ค้นหาสินค้า

ต้นข้าวเย็นใต้

ร้าน พิชญา ว่าน- สมุนไพร
ชื่อสินค้า:

ต้นข้าวเย็นใต้

รหัส:
265402
ราคา:
ไม่ระบุ
ติดต่อ:
คุณพิชญา จันทร์แย้ม
ที่อยู่ร้าน:
เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 10 ปี 0 เดือน
เบอร์โทรไลน์:
โทรศัพท์:
ปุ่มติดต่อ:
โทรศัพท์ มือถือ
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ติดต่อบริการลูกค้า โทร 092-8525212 และ 096-569-7868
Lind ID 0934966162
Line Official @nsm1414v
ข้าวเย็นเหนือ ชื่อวิทยาศาสตร์ Smilax corbularia Kunth[1] (ส่วนในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ระบุว่าชื่อวิทยาศาสตร์ของข้าวเย็นเหนือ คือ Smilax china L.) จัดอยู่ในวงศ์ข้าวเย็นเหนือ (SMILACACEAE) เช่นเดียวกับข้าวเย็นใต้[1]
สมุนไพรข้าวเย็นเหนือ มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า ข้าวเย็นโคกแดง ค้อนกระแต หัวข้าวเย็นเหนือ หัวข้าวเย็นวอก ยาหัวข้อ (อุบลราชธานี), หัวยาข้าวเย็น หัวข้าวเย็นเหนือ ข้าวเย็นวอก (ภาคเหนือ), หัวยาจีนปักษ์เหนือ (ภาคใต้), เสี้ยมโค่ฮก[1] เสี้ยมโถ่ฮก[2] (จีนแต้จิ๋ว), ถู่ฝุหลิง หงถู่หลิง (จีนกลาง) เป็นต้น[1],[2],[4]
จากหนังสือสารานุกรมสมุนไพรของอาจารย์วุฒิ วุฒิธรรมเวช ได้ระบุว่า ข้าวเย็นเหนือและข้าวเย็นใต้มีสรรพคุณที่เหมือนกัน และนิยมนำมาใช้คู่กัน โดยจะเรียกว่า “ข้าวเย็นทั้งสอง“[5]
สรรพคุณของข้าวเย็นเหนือ
ตำรายาพื้นบ้านมุกดาหารและประเทศมาเลเซียจะใช้เหง้าเป็นยาบำรุง (หัว)[3]
หัวนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงเลือด (หัว)[3]
หัวตากแห้งนำมาหั่นผสมในตำรับยาบำรุงกำลัง (หัว)[4]
ใช้หัวในยาตำรับ นำมาต้มกับน้ำดื่ม เป็นยาแก้มะเร็ง ด้วยการบดยาหัวให้ละเอียดผสมกับส้มโมง ต้มจนแห้ง แล้วผสมกับน้ำผึ้งรับประทานวันละ 1 เม็ด (หัว)[3] หัวข้าวเย็นทั้งสองมีกลไกลการออกฤทธิ์ต้านมะเร็งเต้านม (หัว)[6]
ตำรับยาแก้เบาหวาน ให้ใช้หัวข้าวเย็นทั้งสอง ใบโพธิ์ และไม้สัก นำมาต้มในหม้อดินเป็นยาดื่ม ส่วนอีกตำรับยาหนึ่งให้ใช้หัวข้าวเย็นทั้งสองผสมกับต้นลูกใต้ใบ นำมาต้มกับน้ำดื่ม (หัว)[5]
หัวหรือรากมีรสหวานจืด เป็นยาสุขุม ออกฤทธิ์ต่อตับ กระเพาะ ใช้เป็นยาขับพิษร้อน ถอนพิษไข้ (หัว)[2]
ต้นมีรสจืดเย็น สรรพคุณเป็นยาแก้ไข้เรื้อรัง และแก้ไข้ตัวร้อน (ผล)[1],[3]
ใบมีรสจืดเย็น สรรพคุณเป็นยาแก้ไข้เหนือ ไข้สันนิบาต (ใบ)[1],[3]
ตำรับยาแก้ไข้ทับระดูและระดูทับไข้ โดยมีอยู่ 2 ตำรับ ตำรับยาแรกใช้ยารวม 4 อย่าง ส่วนตำรับที่สองใช้ 6 อย่าง โดยใช้หัวข้าวเย็นทั้งสองผสมกับตัวยาอื่น ๆ ในตำรับ นำมาต้มเอาแต่น้ำดื่ม (หัว)[5]
