ค้นหาสินค้า

วาล์วผสมปุ๋ย เวนจูรี่

ร้าน สวนเกษตรผสมผสาน
วาล์วผสมปุ๋ย เวนจูรี่
วาล์วผสมปุ๋ย เวนจูรี่
ชื่อสินค้า:

วาล์วผสมปุ๋ย เวนจูรี่

รหัส:
271414
ราคา:
650.00 บาท
ที่อยู่ร้าน:
อ.ดอนตูม จ.นครปฐม
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 6 ปี 10 เดือน
ปุ่มติดต่อ:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
วาล์วผสมปุ๋ย เวนจูรี่ ขนาด 1 นิ้ว
การปลูกพืชในปัจจุบันเกษตรกรมักจะหวังผลตอบแทนที่ค่อนข้างสูง ซึ่งในการเพาะปลูกพืช จำเป็นจะต้องนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาประยุกต์ใช้ ทั้งนี้นอกจากจะให้ได้ผลิตในปริมาณและคุณภาพตามที่ต้องการของตลาดแล้ว ยังจะต้องมีต้นทันในการผลิตที่ต่ำลงด้วยเพื่อที่เกษตรกร จะสามารถแข่งขันกับผู้ผลิตรายอื่นได้ด้วย ในการเพาะปลูกพืชปัจจุบันเกษตรกร นิยมใช้วิธีการให้น้ำพืชสมัยใหม่เข้ามาช่วยในการให้น้ำ ทำให้ประหยัดแรงงาน ประหยัดน้ำและเพิ่มประสิทธิภาพในการให้น้ำเป็นการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการผลิต ข้อดีของระบบให้น้ำอีกอันหนึ่งก็คือเราสามารถประยุกต์ใช้วิธีการให้ปุ๋ยไปพร้อมกับการให้น้ำพืชได้ ซึ่งนอกจากจะประหยัดเวลา ลดแรงงานในการใส่ปุ๋ยแล้ววิธีการให้ปุ๋ยพร้อมกับการให้น้ำพืชยังเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยของพืชด้วย นั่นคือพืชทุกต้นจะได้รับปุ๋ยในปริมาณที่ใกล้เคียงกันเกือบทุกต้น ทำให้ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพที่ใกล้เคียงกัน
การให้ปุ๋ยพร้อมกับการให้น้ำแก่พืช หรือ Fertigation มาจากคำว่า Fertilization และ Irrigation หรือเรียกย่อๆ ว่าระบบ F-I หมายถึงวิธีการให้ปุ๋ยเคมีแก่พืชพร้อมๆ กับการให้น้ำโดยปุ๋ยเคมีที่ให้จะต้องเป็นปุ๋ยน้ำหรือปุ๋ยเคมีที่สามารถละลายน้ำได้ การให้ปุ๋ยแบบวิธีนี้มักจะใช้ร่วมกับระบบการให้น้ำพืชสมัยใหม่ เช่นระบบให้น้ำแบบสปริงเกลอร์หรือระบบให้น้ำพืชแบบหยดซึ่งพืชจะได้รับปุ๋ยพร้อมกับน้ำชลประทานที่ให้ ทำให้ประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยของพืชดีขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถควบคุมปริมาณปุ๋ยที่จะให้ได้อย่างดีทำให้มั่นใจได้ว่าพืชแต่ละต้นจะได้รับปุ๋ยใกล้เคียงกันทุกๆ ต้น นอกจากนี้ยังอาจให้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้ด้วย
ข้อดีของให้ปุ๋ยพร้อมกับการให้น้ำพืช
1. ประหยัดแรงงานในการให้ปุ๋ย การใส่ปุ๋ยโดยใช้แรงคนเป็นงานหนักต้องอาศัยแรงงานค่อนข้างมาก และการให้ปุ๋ยมักไม่ค่อยทั่วถึง ถ้าใช้เครื่องจักรใส่ปุ๋ยค่าลงทุนค่อนข้างสูงอาจทำให้เกิดการอัดตัวแน่นของดินได้ การให้ปุ๋ยพร้อมกับการให้น้ำพืชนอกจากสะดวกในการให้ปุ๋ยแล้วยังสามารถให้บ่อยครั้งได้ตามความเหมาะสม
