ค้นหาสินค้า

4 สหายจุลินทรีย์กำจัดโรคพืช

ร้าน สวนเกษตรผสมผสาน
4 สหายจุลินทรีย์กำจัดโรคพืช
4 สหายจุลินทรีย์กำจัดโรคพืช
ชื่อสินค้า:

4 สหายจุลินทรีย์กำจัดโรคพืช

รหัส:
271358
ราคา:
350.00 บาท
ที่อยู่ร้าน:
อ.ดอนตูม จ.นครปฐม
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 6 ปี 10 เดือน
ปุ่มติดต่อ:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
รวมสารชีวภัณฑ์4สายพันธุ์ป้องกันและกำจัด โรคพืชทั้งโรคทางราก โคนต้น กิ่ง ใบ ดอกและผล ที่มีสาเหตุจากเชื้อราและแบคทีเรีย
1.เชื้อราไตรโคเดอร์มา (Trichoderma harzianum)
เป็นเชื้อราชั้นสูง จัดเป็นเชื้อราปฏิปักษ์ที่สามารถใช้ควบคุมโรคพืช ซึ่งเกิดจากเชื้อราสาเหตุโรคพืชในดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น โรคโคนเน่า โรคเน่าระดับดิน (เน่าคอดิน)ของกล้าพืช และโรคเหี่ยว
นอกจากจะยับยั้งแล้วยังใช้ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราเช่น
เชื้อราพิเทียม (โรคเน่าระดับดิน กล้ายุบ กล้าเน่า)
เชื้อราฟิวซาเรียม (โรคเหี่ยว)
เชื้อราสเคลอโรเทียม (โรคโคนเน่า เหี่ยว)
เชื้อราไรซอคโทเนีย (โรคเน่าระดับดิน กล้ายุบ กล้าเน่า)
เชื้อราคอลเรโตตริคัม (โรคใบจุด ใบไหม้ ผลเน่า แอนแทรคโนส )
เชื้อราโฟมอพซิส (โรคใบจุด ลำต้นไหม้ )
เชื้อราอัลเทอร์นาเรีย (โรคใบจุด ใบไหม้)
เชื้อราไตรโคเดอร์มา (Trichoderma harzianum) เป็นเชื้อราชั้นสูงเส้นใยมีผนังกั้นเจริญได้ดีในดิน เศษซากพืช ซากของสิ่งมีชีวิตต่างๆ และวัสดุอินทรีย์ตามธรรมชาติ สร้างเส้นใยสีขาวและผลิตส่วนขยายพันธุ์ที่เรียกว่า "โคนิเดีย" หรือ "สปอร์" เมื่อนำมาเพาะเลี้ยงจะเห็นเส้นใยสีขาวและ สปอร์สีเขียว บางชนิดอาจเป็นสีขาวหรือเหลือง เชื้อราไตรโคเดอร์มาจัดเป็นเชื้อราปฏิปักษ์ (Antagonis fungicide) ที่สามารถใช้ควบคุมโรคพืชในดินหลายชนิดโดยวิธีการเบียดเบียนหรือ เป็นปรสิต แข่งขันหรือแย่งใช้อาหารที่เชื้อโรคต้องการ นอกจากนี้เชื้อราไตรโคเดอร์มายังสามารถช่วยละลายแร่ธาตุในดินให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชและชักนำให้ต้นพืชมีความต้านทานต่อเชื้อโรคพืชทั้งเชื้อราและแบคทีเรียสาเหตุโรคพืช สำหรับกลไกของเชื้อไตรโคเดอร์มาในการต่อสู้กับเชื้อสาเหตุโรคพืชมีดังนี้
- การแข่งขันกับเชื้อโรคพืช ด้วยเหตุที่เชื้อราไตรโคเดอร์มาเจริญสร้างเส้นใยได้รวดเร็ว สามารถสร้างสปอร์ได้ในปริมาณสูงมาก โดยอาศัยอาหารจากเศษวัสดุอินทรีย์ต่าง ๆ จึงช่วยให้เชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถแข่งขันกับเชื้อโรคพืชหรือจุลินทรีย์ที่อยู่บริเวณเดียวกัน นอกจากนี้เชื้อไตรโคเดอร์มายังรบกวนกิจกรรมต่าง ๆ ของเชื้อโรคทำให้ความรุนแรงลดลง
