ค้นหาสินค้า

จุลินทรีย์ดิน โรงงานผลิตปุ๋ยในดิน

ร้าน สวนเกษตรผสมผสาน
จุลินทรีย์ดิน โรงงานผลิตปุ๋ยในดิน
จุลินทรีย์ดิน โรงงานผลิตปุ๋ยในดิน
ชื่อสินค้า:

จุลินทรีย์ดิน โรงงานผลิตปุ๋ยในดิน

รหัส:
272371
ราคา:
400.00 บาท
ที่อยู่ร้าน:
อ.ดอนตูม จ.นครปฐม
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 6 ปี 11 เดือน
ปุ่มติดต่อ:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
บทบาทและความสำคัญของจุลินทรีย์ในการเกษตร
เกษตรกรรุ่นใหม่หลายๆท่านมีคำถามว่าทำไมต้นไม้ พืชที่อยู่ในป่า จึงแข็งแรง ทนทาน ต้านโรคและแมลง ปุ๋ยก็ไม่เคยมีใครเอาไปใส่ให้ แต่กลับเติบโตออกดอกติดผลให้เก็บมาบริโภคกันอย่างต่อเนื่อง ที่คนสมัยก่อนเรียกว่าของป่านั้นเอง พืชเหล่านั้นได้ปุ๋ยมาจากที่ไหน ขาดน้ำหลายเดือนก็ยังอยู่ได้ และเกษตรกรหลายๆท่านเคยแปลกใจบ้างไหมว่าการทำการเกษตรใช้สารเคมีคุณภาพดีๆราคาแพงๆยิ่งใช้ผลผลิตยิ่งลดลงเรื่อยๆไปถามผู้รู้ท่านก็ตอบว่าเพราะดินไม่ดี ดินมันตาย มันไม่มีชีวิต
ดินที่มีชีวิต เป็นดินที่มีความสมดุลของสิ่งมีชีวิตในดินรวมถึงจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในดินด้วย สมดุลของจุลินทรีย์ที่อยู่ในดินสภาพธรรมชาติก็คือ ความสมดุลในด้านของจุลินทรีย์และความหลากหลายของจุลินทรีย์ ฉะนั้นจำนวนจุลินทรีย์กับความหลากหลายของจุลินทรีย์ในดินจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ดินที่เหมาะสมที่สุดในการทำการเกษตร คือดินที่มีจุลินทรีย์อยู่หลายกลุ่ม ตัวอย่างเช่น ดินป่า ซึ่งนั้นคือตัวอย่างของดินที่มีชีวิต
ในอดีตการทำการเกษตรของไทยทั้งพืชยืนต้น ผักสวนครัวและพืชล้มลุกใช้ปุ๋ยเคมีเพียงเล็กน้อยก็ได้ผลผลิต ผลตอบแทนที่สุดแสนจะคุ้มค่าจึงเป็นค่านิยมเดิมๆของเกษตรกรที่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีเรื่อยมาเป็นการสอนต่อจากรุ่นสู่รุ่นว่าปุ๋ยสูตรนั้นสูตรนี้ดีมากมาย มีการไถตากพื้นดิน โรยปูขาว เผาทำลายวัชพืช ตอซัง ซากพืช ซ้ำร้ายยิ่งกว่าคือการใช้สารเคมีล้วนๆในการกำจัดวัชพืชต่างๆและนั้นเป็นสาเหตุสะสมมาอย่างต่อเนื่องที่ทำให้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ที่เป็นตัวสร้างสภาวะแวดล้อมให้พืชหรือสร้างระบบนิเวศน์ในดินได้ถูกทำลายลงอย่างถาวรแต่สิ่งที่น่าแปลกใจยิ่งกว่าคือจุลินทรีย์สาเหตุโรคพืชแมลงศัตรูพืชกลับพัฒนาตนเองให้มีชีวิตอยู่ได้และมีความต้านทานสารเคมีต่างๆมากขึ้น
