคและแมลง การลิดกิ่งและการตัดสางขยายระยะ เป็นต้น

10. การใช้ประโยชน์
1. เนื้อไม้ ใช้ทำฝา เครื่องตบแต่งบ้าน หีบหรือลังใส่ของ เครื่องเรือน
2. เปลือก ให้น้ำฝาดชนิด Pyrogollol และ Catechol
3. ประโยชน์ทางสมุนไพร
เนื้อไม้ ใช้แก้บิด แก้ท้องร่วง ใช้ภายนอกเป็นยาห้ามโลหิต และแช่ล้างบาดแผลเรื้อรัง ผล เป็นยาบำรุงธาตุ บำรุงกระเพาะอาหาร น้ำคั้นจากใบ ผสมกับน้ำผึ้งใช้รักษาโรคหืด น้ำคั้นจากลำต้น ใช้หยอดตาแก้ตามัวเนื่องจากเยื่อตาอักเสบ น้ำฝากจากเปลือก รับประทานแก้บิด แก้ท้องร่วง ทาภายนอกเป็นยาห้ามเลือด



ติดต่อ ปฐมสิต วงศ์ชวลิต (แชมป์) โทร. 0646969363 0646969363

ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 12 ปี 2 เดือน

โทรศัพท์

ต้นตะคร้ำ | ลพบุรีไม้ล้อม/บ่อแก้วพันธุ์ไม้ - เมืองลพบุรี ลพบุรี

ลพบุรีไม้ล้อม/บ่อแก้วพันธุ์ไม้ | เมืองลพบุรี ลพบุรี
ตะคร้ำ
1. ชื่อพันธุ์ไม้ ตะคร้ำ
2. ชื่อสามัญ (ไทย) กะตีบ แขกเต้า ค้ำ หวีด (ภาคเหนือ) ตะคร้ำ (ภาคกลาง ภาคเหนือ) ปีชะออง (กะเหรี่ยง กาญจนบุรี) อ้อยน้ำ (จันทบุรี)
(อังกฤษ) -
3. ชื่อวิทยาศาสตร์ Garuga pinnata Roxb.
4. ชื่อวงศ์ Burseraceae

5. การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ
ตะคร้ำ เป็นพันธุ์ไม้ที่พบขึ้นตามป่าดิบแล้ง ในที่ ๆ ค่อนข้างราบและใกล้ลำห้วยทั่ว ๆ ไป และตามป่าเบญจพรรณชื้น ที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 50-800 เมตร

6. ลักษณะทางวนวัฒนวิทยา
ตะคร้ำเป็นไม้ยืนต้นขนาดลาง สูง 10-20 เมตร โตวัดรอบ 100-200 ซม. ผลัดใบ ลำต้นเปลา ตรง โคนต้นเป็นพูพอน เรือนยอดมีกิ่งก้านสาขา ตามกิ่งอ่อนและก้านช่อดอกมีขนสีเทา ๆ กระจายทั่วไป จะมีรอยแผลใบปรากฏอยู่ตามกิ่ง เปลือกสีน้ำตาลปนเทาแตกเป็นสะเก็ดหรือเป็นหลุมตื้น ๆ ทั่วไป เปลือกในสีนวล มีทางสีชมพูสลับ และมียางสีชมพูปนแดงไหลออกเมื่อสับดู ยางนี้จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองคล้ำเมื่อทิ้งไว้นาน กระพี้สีชมพูอ่อน ๆ แก่นสีน้ำตาลแดง
ใบ ออกเรียงเวียนสลับกันเป็นกลุ่มตอนปลาย ๆ กิ่ง ช่อหนึ่ง ๆ มีใบย่อย 7-13 ใบ เรียงตรงข้ามกัน หรือทแยงกันเล็กน้อย ใบย่อยรูปมนแกมรูปขอบขนาน ขนาด 2-4 x 3-10 ซม. โคนใบเบี้ยว ปลายใบสอบหรือหยักเป็นติ่งแหลม ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อยถี่ ๆ ใบอ่อนมีขนนุ่ม ใบแก่เกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง ใบแก่จะร่วงก่อนผลิดอก และจะเริ่มผลิใบใหม่เมื่อดอกเริ่มบาน
ดอก สีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ เป็นดอกสมบูรณ์ ออกเป็นช่อใหญ่ ตามง่ามใบและปลายกิ่ง โคนกลีบรอบกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยก 5 แฉก กลีบดอกมี 5 กลีบ เกสรตัวผู้มี 10 อัน รังไข่มี 5 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อน 2 ปลายหลอดท่อรังไข่มี 5 แฉก ก่อนออกดอกจะผลัดใบหมด ออกดอกระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม และเป็นผลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม
ผล ลักษณะกลมรี ขนาดเล็ก ๆ อุ้มน้ำ