หัวมีรสมันกร่อนหวานเล็กน้อย ใช้เป็นยาแก้ประดง (หัว)[1],[2],[3]
ตำรับยาแก้ไอ ให้ใช้หัวข้าวเย็นเหนือ 5 บาท และหัวข้าวเย็นใต้ 5 บาท นำมาต้มในหม้อดินและเติมเกลือทะเลเล็กน้อย ใช้ดื่มวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น (หัว)[5]
ช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ (หัว)[2],[3]
ช่วยแก้ตาแดง (หัว)[2]
ช่วยขับลมชื้น ด้วยการใช้ข้าวเย็นเหนือและข้าวเย็นใต้ อย่างละ 30 กรัม โกฐเขมา, โกฐหัวบัว, เจตมูลเพลิง (ไม่ได้ระบุว่าใช้เจตมูลเพลิงแดงหรือเจตมูลเพลิงขาว), เถาวัลย์เปรียง อย่างละ 20 กรัม นำมาต้มรวมกันใช้เป็นน้ำรับประทาน หรือจะนำมาแช่กับเหล้า โดยใส่เหล้าให้ท่วมตัวยา ทิ้งไว้ 7 วัน แล้วนำมารับประทานก็ได้ (หัว)[2]
รากใช้เป็นยาแก้พยาธิในท้อง (ราก)[1]
หัวใช้เป็นยาแก้นิ่ว (หัว)[4]
หัวและรากใช้เป็นยาแก้ปัสสาวะพิการ (หัว,ราก)[1],[2],[3]
ช่วยแก้กามโรค เข้าข้อออกดอก (ระยะของกามโรคที่เกิดมีเม็ดผื่นเป็นดอก ๆ ขึ้นตามตัว) (หัว)[1],[2],[3],[6]
ใช้เป็นยาแก้โรคหนองในทั้งหญิงและชาย ด้วยการใช้หัวข้าวเย็นทั้งสองร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่นอีก รวมทั้งสิ้น 14 อย่าง นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้โรคหนองในหรือโรคโกโนเรีย โดยจะหายภายใน 7 วัน (หัว)[5]
ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร (หัว)[4] ตามตำรับยาแก้ริดสีดวงทวารจะใช้ตัวอย่าง 12 อย่าง อันประกอบไปด้วย หัวข้าวเหนือเย็น หัวข้าวเย็นใต้ เหง้าสับปะรด แก่นจำปา เครือส้มกุ้ง จุกกระเทียม จุกหอมแดง จันทน์ขาว จันทน์แดง พริกไทยล่อน รากลำเจียก และสารส้ม นำมาต้มในหม้อดิน ใช้ดื่มครั้งละ 1 ถ้วยชา วันละ 3 ครั้ง เช้า กลางวันและเย็น ท่านว่าริดสีดวงทวารจะหายภายใน 7 วัน (หัว)[5]
ผลมีรสขื่นจัด สรรพคุณเป็นยาแก้ลมริดสีดวง (ผล)[1],[3]
ตำรับยาแก้ระดูขาวของสตรีและโรคบุรุษ ให้ใช้หัวข้าวเย็นเหนือ 1 บาท, หัวข้าวเย็นใต้ 1 บาท, ต้นบานไม่รู้โรยดอกสีขาวทั้งต้นรวมราก 1 ต้น, ต้นตะไคร้ทั้งต้นรวมราก 20 บาท และเกลือทะเล นำมาต้มกับน้ำ 3 ส่วน ให้เหลือเพียง 1 ส่วน แล้วนำมาใช้ดื่มก่อนอาหารครั้งละ 1 ถ้วยตะไล วันละสองครั้งเช้าและเย็น จะช่วยแก้ระดูขาวและโรคบุรุษได้ผลชะงัดดีนัก (หัว)[5]
ใช้รักษาโรคเนื้องอกบริเวณปากมดลูก ให้นำข้าวเย็นเหนือและข้าวเย็นใต้อย่างละ 25 กรัม นำมาต้มด้วยไฟอ่อน ๆ ประมาณ 3 ชั่วโมง หรือต้มให้เหลือน้ำประมาณ 100 ซีซี แล้วใช้แบ่งรับประทาน 4 ครั้ง ครั้งละ 25 ซีซี (หัว)[2]