จุลินทรีย์ในดินมีหน้าที่ในกระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่หรือการแปรสภาพอินทรีย์วัตถุ ซากพืช ซากสัตว์มูลสัตว์ต่างๆในดินให้กลายเป็นแร่ธาตุอาหาร กรดอะมิโน และฮอร์โมนพืชชนิดต่างๆ ที่เป็นประโยชน์กับพืช เพราะฉะนั้นจึงถือได้ว่าจุลินทรีย์ก็คือ ตัวการที่จะทำให้สารอินทรีย์ย้อนกลับไปเป็นธาตุอาหารพืชใหม่ได้อีกครั้ง นั่นคือทำให้เกิดการหมุนเวียนธาตุอาหารพืชในดิน ในปัจจุบันการทำการเกษตรมีการใช้ปุ๋ยเคมีกันมากเพราะความต้องการผลผลิตที่มากขึ้น เมื่อต้องการผลผลิตมากขึ้นก็จำเป็นต้องนำเอาปัจจัยการผลิตอื่นๆใส่เข้าไปเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดปัญหาการใช้อย่างไม่สมดุล เป็นการใช้อย่างทำลายมากกว่า จะเห็นได้จากกรณีการเปิดป่า หรือการนำพื้นที่มาใช้จะเริ่มต้นด้วยการเผา ซึ่งทำให้จุลินทรีย์ส่วนหนึ่งตายไป และอินทรีย์วัตถุส่วนหนึ่งหายไป ส่วนที่เคยอยู่ในระบบก็หายไปอยู่นอกระบบ เมื่อจุลินทรีย์หลายชนิดตายไปอีกหลายชนิดก็ลดจำนวนลง อัตราการเกิดกระบวนการหมุนเวียนย้อนกลับไปเป็นปัจจัยการผลิตก็ลดน้อยลง เมื่อจุลินทรีย์เหล่านี้ตายหรือลดน้อยลงก็ทำให้ดินนั้นตายไปด้วย และนี่คือบทบาทของจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในธรรมชาติ ดังที่กล่าวมาข้างต้นเมื่อต้องการให้ระบบนิเวศของดินกลับมาทำงานหรือกลับมามีชีวิตเกษตรกรจึงต้องเติมจุลินทรีย์เหล่านั้นเข้าไปในสวนเกษตรของเกษตรกร
สินค้า : จุลินทรีย์ดิน
มีส่วนประกอบของจุลินทรีย์ที่ผ่านการคัดสรรค์ว่ามีประโยชน์ที่อาศัยอยู่ในดิน 10ชนิด
ประกอบด้วย
1.อะโซโตแบคเตอร์ Azotobacter vinelandii , Azotobacter chroococcum มีหน้าที่ตรึงไนโตรเจนจากอากาศให้พืชได้ใช้ ซึ่งในอากาศมีไนโตรเจนมากกว่า78% เป็นแบคทีเรียที่เคลื่อนที่ได้ใช้ออกซิเจนอยู่อย่างเป็นอิสระในดิน มีความสำคัญในการตรึงไนโตรเจนจากอากาศให้เปลี่ยนรูปเป็นไนเตรทและแอมโมเนียที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งจะผลิตเอ็นไซม์ไนโตรจิเนส เพื่อช่วยการเปลี่ยนก๊าซไนโตรเจนให้เป็นสารประกอบไนโตรเจนดังกล่าวและกรดอะมิโนที่พืชนำไปใช้ได้นั้นเอง
2.อะโซสไปริลลัม (Azospirillum sp.) จุลินทรีย์สร้างสารเสริมการเจริญเติบโตของพืช เป็นจุลินทรีย์ที่สามารถผลิตฮอร์โมน เช่น ออกซิน จิบเบอเรลลิน ไซโตไคนิน และวิตามิน เช่น ไธอามีน ไบโอติน วิตามินบี 12 ซึ่งเป็นสารช่วยกระตุ้นการงอกของเมล็ดและรากพืช เร่งการเจริญเติบโตของพืชส่งเสริมการออกดอก และเพิ่มการติดผล