7. การขยายพันธุ์
ตะคร้ำขยายพันธุ์โดยเมล็ด พันธุ์ไม้ชนิดนี้สามารถสืบพันธุ์ได้ดีทั้งในที่ ๆ ถูกแผ้วถางลง มีความต้านทานต่อไฟป่าได้เป็นอย่างดี
ปัญหาในการเพาะชำเมล็ดของไม้ตะคร้ำคือ ความแข็งของเปลือกหุ้มเมล็ดใน จากการทดลองของศิริพันธ์ ชำนาญกิจ (2525) พบว่า การใช้น้ำยาไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ทำให้อัตราการงอกของเมล็ดตะคร้ำเพิ่มขึ้น การเพาะในแปลงกลางแจ้งโดยไม่ใช้วัสดุคลุมแปลงจะให้ผลดีกว่าการใช้ฟางข้าวและพลาสติกคลุมแปลง ดังนั้นในทางปฏิบัติควรเพาะเมล็ดในแปลงเพาะที่อยู่กลางแจ้ง ควรนำเมล็ดมาแช่ในน้ำยาไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ นาน 30-45 นาที แต่ถ้าไม่มีก็ควรเพาะเมล็ดด้วยเมล็ดธรรมดาโดยไม่จำเป็นต้องแช่น้ำแต่อย่างใด

8. การปลูก การเจริญเติบโต และการปรับปรุงพันธุ์
ในปัจจุบันนี้ข้อมูลเกี่ยวกับการปลูกไม้ตะคร้ำยังไม่มีการศึกษากันอย่างจริงจัง รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับอัตราการเจริญเติบโตและการปรับปรุงพันธุ์ไม้ตะคร้ำก็ยังไม่มีการศึกษากัน แต่อย่างไรก็ตาม การปลูกไม้ตะคร้ำก็เช่นเดียวกับการปลูกไม้ป่าชนิดอื่น ๆ กล่าวคือ ควรปลูกในช่วงฤดูฝน มีการเตรียมพื้นที่ปลูก กล้าไม้ที่นำมาปลูกควรใช้ต้นกล้าที่มีการเจริญเติบโตและเป็นกล้าไม้ที่ผ่านการทดสอบความแกร่งแล้วเพื่อให้ต้นกล้ามีอัตราการรอดตายสูง หากมีการใส่ปุ๋ยด้วยก็จะทำให้กล้าไม้ที่ปลูกเติบโตดียิ่งขึ้น

9. วนวัฒนวิธิ
ความรู้เกี่ยวกับวนวัฒนวิธีของไม้ชนิดนี้ก็ยังไม่มีการศึกษากัน แต่ในการปลูกไม้ป่าส่วนใหญ่แล้วจะมีวิธีการปฏิบัติและดูแลรักษาคล้าย ๆ กัน ซึ่งสามารถนำความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาไม้ป่าชนิดอื่นมาประยุกต์ใช้กับไม้ตะคร้ำได้เช่นกัน สิ่งที่ควรปฏิบัติจะประกอบด้วยการกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก การใส่ปุ๋ย การปลูกซ่อมต้นไม้ที่ตาย การป้องกันไฟ การดูแลเรื่องโรคและแมลง การลิดกิ่งและการตัดสางขยายระยะ เป็นต้น

10. การใช้ประโยชน์
1. เนื้อไม้ ใช้ทำฝา เครื่องตบแต่งบ้าน หีบหรือลังใส่ของ เครื่องเรือน
2. เปลือก ให้น้ำฝาดชนิด Pyrogollol และ Catechol
3. ประโยชน์ทางสมุนไพร
เนื้อไม้ ใช้แก้บิด แก้ท้องร่วง ใช้ภายนอกเป็นยาห้ามโลหิต และแช่ล้างบาดแผลเรื้อรัง ผล เป็นยาบำรุงธาตุ บำรุงกระเพาะอาหาร น้ำคั้นจากใบ ผสมกับน้ำผึ้งใช้รักษาโรคหืด น้ำคั้นจากลำต้น ใช้หยอดตาแก้ตามัวเนื่องจากเยื่อตาอักเสบ น้ำฝากจากเปลือก รับประทานแก้บิด แก้ท้องร่วง ทาภายนอกเป็นยาห้ามเลือด



ติดต่อ ปฐมสิต วงศ์ชวลิต (แชมป์) โทร. 0646969363 0646969363

ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 12 ปี 2 เดือน

โทรศัพท์