ค้นหาสินค้า

ขมิ้น (Turmeric)

ร้าน วรากรสมุนไพร
ว่านขมิ้นขาวปัดตลอด | วรากรสมุนไพร - เมืองนครราชสีมา นครราชสีมา

วรากรสมุนไพร | เมืองนครราชสีมา นครราชสีมา
ว่านขมิ้นขาวปัดตลอด
ช่องทางการติดต่อวรากรสมุนไพรทางไลน์สะดวกที่สุดค่ะ
ไอดีไลน์ herbsddd
QR code https://line.me/ti/p/T-oZ81KZrM
โทร 0629246459,0610236156
ต้องการมาดูสินค้าโทรนัดหมายล่วงหน้านะคะ
ว่านขมิ้นขาวปัดตลอด
มีสรรพคุณทางด้านเมตตามหานิยม คงกระพันชาตรี หากพกติดตัวไว้ จะช่วยคุ้มครองภัยอันตราย ปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย
ความเชื่อ
- ปลูกไว้เป็นเสน่ห์เมตตามหานิยมแก่บ้านเรือนร้านค้าดีนัก ว่านนี้อยู่ที่ใดก็นำความเจริญ มาสู่ที่นั่น ทั้งยังนำโชคลาภความเจริญ ความมีเมตตามหานิยม และความร่มเย็นเป็นสุขมั่งคั่ง สมบูรณ์พูนผล เจริญในหน้าที่การงาน
- หัวใช้กินเป็นคงกระพันธ์ชาตรีหรือจะกินให้เป็นพละกำลัง ก่อนกินให้เศกด้วยคาถา “นะโมพุทธายะ” 3 จบเสียก่อน หรือจะใช้หัวนำติดตัวไปไหนๆ ก็เป็นเมตตา

