ค้นหาสินค้า

เชื้อราไตรโคเดอร์มา ผงแห้ง

ร้าน สวนเกษตรผสมผสาน
เชื้อราไตรโคเดอร์มา ผงแห้ง
เชื้อราไตรโคเดอร์มา ผงแห้ง
ชื่อสินค้า:

เชื้อราไตรโคเดอร์มา ผงแห้ง

รหัส:
271346
ราคา:
150.00 บาท
ที่อยู่ร้าน:
อ.ดอนตูม จ.นครปฐม
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 6 ปี 10 เดือน
ปุ่มติดต่อ:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
เชื้อราไตรโคเดอร์มา
เชื้อราไตรโคเดอร์มามีหลากหลายสายพันธุ์ด้วยกัน ซึ่งแต่ล่ะสายพันธุ์จะมีความสามารถที่แตกต่างกันออกไป
ในที่นี้เซื้อราสายพันธุ์ที่เราใช้ได้ถูกคัดเลือกแล้วว่าดีที่สุดสำหรับโรคพืชที่เกิดในประเทศไทย เป็นเชื้อราชั้นสูง จัดเป็นเชื้อราปฏิปักษ์ที่สามารถใช้ควบคุมโรคพืช ซึ่งเกิดจากเชื้อราสาเหตุโรคพืชในดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น โรคโคนเน่า โรคเน่าระดับดิน (เน่าคอดิน)ของกล้าพืช และโรคเหี่ยว
นอกจากจะยับยั้งแล้วยังใช้ป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราเช่น
เชื้อราพิเทียม (โรคเน่าระดับดิน กล้ายุบ กล้าเน่า)
เชื้อราฟิวซาเรียม (โรคเหี่ยว)
เชื้อราสเคลอโรเทียม (โรคโคนเน่า เหี่ยว)
เชื้อราไรซอคโทเนีย (โรคเน่าระดับดิน กล้ายุบ กล้าเน่า)
เชื้อราคอลเรโตตริคัม (โรคใบจุด ใบไหม้ ผลเน่า แอนแทรคโนส )
เชื้อราโฟมอพซิส (โรคใบจุด ลำต้นไหม้ )
เชื้อราอัลเทอร์นาเรีย (โรคใบจุด ใบไหม้)
เชื้อราไตรโคเดอร์มา (Trichoderma harzianum) เป็นเชื้อราชั้นสูงเส้นใยมีผนังกั้นเจริญได้ดีในดิน เศษซากพืช ซากของสิ่งมีชีวิตต่างๆ และวัสดุอินทรีย์ตามธรรมชาติ สร้างเส้นใยสีขาวและผลิตส่วนขยายพันธุ์ที่เรียกว่า "โคนิเดีย" หรือ "สปอร์" เมื่อนำมาเพาะเลี้ยงจะเห็นเส้นใยสีขาวและ สปอร์สีเขียว บางชนิดอาจเป็นสีขาวหรือเหลือง เชื้อราไตรโคเดอร์มาจัดเป็นเชื้อราปฏิปักษ์ (Antagonis fungicide) ที่สามารถใช้ควบคุมโรคพืชในดินหลายชนิดโดยวิธีการเบียดเบียนหรือ เป็นปรสิต แข่งขันหรือแย่งใช้อาหารที่เชื้อโรคต้องการ นอกจากนี้เชื้อราไตรโคเดอร์มายังสามารถช่วยละลายแร่ธาตุในดินให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชและชักนำให้ต้นพืชมีความต้านทานต่อเชื้อโรคพืชทั้งเชื้อราและแบคทีเรียสาเหตุโรคพืช สำหรับกลไกของเชื้อไตรโคเดอร์มาในการต่อสู้กับเชื้อสาเหตุโรคพืชมีดังนี้
- การแข่งขันกับเชื้อโรคพืช ด้วยเหตุที่เชื้อราไตรโคเดอร์มาเจริญสร้างเส้นใยได้รวดเร็ว สามารถสร้างสปอร์ได้ในปริมาณสูงมาก โดยอาศัยอาหารจากเศษวัสดุอินทรีย์ต่าง ๆ จึงช่วยให้เชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถแข่งขันกับเชื้อโรคพืชหรือจุลินทรีย์ที่อยู่บริเวณเดียวกัน นอกจากนี้เชื้อไตรโคเดอร์มายังรบกวนกิจกรรมต่าง ๆ ของเชื้อโรคทำให้ความรุนแรงลดลง