2. พืชได้รับปุ๋ยอย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอตลอดแปลงเพาะปลูก เนื่องจากปุ๋ยจะอยู่ในรูปของสารละลายพืชสามารถนำไปใช้ได้ทันที และระบบการให้น้ำพืชสมัยใหม่สามารถที่จะทำการแพร่กระจายปุ๋ยได้อย่าทั่วถึงในแปลงปลูกพืชโดยการใช้ท่อส่งน้ำและหัวจ่ายน้ำ
3. ประหยัดปุ๋ย เพราะเป็นวิธีการให้ปุ๋ยที่มีประสิทธิภาพสูง โดยพืชจะได้รับปุ๋ยมากกว่าวิธีการให้แบบอื่นนอกจากนี้ยังลดการสูญเสียเนื่องจากการตกค้างในดิน การสูญเสียเนื่องจากการชะล้างปุ๋ยออกไปเลยเขตรากพืช ลดการสูญเสียเนื่องจากการขนส่งปุ๋ยเข้าไปในแปลงปลูกพืช ลดปัญหาการถูกชะล้างเมื่อฝนตกหลังจากการให้ปุ๋ยไปแล้ว
4. ลดเครื่องมือและอุปกรณ์ในการใส่ปุ๋ย เพราะปุ๋ยที่ใช้เป็นปุ๋ยน้ำหรืออยู่ในรูปสารละลาย ไม่ใช่ปุ๋ยที่เป็นของแข็งหรือปุ๋ยเม็ดซึ่งจำเป็นต้องใช้แรงงาน และเครื่องมือในการเตรียมการและการขนย้ายมากกว่า
5. สามารถให้ปุ๋ยตามปริมาณและความต้องการของพืชได้ ซึ่งสามารถกำหนดปริมาณและสัดส่วนปุ๋ยที่แน่นอนในการให้แต่ละครั้ง นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มธาตุอาหารพืชบางชนิดที่พืชต้องการเพียงเล็กน้อยเพื่อการเจริญเติบโต โดยผสมลงในสารละลายปุ๋ยที่จะให้แก่พืช ซึ่งการให้ปุ๋ยแก่พืชโดยวิธีอื่นทำไม่ได้
ข้อควรพิจารณาในการเลือกใช้วิธีให้ปุ๋ยพร้อมกับการให้น้ำพืช
1. ค่าลงทุนครั้งแรกและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอาจสูง เนื่องจากอุปกรณ์ในการให้ปุ๋ยพร้อมกับการให้น้ำพืชมีราคาแพง รวมทั้งปุ๋ยเคมีที่ใช้มีราคาสูงกว่าปุ๋ยเม็ดธรรมดา ฉะนั้นก่อนใช้ต้องพิจารณาถึงความคุ้มค่าในการลงทุน
2. ความเป็นพิษของสารละลายปุ๋ยที่ใส่ลงในน้ำชลประทาน ถ้าระบบชลประทานใช้ร่วมกับน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคอยู่ด้วย อาจทำให้น้ำมีพิษจึงจำเป็นต้องติดป้ายบอกกล่าวให้เกษตรกรและประชาชนโดยทั่วไป มิให้น้ำนั้นมาใช้บริโภค
3. ข้อจำกัดในการใช้ปุ๋ย วิธีการนี้เหมาะสำหรับการใช้ปุ๋ยเคมีที่เป็นของเหลว ดังนั้นปุ๋ยฟอสเฟต เช่น ซุปเปอร์ฟอสเฟตหรือแคลเซียมแอมโมเนียมฟอสเฟต ซึ่งละลายน้ำได้ยากจึงไม่เหมาะสมกับวิธีการให้ปุ๋ยวิธีนี้
4. อาจเกิดการผุกร่อนของท่อและชิ้นส่วนของระบบที่เป็นโลหะ อุปกรณ์ที่เป็นโลหะมักจะผุกร่อนได้เร็ว เนื่องจากการกัดกร่อนของกรดหรือด่างของสารเคมี ดังนั้นจึงควรจะใช้ท่อหรืออุปกรณ์ซึ่งทนต่อการกัดกร่อนได้ดี
