ค้นหาสินค้า

เมล็ดต้นทรงบาดาล

ร้าน พันธุ์มะรุมอินเดีย
ชื่อสินค้า:

เมล็ดต้นทรงบาดาล

รหัส:
268257
ราคา:
1.00 บาท
ติดต่อ:
คุณกฤษฏิ์พงศ์ สระโกฏิ
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 7 ปี 1 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
ปุ่มติดต่อ:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด

ทรงบาดาล ชื่อสามัญ Scrambled eggs, Kalamona[1],[2]
ทรงบาดาล ชื่อวิทยาศาสตร์ Senna surattensis (Burm.f.) H.S.Irwin & Barneby (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Cassia surattensis Burm.f.) จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) และอยู่ในวงศ์ย่อยราชพฤกษ์ (CAESALPINIOIDEAE หรือ CAESALPINIACEAE)[1],[2]
สมุนไพรทรงบาดาล มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า สะเก้ง (เชียงใหม่), ขี้เหล็กหวาน (ขอนแก่น), พรึงบาดาล ตรึงบาดาล (ระยอง), ขี้เหล็กบ้าน (ภาคเหนือ), สะเก๋ง (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), สะแก้ง เป็นต้น[1],[2]
ลักษณะของทรงบาดาล
ต้นทรงบาดาล เป็นพรรณไม้พื้นเมืองดั้งเดิมของไทย โดยมีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปเอเชีย ซึ่งรวมไปถึงประเทศไทยด้วย โดยจัดเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางที่มีความสูงได้ถึง 7 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามากเป็นเรือนยอด เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลปนสีเทา แตกเป็นสะเก็ดเล็ก ๆ พรรณไม้ชนิดนี้เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ขึ้นได้ดีในดินทุกชนิด ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการตอนกิ่ง แต่วิธีที่นิยมและได้ผลดีที่สุดคือวิธีการเพาะเมล็ด[1],[2],[4],[5]
ต้นทรงบาดาล
รูปทรงบาดาล
ใบทรงบาดาล ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ออกเรียงสลับกัน มีใบย่อยประมาณ 5-10 คู่ ลักษณะของใบเป็นรูปรี ปลายใบมน โคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตรและยาวประมาณ 2.5-4 เซนติเมตร หลังใบเรียบ ส่วนท้องใบมีขนประปราย[1]
ใบทรงบาดาล
ดอกทรงบาดาล ออกดอกเป็นช่อตามศอกใบใกล้กับปลายยอด ในช่อดอกมีดอกประมาณ 10-15 ดอก มีก้านดอกรวมยาวประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร ส่วนก้านดอกย่อยยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร ดอกย่อยเป็นสีเหลือง มีกลีบดอก 5 กลีบ ลักษณะของกลีบดอกเป็นรูปไข่ มีขนาดประมาณ 4-5 มิลลิเมตร เมื่อดอกบานจะมีขนาดกว้างประมาณ 2-4 เซนติเมตร ดอกมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีเขียวอมเหลือง ดอกมีเกสรเพศผู้จำนวน 10 ก้าน เป็นหมัน 3 ก้าน โดยต้นทรงบาดาลมีดอกดก และสามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี[1],[2],[3],[4]
รูปดอกทรงบาดาล
ดอกทรงบาดาล
ผลทรงบาดาล ออกผลเป็นฝักแบน เรียบ มีขนาดกว้างประมาณ 1-1.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 7-20 เซนติเมตร เมื่อฝักแก่แล้วจะแตกออกตามตะเข็บ ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 15-25 เมล็ด ผิวของเมล็ดเป็นมันเงา มีขนาดกว้างประมาณ 4 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 8 มิลลิเมตร[1],[3]
ผลทรงบาดาล
สรรพคุณของทรงบาดาล
รากใช้รับประทานเป็นยาถอนพิษไข้ (ราก)[3]
รากมีรสขมเบื่อ ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาถอนพิษผิดสำแดงหรือไข้ซ้ำ (ราก)[1],[2]
รากนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้สะอึก หรือจะใช้รากร่วมกับเถาสะอึกและรากมะกล่ำเครือ เป็นยาแก้อาการสะอึกอันเนื่องมาจากกระเพาะอาหารขยายตัว (ราก)[1],[2],[4]
advertisement M11

ประโยชน์ของทรงบาดาล
ยอดอ่อนและใบอ่อนสามารถนำมาใช้รับประทานเป็นผักได้[4]
ในสมัยก่อนต้นทรงบาดาลได้รับความนิยมในการนำมาปลูกไว้ในบริเวณวัดอยู่พอสมควร เพราะนอกจากจะปลูกเพื่อความสวยงามแล้ว ดอกสีเหลืองของทรงบาดาลยังนำไปใช้ในการบูชาพระได้อย่างเหมาะสมอีกด้วย[4]
ต้นทรงบาดาลเป็นไม้มงคลอีกชนิดหนึ่ง ที่แม้จะไม่มีอยู่ในรายชื่อไม้มงคลที่ปลูกในบริเวณบ้าน แต่ก็ถือเป็นไม้มงคลที่ใช้ในการประกอบพิธีก่อฤกษ์หรือวางศิลาฤกษ์ในการก่อสร้างอาคารหรือถาวรวัตถุต่าง ๆ โดยจัดเป็น 1 ใน 9 ชนิดที่ใช้เป็นเสาเข็มตอก รองรับแผ่นศิลาฤทธิ์ และเป็นไม้มงคลลำดับที่ 6 อีกทั้งยังมีเชื่อว่าด้วยว่าจะทำให้เกิดความมั่นคง มีเทวดาให้ความคุ้มครอง และยังถือว่าจะช่วยบันดาลโชคลาภด้วย เพราะคำว่า “ทรงบาดาล” นั้นมีความหมายว่า ผู้เป็นใหญ่แห่งนาคพิภพ เชื่อว่าการปลูกต้นทรงบาดาลจะช่วยดลบันดาลให้เกิดโชคลาภ ทำให้มีฐานะดีขึ้น แต่บางคนก็กล่าวว่าทรงบาดาลหรือทรงยันดาลนั้น คือ การมีพลังอำนาจอันใหญ่ เกรียงไกร และได้รับการยกย่องจากผู้อื่น โดยการปลูกไม้เพื่อเอาคุณ คนโบราณนั้นให้ปลูกในวันเสาร์และปลูกทางทิศตะวันตกของบ้าน แต่ผู้ปลูกต้องเป็นผู้ประกอบอาชีพสุจริตด้วย จึงจะเป็นมงคลแก่ตัวผู้ปลูกและผู้อยู่อาศัยภายในบ้าน (บ้างก็ว่าจะช่วยขับไล่สิ่งชั่วร้ายได้ด้วย)[4],[5]
ต้นทรงบาดาลเป็นไม้ยืนต้นที่หาได้ง่าย ขยายพันธุ์และปลูกเลี้ยงก็ง่าย อีกทั้งยังมีความแข็งแรงทนทาน มีอายุยืนนาน สามารถตัดแต่งรูปทรงได้เป็นอย่างดี ออกใบดก ดอกมีสีเหลืองสดใสสวยงาม นอกจากจะใช้ปลูกในบริเวณวัดอย่างในอดีตแล้วยังนิยมนำมาปลูกไว้ตามสถานที่อื่น ๆ อีกด้วย เช่น อาคารบ้านเรือน สวนหย่อม สวนสาธารณะ ตามทางเท้า และตามริมถนนสายใหญ่ในชนบท เป็นต้น[4]
References แก้ไขข้อมูลเมื่อ 23 Feb 20 12:31