ค้นหาสินค้า

ต้นหมารกผู้

ร้าน วรากรสมุนไพร
ชื่อสินค้า:

ต้นหมารกผู้

รหัส:
346728
ราคา:
150.00 บาท /ต้น
ติดต่อ:
คุณปุณณภา งานสำเร็จ
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 13 ปี 7 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
ปุ่มติดต่อ:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ต้นหมากผู้ ไม้มงคลแห่งความโชคดี
ไม่ใช่พรรณไม้พื้นเมืองของไทย เป็นพรรณไม้จากต่างประเทศ มีถิ่นกำเนิดในหมู่เกาะแปซิฟิกและออสเตรเลีย ถูกนำเข้ามาปลูกเป็นไม้ประดับในประเทศไทยนานแล้ว ยังมีชื่ออื่น ที่เป็นชื่อพื้นเมือง หรือ ชื่อท้องถิ่น อีกหลายชื่อ เช่น มะผู้มะเมีย, หมากผู้ เป็นต้น
หมากผู้หมากเมีย
ชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Cordyline fruticosa (L.) A.Chev.
วงศ์ Asparagaceae
ชื่อสามัญ Palm lily, Good luck plant, Cabbage palm, Red Dracaena, Polynesian, Ti Plant
ลักษณะเป็น ไม้พุ่ม ลำต้นตรงหรือแตกกิ่ง สูง 1–3 ม. มีรอยการติดของใบชัดเจนรอบลำต้น ส่วนมากต้นหมากผู้หมากเมียจะมีลำต้นเดี่ยว แต่บางพันธุ์มีกิ่งแขนงแตกออกจากลำต้นเดิมได้ ฟอร์มทรงต้นโปร่งเพรียว มีความสูงของต้นขนาดเล็กสุด ประมาณ 7.5-10 เซนติเมตรจนถึงต้นขนาดใหญ่สุด คือประมาณ 10.5-12.0 เมตร
ใบจะแตกออกจากส่วนยอดของลำต้นหรือส่วนยอดของกิ่งแขนง ลักษณะปลายใบแหลม ใบหนา เนื้อใบอ่อนนุ่ม โคนก้านใบเรียบ สีสันของใบมีสีต่าง ๆ กัน ตั้งแต่ใบสีเขียวแก่ สีเขียวอ่อน สีชมพู สีแดงหรือ มีหลากหลาย ๆ สีรวมกันในใบเดียว
ดอกหมากผู้หมากเมีย ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามซอกใบใกล้ปลายยอดของลำต้น ยาว 30–60 ซม. ช่อแขนงยาว 6–13 ซม. ดอกย่อยจำนวนมาก ดอกไร้ก้านหรือมีก้านยาวได้ถึง 4 มม. มีข้อใกล้ปลายก้านดอก ใบประดับ 3 ใบ รูปไข่ ยาว 2–3 มม. ขอบบาง ปลายแหลมยาว
ผลหมากผู้หมากเมีย ผลแห้งแตก เปลือกหนา สีแดง มีหลายเมล็ด เมล็ดหมากผู้หมากเมีย เมล็ดสีดำ มีสาร Phytomelanin เคลือบ
ประโยชน์
หมากผู้หมากเมีย นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ไม้มงคล เชื่อกันว่าเป็นต้นไม้นำโชค แม้แต่เชื่อสามัญ ภาษาอังกฤษ ก็ยังมีชื่อว่า Good luck plant ต้นไม้แห่งความโชคดี
สรรพคุณ หมากผู้หมากเมีย
สรรพคุณของแต่ละส่วนที่ใช้ทำยา คือ ใบ ต้มเอาน้ำดื่ม ขับพิษไข้หัว แก้ตัวร้อน มักใช้รวมกับใบมะยม แช่น้ำทิ้งไว้อาบ แก้อาการคันตามผิวหนัง และเด็กที่ออกไข้ออกผื่น เช่น เหือด หัด อีสุกอีใส ดำแดง
สารสำคัญ ใบหมากผู้หมากเมีย มีสารสำคัญ ได้แก่ Phenois, Amino acid และน้ำตาล แก้ไขข้อมูลเมื่อ 23 Feb 22 06:47