5. การเกิดปฏิกิริยาเคมีในระบบท่อส่งน้ำแบบหยด ปุ๋ยเคมีบางตัว เช่น ฟอสเฟตจะตกตะกอนในท่อ ปริมาณของตะกอนจะขึ้นอยู่กับค่าความเป็นกรดและด่างในสารละลาย ซึ่งอาจเกิดการอุดตันในหัวจ่ายน้ำ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบการให้น้ำอย่างมาก ดังนั้นผู้ใช้ระบบน้ำพืชแบบหยดหรือแบบฉีดฝอยควรศึกษาชนิดของปุ๋ยเคมีที่เหมาะสมกับระบบให้น้ำที่ใช้
ปัจจุบันอุปกรณ์ให้ปุ๋ยพร้อมกับการให้น้ำแก่พืชมีหลายชนิด หลายแบบ หลายขนาด ซึ่งแตกต่างกันทั้งคุณสมบัติ ความสามารถและข้อจำกัดต่างๆ ที่สำคัญคือราคาที่แตกต่างกัน ดังนั้นผู้ใช้ควรที่จะศึกษาข้อมูลต่าง ๆ อย่างละเอียดก่อนจะตัดสินใจซื้ออุปกรณ์ให้ปุ๋ย พร้อมกับการให้น้ำพืชเนื่องจากส่วนใหญ่อุปกรณ์เหล่านี้จะมีราคาแพง อุปกรณ์การให้ปุ๋ยพร้อมกับการให้น้ำพืช ส่วนใหญ่ต้องอาศัยความดันซึ่งอาจจะเป็นแรงดันของน้ำ ในระบบการให้น้ำอันเกิดจากอุปกรณ์เพิ่มแรงดันน้ำของระบบให้น้ำหรือเครื่องสูบน้ำนั่นเอง หรืออาจจะเป็นชนิดที่มีต้นกำเนิดแรงดันในตัวก็ได้ส่วนใหญ่จะมีปั้มในตัว การที่ต้องอาศัยความดันนั้นทั้งนี้เพื่อผลักดันน้ำสารละลายปุ๋ยเคมีจากที่เก็บ หรือถังบรรจุน้ำสารละลายปุ๋ยเคมีไปฉีดผสมกับน้ำชลประทานที่จะให้แก่พืชที่ปลูกนั่นเอง โดยทั่วไปวิธีการให้ปุ๋ยพร้อมกับการให้น้ำพืชสามารถแยกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 3 วิธีคือ
1. วิธีอาศัยอุปกรณ์ในการฉีดอัดน้ำสารละลายปุ๋ย วิธีการนี้จะอาศัยปั้มในการฉีดอัดสารละลายปุ๋ยเข้าไปผสมกับน้ำชลประทานในท่อส่งน้ำหลัก ปั๊มที่ใช้มีหลายประเภทสามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ โดยอาศัยหลักการทำงานได้ 5 ประเภทคือ
นั้นเกษตรกรจำเป็นต้องรู้จักวิธีนำปุ๋ยมาละลายน้ำที่เหมาะสม เนื่องจากปุ๋ยเคมีบางชนิดไม่สามารถผสมกันได้ และอัตราการจ่ายปุ๋ยเข้าระบบน้ำควร
จะต้องสูงพอที่จะจ่ายปุ๋ยได้รวดเร็ว และเมื่อเสร็จสิ้นการให้ปุ๋ยแล้วยังพอมีเวลาเหลือสำหรับการให้น้ำเพื่อล้างสารละลายปุ๋ยที่ตกค้างอยู่ในท่อ เพื่อ
ป้องกันการอุดตันของหัวจ่ายน้ำ แต่สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ สารละลายปุ๋ยที่จ่ายไปสู่ต้นพืชจะต้องไม่เข้มข้นจนเกินไป
การติดตั้งแบบถาวรที่ท่อระบบให้น้ำ
สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม ได้ทำการพัฒนาอุปกรณ์ให้ปุ๋ยทางน้ำแบบประหยัด และมีอัตราจ่ายปุ๋ยสูง ประกอบด้วยตัวจ่ายปุ๋ยเข้าระบบน้ำแบบท่อ เวนจูรี่ โดยใช้หลักการรีดให้น้ำฉีดผ่านหัวฉีดด้วยความเร็วสูงจนเกิดแรงดันสูญญากาศ ทำให้สารละลายปุ๋ยไหลเข้ามาผสมกับน้ำในท่อส่งน้ำ ตัวจ่ายปุ๋ยดังกล่าวประดิษฐ์จากข้อต่อพลาสติกของระบบน้ำที่ประกอบขึ้นเองได้ง่าย มีค่าใช้จ่าย 200 – 300บาทเท่านั้น ตัวจ่ายปุ๋ยแบบเวนจูรี่ขนาดข้อต่อ 1 นิ้ว เป็นชิ้นส่วนที่ทำจากข้อต่อพลาสติก พีอี และ พีวีซี ติดตั้งขนาดกับประตูน้ำของท่อน้ำส่งน้ำของเครื่องสูบน้ำหรือ
