ค้นหาสินค้า

ไตโตซาน สารอินทรีย์สกัดเข้มข้น ขนาด 0.5L

ร้าน สวนเกษตรผสมผสาน
ไตโตซาน สารอินทรีย์สกัดเข้มข้น ขนาด 0.5L
ไตโตซาน สารอินทรีย์สกัดเข้มข้น ขนาด 0.5L
ชื่อสินค้า:

ไตโตซาน สารอินทรีย์สกัดเข้มข้น ขนาด 0.5L

รหัส:
271366
ราคา:
200.00 บาท
ที่อยู่ร้าน:
อ.ดอนตูม จ.นครปฐม
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 6 ปี 10 เดือน
ปุ่มติดต่อ:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ไคตินและไคโตซานเป็นอนุพันธ์ของคาร์โบไฮเดรต เป็นพอลิเมอร์ธรรมชาติ ที่ประกอบด้วยคุณสมบัติที่ดีเยี่ยมหลายประการ เช่น สามารถแตกสลายได้ทางชีวภาพ การตอบสนองต่อภูมิคุ้มกันต่ำ ไม่ก่อให้เกิดการอักเสบ ไม่เป็นพิษ และไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม โครงสร้างของไคตินและไคโตซานประกอบด้วยไนโตรเจน ซึ่งเป็นธาตุอาหารที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช ช่วยให้พืชดึงดูดแร่ธาตุอื่นไปใช้และยังช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของพืช นอกจากนี้ ไคตินและไคโตซานยังสามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศและดิน จึงสามารถนำไปใช้ทำเป็นปุ๋ยชีวภาพได้ ปัจจุบัน มีการนำไคตินและไคโตซานมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ด้านการเกษตรอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะการทำเกษตรอินทรีย์ และพบว่าสารดังกล่าวนี้ สามารถเพิ่มผลผลิตและทำให้ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพดีขึ้น ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง เนื่องจากลดการใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง
ไคโตซาน (Chitosan) เป็นอนุพันธ์ ชนิดหนึ่งของไคตินที่ได้จากการทำปฏิกิริยาดีอะซิทิเลชัน (deacetylation) ของไคตินในสารละลายด่างเข้มข้น สารไคตินและไคโตซานเป็นพอลิเมอร์ธรรมชาติ สามารถแตกสลายได้ทางชีวภาพ (biodegradable) ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ไม่เกิดการแพ้ ไม่ไวไฟและไม่เป็นพิษ (non–phytotoxic) แหล่งวัตถุดิบที่สำคัญในการผลิตสารไคตินและสารไคโตซานในปัจจุบัน ได้แก่ เปลือกกุ้ง กระดองปู และแกนปลาหมึก ซึ่งเป็นของเสียจากอุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่แข็ง ซึ่งเปลือกกุ้งและกระดองปูมีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ ไคติน (20-30%) โปรตีน (30-40%) และแคลเซียมคาร์บอเนต (30-50%) โดยสารไคตินและไคโตซานมีลักษณะเป็นของแข็ง สีขาว ดังแสดงในรูปที่ 1นอกจากนี้ยังมีการศึกษาการนำเส้นใยของเชื้อรามาผลิตสารไคตินและไคโตซานอีก
