ค้นหาสินค้า

ผักบุ้งทะเล

ร้าน วรากรสมุนไพร
ชื่อสินค้า:

ผักบุ้งทะเล

รหัส:
281195
ราคา:
200.00 บาท
ติดต่อ:
คุณปุณณภา งานสำเร็จ
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 13 ปี 6 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
ปุ่มติดต่อ:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ขายผักบุ้งทะเล
ช่องทางการติดต่อวรากรสมุนไพรทางไลน์สะดวกที่สุดค่ะ
ไอดีไลน์ herbsddd
QR code https://line.me/ti/p/T-oZ81KZrM
โทร 0629246459
ต้องการมาดูสินค้าโทรนัดหมายล่วงหน้านะคะ
ผักบุ้งทะเล
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ipomoea pes-caprae (L.) R. Br.
วงศ์ Convolvulaceae
ชื่อพ้อง I. biloba Forssk. ssp. pescaprae
ชื่ออื่นๆ ละบูเลาห์ Beach morning-glory, Goat’s foot creeper
สารออกฤทธิ์ actinidol (1), actinidol 1A, actinidol 1B (2), a- amyrin acetate, b-amyrin acetate,
betulinic acid (3), eugenol (4), glochidone (3), 2-hydroxy-4,4,7-trimethyl-1(4H)-naphthalanone
(4), isoquercetrin (3), (-)-mellein, 4-vinylguaiacol (4), volatile ester (5, 6)

