ค้นหาสินค้า

ต้นพุทธรักษา

ร้าน พิชญา ว่าน- สมุนไพร
ชื่อสินค้า:

ต้นพุทธรักษา

รหัส:
265408
ราคา:
ไม่ระบุ
ติดต่อ:
คุณพิชญา จันทร์แย้ม
ที่อยู่ร้าน:
เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 10 ปี 0 เดือน
เบอร์โทรไลน์:
โทรศัพท์:
ปุ่มติดต่อ:
โทรศัพท์ มือถือ
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ต้นพุทธรักษา
ติดต่อบริการลูกค้า โทร 092-8525212 และ 096-569-7868
Lind ID 0934966162
Line Official @nsm1414v
พุทธรักษา ชื่อสามัญ Indian shot, India Short Plant, India Shoot, Butsarana, Cannas, Canna Lily[1],[2],[8]
พุทธรักษา ชื่อวิทยาศาสตร์ Canna indica L. จัดอยู่ในวงศ์ CANNACEAE[1],[4],[6],[8]
สมุนไพรพุทธรักษา มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า บัวละวงศ์ (ลำปาง), บัวละวง (ลพบุรี), พุทธศร (พายัพ), พุทธสร (ภาคเหนือ), สาคูหัวข่า สาคูมอญ (ภาคกลาง), ปล้ะย่ะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), กวงอิมเกีย เซียวปาเจีย มุยหยิ่งเจีย (จีน), เหม่ยเหยินเจียว เสี่ยวปาเจียว (จีนกลาง) เป็นต้น[1],[2],[3],[9]
สรรพคุณของพุทธรักษา
เมล็ดมีรสเมาเย็น ใช้ตำพอกแก้อาการปวดศีรษะได้ (เมล็ด)[1] ชาวชวาจะใช้เมล็ดนำมาบดให้เป็นผงใช้พอกบริเวณขมับแก้อาการปวดศีรษะ (เมล็ด)[5]
ดอกมีสรรพคุณเป็นยาช่วยสงบจิต ทำให้หัวใจสดชื่น (ดอก)[3]
ดอกใช้เป็นยาขับพิษร้อน ขับน้ำชื้นในร่างกาย (ดอก)[3]
ช่วยลดความดันโลหิต (ดอก)[3]
ชาวอินเดียจะใช้เหง้าเป็นยาขับเหงื่อปัสสาวะในอาการไข้และอาการบวมน้ำ (เหง้า)[5]
เหง้ามีสรรพคุณแก้วัณโรค แก้อาการไอ (เหง้า)[1],[2]
เหง้าใช้ต้มกินเป็นยาแก้อาเจียนเป็นเลือด กระอักเลือด และไอมีเลือด (เหง้า)[1],[2],[3],[5]
ช่วยแก้อาเจียน (ใบ)[4]
ช่วยแก้อาการปวดฟัน ด้วยการใช้เหง้าแห้งผสมกับข้าวเหนียว แล้วนำมาตุ๋นกับไก่กิน (เหง้า)[5]
เหง้ามีรสเย็นฝาดขื่น มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงปอด แพทย์ตามชนบทจะใช้เหง้านำมาต้มกินเป็นยาบำรุงปอด (เหง้า)[1],[2],[5]
ใบมีสรรพคุณช่วยแก้อาการจุกเสียด แก้ท้องเสีย (ใบ)[4]
ชาวชวาจะใช้น้ำคั้นจากเหง้าเป็นยาแก้อาการท้องร่วง (เหง้า)[5]
ช่วยแก้โรคบิด บิดเรื้อรัง (เหง้า)[1],[2],[3]
ช่วยแก้ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ ประจำเดือนมาไม่หยุดของสตรี (เหง้า)[1],[2],[3] ตำรับยาแก้ประจำเดือนมาไม่หยุด ให้ใช้เหง้ากับดอกเข็ม (Ixora Chinensis Lam) นำมาตุ๋นร่วมกับไก่กิน หรือจะใช้เหง้าแห้งผสมกับข้าวเหนียวตุ๋นกับไก่กินก็ได้ (เหง้า)[5]
ช่วยแก้อาการตกขาวของสตรี (เหง้า)[1],[2],[3] ตำรับยาแก้ตกขาว ระบุให้ใช้เหง้าแห้งผสมกับข้าวเหนียวนำมาตุ๋นกับไก่กิน (เหง้า)[5]