- การเป็นปรสิตต่อเชื้อโรคพืช เชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถสร้างเส้นใยพันรัดแล้วแทง ส่วนของเส้นใยเข้าสู่ภายในเส้นใยของเชื้อราสาเหตุโรคพืช ทำให้เส้นใยเชื้อโรคพืชตาย และไตรโคเดอร์มายังทำลายโครงสร้างที่เชื้อโรคพืชสร้างขึ้นเพื่อขยายพันธุ์หรืออยู่ข้ามฤดูปลูก
- การสร้างสารยับยั้งหรือทำลายเชื้อโรคพืช เชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถสร้างสารปฏิชีวนะ สารพิษและน้ำย่อย(เอ็นไซม์) เพื่อหยุดยั้งหรือทำลายเส้นใยของเชื้อราสาเหตุโรคพืชได้
- การชักนำให้พืชมีความต้านทานโรค เชื้อราไตรโคเดอร์มาป้องกันระบบรากพืชจากการเข้าทำลายของเชื้อราสาเหตุโรคพืช ทำให้ระบบรากพืชสมบูรณ์แข็งแรง ช่วยให้เมล็ดงอกและเจริญเติบโตได้ดี ชักนำให้พืชผลิตสารประเภทเอนไซม์หรือโปรตีน เช่น เพนทิลไพโรน กรดฮาร์เซียนิค กระตุ้นให้เกิดความต้านทานโรคขึ้นภายในพืช
ประโยชน์ของการใช้ไตรโคเดอร์มา
ควบคุม ทำลายหรือยับยั้งเชื้อราในดินสาเหตุโรคพืชทั้งราชั้นสูงและราชั้นต่ำ เช่น
1. ทำลายเชื้อราพิเทียม (Pythium spp.) สาเหตุโรคเน่าระดับดิน กล้ายุบ กล้าเน่า โคนเน่า โรคยอดเน่าในพืชไร่ มะเขือเทศ พืชผักชนิดต่างๆ
2. ทำลายเชื้อราไฟทอฟเทอร่า (Phytopthora spp.) สาเหตุโรคราที่ทำให้ผลร่วง ดอกร่วง
ใน ลำใย ลิ้นจี่ โรคดอกรวงในทุเรียน โรครากเน่า-โคนเน่า ใน พริก ทุเรียน ส้ม มะนาว พริกไท แตงโม แตงกวา แตงร้าน มะเขือเทศและโรคเน่าเข้าไส้ในกล้วย ฯลฯ
3. ทำลายเชื้อราสเคอโรเทียม (Sclerotium spp.) สาเหตุโรค โคนเน่า โรคกล้าไหม้ ราเม็ดผักกาด โรคเหี่ยวในพืชผักชนิดต่าง ๆ มะเขือเทศ พืชไร่ สตรอเบอรี่ มันฝรั่ง
4. ทำลายเชื้อราไรซอกโทเนีย (Rhizoctonia spp.) สาเหตุโรคเน่าคอดิน กล้ายุบ กล้าเน่า ทำให้ทุเรียนเป็นโรคใบติด
5. ทำลายเชื้อราคอลเลทโททริกัม (Colletotrichum spp.) สาเหตุโรคแอนแทรคโนสในมะม่วง องุ่น ฝรั่ง พุทรา ชมพู่ มะละกอ พริก หอมหัวใหญ่ หอมแบ่ง หอมแดง กระเทียม มันฝรั่ง
6. ทำลายเชื้อราอัลเทอนาเรีย (Alternaria spp.) สาเหตุโรคโรคใบจุดเน่าในพืชตระกูลกระหล่ำ เช่น ผักคะน้า ผักกาดขาว กระหล่ำดอก กระหล่ำปลี บรอคโครี่ สตรอเบอรี่ มันฝรั่ง พริก
7. ทำลายเชื้อรา ฟิวชาเรียม (Fusarium spp.) สาเหตุโรคใบไหม้ในไม้ผล พืชไร่ พืชผักชนิดต่างๆ ตลอดจนไม้ดอก ไม้ประดับ
2.เชื้อจุลินทรีย์บาซิลลัส ซับทีลิส (Bacillus Subtilis) ( BS)