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่เกี่ยวกับแก้ผื่นแพ้ ตุ่มคัน
1. ฤทธิ์แก้ผิวหนังอักเสบจากพิษแมงกะพรุน
การศึกษาทางคลินิกในผู้ป่วยผิวหนังอักเสบจากพิษแมงกะพรุน จำนวน 12 คน ได้รับการรักษาโดยทาครีมสารสกัดอีเทอร์จากใบเข้มข้น 1% (IPA 1%) ผู้ป่วย 5 คน ถูกแมงกะพรุนในวันแรก มีตุ่มแดงและคัน ทายา IPA ทันที ในวันแรกของการรักษาอาการคันลดลง และอาการจะหายในวันที่ 2 ของการรักษา ผู้ป่วยอีก 7 คน ถูกแมงกะพรุนมานาน 3-30 วัน มีผื่นแดง รอยไหม้หรือแผล หลังจากทายา IPA ผู้ป่วย 50% อาการจะดีขึ้นภายใน 7 วัน และหายดีภายใน 30-45 วัน โดยเหลือแผลเป็นเนื้อนูนน้อยมาก นอกจากนี้มีการนำครีมผักบุ้งทะเล ดังกล่าวมาทาผื่นที่เกิดจากแมลง Paederus 8 คน พบว่า ผื่นจะหายภายใน 5-7 วัน มีผลเท่ากับการใช้ corticosteroid cream และทดลองใช้กับผู้ป่วยที่เป็นตุ่มพุพองเรื้อรังจากการแพ้ยุง 3 คน พบว่า IPA ทำให้อาการหายได้ดีกว่า corticosteroid cream (7)
2. ฤทธิ์ต้านฮีสตามีน
ส่วนสกัดที่ไม่ถูก saponified (unsaponifiable fraction) จากสารสกัดปิโตรเลียมอีเทอร์จากใบ 4% มีฤทธิ์ต้านฮีสตามีนเมื่อทดสอบบนผิวหนัง ส่วนสกัดที่เป็น crude mucilage จากสารสกัดน้ำ 8.75% ไม่มีผลต้านฮีสตามีนเมื่อทดสอบบนผิวหนัง (skin test) (8) สาร volatile ester จากผักบุ้งทะเล มีฤทธิ์ต้านฮีสตามีนที่เหนี่ยวนำให้ลำไส้เล็กของหนูตะเภาบีบตัว แต่ให้ผลน้อยกว่ายาต้านฮีสตามีน benadryl และ antistine โดย volatile ester, benadryl และ antistine ออกฤทธิ์ต้านฮีสตามีนได้ 90% ด้วยความเข้มข้นเท่ากับ 6X10-5,1X10-6 และ 1X10-5 โมลาร์ ตามลำดับ (5, 6) สารสกัดน้ำจากใบ (9) สารสกัดอีเทอร์จากใบ (10) และน้ำมันหอมระเหยจากใบความเข้มข้น 62.5 มคก./มล. (11) มีฤทธิ์ต้านฮีสตามีนที่เหนี่ยวนำให้ลำไส้เล็กหนูตะเภาบีบตัว
3. ฤทธิ์ลดการอักเสบ
น้ำมันหอมระเหยจากใบ ลดการอักเสบที่หูหนูขาวที่ถูกเหนี่ยวนำโดย arachinodic acid และลดการอักเสบที่อุ้งเท้าหนูขาวที่ถูกเหนี่ยวนำโดย carrageenan ความเข้มข้นของสารที่ลดการอักเสบได้ 50% (IC50) เท่ากับ 2.4 มก./หู และ 3.3 มก./อุ้งเท้า ตามลำดับ และที่ความเข้มข้น 1 มก./หู สามารถลดการอักเสบของหูหนูขาวที่ถูกเหนี่ยวนำโดย ethyl phenylpropiolate (11) สารสกัดปิโตรเลียมอีเทอร์จากใบ ทาภายนอก สามารถลดการอักเสบของหูหนูขาวที่ถูกเหนี่ยวนำโดย ethyl phenylpropiolate และ arachidonic acid และลดการอักเสบของอุ้งเท้าหนูขาวที่ถูกเหนี่ยวนำโดย carrageenan ค่า IC50 เท่ากับ 1 มก./หู, 2.4 มก./หู และ 3.3 มก./อุ้งเท้า ตามลำดับ (12) สารสกัดปิโตรเลียมอีเทอร์ความเข้มข้น 1.15% มีฤทธิ์ลดการอักเสบของอุ้งเท้าหนูขาวที่ถูกเหนี่ยวนำโดย carrageenan และ arachidonic acid และลดการอักเสบของหูหนูขาวที่ถูกเหนี่ยวนำโดย ethyl phenylpropiolate ผลในการลดการอักเสบขึ้นกับความเข้มข้นของสารที่ได้รับ โดยมีสารที่ออกฤทธิ์ คือ actinidols (1) สาร actinidols 1a และ 1b จะลดการอักเสบของหูหนูขาวที่ถูกเหนี่ยวนำโดย ethyl phenylpropiolate แต่ไม่มีผลต่อ prostaglandin (2)
