ค้นหาสินค้า

หัวเชื้อ บิวเวอร์เรีย บริสุทธิ์ สำหรับขยายเชื้อ

ร้าน สวนเกษตรผสมผสาน
หัวเชื้อ บิวเวอร์เรีย บริสุทธิ์ สำหรับขยายเชื้อ
หัวเชื้อ บิวเวอร์เรีย บริสุทธิ์ สำหรับขยายเชื้อ
ชื่อสินค้า:

หัวเชื้อ บิวเวอร์เรีย บริสุทธิ์ สำหรับขยายเชื้อ

รหัส:
271349
ราคา:
350.00 บาท
ที่อยู่ร้าน:
อ.ดอนตูม จ.นครปฐม
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 6 ปี 9 เดือน
ปุ่มติดต่อ:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ชื้อราบิวเวอร์เรีย สามารถป้องกัน และกำจัดแมลงศัตรูพืช อาทิเช่น เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยไฟ บั่ว หนอนห่อใบ ในมะม่วงได้แก่ เพลี้ยจักจั่นที่ทำลายช่อมะม่วง แมลงค่อมทอง ในพืชตระกูลส้มได้แก่ เพลี้ยอ่อนส้ม เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยไฟ ไรแดง ในพืชผักได้แก่ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ ไรขาว แมลงหวี่ขาว หนอนผีเสื้อต่างๆ เป็นต้น
วิธีการใช้หัวเชื้อราบิวเวอร์เรีย มี2วิธี
1.ฉีดพ่นทันที โดยใช้หัวเชื้อในอัตรา 50กรัม/น้ำ20ลิตร
ผสมน้ำ20ลิตรในถัง ผสมสารจับใบสำหรับชีวภัณฑ์4-6ซีซีกวนให้เข้ากันตักหัวเชื้อเทลงไป50กรัมกวนให้เข้ากัน ทิ้งไว้ 1ชั่วโมง เทน้ำใสๆเข้าไปในถังฉีดพ่นส่วนกากก้นถังเททิ้งไป
2.ขยายเชื้อเพื่อเพิ่มปริมาณเชื้อจากหัวเชื้อให้เป็นเชื้อสดจำนวน20ลิตร อัตราการใช้เชื้อสด1ลิตร/น้ำ200ลิตร
เชื้อราบิวเวอร์เรีย คืออะไร
เชื้อราบิวเวอร์เรีย ( Beauveria bassiasna ) เป็นจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคกับแมลง ซึ่งสามารถทำลายแมลงได้หลายชนิด ในอันดับ Homoptera Lepidoptera Coleoptera และ Diptera ซึ่งได้แก่แมลงจำพวกเพลี้ยต่างๆ หนอนผีเสื้อ ด้วง และแมลงวัน หรือยุง นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าสามารถกำจัดปลวก และมดคันไฟได้ ทำให้มดและปลวกตายยกรังได้
กลไกการเข้าทำลายแมลงของเชื้อราบิวเวอร์เรีย
เมื่อสปอร์ของเชื้อราสัมผัสกับผิวของแมลง ในสภาพความชื้นที่เหมาะสม (ความชื้นสัมพัทธ์ 70 % ขึ้นไป) จะงอกเส้นใยแทงผ่านผิวหนังเข้าไปในลำตัวแมลง แล้วขยายจำนวนเจริญอยู่ภายในโดยใช้เนื้อเยื่อของแมลงเป็นอาหาร แมลงจะตายในที่สุด ภายในระยะเวลาต่างๆ ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาด และวัยของแมลง โดยทั่วไปประมาณ 3 – 14 วัน เชื้อราบิวเวอร์เรียสามารถนำมาใช้ในการกำจัดแมลงศัตรูพืชที่สำคัญในพืช เศรษฐกิจหลายชนิด เช่น แมลงศัตรูพืชเป้าหมายในข้าว ได้แก่ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยไฟ บั่ว หนอนห่อใบ ในมะม่วงได้แก่ เพลี้ยจักจั่นที่ทำลายช่อมะม่วง แมลงค่อมทอง ในพืชตระกูลส้มได้แก่ เพลี้ยอ่อนส้ม เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยไฟ ไรแดง ในพืชผักได้แก่ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ ไรขาว แมลงหวี่ขาว หนอนผีเสื้อต่างๆ ในอ้อยได้แก่ แมลงค่อมทอง เป็นต้น