ซึ่งโดยธรรมชาติแล้ว ไคโตซานจะไม่ละลายน้ำเช่นเดียวกับเปลือกกุ้ง กระดองปู หรือเปลือกไม้ทั่วไป แต่ไคโตซานจะละลายได้ดีเมื่อใช้กรดอินทรีย์เป็นตัวทำละลาย สารละลายของไคโตซานจะมีความข้นเหนียวแต่ใสคล้ายวุ้น หรือพลาสติกใส ยืดหยุ่นได้เล็กน้อยจึงมีคุณสมบัติที่พร้อมจะทำให้เป็นรูปแบบต่างๆได้ง่าย โดยเฉพาะถ้าต้องการทำเป็นแผ่นหรือเยื่อบางๆเป็นเจล หรือรูปร่างเป็นเม็ด เกล็ด เส้นใย สารเคลือบและคอลลอยด์ เป็นต้น นอกจากนี้ไคโตซานยังย่อยสลายตามธรรมชาติ จึงไม่เกิดผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต เมื่อกินเข้าไปและไม่มีผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมเมื่อเติมลงไปในน้ำหรือในดินเพื่อการเกษตร
ไคโตซานที่ผลิตขึ้นมาใช้ในปัจจุบันนี้ มีหลายรูปแบบ และส่วนใหญ่จะผลิตมาจากบริษัทต่างประเทศ จึงมีราคาค่อนข้างสูง
ประโยชน์ของไคโตซานกับการเกษตร
1.ช่วยยับยั้งและสร้างความต้านทานโรคให้กับพืช
การยับยั้งเชื้อสาเหตุของโรคพืช ได้แก่ เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อราบางชนิด โดย ไคโตซาน จะซึมผ่านเข้าทางผิวใบ ลำต้นพืช ช่วยยับยั้งการเกิดโรคพืชในกรณีที่เกิดเชื้อโรคพืชแล้ว ยังรักษาโรคพืช และสร้างความต้านทานโรคให้กับพืชที่ไม่ติดเชื้อ โดย ไคโตซาน มี คุณสมบัติที่สามารถออกฤทธิ์เป็นตัวกระตุ้น ต่อพืชได้ จะกระตุ้นระบบป้องกันตัวเองของพืช ทำให้พืชผลิตเอนไซม์และสารเคมีเพื่อป้องกันตนเองหลายชนิดพืชจึงลดโอกาสที่จะ ถูกคุกคามโดยเชื้อสาเหตุโรคพืชได้ ดังนั้นเกษตรกรจึงควรใช้ไคโตซานขณะที่พืชยังเล็กหรือตั้งแต่เริ่มเพาะปลูก ไคโตซานจะช่วยเคลือบ เมล็ดพันธุ์หรือแช่เมล็ดพันธุ์ก่อนปลูก ป้องกันเชื้อราที่จะมาทำร้ายเมล็ดพันธุ์ กระตุ้นการงอกของรากของเมล็ดพันธุ์ได้ดี เร่งรากยาวทำให้พืชสามารถกินปุ๋ยได้มากขึ้นดังนั้นจึงลดปุ๋ยลง เมื่อพืชกินปุ๋ยได้มากขึ้น ก็ขยายท่อลำเลียงพืชได้ดีขึ้น ลำต้นใหญ่ขึ้นพืชจึงสมบูรณ์ทำให้เพิ่มผลผลิต ทั้งผลผลิตที่ได้ก็มีคุณภาพดี . ป้องกันและกำจัดโรคพืช กระตุ้นให้พืชสร้างสารป้องกันโรคพืช เช่น ไฟโตอะเล็กซิน ไคติเนส รวมทั้ง ยับยั้ง RNA ของเชื้อราไม่ให้สามารถขยายพันธุ์ได้ พืชจึงแข็งแรง (90% โรคพืชเกิดจากเชื้อรา) ประหยัดยาฆ่าแมลง เชื้อรา โรคพืชเพราะไม่มีแมลงมากินต้นพืช ทำให้สามารถผลิตสารลิกนิน เพื่อ ป้องกันเชื้อราได้ด้วยตนเอง พืชจะแข็งแรงมีภูมิต้านทานต่อโรคได้ด้วยตนเอง พืชจะแข็งแรงมีภูมิต้านทานต่อโรค