สารสกัดปิโตรเลียมอีเทอร์จากใบ มีฤทธิ์ลดการอักเสบ โดยยับยั้งการสังเคราะห์ prostaglandin ในหลอดทดลอง (1, 2, 13) ค่า IC50 เท่ากับ 62.3 มคก./มล. (12) และให้ผลคล้ายกับยาแอสไพริน แต่ออกฤทธิ์น้อยกว่ายา indomethacin (IC50 = 74.8 และ 0.27 มคก./มล. ตามลำดับ) สารที่ออกฤทธิ์คือ eugenol (I) และ (-)-mellein (II) (1, 4), 2-hydroxy-4,4,7-trimethyl-1(4H)-naphthalenone (III) และ 4-vinylguaiacol (IV) สาร eugenol จะออกฤทธิ์ดีที่สุด ค่า IC50 เท่ากับ 9.2 ไมโครโมล ส่วนสาร II, III, IV จะมีค่า IC50 เท่ากับ 340, 230 และ 18 ไมโครโมล ตามลำดับ (4) สารสกัดเอทานอล 100% จากใบ ความเข้มข้น 100 มคก./มล. มีฤทธิ์อ่อนในการยับยั้งการสังเคราะห์ prostaglandin (13) น้ำมันหอมระเหยจากใบจะยับยั้ง prostaglandin synthetase ในหลอดทดลอง มีค่า IC50 เท่ากับ 62.3 มคก./มล. (11)
4. ฤทธิ์แก้ปวด
สารสกัดเอทานอลจากส่วนเหนือดิน ขนาด 10 มก./กก. ฉีดเข้าช่องท้องหนูถีบจักร สามารถลดการบิดตัวของหนูที่ถูกเหนี่ยวนำโดยกรดอะซิติก และลดอาการปวดที่อุ้งเท้าที่ถูกเหนี่ยวนำโดยฟอร์มาลิน สารที่ออกฤทธิ์คือ glochidone, betulinic acid, a- และ b-amyrin acetate และ isoquercetrin (3) สารสกัดเมทานอลจากส่วนเหนือดิน ฉีดเข้าช่องท้องหนูถีบจักรเพศผู้ (Swiss mice) ขนาด 10-60 มก./กก. 30 นาที ก่อนที่หนูจะได้รับกรดอะซิติก พบว่าจะลดการหดตัวของช่องท้องหนู ความเข้มข้นของสารที่ลดการหดตัวได้ 50% (ID50) เท่ากับ 33.8 มก./กก. ซึ่งผลการยับยั้งได้สูงสุด 58.7% และให้ผลใกล้เคียงกับยาแอสไพรินและพาราเซตามอล เมื่อให้สารสกัดดังกล่าวขนาด 200 มก./กก. ทางปากหนูถีบจักร พบว่าสามารถยับยั้งการหดตัวของช่องท้องหนูได้ 68.44% ส่วนสกัดที่แยกได้ละลายใน ethyl acetate และส่วนสกัดที่ละลายได้ในน้ำ ในขนาด 10 มก./กก. เมื่อฉีดเข้าช่องท้องหนูถีบจักรมีฤทธิ์ยับยั้งการหดตัวของช่องท้อง เท่ากับ 63.12 และ 71.04% ตามลำดับ เมื่อทดสอบด้วย formalin model พบว่า สารสกัดเมทานอลจากส่วนเหนือดิน ขนาด 10-60 มก./กก. ฉีดเข้าช่องท้องหนูถีบจักรที่ได้รับฟอร์มาลิน สามารถลดความเจ็บปวดโดยไปยับยั้งระบบประสาท (phase I) และกระบวนการอักเสบ (phase II) ID50 เท่ากับ 37.6 (20.5-68.7) และ 12.5 (6.8-22.9) มก./กก. ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับแอสไพรินจะมีค่า ID50 เท่ากับ 22.1 มก./กก. และจะให้ผลเฉพาะยับยั้งการอักเสบ และเมื่อให้สารสกัดดังกล่าวทางปากหนูถีบจักรขนาด 200 มก./กก. สามารถยับยั้งได้ทั้ง phase I และ phase II เท่ากับ 50.75.7 และ 60.37% ตามลำดับ ส่วนสกัดที่ละลายได้ใน ethyl acetate ขนาด 10 มก./กก. ฉีดเข้าช่องท้องหนูถีบจักรจะมีผลยับยั้งเฉพาะ phase II 44.8% แต่ส่วนสกัดที่ละลายในน้ำขนาดเดียวกันจะมีผลยับยั้งทั้ง phase I และ phase II เท่ากับ 52.0 และ 34.5% ตามลำดับ ทั้งนี้กลไกการออกฤทธิ์ของสารสกัด ไม่ได้มีความสัมพันธ์กับ opioid receptors และไม่สามารถถูกยับยั้งด้วย naloxone (14)
สารสกัดเมทานอลจากเมล็ด มีฤทธิ์ลดปวดในเซลล์เพาะเลี้ยง BKII receptor ใน CHO cells และ CGRP receptor ใน human neuroblastoma cell line แต่ไม่มีฤทธิ์ลดปวดในเซลล์เพาะเลี้ยง NKI receptor ใน human astrocytoma cell line (15)