คุณสมบัติเศษของ บาซิลลัส ซับทิลิส
1.มีอัตราการแพร่พันธ์เร็ว ขยายตัวทดแทนรวดเร็ว ในช่วงเวลา 4 ชั่วโมงเพิ่มปริมาณจำนวนได้เป็นแสนเท่า เชื้อมาตรฐานสามารถขยายปริมาณได้ถึง 6 เท่าตัว
2.เชื้อ บาซิลลัส ซับทิลิส มีชีวิตที่ทนทาน ในสภาพที่ปลอดจากความชื้น สามารถทนต่ออุณหภูมิต่ำ–-60และทนต่ออุณหภูมิที่สูงถึง +280 โดยไม่เป็นอะไร ทนต่อสภาพแวดล้อมที่เป็นกรด และด่าง ทนทานต่อยาฆ่าเชื้อ ชอบอากาศออกซิเจน แม้อับอากาศออกซิเจนก็มีชีวิตรอดอยู่ได้
3.มีขนาดใหญ่ ใหญ่กว่าเชื้อแบคทีเรียอื่นๆถึง 4 เท่า ครอบครองพื้นที่ได้มั่นคงกว่า จึงเป็นตัวควบคุมเชื้อจุลินทรีย์ก่อเกิดโรคอื่นๆได้โดยปริยาย
คุณสมบัติ
1. รักษาความชื้นได้อย่างแข็งขัน โดยการฟอร์มตัวเป็นแผ่นฟิล์ม PGA บางๆบนพื้นผิวดิน ป้องกันการสูญเสียความชื้น (น้ำ) และปุ๋ยในดินได้เป็นอย่างดี
2. มีพลังในการย่อยสลายที่เข้มข้น เมื่อมีการแพร่ขยายตัวในขณะเวลาเดียวกัน พร้อมทั้งปลดปล่อยน้ำย่อยออกมาย่อยมวลโมเลกุลที่มีขนาดใหญ่ให้สลายตัวแตกออกเป็นโมเลกุลที่เล็กลงๆ
3. สามารถรังสรรค์ สารอินทรีย์ต่างๆได้อย่างหลากหลาย แล้วรวมตัวกันเป็นกรดอินทรีย์ เอ็นไซม์ และสารที่ว่องไวในทางชีวะอินทรีย์ รวมทั้งเป็นสารอาหารที่ใช้ประโยชน์ได้หลายชนิด
4. มีพลังการรุกล้ำยึดครองพื้นที่ได้อย่างเข้มแข็ง จึงมีศักยภาพในการกีดกันการขยายตัวของเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคได้เป็นอย่างดี
5.สามารถกำจัดกลิ่นเหม็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถขจัดกลิ่นของสารประกอบอินทรีย์พวกกำมะถัน ไนโตรเจน ทำให้ปรับปรุงสภาพแวดล้อมสะอาดขึ้น ดีขึ้น
กลไกการทำงาน
1. การแย่งชิงออกซิเจน แบคทีเรีย บาซิลลัส.ซับทิลิส ต้องการออกซิเจนปริมาณที่สูงมากในการดำรงชีพ หลังจากที่ผ่านเข้าสู่ระบบทางเดินอาหารของสัตว์แล้ว มีการบริโภคฟรีออกซิเจนจำนวนมาก จึงทำให้ความเข้มข้นของออกซิเจนภายในลดลงอย่างต่อเรื่อง ขบวนการ ออกซิเดชั่น –รีดักชั่นในลำไส้ก็ลงอย่างเด่นชัด ซึ่งเป็นผลดีต่อจุลินทรีย์ที่ผลิตกรดแล็คติก และจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการออกซิเจนอย่างBifidobacterium ปรับความสมดุลการทำงานของ microflora ในกระเพาะ ทำให้ร่างกายเกิดความต้านทานต่อเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหารลงได้