ราคา 100.00 บาท ติดต่อ ปุณณภา งานสำเร็จ โทร. 0616499298 ไอดีไลน์ herbsddd

ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 13 ปี 5 เดือน

แอดไลน์

ขมิ้นอ้อย | วรากรสมุนไพร - เมืองนครราชสีมา นครราชสีมา

วรากรสมุนไพร | เมืองนครราชสีมา นครราชสีมา
ขายขมิ้นอ้อย สมุนไพรรักษามดลูก ต้านอนุมูลอิสระ
อาจารย์แพทย์แผนไทยเคยบอกว่า ขมิ้นอ้อยมีสรรพคุณเหมือนว่านชักมดลูกแต่จะทำให้มีน้ำหล่อเลี้ยงช่องคลอดเยอะ น่าจะเหมาะกับสตรีวัยทอง
ช่องทางการติดต่อวรากรสมุนไพรทางไลน์สะดวกที่สุดค่ะ
ไอดีไลน์ herbsddd
QR code https://line.me/ti/p/T-oZ81KZrM
โทร 0629246459,0610236156
ต้องการมาดูสินค้าโทรนัดหมายล่วงหน้านะคะ
ขมิ้นอ้อย
สรรพคุณ:
ตำรายาไทย เหง้า รสฝาดเฝื่อน แก้ไข้ครั่นเนื้อครั่นตัว แก้เสมหะ แก้อาเจียน แก้หนองใน สมานลำไส้ ขับลม ขับปัสสาวะ แก้ท้องเสีย ใช้เป็นยาแก้ปวดท้อง ใช้ภายนอกเอาเหง้าโขลกละเอียด พอกแก้ฟกช้ำบวม แก้เคล็ด อักเสบ แก้พิษโลหิต และบรรเทาอาการปวด รักษาอาการเลือดคั่ง เลือดลมไหลเวียนไม่สะดวก รักษาระดูมาไม่ปกติ แก้ระดูขาว ขับประจำเดือน เหง้าผสมใบเทียนกิ่ง และเกลือเล็กน้อยตำละเอียด พอกหุ้มเล็บ เป็นยากันเล็บถอด
บัญชียาจากสมุนไพร: ที่มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ตามประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ปรากฏการใช้ขมิ้นอ้อย ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในกลุ่มอาการของระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ ตำรับ “ยาประสะมะแว้ง” มีสรรพคุณของตำรับคือใช้บรรเทาอาการ ไอ มีเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ ขับเสมหะ ตำรับ “ยาแก้ลมอัมพฤกษ์” มีส่วนประกอบของขมิ้นอ้อยร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดตามเส้นเอ็น กล้ามเนื้อ มือ เท้า ตึงหรือชา ตำรับ "ยาประสะไพล" มีส่วนประกอบของเหง้าขมิ้นอ้อยร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ ในตำรับ มีสรรพคุณรักษาระดูมาไม่สม่ำเสมอหรือมาน้อยกว่าปกติ บรรเทาอาการปวดประจำเดือน และขับน้ำคาวปลาในหญิงหลังคลอดบุตร
รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
ขนาดยาทั่วไป 4.5-9 กรัม
องค์ประกอบทางเคมี:
สารกลุ่มเคอร์คิวมินนอยด์ (curcuminoids) ประกอบด้วย เคอร์คิวมิน (curcumin), bisdemethoxycurcumin, demethoxycurcumin, dihydrocurcumin, tetrahydrodemethoxycurcumin, tetrahydrobisdemethoxycurcumin น้ำมันระเหยง่าย สารหลักคือสารกลุ่ม sesquiterpene ได้แก่ epicurzerenone 46.6%, curdione 13.7%
การศึกษาทางเภสัชวิทยา:
ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย
การศึกษาฤทธิ์ในการต้านจุลชีพที่พบในช่องปากของขมิ้นอ้อย โดยการเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์บ้วนปากในท้องตลาด 5 ชนิด ทำการศึกษาในหลอดทดลอง โดยใช้สารสกัดเอทานอล 70% ของเหง้าขมิ้นอ้อย ทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อ Streptococcus mutans, Enterococcus faecalis, Staphylococcus aureus และ Candida albicans โดยใช้สมการการถดถอยแบบเส้นตรง (linear regression method) ในการวัดการลดลงของเชื้อได้ 99.999% ภายใน 60 วินาที ผลการทดลองพบว่า สารสกัดของขมิ้นอ้อย มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อได้เทียบเท่ากับผลิตภัณฑ์ ในท้องตลาด ได้แก่ สูตร CP+EO(cetylpyridinium chloride (0.5 mg/mL), chamomile, myrrh tinctures, oils of Salvia melaleuca และ eucalyptus) และสูตร EO (thymol (0.6 mg/mL), eucalyptol (0.92 mg/mL), menthol (0.42 mg/mL) และ methyl salicylate (0.6 mg/mL) (Bugno, et al., 2007)
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
การศึกษาส่วนประกอบ และฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระของน้ำมันระเหยง่าย ที่แยกได้จากเหง้าแห้งของขมิ้นอ้อย โดยใช้วิธีการกลั่นด้วยไอน้ำ และสกัดด้วยตัวทำละลาย และทำการสกัดแยกส่วนสกัดย่อยของน้ำมันระเหยง่าย โดยใช้เทคนิค silica gel column chromatography พบสารประกอบ 36ชนิด ได้แก่ terpenes 17 ชนิด, alcohols 13 ชนิด และ ketones 6 ชนิด โดยพบว่าองค์ประกอบหลักที่พบคือ สาร epicurzerenone และ curzerene ปริมาณ 24.1 และ 10.4% ตามลำดับ ผลการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งปฏิกิริยาออกซิเดชันด้วยวิธีทางเคมี พบว่าน้ำมันระเหยง่ายขนาด 20 mg/ml ออกฤทธิ์ในระดับปานกลางถึงระดับดีมากในการต้านอนุมูลอิสระ DPPH ออกฤทธิ์ดีในการเป็น reducing power (เป็นการวัดความสามารถในการรีดิวซ์สารประกอบเชิงซ้อนของเหล็กซึ่งเป็นคุณสมบัติของสารต้านอนุมูลอิสระ) และออกฤทธิ์ระดับต่ำในการจับเหล็ก (เนื่องจากเหล็กอิสระที่มีอยู่ทั่วร่างกายสามารถเหนี่ยวนำให้เกิดอนุมูลอิสระ) และได้ทำการแยกส่วนสกัดย่อยของน้ำมันระเหยง่ายออกมา พบว่าส่วนสกัดย่อยที่ 4 มีองค์ประกอบหลักคือ สารบริสุทธิ์ 5-isopropylidene-3,8-dimethyl-1(5H)-azulenone แสดงฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระได้ดีกว่าน้ำมันระเหยง่าย (Mau, et al., 2003)
ฤทธิ์แก้ปวดและต้านการอักเสบ