ติดตั้งที่ท่อส่งน้ำบริเวณแปลงปลูกพืชอยู่ไกลกับเครื่องสูบน้ำได้ อุปกรณ์ดังกล่าวยังสามารถประยุกต์กับการใช้ปุ๋ยเคมีเม็ดที่นำมาละลายน้ำได้ โดยใช้ร่วมกับชุดกรองเศษปุ๋ยในน้ำเพื่อลดปัญหาการอุดตัน ช่วยยืดอายุการใช้งานของหัวจ่ายน้ำโดยเฉพาะน้ำหยด ช่วยลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเมื่อเทียบกับการให้ปุ๋ยทางดิน และยังใช้ได้กับระบบให้น้ำหยด ระบบพ่นฝอยและสปริงเกลอร์
การใช้เวนจูรี่มีข้อเสียอยู่ที่ทำให้เกิดการสูญเสียแรงดันในท่อน้ำ จึงทำให้อัตราการไหลของน้ำในระบบลดลงกว่าปกติบ้างในขณะให้ปุ๋ย จึงจะต้องมีการชดเชยโดยเพิ่มเวลาในการให้น้ำอีกประมาณ 30 - 40 เปอร์เซ็นต์ ของเวลาที่ใช้ในการให้ปุ๋ยเข้าระบบน้ำ การใช้งานกับขนาดแปลงที่ส่งน้ำให้กับน้ำหยดหรือมินิสปริงเกลอร์ หรือหัวน้ำเหวี่ยงใหญ่ ที่มีการเปิดปล่อยน้ำครั้งละหลาย ๆ หัว รวมแล้วไม่ควรน้อยกว่า 7 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมงหรือ 7,000 ลิตรต่อชั่วโมง ถ้าเปิดให้น้ำด้วยอัตรารวมน้อยกว่านี้อาจไม่สามารถจ่ายปุ๋ยได้
หลักการปฏิบัติในการให้ปุ๋ยระบบน้ำ
ต้องเตรียมปุ๋ยให้อยู่ในรูปสารละลายที่เหมาะสม คือ ไม่มีกากปุ๋ย จึงควรใช้แม่ปุ๋ยต่าง ๆ ที่ละลายน้ำได้ดีในกรณีที่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยเม็ดที่ละลายน้ำยาก จะต้องทำการกรองกำจัดกากปุ๋ยก่อนเทลงในถังผสมปุ๋ย และท่อที่ดูดปุ๋ยควรมีการกรองก่อนเข้าชุดดูดปุ๋ย เช่น หุ้มด้วยมุ้งพลาสติกและสัดส่วนผสมของปุ๋ยต้องไม่เข้มข้นมากเกินไป โดยปกติท่อส่งน้ำ 2 นิ้ว (12 ลบ.ม./ชม.) ส่วนผสมปุ๋ยเม็ดเพื่อให้มีความเข้มข้นที่แปลงปลูกพืชสูงสุดไม่ควรเกิน 4 กก./น้ำ 100ลิตร โดยประมาณ ถ้าส่งน้ำด้วยท่อ 3 นิ้วอัตราส่วนอาจเพิ่มได้เกือบเป็นเท่าตัว เช่น6 ถึง 8 กก./น้ำ 100 ลิตร
เตรียมสารละลายปุ๋ยเม็ดโดยนำไปละลายน้ำ
สารละลายปุ๋ยที่ใช้ไม่ควรผสมปุ๋ยหลายสูตร หรือผสมปุ๋ยกับยาหรือสารเคมีใดๆ ในถังเดียวกันจนกว่าจะลองทดสอบว่าผสมเข้ากันได้ก่อนถ้าผสมในถังเดียวกันไม่ได้ให้แยกกันใช้ในระบบน้ำต่างครั้งกัน และจะต้องมีที่กรองน้ำอยู่หลังชุดจ่ายปุ๋ยเพื่อกรองเศษปุ๋ยป้องกันไปอุดตันที่รูจ่ายน้ำและควรล้างที่กรองอย่างสม่ำเสมอ
กรองเอาตะกอนปุ๋ยออกก่อนจ่ายเข้าระบบให้น้ำ
ก่อนให้ปุ๋ยจะต้องให้น้ำไปก่อนจนไม่มีลมค้างในท่อน้ำ แล้วจึงให้ปุ๋ยได้เพื่อให้ปริมาณปุ๋ยกระจายได้สม่ำเสมอ และมีเวลาเหลือสำหรับให้น้ำไล่ปุ๋ยที่ค้างในท่อจนหมด แต่ถ้า แก้ไขข้อมูลเมื่อ 10 Feb 23 07:19