หลักฐานความเป็นพิษและการทดสอบความเป็นพิษ
1. การทดสอบความเป็นพิษ
เมื่อให้สารสกัดน้ำจากใบและสารสกัดปิโตรเลียมอีเทอร์ทางปากสุนัข ขนาด 2 ก./ตัว และ 1 ก./ตัว (16) และเมื่อให้สารสกัดอีเทอร์จากใบทางปากหนูขาว ขนาด 7.5 ก./กก. ไม่พบพิษ (17) เมื่อฉีดสารสกัดเอทานอล:น้ำ เข้าช่องท้องแมว ขนาด 4.3 ก./ตัว และให้ทางปาก ขนาด 1.8 ก./ตัว ไม่พบพิษภายใน 24 ชม. (18) เมื่อฉีดสารสกัดเอทานอล:น้ำ (1:1) จากทั้งต้น เข้าช่องท้องหนูถีบจักร ความเข้มข้นของสารที่ทำให้สัตว์ทดลองตายครึ่งหนึ่ง (LD50) มากกว่า 1,000 มก./กก. (19) และเมื่อฉีดสารสกัดเอทานอล 90% จากผลและใบ เข้าช่องท้องหนูถีบจักร ค่า LD50 เท่ากับ 0.562 และ 0.681 ก./กก. ตามลำดับ (20)
2. การทดสอบความระคายเคือง
สารสกัดอีเทอร์จากใบ ไม่ก่อให้เกิดความระคายเคืองเบื้องต้นต่อผิวหนังธรรมดาและผิวหนังขูดถลอกของกระต่ายภายใต้สภาวะปิดป้องกันการระเหยของตัวยานาน 24 ชม. (17) และสารสกัดอีเทอร์จากใบในรูปครีม 1% ทดสอบด้วยวิธี closed patch test ในคนปกติ 50 คน ไม่พบปฏิกิริยาการแพ้ภายใน 24 ชม. (7)
3. ฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์
สารสกัดอีเทอร์จากใบ (17) และสารสกัดจากทั้งต้น ความเข้มข้น 400 มคก./จานเพาะเชื้อ (21) ไม่ก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ของ Salmonella typhimurium TA98 (17, 21) และ TA100 (17)
4. พิษต่อเซลล์
สารสกัดเอทานอล:น้ำ (1:1) จากทั้งต้น ความเข้มข้น 25 มคก./มล. ไม่เป็นพิษต่อเซลล์ CA-9KB (19)
5. พิษต่อระบบสืบพันธุ์
สารสกัดเอทานอล 90% จากผล ความเข้มข้น 2% ไม่มีผลฆ่าสเปิร์มในหนูขาวเพศผู้ และสารสกัดเอทานอล 90% จากใบและผล ขนาด 100 มก./กก. ไม่มีผลต้านการฝังตัวของตัวอ่อนในหนูขาวที่ตั้งท้อง (20) เมื่อให้สารสกัดเหลวทางปากแก่แมวตั้งท้อง ขนาด 1 ก./กก. ไม่ทำให้แท้งภายใน 24 ชม. (18)
6. ผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด และระบบการหายใจ
สารสกัดเอทานอล 90% จากใบและผล ขนาด 50 มก./กก. ฉีดเข้าเส้นเลือดดำสุนัข พบว่าไม่มีผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ไม่ทำให้หัวใจเต้นช้าลงและไม่กดระบบการหายใจ (20)
7. ผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง
สารสกัดจากใบ ขนาด 1 ก./กก. ให้ทางสายยางให้อาหาร และฉีดเช้าช่องท้องหนูถีบจักร พบว่ามีผลอย่างอ่อนต่อระบบประสาทส่วนกลาง (22)

จากผลการทดลองจะเห็นว่าผักบุ้งทะเลสามารถนำมาใช้ลดการอักเสบและแพ้ได้ แต่ยังไม่มีผลิตภัณฑ์ออกจำหน่าย มีเพียงการใช้ตามแผนโบราณคือใช้ใบขยี้ทา ซึ่งอาจไม แก้ไขข้อมูลเมื่อ 03 Jul 21 12:27