การศึกษาสารบริสุทธิ์ curcumenol ที่แยกได้จากสารสกัด dichloromethane จากเหง้าแห้งขมิ้นอ้อย พบว่าออกฤทธิ์แรงในการลดอาการปวดในหนูถีบจักร ในหลายการทดสอบ ได้แก่ Writhing Test , Formalin และ Capsaicin โดยเปรียบเทียบกับยามาตรฐาน diclofenac, aspirin และ dipyrone ในการทดสอบ Writhing Test ใช้กรดอะซิติกฉีดเข้าช่องท้องของหนู เพื่อให้เกิดอาการเจ็บปวด หลังจากให้สารทดสอบขนาด 1-10 mg/kg เข้าทางช่องท้องแล้ว 30 นาที และนับจำนวนครั้งที่หนูเกิดการหดตัวของช่องท้องตามด้วยการยืดกล้ามเนื้อ ภายในเวลา 20 นาที หลังฉีดกรดอะซิติก ผลการทดสอบพบว่าสาร curcumenol สามารถลดจำนวนการเกร็งของการเกิด writhingได้ดีกว่าสารมาตรฐานทั้ง 3 ชนิด โดยมีค่า ID50 ของสาร curcumenol, diclofenac, aspirin และ dipyrone เท่ากับ 22, 38, 133และ 162 ไมโครโมล/กิโลกรัม ตามลำดับ และการทดสอบฤทธิ์ระงับปวดที่สัมพันธ์กับการอักเสบ (Inflammatory analgesia) โดยการฉีด formalin และ capsaicin การทดลอง formalin ทำโดยการฉีดสารทดสอบในขนาด 3-15 mg/kg เข้าทางช่องท้องหนู หลังจากนั้น 1 ชั่วโมง ฉีด formalin เข้าทางใต้ผิวหนังบริเวณอุ้งเท้าหลังด้านซ้าย แล้วสังเกตพฤติกรรมการยกเท้าขึ้นเลียของหนู ใน 2 ช่วงคือ first phase (0-5 นาที หลังจากฉีด formalin) ซึ่งแสดงถึงอาการปวดแบบเฉียบพลัน (acute pain) อีกช่วงหนึ่งคือ second phase (15-30 นาที หลังจากฉีด formalin) ซึ่งแสดงถึงการอักเสบ (inflammation phase) พบว่าสาร curcumenol สามารถลดการอักเสบระยะ second phase ได้ดีกว่าสารมาตรฐานทั้ง 3 ชนิด โดยมีค่า ID50 ของสาร curcumenol, diclofenac, aspirin และ dipyrone เท่ากับ 29, 34.5, 123 และ 264 ไมโครโมล/กิโลกรัม ตามลำดับ การทดสอบด้วย capsaicin ทำโดยการฉีดสารทดสอบในขนาด 1-10 mg/kg เข้าทางช่องท้องหนู หลังจากนั้น 1 ชั่วโมง ฉีด capsaicin เข้าทางใต้ผิวหนังบริเวณอุ้งเท้าหลังด้านขวา แล้วสังเกตพฤติกรรมการยกเท้าขึ้นเลียของหนู เป็นเวลา 5 นาที พบว่าสาร curcumenol สามารถลดการปวดเฉียบพลัน ได้ดีกว่ายามาตรฐาน diclofenac โดยมีค่า ID50 ของสาร curcumenol, diclofenac และ dipyrone เท่ากับ 12, 47 และ 208 ไมโครโมล/กิโลกรัม ตามลำดับ กลไกการออกฤทธิ์ลดปวด และลดการอักเสบของสาร curcumenol นี้ไม่ได้ผ่าน opioid system เนื่องจากไม่ให้ผลการทดสอบด้วยวิธี hot plate (Navarro, et al., 2002)
ศึกษาสาร sesquiterpenoides 2 ชนิด ที่สกัดได้จากเหง้า เมื่อนำไปทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบ ในหลอดทดลอง ในการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ COX-2 และ nitric oxide synthase (iNOS) (หากเอนไซม์ทั้ง 2 ชนิดถูกกระตุ้น จะมีการสร้างสารที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบได้แก่ พรอสตาแกลนดิน และไนตริกออกไซด์ ตามลำดับ) โดยทำการทดสอบกับเซลล์แมคโครฟาจ ชนิด raw 264.7 ของหนูถีบจักร ซึ่งถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบด้วย lipopolysaccharide (LPS) พบว่า สารทั้ง 2 ชนิด คือ beta-turmerone และ ar-turmerone มีฤทธิ์แรงในการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ทั้งสองชนิด โดยยับยั้งเอนไซม์ COX-2 ด้วยค่า IC50 เท่ากับ 1.6 และ 5.2 microg/mL ตามลำดับ และยับยั้ง iNOS โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 4.6 และ 3.2 microg/mLตามลำดับ (Lee, et al, 2002)
ฤทธิ์ทำให้สงบระงับ
สารสกัดเหง้าขมิ้นอ้อยที่สกัดด้วย 80% เอทานอล โดยวิธีการหมัก นำมาทดสอบโดยการวัดระยะเวลาการนอนหลับ และพฤติกรรมการเคลื่อนไหว (locomotor activity)ในหนูถีบจักรเพศผู้ พบว่าสารสกัดเหง้าขมิ้นอ้อยขนาด 1 และ 2 กรัม/กิโลกรม ของน้ำหนักหนู โดยการป้อนทางปาก สามารถยืดระยะเวลาการนอนหลับของหนุถีบจักรที่ถูกเหนี่ยวนำให้นอนหลับด้วยยา pentobarbital ขนาด 50 มก./กก. (ฉีดเข้าทางช่องท้อง) นานขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) นอกจากนี้ยังพบว่า สารสกัดเหง้าขมิ้นอ้อยขนาด 1 ก./กก. เมื่อป้อนทางปากสามารถลดพฤติกรรมการเคลื่อนไหว ในหนูถีบจักรที่กระตุ้นด้วย methamphetamine ขนาด 3 มก./กก. (ฉีดเข้าทางช่องท้อง) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)(พัฒนชัย และสัจจา, 2541)
การศึกษาทางพิษวิทยา:
การทดสอบพิษเฉียบพลันของสารสกัดเหง้าด้วยเอทานอล 50% โดยให้หนูกินในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (คิดเป็น 1,250 เท่า เปรียบเทียบกับขนาดรักษาในคน) และให้โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนังหนู ในขนาด 10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ตรวจไม่พบอาการเป็นพิษ (กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, 2546)
การศึกษาความเป็นพิษต่อเซลล์ในหลอดทดลองของสารสกัดเอทานอลจากเหง้าขมิ้นอ้อย นำมาทดสอบความปลอดภัยต่อเซลล์เยื่อบุผนังในช่องปาก โดยทำการทดลองกับ LMF cell line ที่ได้จากเยื่อบุผนังช่องปาก (oral mucosa) โดยใช้เทคนิค Trypan blue dye exclusion assay โดยทำการฉีดสารสกัดเข้าไปในเซลล์ และวัดความมีชีวิตรอดของเซลล์(Cell viability) ทั้งแบบระยะสั้น (short-term assay) ที่เวลา 0, 6, 12 และ 24 ชั่วโมง หลังได้รับสารสกัด และวัดการเจริญเติบโตของเซลล์ (Cell growth) ระยะยาว (long-term assay) ที่ 1, 3, 5 และ 7 วัน ผลการทดลองพบว่า การทดสอบที่ระยะสั้น เซลล์ยังคงมีชีวิตอยู่ และในระยะยาว พบว่าเ