3. บาซิลลัส เมกะทีเรียม (Bacillus megaterium var. phoshaticum) และ แซคคาโลมัยซีส Saccharomyces cerevisiae ช่วยละลายธาตุฟอสฟอรัส (จากปุ๋ยเคมีที่ให้ธาตุฟอสฟอรัส)ที่ถูกดินยึดไว้ซึ่งไม่เป็นประโยชน์กับพืชให้ละลายกลับมาเป็นปะโยชน์กับพืชอีกครั้งโดยทั่วไปพืชจะนำธาตุฟอสฟอรัสไปใช้ได้เพียง 20% ส่วนอีก 80% จะถูกดินยึดไว้ แบคทีเรียตัวนี้จะทำให้ส่วนฟอสฟอรัส 80% ที่ถูกดินยึดไว้ละลายออกมาและกลับเป็นประโยชน์กับพืชอีกครั้ง ธาตุฟอสฟอรัสมีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาระบบรากของพืช ถ้าพืชมีระบบ รากดีจะส่งผลดีต่อการเจริญเติบโตขอส่วนเหนือดินทำให้พืชตั้งตัวเร็ว การเจริญเติบโต และผลผลิตเพิ่มขึ้น พืชที่นิยมใช้หินฟอสเฟตรองก้นหลุม เช่นยางพารา ปาล์มน้ำมัน และไม้ผลทุกชนิด ตลอดจน พืชผักพืชไร่ และ ไม้ดอกไม้ประดับ ซึ่งจะช่วยในเรื่องทำให้พืชติดตอกติดผล
4. บาซิลลัส ไลเคนนิฟอมิส (Bacillus lichenifomis) เป็น facultative anaerobic คือ สามารถทำงานได้ทั้งสภาวะที่มีออกซิเจนหรือไม่มีออกซิเจนเลยก็ได้ ซึ่งตัวนี้เหมาะสำหรับย่อยสลายสารอินทรีย์ที่พื้นบ่อ ทำให้มีขี้เลนน้อยลงและกำจัดกลิ่นเลนเหม็น และยังช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของกุ้งขาวแวนนาไมได้อีกด้วย เหมาะกับพื้นที่เกษตรที่เคยเป็นทุ่งน่าเก่าหรือดินเกษตรมีลักษณะเป็นดินเลนในที่ราบลุ่ม
5. บาซิลลัส โพลีมายซา (bacillus polymyxa) จะไปจับอยู่ที่รากพืชผลิตสารที่ช่วยปกป้องพืชจากเชื้อโรค การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้กับรากของพืชยังทำให้ขนรากมีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพสมบูรณ์แข็งแรงมีความสามารถในการดูดซับแร่ธาตุอาหาร
6.บาซิลัส ซับทีลีส (Bacillus subtills )ซึ่งจะมีคุณสมบัติการ ย่อยสลายอินทรีย์ที่ดี และมีประสิทธิภาพในการย่อยสูงมาก สามารถย่อยได้ทั้งโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต ผลิตปุ๋ยโปรเตสเซียมให้เป็นประโยชน์ โดยละลายแร่ธาตุโปรแตสเซียมที่ถูกดินยึดเอาไว้ ซึ่งจะช่วยในเรื่องทำให้พืชติดตอกติดผล
7.คีโตเมี่ยม (Chaetomium lucknowense) ย่อยสลายอินทรีย์วัตถุและอนินทรีย์วัตถุแล้วถ่ายมูลออกมาเรียกว่า กรดอินทรีย์ ส่วนที่เป็นธาตุอาหารพืชซึ่งอยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ทันที ได้แก่ โพลิตินอล. ควินนอยด์. อโรเมติค. ซิลิลิค. ออแกนิค. ส่วนที่เป็นฮอร์โมนพืช ได้แก่ ออกซิน (ไซโตคินนิน. จิ๊บเบอเรลลิน. เอทธิลิน. อีเทฟอน. อีเทรล. แอบซิสสิค. เอบีเอ. ไอเอเอ. เอ็นเอเอ.ฯลฯ)และส่วนที่เป็นท็อกซิน.ซึ่งมีคุณสมบัติในการกำจัดเชื้อโรคพืช ได้
8.สเตร็ปโตมายซิส เทอร์โมฟิลัส streptomyces thermophilus เป็นแบคทีเรียในสกุล Streptococcus ที่สร้างกรดแล็กทิก (Lactic acid) เจริญในสภาพที่มีปริมาณออกซิเจนต่ำหรือไม่มีออกซิเจน เป็นแบคทีเรียที่ชอบร้อน ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารหมักจากน้ำนม ได้แก่ นมเปรี้ยว เช่น โยเกิร์ต เนยแข็งโดยจะเปลี่ยนน้ำตาลแล็กโทส น้ำนม เป็นกรดแล็กทิก (Lactic acid) และสร้างกรดฟอร์มิก (Formic acid)