อนุพันธ์ของไคตินและไคโตซาน มีผลต่อการต้านทานและกำจัดเชื้อราและแบคทีเรียบางประเภทที่ก่อโรคให้กับพืช เช่น โรครากเน่า โคนเน่า ราน้ำค้าง ราข้าว โรคแคงเกอร์ โรคใบติด โรคใบจุด โรคใบส้มในนาข้าวและอื่นๆ ซึ่งเกิดจากโครงสร้างทางประจุ และสร้างเอนไซม์ซึ่งทำให้ย่อยสลายทำลายเชื้อราโรคพืชได้อย่างดีและยังพบว่าไคโตซานสามารถเข้าสู่เซลล์เชื้อราและทำให้เกิดการยับยั้งการสร้างและสะสมของ RNA จึงทำให้เชื้อราถูกยับยั้งการเจริญเติบโต สารไคโตซานสามารถควบคุมราสีเทา (gray mold) ที่เกิดจากเชื้อ Botrytis cinerea ในองุ่นและแอปเปิ้ลได้ ไคโตซาน 1% สามารถยับยั้งการงอกของสเปอร์เชื้อรา F. solani f.sp. glycine และยับยั้งการเกิดโรค sudden death syndrome (SDS) ของถั่วเหลือง แต่ในเชื้อราบางประเภทและแบคทีเรียบางชนิดที่มีประโยชน์จะมีการเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วเมื่อใช้อนุพันธ์ของไคตินและไคโตซาน
2. ทำให้พืชเกิดการสร้างความต้านทานโรคและแมลงศัตรูพืช
ไคโตซาน จะกระตุ้นให้มีการผลิตสารลิกนินและแทนนินของพืชมากขึ้น พืชสามารถป้องกันตัวเองจากการกัด ดูด ทำลายของแมลงศัตรูพืช จะสังเกตว่าต้นพืชที่ได้รับ ไคโตซาน จะมีแวกซ์เคลือบที่ผิวใบ ซึ่งปกติแล้วพืชจะสร้างสารเหล่านี้ขึ้นมาเพื่อป้องกันตัวจากแมลงศัตรูพืชและโรคพืชต่างๆ แต่ในต้นพืชที่ไม่สมบูรณ์มากพอการสร้างสารแวกซ์เหล่านี้จะบางตามไปด้วย ดังนั้นเมื่อถูกแมลงเข้าทำลายจึงเสียหายได้ง่าย และในทิศทางเดียวกันเมื่อแวกซ์ของพืชถูกทำลายเป็นโอกาสให้เชื้อราหรือแบคทีเรียโรคพืชเข้าทำลายซ้ำอีกครั้ง การฉีดพ่นสารไคโตซานจึงไปช่วยในการเคลือบใบ ผลและดอกที่ถูกแมลงศัตรูพืชทำลาย ทำให้เชื้อราหรือแบคทีเรียโรคพืชไม่สามารถเข้าไปย่อยสลายเซลพืชได้ และไคโตซาน จะมีกลิ่นเฉพาะตัว ซึ่งเป็นกลิ่นที่แมลงปีกแข็ง ศัตรูพืชได้กลิ่นจะบินหนีไปเพราะได้กลิ่นเฉพาะของไคโตซาน แมลงที่กัดกินต้นพืชจะไข่ทิ้งไว้เพื่อขยายพันธุ์ จึงทิ้งสาร ไคโตซาน ไว้เพื่อจับจองพื้นที่แมลงเมื่อได้กลิ่นจะบินหนีทันที เพราะคิดว่าพื้นที่บริเวณนี้มีแมลงมาจับจองพื้นที่แล้วนั่นเอง
3.สารเร่งการเจริญเติบโตของพืช
ไคโตซานถูกใช้เป็นสารเร่งการเจริญเติบโต ให้ผลเช่นเดียวกับฮอร์โมนเร่งราก ใช้กระตุ้นการงอกของกิ่งชำไม้ดอกและไม้ประดับต่างๆ โดยนำส่วนของพืชที่ต้องการชำแช่ในสารละลายเจือจางของไคโตซานประมาณ 2 ชั่วโมง ก่อนนำไปปักชำในวัสดุเพาะชำ การฉีดพ่นไคโตซาน ในนาข้าวส่งให้ผลผลิตข้าวมีปริมาณเพิ่มขึ้น 41.7 – 91.5% โดยขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่ทำการเพาะปลูก และการใช้ไคโตซาน ฉีดพ่นกล้วยไม้ซึ่งมีผลเร่งการเจริญเติบโตของใบใหม่ ปริมาณไคโตซานที่เหมาะสมต่อการเพิ่มจำนวนดอกและกระตุ้นการเจริญเติบโตของใบ