ราคา 100.00 บาท ติดต่อ ปุณณภา งานสำเร็จ โทร. 0616499298 ไอดีไลน์ herbsddd

ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 13 ปี 5 เดือน

แอดไลน์

ว่านขมิ้นดำ | วรากรสมุนไพร - เมืองนครราชสีมา นครราชสีมา

วรากรสมุนไพร | เมืองนครราชสีมา นครราชสีมา
ขายว่านขมิ้นดำ ว่านสมุนไพรถ่ายพยาธิ
ช่องทางการติดต่อวรากรสมุนไพรทางไลน์สะดวกที่สุดค่ะ
ไอดีไลน์ herbsddd
QR code https://line.me/ti/p/T-oZ81KZrM
โทร 0629246459,0610236156
ต้องการมาดูสินค้าโทรนัดหมายล่วงหน้านะคะ
ว่านขมิ้นดำ
ลักษณะ ต้นใบและหัวเหมือนขมิ้นอ้อยทุกอย่าง เว้นแต่เมื่องอกขึ้นใหม่จะมีสีแดงระเรื่อ กระดูกหน้าใบสีน้ำตาลไหม้เป็นทางตลอดถึงปลายใบ หัวเป็นเนื้อสีเขียวดำ
ประโยชน์ ใช้เป็นยาฆ่าพยาธิในท้อง กินเป็นยาถ่ายพยาธิดีนัก
ดินปลูกใช้ดินดำปลูกจึงจะดี

ราคา 100.00 บาท ติดต่อ ปุณณภา งานสำเร็จ โทร. 0616499298 ไอดีไลน์ herbsddd

ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 13 ปี 5 เดือน

แอดไลน์