- การเป็นปรสิตต่อเชื้อโรคพืช เชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถสร้างเส้นใยพันรัดแล้วแทง ส่วนของเส้นใยเข้าสู่ภายในเส้นใยของเชื้อราสาเหตุโรคพืช ทำให้เส้นใยเชื้อโรคพืชตาย และไตรโคเดอร์มายังทำลายโครงสร้างที่เชื้อโรคพืชสร้างขึ้นเพื่อขยายพันธุ์หรืออยู่ข้ามฤดูปลูก
- การสร้างสารยับยั้งหรือทำลายเชื้อโรคพืช เชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถสร้างสารปฏิชีวนะ สารพิษและน้ำย่อย(เอ็นไซม์) เพื่อหยุดยั้งหรือทำลายเส้นใยของเชื้อราสาเหตุโรคพืชได้
- การชักนำให้พืชมีความต้านทานโรค เชื้อราไตรโคเดอร์มาป้องกันระบบรากพืชจากการเข้าทำลายของเชื้อราสาเหตุโรคพืช ทำให้ระบบรากพืชสมบูรณ์แข็งแรง ช่วยให้เมล็ดงอกและเจริญเติบโตได้ดี ชักนำให้พืชผลิตสารประเภทเอนไซม์หรือโปรตีน เช่น เพนทิลไพโรน กรดฮาร์เซียนิค กระตุ้นให้เกิดความต้านทานโรคขึ้นภายในพืช
ประโยชน์ของเชื้อราไตรโคเดอร์มา
เชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นเชื้อราที่มีคุณสมบัติและศักยภาพสูงในการใช้ควบคุมเชื้อราสาเหตุโรคพืช ตรงตาม
หลักการ และแนวคิดของการควบคุมเชื้อสาเหตุโรคพืชโดยชีววิธี ทั้งนี้เพราะเชื้อราชนิดนี้สามารถเจริญ
อย่างรวดเร็ว สร้างสปอร์ปริมาณสูงมาก โดยอาศัยอาหารจากเศษอินทรีย์วัตถุ ช่วยให้สามารถแข่งขันกับ
เชื้อโรคพืช หรือจุลินทรีย์ที่มีอยู่รอบข้างได้ดี
กลไกการทำงานของเชื้อราไตรโคเดอร์มา
1.เชื้อราไตรโคเดอร์มาลดกิจกรรมของเชื้อราสาเหตุโรคพืช ได้อย่างไร
เชื้อราสาเหตุโรคพืชหลายชนิดสามารถเจริญได้โดยอาศัยอาหาร ทั้งจากพืชอาศัย โดยตรงในขณะที่
กำลังเข้าทำลายพืชอยู่ หรืออาศัยวัสดุอินทรีย์จำพวกเศษซากพืชที่กำลังย่อยสลาย ตัวอย่าง เช่น เชื้อ
ราพิเทียม เชื้อราไฟทอฟธอรา เชื้อราไรซ็อคโทเนีย และ เชื้อราสเคลอโรเทียม เอกสารประกอบการฝึก
อบรม ของโครงการการผลิตเชื้อราปฏิปักษ์ไตรโคเดอร์มาเพื่อใช้ทดแทนสารเคมีในการควบคุมโรคของ
พืชในระบบ GAP และเกษตรอินทรีย์ส่วนเชื้อราไตรโคเดอร์มาเป็นเชื้อราที่ไม่ทำให้พืชเกิดโรคจึงไม่สามารถใช้อาหารจากพืชปกติได้แต่จะอาศัยอาหารจากอินทรีย์วัตถุและเศษซากพืชในดินแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น เชื้อราไตรโคเดอร์
มามีผลกระทบต่อกิจกรรมของเชื้อราสาเหตุโรคพืชได้ในช่วงระยะที่เชื้อโรคอาศัยอาหารจากอินทรีย์วัตถุ
เพื่อการเจริญและสร้างส่วนขยายพันธุ์ให้มีปริมาณมาก เชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถลดกิจกรรมของเชื้อ
ราสาเหตุโรคพืชดังกล่าว โดยการพันรัดเส้นใย แล้วปลดปล่อยเอนไซม์ออกมาหลายชนิด เช่น ไคติเนส
เซลลูเลส กลูคาเนส เพื่อสลายผนังเส้นใยของเชื้อโรคก่อนที่จะแทงส่วนของเส้นใยเข้าไปภายในเส้นใย
ของเชื้อโรค เชื้อราไตรโคเดอร์มาเจริญอย่างรวดเร็วโดยใช้อาหารจากภายในเส้นใยของเชื้อโรค
กิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเจริญของเส้นใยเชื้อโรคจะลดลงอย่างมาก ส่งผลให้กิจกรรมเกี่ยวกับ
การสืบพันธุ์ลดลงไปด้วย
นอกจากนี้ในกรณีที่เชื้อโรคกำลังเข้าทำลายรากพืช หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของพืช เช่น บริเวณแผล
หรือรอยตัด เชื้อราไตรโคเดอร์มาจะทำหน้าที่ขัดขวางกิจกรรมการเข้าทำลายของเชื้อโรคบริเวณดัง
กล่าวได้ โดยการแข่งขันการใช้อาหาร และรบกวนการพัฒนาของเชื้อโรคพืช ทุกระยะเป็นเหตุให้
การงอกของสปอร์ การเจริญและพัฒนาของเส้นใยการขยายพันธุ์และสืบพันธุ์ของเชื้อโรคพืชลดลง
ผลจากการรบกวนและขัดขวางกิจกรรมต่างๆ ของเชื้อโรค จะส่งผลให้ความรุนแรงของการเกิดโรคพืชลด
ลงได้ในที่สุด
2.เชื้อราไตรโคเดอร์มาลดปริมาณเชื้อราสาเหตุโรคพืช ได้อย่างไร
เชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถขัดขวางกิจกรรมต่างๆ ของเชื้อโรคพืชจะทำให้ความ รุนแรงของการเกิดโรค
ลดน้อยลง ส่งผลให้ปริมาณเชื้อราสาเหตุโรคพืชลดลงจนอยู่ในระดับที่ไม่สามารถก่อให้เกิดความเสีย
หายรุนแรงกับพืชที่ปลูกได้ เชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถเข้าทำลายส่วนที่เป็นโครงสร้างของเชื้อสาเหตุ
โรคพืชซึ่งถูกสร้างขึ้นเพื่อการสืบพันธุ์หรือเพื่อความอยู่รอดภายใต้สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ เช่น
กรณีของเชื้อราไตรโคเดอร์มาที่เข้าทำลายเม็ดสเคลอโรเทียมซึ่งเป็นส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อราสเคลอโร
เทียม รอล์ฟสิไอ (ราเมล็ดผักกาด) ทำให้เม็ดสเคลอโรเทียมฝ่อตายไปก่อนที่จะมีโอกาสงอกเป็นเส้น
ใยเพื่อเข้าทำลายพืช แสดงให้เห็นว่าเชื้อราไตรโคเดอร์มามีบทบาทในการทำลายเชื้อโรคพืชขณะที่อยู่
ในระยะพักตัวได้ ส่งผลให้ปริมาณของเชื้อโรคพืชลดลงอย่างต่อเนื่อง
3.เชื้อราไตรโคเดอร์มาเพิ่มการเจริญเติบโตของพืช ได้อย่างไร
นอกจากเชื้อราไตรโคเดอร์มาจะช่วยป้องกันการเข้าทำลายของเชื้อโรคพืชหลายชนิดแล้ว ยังพบว่าโตร
โคเดอร์มาสามารถเพิ่มการเจริญเติบโต การสร้างดอกและผลผลิตของพืชต่างๆเช่นไม้ดอกไม้ประดับ
ที่ปลูกในกระถาง พืชผักต่างๆ กล้าไม้ผลที่เพาะด้วยเมล็ด ตลอดจนกิ่งปักชำ และพืชหัว โดยเพิ่มขนาด
และความสูงของต้น น้ำหนักของต้นพืชทั้งต้น น้ำหนักของหัว ตั้งแต่ 10-60% เมื่อเปรียบเทียบกับ