4. ช่วยปรับค่าPHและเป็นประโยชน์ต่อจุลินทรีย์ในดิน
ช่วยเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน ไคโตซาน สามารถ ส่งเสริมการเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน เช่น เชื้อที่มีประโยชน์ต่อพืช ทำให้เกิดการลดปริมาณของจุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อโรคพืช ปรับค่า PH ของดินให้เป็นกลาง เป็นปุ๋ยให้แก่พืช พืชทุกชนิดที่ได้ใช้ ไคโตซาน จะทำให้พืชสามารถตรึงเอา ไนโตรเจนนำมาใช้ได้ถ้าเป็นเห็ดสามารถตรึงเอาคาร์บอนไดออกไซด์มาใช้ได้เป็น อย่างดี ไคโตซานมีประจุแกรมบวกเยอะมาก และพืชที่ได้ใช้ไคโตซาน สามารถดูดซึมเอาธาตุอาหารในดินหลายชนิดเช่น โปรแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียมเหล็ก ฟอสเฟตไนเตรส มาใช้ และเก็บไว้แล้ว ปลดปล่อยให้แก่พืชอย่างช้าๆ ตามความต้องการของพืชแต่ละชนิด
ช่วยปรับสภาพดินให้ดีขึ้น ดินที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกพืชจะต้องมีค่า pH 5.5-8.5 การใช้ ไคโตซาน อย่างต่อเนื่องจะทำให้ค่า pH ของดินเท่ากับ 6-7 ซึ่งเป็นกลางที่สุด จึงเหมาะสมต่อการเพาะปลูกพืชอย่างยิ่ง รวมทั้งคุณสมบัติที่ช่วยสลายเคมีในดิน อันต่อเนื่องจากใช้ปุ๋ยเคมีอย่างยาวนาน รวมทั้งช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน รวมทั้งลดปริมาณจุลินทรีย์ที่เป็นโรคพืช
5.ประโยชน์ของการใช้ไคโตซานหลังการเก็บเกี่ยวพืชผล
พืชที่ใช้ ไคโตซาน ทุกชนิดจะเก็บไว้ได้ยาวนานกว่าพืชที่ไม่ได้ใช้ (พิสูจน์ได้) โดยการรักษาคุณภาพผลผลิต เพราะว่าพืชที่ใช้ไคโตซาน มีการเคลือบบนผิวผักผลไม้ เป็นลักษณะฟิล์มบางใสๆ ปราศจากสีและกลิ่น ทนทานต่อสภาวะกรดได้ดี
ไคโตซานมีประสิทธิภาพในการลดอัตราการเจริญเติบโตของราบางชนิด ซึ่งจะยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราโดยตรง และกระตุ้นกระบวนการต่างๆ ในเนื้อเยื่อพืชให้เกิดภูมิต้านทานต่อเชื้อราบางชนิด ดังนั้นจึงได้มีการนำไคโตซานมาใช้ในการเคลือบผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งมีประสิทธิภาพดีกว่ายาฆ่าเชื้อราบางชนิด และยังปลอดภัย ไคโตซานเคลือบผิวส้มด้วยความหนาประมาณ 30-35 ไมครอน พบว่าสามารถเก็บรักษาส้มได้ถึง 35-40 วัน โดยคุณภาพ เช่น สีของเปลือกนอกไม่เปลี่ยนแปลง และใช้ไคโตซานเคลือบผลไม้อื่นๆ เช่น ลูกพีท ลูกแพร กีวี และสตรอเบอรี่เพื่อยืดอายุและควบคุมการเน่าเสียได้ดีขึ้น
สอบถามรายล่ะเอียดเพิ่มเติม www.kasetkawna.com หรือติดต่อ Line id:@kaset แก้ไขข้อมูลเมื่อ 10 Feb 23 07:19