ค้นหาสินค้า

ขายขมิ้นอ้อย

ร้าน วรากรสมุนไพร
ชื่อสินค้า:

ขายขมิ้นอ้อย

รหัส:
299887
ประเภท:
ราคา:
300.00 บาท
ติดต่อ:
คุณปุณณภา งานสำเร็จ
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 13 ปี 7 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
ปุ่มติดต่อ:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ขายขมิ้นอ้อย ปลูกออแกนนิกจากที่สูง เพื่อคุณภาพและสารสำคัญ เพราะพืชกลุ่มขมิ้นแหล่งปลูกเป็นเรื่องสำคัญ ขมิ้นที่ปลูกในพื้นที่สูงจะให้สารสำคัญที่ดีกว่า สารสำคัญของขมิ้นมี2ชนิดที่ใช้กำหนดคุณภาพคือ สารเคอคูมินคือสารสีเหลืองหรือส้มและน้ำมันหอมระเหย(essential oils)ที่มีสรรพคุณขับลม มีไว้เป็นยาสามัญประจำบ้าน กินก่อนป่วย กินอาหารให้เป็นยา
ช่องทางการติดต่อวรากรสมุนไพรทางไลน์สะดวกที่สุดค่ะ
ไอดีไลน์ herbsddd
QR code https://line.me/ti/p/T-oZ81KZrM
โทร 0629246459
ต้องการมาดูสินค้าโทรนัดหมายล่วงหน้านะคะ
Thai white turmeric ,the best of herbs from mountain where Suitable area for turmeric.Food is medicine
วรากรสมุนไพรมีขมิ้นอ้อยหัวสดจำหน่ายโลละ 300 บาท และขมิ้นอ้อยบดผง(100%)โลละ 650 บาท ราคาขึ้นลงตามฤดูกาล สั่งมากมีราคาส่งค่ะ
ขมิ้นอ้อย
สรรพคุณ อย่างหนึ่งที่น่าสนใจของขมิ้นอ้อยคือ มีสรรพคุณเช่นเดียวกับว่านชักมดลูกแต่ทำให้ช่องคลอดมีน้ำหล่อลื่น ซึ่งสรรพคุณนี้เหมาะกับสตรีวัยทอง
ในขณะที่ที่ผ่านมา มีการรณรงค์การใช้ขมิ้นชันกันอย่างแพร่หลาย ขมิ้นอ้อยถูกลืมเลือน หาคนปลูกยากขึ้นทุกวัน ของดีกำลังจะหายไป แล้วไปโผล่อีกทีที่ต่างประเทศ อีกครั้งและอีกครั้ง
ความน่าสนใจของขมิ้นอ้อย เชื่อว่า การกินขมิ้นอ้อย วันละ 1-2 แคปซูลก่อนอาหาร เช้า ช่วยลดการอักเสบในมดลูกและช่องคลอด ลดกลิ่นไม่พึงประสงค์จากการอักเสบภายในของสตรี และลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปากมดลูกได้
ขมิ้นอ้อย
ชื่ออื่น ขมิ้นเจดีย์ ว่านเหลือง ขมิ้นหัวขึ้น สากกะเบือละว้า
ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma zedoaria (Christm.) Roscoe
ชื่อสามัญ Zedoary
ชื่อวงศ์ Zingiberaceae
ลักษณะ
ขมิ้นอ้อยมักมีอายุอยู่ได้นานหลายปี ส่วนใบมักจะแห้ง และจะตั้งหัวในฤดูแล้ง และในฤดูฝนก็จะแตกใบออกดอกใหม่ สูงประมาณ ๑-๑.๕๐ เมตร ลักษณะของเหง้าเป็นรูปไข่ มีแขนงรูปทรงกระบอกแตกออกตรงกันข้ามทั้งสองข้าง มีเนื้อสีเหลืองภายในเหง้า เหง้าตั้งตรงและบางส่วนจะโผล่ขึ้นมาเหนือดิน จึงเรียกกันว่า “ขมิ้นอ้อย” หรือ “ขมิ้นขึ้น” หรือ “ขมิ้นหัวขึ้น” หรือ “ว่านหัวตั้ง” หรือ “สากเบือละว้า”มีกลิ่นเฉพาะ ใบเป็นแบบใบเดี่ยว มีก้านใบยาวแทงออกจากเหง้าเรียงเป็นวงซ้อนทับกัน ขนาดกว้าง ๑๕-๒๐ ซม. ยาว ๔๐-๕๐ ซม. แผ่นใบเหนียว ดอกเป็นลักษณะดอกช่อ ก้านช่อดอกจะแทงออกมาจากเหง้า แทรกขึ้นมาระหว่างก้านใบ เป็นรูปทรงกระบอก ยาว ๗-๑๕ ซม. ดอกสีเหลืองอ่อน มีใบประดับสีเขียวปลายอมชมพูอยู่ตรงส่วนล่างของช่อ ส่วนบนเป็นรูปใบหอกสีชมพูหรือชมพูอมขาว