กรณีที่ไม่ได้ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา มีผู้รายงานว่าเชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถสร้างสารเร่งการเจริญ
เติบโต (ฮอร์โมน) ต่างๆ ได้เอง ในขณะที่บางกรณีเชื่อว่าเชื้อราไตรโคเดอร์มาสร้างสารไปกระตุ้นให้
พืชสร้างสารเร่งการเจริญเติบโตมากกว่าปกติ และบางกรณีเชื้อราไตรโคเดอร์มาไปขัดขวางหรือทำลาย
จุลินทรีย์ต่างๆ ที่รบกวนระบบรากของพืช ทำให้ระบบรากพืชสมบูรณ์ และแข็งแรง สามารถดูดซับอาหาร
และแร่ธาตุต่างๆ เชื้อราไตรโคเดอร์มาผลิตสารหลายชนิดที่มีผลในการเพิ่มน้ำหนักสดของต้นและราก
แตงกวา การเพาะเมล็ดที่ปลูกในดินซึ่งปลูกหรือโรยด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา พบว่าเมล็ดจะงอกเร็วกว่า
ปกติ 2-3 วัน และต้นกล้าจะมีขนาดใหญ่โตกว่าปกติ นอกจากนี้พบว่าเปอร์เซ็นต์ความงอกและ
จำนวนต้นรอดตายเพิ่มมากขึ้นด้วย ในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา และนิวซีแลนด์ มีชีวภัณฑ์ไตรโค
เดอร์มาที่มีคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้นวางจำหน่ายแล้ว
4. เชื้อราไตรโคเดอร์มาเพิ่มความต้านทานของพืช ได้อย่างไร
ในปัจจุบันได้เริ่มมีการใช้ไตรโคเดอร์มาฝัง หรือฉีดเข้าสู่ลำต้นหรือระบบรากพืช เพื่อจุดประสงค์ในการ
ป้องกันโรค และรักษาพืชที่เป็นโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในไม้ผลยืนต้น จากการสังเกตพบว่า พืชที่ได้รับ
เชื้อโดยวิธีนี้ จะมีความแข็งแรงและต้านทานต่อการเกิดโรคได้คล้ายกับการฉีดวัคซีนในมนุษย์หรือสัตว์
ขณะนี้มีรายงานผลการวิจัยว่าสามารถชักนำให้ต้นพืชต่างๆ มีความต้านทานต่อเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย
ที่เป็นสาเหตุของโรคพืชหลายโรคเช่น โรครากเน่า โรคโคนเน่า โรคใบไหม้ โรคใบจุด โรคราน้ำค้าง
และโรคราแป้ง เป็นต้น
ประโยชน์ของการใช้ไตรโคเดอร์มา
ควบคุม ทำลายหรือยับยั้งเชื้อราในดินสาเหตุโรคพืชทั้งราชั้นสูงและราชั้นต่ำ เช่น
1. ทำลายเชื้อราพิเทียม (Pythium spp.) สาเหตุโรคเน่าระดับดิน กล้ายุบ กล้าเน่า โคนเน่า โรคยอดเน่าในพืชไร่ มะเขือเทศ พืชผักชนิดต่างๆ
2. ทำลายเชื้อราไฟทอฟเทอร่า (Phytopthora spp.) สาเหตุโรคราที่ทำให้ผลร่วง ดอกร่วง
ใน ลำใย ลิ้นจี่ โรคดอกรวงในทุเรียน โรครากเน่า-โคนเน่า ใน พริก ทุเรียน ส้ม มะนาว พริกไท แตงโม แตงกวา แตงร้าน มะเขือเทศและโรคเน่าเข้าไส้ในกล้วย ฯลฯ
3. ทำลายเชื้อราสเคอโรเทียม (Sclerotium spp.) สาเหตุโรค โคนเน่า โรคกล้าไหม้ ราเม็ดผักกาด โรคเหี่ยวในพืชผักชนิดต่าง ๆ มะเขือเทศ พืชไร่ สตรอเบอรี่ มันฝรั่ง
4. ทำลายเชื้อราไรซอกโทเ แก้ไขข้อมูลเมื่อ 10 Feb 23 07:19