คุณสมบัติของ จุลินทรีย์ดิน
1.เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ผลิตปุ๋ย(N,P,K)ธาตุอาหารหลักในดินเปรียบเสมือนเป็นการสร้างโรงงานผลิตปุ๋ยใต้ดิน เนื่องจากจุลินทรีย์ทุกตัวจะทำการผลิตปุ๋ยต่อเนื่องและตลอดเวลา ทำให้ดินร่วนซุย ระบายน้ำและอากาศได้ดี ซึ่งพืชก็ใช้ประโยชน์จากปุ๋ยได้อย่างต่อเนื่องและเติบโตอย่างสมบูรณ์เช่นกัน
2.แปรสภาพอินทรีย์วัตถุในดินให้กลายเป็นธาตุอาหารรองสำหรับพืช เมื่อใส่ลงไปในดินจุลินทรีย์จะเติบโตและสร้างกลุ่มรอบผิวรากหรือในรากพืช ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตและปกป้องระบบรากของพืช ช่วยส่งเสริมการเจริญ เติบโตของพืชหรือพีจีพีอาร์ (PGPR, plant growth promoting Rhizobacteria) ซึ่งมีสมบัติในการส่งเสริมและ ป้องกันพืชผ่านกลไกทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยการผลิตฮอร์โมนพืช ละลายธาตุอาหาร ควบคุมการดูดซึม สารอาหาร และชักนำระบบความต้านทานโรคพืชในพืช
3.สร้างฮอร์โมนเช่น ฮอร์โมนกลุ่มมออกซิน (auxins) ซึ่งกระตุ้นการยืดตัวของเซลล์การแบ่งเซลล์และการเปลี่ยน สภาพของเซลล์ สร้างเอนไซม์ไคติเนส (chitinase) และ ลามินาริเนส (laminarinase) ย่อยเส้นใยเชื้อราโรคพืช สร้างสารปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อราและแบคทีเรียสาเหตุโรคพืชได้
4.ตัวจุลินทรีย์เองมีองค์ประกอบของธาตุอาหารหลัก ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกกานีส คาร์โบไฮเดตร ไขมัน โปรตีน เกลือแร่ ฯลฯ ดังนั้นเมื่อตัวจุลินทรีย์ตายลงธาตุอาหารทั้งหมดเหล่านี้ก็จะกลายเป็นธาตุอาหารสำหรับพืชทันที เนื่องจากจุลินทรีย์มีความสามารถขยายตัวเป็นล้านล้านตัวภายใน24ชั่วโมง จุลินทรีย์ที่เกิดแล้วมีอายุ48-72ชั่วโมง เมื่อตายไปก็กลายเป็นอาหารพืชต่อไป ซึ่งระบบจะหมุนเวียนกันไปเช่นนี้เรื่อยๆพืชจึงมีอาหารอย่างสม่ำเสมอ
5.ช่วยให้พืชได้รับปุ๋ยเคมีและอินทรีย์ชีวภาพได้มากขึ้น ทำให้ใช้ปุ๋ยน้อยลง ลดปัญหาสารเคมีตกค้างในดินอันเป็นสาเหตุของดินเป็นกรด-ด่างสูง เป็นการปรับสภาพของดินที่มีความเป็นกรด-ด่างสูงไม่เหมาะสมกับการเพาะปลูก
6.ป้องกันเชื้อราและแบคทีเรียโรคพืชเข้ามาในชั้นดิน บริเวณรากและโคนต้นของพืช เมื่อมีจุลินทรีย์ที่ดีมีประโยฃน์ต่อดินอยู่ในปริมาณมากทำให้การเกิดและเติบโตการขยายตัวของเชื้อราและแบคทีเรียโรคพืชเป็นไปได้ยาก ตัวจุลินทรีย์มีความสามารถในการสร้างสารปฎิชีวนะในการป้องกันโรคพืชทั้งในดินและบนดิน
ข้อมูลเพิ่มเติมจาก http://www.kasetkawna.com,สอบถามได้ที่ Line id:@kaset หรือ
แก้ไขข้อมูลเมื่อ 10 Feb 23 07:18