ช่วยแก้โรคตับอักเสบ แก้ตับอักเสบติดเชื้อ ตับอักเสบอย่างเฉียบพลันแบบดีซ่าน มีอาการตัวเหลือง ให้ใช้เหง้าสดนำมาต้มกับน้ำ แบ่งกินวันละ 2 เวลา เช้าและเย็น ติดต่อกัน 20 วัน (เป็น 1 รอบของการรักษา) และในระหว่างการรักษาห้ามกินกุ้ง ปลา ของเผ็ด จิงฉ่าย และน้ำมันพืช ซึ่งจากการรักษาผู้ป่วยจำนวน 52 ราย พบว่าผู้ป่วย 34 ราย หลังจากการรักษาเป็นเวลา 250 วัน มีอาการหายดีเป็นปกติ ส่วนผู้ป่วยอีก 18 ราย หลังจากการรักษาเป็นเวลา 30 วัน พบว่ามีอาการดีขึ้นเล็กน้อย (เหง้า)[1],[2],[3]
ชาวกัมพูชาจะใช้เหง้าต้มและคั้นเอาแต่น้ำดื่มเป็นยาแก้คุดทะราด และใช้ชะล้างทำความสะอาดบาดแผล (เหง้า)[5]
ดอกสด นำมาตำให้ละเอียดใช้พอกแผล ห้ามเลือด รักษาบาดแผลสด หรือบาดแผลมีหนอง แก้ฝีหนองได้ (ดอก)[1],[2],[3],[4] บ้างว่าใช้ดอกห้ามเลือดบาดแผลภายนอกให้ใช้ดอกแห้ง 10-15 กรัม นำมาต้มกับน้ำกิน (ดอก)[5]
เหง้าใช้เป็นยาตำพอกรักษาแผลอักเสบบวม ช่วยสมานแผล แก้ฝีหนองปวดบวม แก้ฟกช้ำ (เหง้า)[1],[2],[3]
หมายเหตุ : ดอกและเหง้ามีรสขม ฝาดเล็กน้อย ดอกมีรสจืด ชุ่ม เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อตับและลำไส้ใหญ่ วิธีการใช้ตาม [3] ถ้าเป็นดอก ให้ใช้ครั้งละ 10-15 กรัม ถ้าเป็นเหง้าแห้งให้ใช้ครั้งละ 4-10 กรัม หากเป็นเหง้าสด ให้ใช้ครั้งละ 35-70 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน และใช้ภายนอกให้ใช้ยาสด นำมาตำแล้วพอกแผล[3] ส่วนวิธีการเก็บมาใช้ ลำต้นใต้ดินหรือเหง้าสามารถขุดเก็บได้ตลอดปี นำมาตัดก้านใบและรากฝอยทิ้ง แล้วล้างให้สะอาด หั่นเป็นแผ่น ๆ ตากให้แห้งเก็บไว้ใช้ หรือจะใช้สด ๆ เลยก็ได้[5]
advertisement M11
ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของพุทธรักษา
มีรายงานการใช้เหง้าสดรักษาโรคตับอักเสบแบบเฉียบพลัน และมีอาการตัวเหลือง โดยใช้เหง้าสด 60-120 กรัม (ใช้ไม่เกิน 275 กรัม) นำมาต้มกับน้ำกินวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ติดต่อกัน 20 วัน (คิดเป็น 1 รอบของการรักษา) ในระหว่างการรักษาห้ามรับประทานกุ้ง ปลา จิงฉ่าย ของเผ็ด และน้ำมัน โดยจากการรักษาคนไข้ตับอักเสบจำนวน 67 ราย พบว่าหายจำนวน 58 ราย มีอาการดีขึ้น 3 ราย และไม่เห็นผล 2 ราย โดยระยะเวลาการรักษามีตั้งแต่ 20 วันจำนวน 34 ราย, 30วัน จำนวน 18 ราย, และรักษานานที่สุด 45-47 วัน จำนวน 6 ราย นอกจากนี้ยังมีการทดลองใช้ต้นพุทธรักษาร่วมกับรากคอเช่า และทิแบเปียง (Lespebesa pilosa (Thunb) Sicb.et zcc) เพื่อทำเป็นยารักษาคนไข้จำนวน 100 ราย และพบว่าหายจำนวน 92 ราย ส่วนอีก 8 ราย แก้ไขได้ในขั้นต้น[2],[5]
ประโยชน์ของพุทธรักษา
เหง้าสามารถนำมาใช้ประกอบอาหารได้หลายแบบ เช่นเดียวกับเผือกและมัน[6]
ชาวมาเลเซียจะใช้เหง้าปรุงเป็นอาหาร[5]
ชาวอินเดียจะใช้ก้านใบผสมกับข้าว พริกไทยและน้ำ นำมาต้มให้เดือดให้วัวกินเป็นยาแก้พิษเนื่องจากไปกินหญ้ามีพิษมา[5]