ช่วยขับน้ำชื้นในร่างกาย (หัว)[2]
ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย (หัว,ราก)[1],[2],[3],[6]
ใช้เป็นยาแก้พิษ และแก้พิษจากสารปรอท (หัว)[2]
ดอกใช้เป็นยาแก้พิษงูเห่า (ดอก)[1]
ช่วยแก้มะเร็งคุดทะราด (หัว)[1],[2],[3]
ใช้เป็นยาทารักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ด้วยการใช้ข้าวเย็นเหนือและข้าวเย็นใต้ นำมาบดเป็นผง ผสมกับน้ำมันมะพร้าวหรือน้ำมันงา แล้วนำมาใช้ทาบริเวณแผล (หัว)[2]
รากมีสรรพคุณช่วยแก้พุพอง (ราก)[1]
ช่วยรักษาฝีแผลเน่าเปื่อยพุพอง ทำให้แผลฝียุบแห้ง แก้เม็ดผื่นคัน (หัว)[1],[2],[3]
ตำรับยาแก้ฝีทุกชนิด ระบุให้ใช้หัวข้าวเย็นเหนือ 1 ส่วน, หัวข้าวเย็นใต้ 1 ส่วน, กระดูกควายเผือก 1 ส่วน, กำมะถันเหลือง 1 ส่วน, ขันทองพยาบาท 1 ส่วน และหัวต้นหนอนตายหยาก 1 ส่วน หนักอย่างละ 20 บาท และเหง้าสับปะรด 10 บาท, กระดูกม้า 4 บาท, ต้นพริกขี้หนูรวมราก 1 ต้น, ผิวไม้รวก 3 กำมือ (รวมเป็น 10 อย่าง) นำมาต้มในหม้อดินพอสมควร ใช้ดื่มหลังอาหารครั้งละ 1 ถ้วยชา วันละ 3 เวลา ตำรับนี้นอกจากจะช่วยแก้ฝีทุกชนิดแล้ว ยังช่วยแก้โรคแผลกลาย รักษาแผลในหลอดลมและในลำไส้อย่างได้ผลชะงัด (หัว)[5]
ใช้เป็นยาแก้โรคผิวหนัง ผดผื่นคัน กลากเกลื้อน ผิวหนังอักเสบ น้ำกัดเท้า (หัว)[2] หัวใต้ดินนำมาต้มกับน้ำให้เด็กอาบจะช่วยแก้อาการตุ่มแดง มีผื่นคัน และถ่ายเหลวได้ (หัว)[4]
หัวมีสรรพคุณช่วยฆ่าเชื้อหนอง (หัว)[7]
หัวนิยมใช้เป็นยาแก้อักเสบในร่างกาย (หัว)[1],[2],[3]
ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย ด้วยการใช้ข้าวเย็นเหนือและข้าวเย็นใต้ อย่างละ 30 กรัม โกฐเขมา, โกฐหัวบัว, เจตมูลเพลิง, เถาวัลย์เปรียง อย่างละ 20 กรัม นำมาต้มรวมกันใช้เป็นน้ำรับประทาน หรือจะนำมาแช่กับเหล้า โดยใส่เหล้าให้ท่วมตัวยา ทิ้งไว้ 7 วัน แล้วนำมารับประทานก็ได้ (หัว)[2],[4] แก้อาการปวดหลังปวดเอว ปวดเมื่อยในผู้สูงอายุ (หัว)[4]
ช่วยแก้อาการปวดข้ออันเนื่องมาจากลมชื้นหรือฝีหนองทั้งภายนอกและภายใน (หัว)[2]
หัวมีสรรพคุณแก้เส้นเอ็นพิการ ช่วยดับพิษในกระดูก (หัว)[1],[2],[3]
หัวนำมาต้มกับน้ำกิน เพื่อลดอาการปวด สำหรับหญิงอยู่ไฟหลังการคลอดบุตร (หัว)[3]
หมายเหตุ : การใช้ตาม [2] ยาแห้ง ให้ใช้ครั้งละ 15-30 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน[2] และนิยมใช้ข้าวเย็นเหนือร่วมกับข้าวเย็นใต้ โดยจะเรียกว่า “ข้าวเย็นทั้งสอง” แก้ไขข้อมูลเมื่อ 03 Sep 20 05:09