เชื้อราบิวเวอร์เรียเป็นเชื้อราที่สามารถให้เกิดโรคได้กับแมลงได้หลาย ชนิด โดยเฉพาะเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และหนอนศัตรูพืช เนื่องจากสปอร์ของเชื้อราบิวเวอร์เรียที่ตกที่ผนังลำตัวแมลง เมื่อมีสภาพที่เหมาะสมสปอร์จะงอกแทงทะลุผ่านลำตัวแมลงเข้าไปไชช่องว่างภายใน ลำตัวและเจริญเติบโตเป็นเส้นใยท่อนสั้นๆ ทำลายเซลล์เม็ดเลือดในตัวของแมลง ทำให้แมลงเป็นอัมพาตและตายไปในที่สุด หลังจากแมลงตายแล้วเชื้อราจะสร้างสปอร์แพร่กระจายได้ตามธรรมชาติ เฝ้าระวังแปลงนาของเกษตรกรจากแมลงศัตรูข้าง เพราะสามารถทำลายแมลงได้ทุกระยะ แต่เมื่อเกษตรกรฉีดพ่นสารเคมีหรือเชื้อราไตรโคเดอร์มา กำจัดเชื้อราสาเหตุของโรคข้าว จะทำให้เชื้อราบิวเวอร์เรียถูกทำลายไปด้วย เป็นการสร้างความสมดุลให้แก่ระบบนิเวศน์วิทยาในนาข้าวต่อไป
การเข้าทำลายแมลงของเชื้อราบิวเวอเรีย
สปอร์เชื้อราตกติดอยู่กับผนังลำตัวแมลงเข้าสู่ตัวแมลงทางผนังลำตัว รูหายใจ บาดแผลบนผนังลำตัว ความชื้นเหมาะสมกับการงอก สปอร์จะแทงทลุผิวหนังลำตัว เชื้อราจะงอกสู่ช่องว่างลำตัวแมลงเจริญเติบโตสร้างเส้นใยมากมายทำลายแมลง
เมื่อแมลงตาย เส้นใยจะแทงผ่านผนังลำตัวแมลงออกสู่ภายนอกตัวแมลง
สปอร์จะแพร่กระจายไปตามลม ฝนหรือติดกับตัวแมลง เชื้อราจึงสามารถขยายพันธุ์ต่อได้ และเมื่อสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมก็จะทำลายแมลงศัตรูต่อไป
ลักษณะอาการของแมลงที่ถูกเชื้อราบิวเวอเรียเข้าทำลาย
แมลงที่ถูกทำลายจะแสดงอาการของการเป็นโรคคือ เบื่ออาหาร กินน้อยลง อ่อนเพลียและไม่เคลื่อนไหว
สีผนังลำตัวแมลงมักจะเปลี่ยนไป ปรากฎจุดสีดำบนบริเวณที่ถูกเชื้อราเข้าทำลาย พบเส้ยใย และผงสีขาว ของสปอร์ปกคลุมตัวแมลงที่ถูกเชื้อราเข้าทำลาย
การใช้เชื้อราบิวเวอร์เรียควบคุมศัตรูพืชอย่างถูกต้อง
เนื่องจากเชื้อราเป็นสิ่งมีชีวิต การนำไปใช้จะได้ผลหรือไม่ ต้องอาศัยปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้องหลายอย่าง ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น แสงกับช่วงเวลา และตัวของแมลงเอง
อุณหภูมิ อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับเชื้อราเชื้อราบิวเวอร์เรียที่จะทำให้เชื้อรางอกสปอร์ได้ดี จะอยู่ในระหว่าง 25-27 องศาเซลเซียส หากอุณหภูมิสูงกว่านี้ สปอร์จะไม่เจริญเติบโตและเสื่อมคุณภาพ เมื่อเชื้อราพ่นกำจัดแมลงหรือเพลี้ยก็จะไม่ได้ผลเท่าที่ควร
ความชื้น ความชื้นที่เหมาะสมสำหรับพ่นเชื้อราเชื้อราบิวเวอร์เรีย ต้องมีความชื้นสูงมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป
ความชื้นที่เหมาะสมที่สุด คือช่วงฤดูฝน ซึ่งเป็นช่วงที่ในบรรยากาศมีความชื้นสูง เนื่องจากความชื้นจะไปกระตุ้นให้สปอร์งอกออกมาและแทงทะลุผ่านเข้าไปในตัวแมลงหรือตัวเพลี้ย แต่ถ้าจะพ่นในช่วงฤดูฝนต้องดูว่าช่วงนั้นเพลี้ยระบาดหรือเปล่า เพราะโดยธรรมชาติฝนจะช่วยลดการระบาดของเพลี้ยอยู่แล้ว หากแมลงระบาดในช่วงแล้ง ซึ่งอุณหภูมิและความชื้นไม่เหมาะต่อการพ่นเชื้อรา ดังนั้นเกษตรกรจะต้องมีความเข้าใจในธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตทั้งสองชนิดนี้ จึงจะสามารถใช้เชื้อราให้เกิดประสิทธิผล
แสงกับช่วงเวลา
การที่จะพ่นเชื้อราเชื้อราบิวเวอร์เรียให้ได้ผล คือ ต้องเป็นช่วงเวลาเย็นที่อากาศมีความชื้นสูงและอุณหภูมิต่ำ การที่เลือกเวลาพ่นเชื้อราในตอนเย็น ก็เพื่อไม่ให้โดนแสงแดด เพราะแสงแดดจะทำให้เชื้อราเสื่อมคุณภาพเร็วยิ่งขึ้น
สำหรับ เพลี้ยแป้งซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัวของมันเอง คือ มีแป้งคลุมตัวอีกชั้นหนึ่ง การพ่นเชื้อรากว่าสปอร์จะทะลุเข้าไปถึงตัวชั้นใน จะต้องผ่านแป้งที่คลุมอยู่อีกหนึ่งชั้น ดังนั้นการใช้เชื้อรากำจัดเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังจึงยากกว่าการกำจัดเพลี้ยธรรมดา และระยะที่เหมาะสมกับการพ่นเชื้อรา คือ ช่วงระยะตัวอ่อน ซึ่งเพลี้ยแป้งยังไม่มีแป้งมาปปกคลุมลำตัว
การฉีดพ่นเชื้อราเชื้อราบิวเวอร์เรีย
การพ่นเชื้อราเชื้อราบิวเวอร์เรียเพียงครั้งเดียวอาจไม่ได้ผล ต้องพ่นซ้ำ 2-3 ครั้งขึ้นไป และควรพ่นในช่วงที่แมลงยังตัวเล็กๆ การพ่นต้องให้ถูกตัวแมลงด้วย เนื่องจากเชื้อราเป็นสิ่งมีชีวิต การออกฤทธิ์ของเชื้อราไม่เหมือนสารเคมีซึ่งสามารถดูดซึมผ่านไปยังเนื้อเยื่อได้ เมื่อแมลงมาดูดกินก็จะได้รับสารเคมีทำให้แมลงตาย ในกรณีที่แมลงเกาะอยู่ใต้ใบ หากพ่นเชื้อราไปตกอยู่บนใบ เชื้อราจะไม่ออกฤทธิ์ฆ่าแมลงได้ ดังนั้นการพ่นเชื้อราต้องให้สปอร์ไปตกหรือถูกตัวแมลงเท่านั้นจึงจะทำลานเพลี้ยได้ อย่างไรก็ตามต้องคำนึงถึงช่วงเวลา แสง อุณหภูมิ และความชื้นที่เหมาะสมดังกล่าวเป็นสำคัญ สปอร์จึงจะงอกเส้นใยออกมาแทงทะลุเข้าไปในตัวแมลงได้
การใช้อุปกรณ์พ่นสารเคมีร่วมกับอุปกรณ์พ่นเชื้อรา
สามารถใช้อุปกรณ์ตัวเดียวกันได้ แต่จะต้องเปิดรูหัวฉีดให้กว้างขึ้น ถ้าเราไม่ปรับหัวฉีดให้รูกว้างขึ้น อาจทำให้อุปกรณ์ส่วนอื่นอุดตันได้ โดยเฉพาะที่หัวฉีด เพราะการใช้เชื้อราพวกนี้ต้องการความชื้นมาก จึงจำเป็นต้องเปิดรูให้กว้างขึ้น ปริมาณน้ำที่ใช้ผสมจะต้องมากกว่าการพ่นสารเคมี จึงจะทำให้มีความชื้นมากและต้องพ่นให้เปียกโชก ควรผสมสารจับใบด้วยเพื่อให้สปอร์เกาะพืชดีขึ้น
ดังนั้น เกษตรกรที่จะใช้เชื้อราในการป้องกันกำจัดเพลี้ยหรือแมลงศัตรูพืช จะต้องศึกษาและเข้าใจในธรรมชาติของเชื้อรา และแมลงศัตรูพืชแต่ละชนิด และใช้ให้ถูกวิธีการกำจัดจึงจะได้ผล
อ่านวิธีการขยายเชื้อ www.kasetkawna.com หรือติดต่อ Line id:@kaset แก้ไขข้อมูลเมื่อ 10 Feb 23 07:19