ใยจากก้านใบยังสามารถนำมาใช้แทนปอกระเจาได้ในอุตสาหกรรมทำเชือกและถุงเท้า[5]
ลำต้นใต้ดินหรือเหง้าสามารถนำมาใช้ทำแป้ง ที่เรียกว่า Canna starch ได้[2]
ใบพุทธรักษาสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น การใช้มุงหลังคา ทำกระทง ทำเชือก[6]
เมล็ดสามารถนำมาใช้ทำเป็นสร้อยและร้อยเป็นสายประคำได้ โดยการเก็บเมล็ดที่โตเต็มที่แล้ว แต่ก่อนที่ผลจะสุกแกะเปลือกออกนำไปตากแห้ง เมล็ดจะแข็งและเป็นสีม่วงเข้ม แล้วนำมาเจาะรูร้อยเป็นสายประคำได้สวยงามมาก[5] ส่วนชาวสเปนจะนำเมล็ดมาทำลูกปัด[8]
เครื่องดนตรีที่ว่าฮอชฮา (Hosha) ของชาวซิมบับเว ที่ใช้เขย่านั้น ก็ใช้เมล็ดพุทธรักษาเป็นส่วนประกอบเช่นกัน[8]
ใบสามารถนำมาใช้ทำเป็นกระดาษสา ใช้ห่อของ และให้สีจากธรรมชาติ การสกัดสีจากใบพุทธรักษา มีการนำมาใช้แต่งงานศิลปะ วาดภาพ พิมพ์ภาพ และทั้งใบและกาบใบยังสามารถนำมาใช้ทำเป็นปุ๋ยหมักได้อีกด้วย[6]
กาบใบพุทธรักษานำมาตากแดดให้แห้ง สามารถนำมาประดิษฐ์เป็นของใช้หรือของเล่นต่าง ๆ ได้ เช่น ตุ๊กตา ปลาตะเพียน ฯลฯ[6]
ดอกพุทธรักษาสามารถนำมาสกัดสีทำเป็นสีสำหรับย้อมผ้าได้ แต่จะติดสีไม่มากนักและสีไม่สด และนิยมใช้ตัดดอกปักแจกัน[6]
ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไปตามริมสวนน้ำ ริมคูน้ำที่โล่งแจ้ง ตามร่องระบายน้ำ ริมถนนทางเดิน หรือปลูกลงในกระถางเพื่อประดับอาคารบ้านเรือนก็ได้
เนื่องจากดอกพุทธรักษามีความสวยงามและมีหลายพันธุ์หลายสี แต่เมื่อดอกโรยควรตัดพุ่มใบนั้นทิ้งไป การดูแลรักษาก็ค่อนข้างง่าย เพราะสามารถทนทานต่อโรคต่าง ๆ ได้ดี[4],[7]
ความหมายของดอกพุทธรักษา และความเป็นมงคล ตั้งแต่มีการกำหนดให้วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปีเป็นวันพ่อแห่งชาติ ก็ได้มีการกำหนดให้ “ดอกพุทธรักษาสีเหลือง” เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ประจำวันพ่อ ด้วยเพราะชื่ออันเป็นมงคลของคำว่า “พุทธรักษา” ที่หมายถึง พระพุทธเจ้าทรงปกป้องคุ้มครองให้มีแต่ความสงบสุขร่มเย็น การมอบดอกพุทธรักษาให้กับพ่อจึงเสมือนหนึ่งการบอกรักและเคารพบูชาพ่อ ซึ่งเป็นผู้สร้างความสงบสุขร่มเย็นให้แก่ครอบครัว[7] (และดอกพุทธรักษายังเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดชุมพรอีกด้วยครับ)
นอกจากนี้ในด้านของความเชื่อ คนไทยโบราณเชื่อว่า หากบ้านใดปลูกต้นพุทธรักษาไว้เป็นไม้ประจำบ้าน จะช่วยปกป้องคุ้มครองไม่ให้มีเหตุร้ายหรืออันตรายใด ๆ เกิดแก่บ้านและผู้อยู่อาศัย เพราะพุทธรักษาเป็นพรรณไม้มงคลที่เชื่อกันว่ามีพระเจ้าคุ้มครองรักษาให้มีแต่ความสงบสุข คือเป็นไม้มงคลนามนั่นเอง[7] และการปลูกไม้มงคลชนิดนี้เพื่อเอาคุณควรปลูกไว้ทางทิศตะวันตะของบ้าน และควรปลูกในวันพุธ[8] แก้ไขข้อมูลเมื่อ 03 Sep 20 05:08
คำสำคัญ: พุทธรักษา