ในหน้าแล้งเมื่อสีของใบเริ่มเปลี่ยนจากเขียวเป็นเหลือง ขมิ้นอ้อยก็จะถูกขุดขึ้นมา องค์ประกอบทางเคมีของขมิ้นอ้อยจะคล้ายกับขมิ้นชันและมีสารสีเหลืองเหมือนกัน แต่สีจะอ่อนกว่าที่อยู่ในขมิ้นชันขมิ้นอ้อย
ขมิ้นอ้อยเป็นทั้งเครื่องยาและเครื่องเทศที่ได้จากเหง้า ซึ่งมีความใกล้เคียงกันกับขมิ้นชัน และคนไทยมักนิยมปรุงอาหารด้วยขมิ้นอ้อยมากกว่าใช้ขมิ้นชัน เพราะมีกลิ่นที่ไม่ฉุน และใช้แต่งสีอาหาร เช่น ข้าวเหนียวเหลืองหรือข้าวเหนียวหน้ากุ้ง ขนมเบื้องญวน ซึ่งมักจะใช้เหง้าสดๆ มาทำ
ตำรับยาของหมอไทยก็นิยมใช้ขมิ้นอ้อยมากกว่าขมิ้นชัน เนื่องจากมีรสฝาด มีสรรพคุณเป็นยาสมาน แก้ท้องร่วง แก้อาเจียน แก้ไข้ ใช้หุงกับน้ำมันมะพร้าวใส่แผล เพื่อฆ่าเชื้อและสมานแผล และใช้กินแก้ท้องร่วงโดยวิธีนำมาบดผสมกับน้ำปูนใส
องค์ประกอบทางเคมี:
สารกลุ่มเคอร์คิวมินนอยด์ (curcuminoids) ประกอบด้วย เคอร์คิวมิน (curcumin), bisdemethoxycurcumin, demethoxycurcumin, dihydrocurcumin, tetrahydrodemethoxycurcumin, tetrahydrobisdemethoxycurcumin น้ำมันระเหยง่าย สารหลักคือสารกลุ่ม sesquiterpene ได้แก่ epicurzerenone 46.6%, curdione 13.7%
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของขมิ้นอ้อย
สารที่พบในเหง้าของขมิ้นอ้อย ได้แก่ Curcumin, Curdione, Curzerene, Furanodiene,
Furanodienone, Zederone, Zedoarone, แป้ง และน้ำมันระเหยประมาณ 1-1.5% เป็นต้น
เมื่อนำสารสกัดที่ได้จากขมิ้นอ้อยมาฉีดเข้าในสัตว์ทดลอง จะพบว่าสารสกัดดังกล่าวมีฤทธิ์ต่อต้านเนื้องอกหรือมะเร็งปากมดลูก และยังมีฤทธิ์ในการยับยั้งเซลล์มะเร็งหรือเนื้องอกไม่ให้มีการเติบโตหรือขยายตัวได้อีกด้วย
ในกรณีเมื่อนำขมิ้นอ้อยมาให้สัตว์ทดลองกินจะพบว่า ขมิ้นอ้อยมีฤทธิ์ในการกระตุ้นกระเพาะและลำไส้ของสัตว์ทดลองให้เกิดการบีบตัว (คล้ายกับฤทธิ์ของขิง) ดังนั้น จึงสามารน ามาใช้เพื่อช่วยในการขับลม แก้อาการปวดท้อง และแก้อาการปวดลำไส้ได้
น้ำมันหอมระเหยที่ได้จากขมิ้นอ้อยสามารต่อต้านเชื้อ Staphylococcus หรือเชื้อในลำไส้ใหญ่ Columbacillus หรือเชื้ออหิวาต์ได้