2. สร้างความต้านทานต่อเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค ปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายใน – ภายนอกร่างกายสัตว์ที่เลี้ยงดูด้วยอาหารที่เสริมด้วยจุลินทรีย์ บาซิลลัส ซับทิลิส สามารถลดปริมาณของเชื้อแบคทีเรีย Escherichia coli, Clostridium perfringens, Salmonella ในลำไส้ เป็นการเพิ่มเชื้อที่มีประโยชน์มากขึ้น และลดเชื้อที่มีโทษลง ทำให้มีเชื้อจุลินทรีย์ที่ดีระบายติดออกมากับสิ่งขับถ่าย จึงเป็นการปรับปรุงสภาพแวดล้อมทั้งภายใน ภายนอกร่างกาย ลดการเกิดโรคในสัตว์เลี้ยงอีกหนทางหนึ่ง
3. เพิ่มภูมิต้านทานในสัตว์เลี้ยงแบคทีเรีย บาซิลลัส ซับทิลิส สามารถเร่งการทำงานของกลุ่มเซลล์ lymphoid ในผนังลำไส้ให้มีความพร้อมในระดับสูง เร่งอัตราการสร้างภูมิต้านทานโรคได้ในระยะต้นๆและเร็วขึ้น เพิ่มปริมาณของ T, B lymphocytes มากขึ้นสัตว์เลี้ยงจึงมีภูมิต้านทานของเซลล์เนื้อเยื่อ และทางร่างกายเพิ่มขึ้น
4. สร้างโภชนะ สารอาหาร ขณะที่แบคทีเรีย บาซิลลัส ซับทิลิส เติบโตแบ่งตัวในทางเดินอาหารนั้น ก่อให้เกิดการสร้างสารอาหารขึ้น เช่น สารไวตามิน กรดอมิโน และกรดอินทรีย์อื่นๆรวมทั้ง growth factors ที่มีความสัมพันธุ์ในด้านการเจริญเติบโต
5. ผลิตน้ำย่อย – เอ็นไซม์หลายชนิด แบคทีเรีย บาซิลลัส ซับทิลิส ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยให้แก่สัตว์เลี้ยง โดยการผลิตน้ำย่อย เอ็นไซม์ที่สำคัญ จากผลงานวิจัยชี้ชัดว่า แบคทีเรียบาซิลลัส ซับทิลิส ผลิตเอ็นไซม์ได้หลายชนิดที่ช่วยย่อย – ช่วยดูดซึมสารอาหารในระบบทางเดินอาหารของสัตว์เลี้ยง อีกทั้งยังสร้างน้ำย่อย protease, amylase and lipase ที่เข้มข้นอีกด้วย และยังผลิตน้ำย่อย pectinase , glucanase, cellulase ที่สามารถทำลายผนังเซลล์ของพืชให้แตกออก เพื่อปลดปล่อยสารอาหารภายในออกมาให้เป็นประโยชน์ และยังกำจัด anti-nutritional factors ที่เป็นอุปสรรคในการย่อยสารอาหารที่สัตว์กลืนกินเข้าไป
3.เชื้อรากลิโอคลาเดียม ไวเรน(Gliocladium virens)
Gliocladium เกิดขึ้นทั่วโลกในดินและสลายสารอินทรีย์ บางชนิดเป็นปรสิต Gliocladium บนเชื้อราGliocladium อื่น ๆ ที่พบทั่วโลก จัดเป็นสิ่งมีชีวิต ส่วนใหญ่ของ Gliocladium เติบโตอย่างรวดเร็วในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมแพร่กระจายด้วยเส้นใยครอบคลุมจานเลี้ยงเชื้อใน 1สัปดาห์ จะมีสีขาวและสีครีม แต่อาจจะกลายเป็นสีแดงหรือสีเขียวขึ้นอยู่กับอายุการสร้างสปอร์ ทั่วไปลักษณะเส้นใยและการเจริญเติบโตมีรูปแบบใกล้เคียงกับเชื้อรา Trichoderma
ดูข้อมูลเพิ่มเติมจาก http://www.kasetkawna.com หรือ สอบถามได้ที่ Line id:@kaset แก้ไขข้อมูลเมื่อ 10 Feb 23 07:19