ขมิ้นอ้อยมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อราได้ถึง 11 ชนิด และช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราได้อีก 4 ชนิด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเชื้อราที่ทeให้เกิดโรคผิวหนังต่าง ๆ เช่น กลาก ชันนะตุ เชื้อราที่ผิวหนัง ที่เล็บ ที่ซอกนิ้วเท้า
มีรายงานทางคลินิกที่ได้นeสารที่สกัดจากขมิ้นอ้อยมาฉีดเข้าบริเวณปากมดลูกหรือบริเวณเส้นเลือดดำของผู้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกที่กำลังเข้ารับการรักษาเป็นระยะเวลา 3 เดือน พบว่าเนื้องอกมีขนาดเล็กลงหรือมีอาการเกือบจะเป็นปกติ และเมื่อได้ทำการรักษาต่อไปอีกเป็นระยะเวลา 3 เดือน พบว่าในจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจำนวน 80 คน หายขาดจากโรค 30 คน มีอาการที่ดีขึ้นมาก จำนวน 30 คน และอีก 20 คนพบว่ามีอาการดีขึ้น
สารสกัดจากเหง้าขมิ้นอ้อยมีฤทธิ์สงบประสาทโดยไปเพิ่มฤทธิ์ของ pentobarbital ต่อการนอนหลับและลด locomotor activityของหนูทดลองโดยอาจออกฤทธิ์ผ่าน uscarinic receptor และ opiate receptor ในการกดสมองส่วนกลาง
ฤทธิ์ทำให้สงบระงับ
สารสกัดเหง้าขมิ้นอ้อยที่สกัดด้วย 80% เอทานอล โดยวิธีการหมัก นำมาทดสอบโดยการวัดระยะเวลาการนอนหลับ และพฤติกรรมการเคลื่อนไหว (locomotor activity)ในหนูถีบจักรเพศผู้ พบว่าสารสกัดเหง้าขมิ้นอ้อยขนาด 1 และ 2 กรัม/กิโลกรม ของน้ำหนักหนู โดยการป้อนทางปาก สามารถยืดระยะเวลาการนอนหลับของหนุถีบจักรที่ถูกเหนี่ยวนำให้นอนหลับด้วยยา pentobarbital ขนาด 50 มก./กก.
ประโยชน์ของขมิ้นอ้อย
1. นอกจากจะใช้เหง้าเป็นยาสมุนไพรแล้ว ยังสามารถน ามาใช้เป็นเครื่องเทศเพื่อใช้ท าอาหารได้หลาย
ชนิด เช่น การนำมาตำใส่แกงต่าง ๆ ร่วมกับจ๊ะไค เป็นต้น
2. สามารถนำมาใช้ในการแต่งสีเหลืองให้กับอาหารบางชนิดได้ เช่น ขนมเบื้องญวน ข้าวเหนียวเหลือง ข้าวเหนียวหน้ากุ้ง แกงเหลือง แกงกะหรี่ ข้าวหมกไก่ เนย มัสตาร์ด ผักดอง เป็นต้น อีกทั้งยังสามารถนำมาใช้ในการย้อมสีผ้าให้เป็นสีเหลืองได้อีกด้วย
3. เหง้าสามารถนำมาใช้ทำแป้งโชติซึ่งเป็นแป้งที่ย่อยง่ายและเหมาะสำหรับทารก
4. ในอินโดนีเซียจะใช้ยอดอ่อนนำมารับประทานเป็นผัก
5. ในอินเดียใช้เหง้าทำเป็นเครื่องหอม
6. เหง้าใช้เคี้ยวเพื่อดับกลิ่นปากได้
7. ช่วยบำรุงผิวพรรณให้สวยงาม ด้วยการเหง้าขมิ้นอ้อย หัวแห้วหมู พริกไทย และกระชาย นำมาทุบรวมกันแล้วนำมาดองด้วยน้ำผึ้ง ใช้รับประทานก่อนเข้านอนทุกคืน
8. มีข้อมูลระบุว่าขมิ้นอ้อยถูกนำไปใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางสมุนไพร ที่นำมาใช้มาการขัดหน้า ขัดผิว ช่วยแก้สิว แก้ฝ้า ช่วยลบเลือนจุดด่างดำ แก้โรคผดผื่นคัน และทำให้ผิวพรรณดูผุดผ่องงดงาม ผิวนุ่มและเรียบเนียน แก้ไขข้อมูลเมื่อ 03 May 20 05:22