ค้นหาสินค้า

ต้นลำโพง

ร้าน พิชญา ว่าน- สมุนไพร
ชื่อสินค้า:

ต้นลำโพง

รหัส:
265400
ราคา:
ไม่ระบุ
ติดต่อ:
คุณพิชญา จันทร์แย้ม
ที่อยู่ร้าน:
เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 9 ปี 11 เดือน
เบอร์โทรไลน์:
โทรศัพท์:
ปุ่มติดต่อ:
โทรศัพท์ มือถือ
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ติดต่อบริการลูกค้า โทร 092-8525212 และ 096-569-7868
Lind ID 0934966162
Line Official @nsm1414v
สรรพคุณของลำโพง
เมล็ดนำมาคั่วพอหมดน้ำมัน ใช้ปรุงเป็นยากินบำรุงประสาท (เมล็ด)[5]
บางตำราระบุว่าใช้รากเป็นยาแก้วิกลจริต บ้างว่าน้ำต้มจากใบ ราก และเมล็ด ใช้กินเป็นยาแก้อาการคุ้มคลั่งและเป็นยาลดไข้ (ราก)[5]
เปลือกผลมีสรรพคุณเป็นยาแก้กษัย (เปลือกผล)[7]
ใช้ต้นรากลำโพงผสมกับยามหานิลเทียนทอง เป็นยาแก้โรคซางเด็ก (ต้นและราก)[7]
ใบมีสรรพคุณช่วยทำให้ผู้ที่เป็นหืดหายใจได้สะดวกยิ่งขึ้น (ใบ)[1]
น้ำคั้นจากต้นเมื่อนำมาใช้หยอดตาจะทำให้ม่านตาขยาย เช่นเดียวกับการหยอดตา (ต้น)[1]
ดอกนำมาหั่นตากแห้งผสมกับยาฉุนสูบแก้อาการหอบหืด แก้การตีบตัวของหลอดลม โดยให้ใช้สูบตอนที่มีอาการหอบหืดกำเริบ ให้สูบจนกว่าอาการจะหายไป วิธีนี้เด็กไม่ควรใช้ และไม่ควรสูบมากจนเกินไป เพราะอาจจะทำให้ได้รับพิษได้ (ดอก)[2],[3],[7] ส่วนใบก็มีสรรพคุณเป็นยาแก้หอบหืดเช่นกัน เพราะช่วยขยายหลอดลม (ใบ)[3],[7] บ้างก็ว่าใช้ต้นลำโพงทั้งต้นนำมาตากแห้งหั่นสูบแก้โรคหืด (ทั้งต้น)[5]
ดอกนำมาหั่นตากแดดให้แห้ง ใช้มวนสูบแก้ริดสีดวงจมูก (ดอก)[5]
เมล็ดไปคั่วให้น้ำมันในเมล็ดออก ใช้เป็นยาถอนพิษไข้ แก้ไข้พิษ แก้ไข้กระสับกระส่าย (เมล็ด)[3],[5] ส่วนผลมีสรรพคุณเป็นยาแก้พิษไข้ แก้ไข้ที่ทำให้กระสับกระส่าย (ผล)[5]
ถ่านจากรากมีรสเย็น สรรพคุณเป็นยาแก้ไข้พิษ เซื่องซึม และแก้ไข้กาฬ (ถ่านจากราก)[5]
ช่วยแก้อาการสะอึกในไข้กาฬ (ใบ)[7]
รากใช้ฝนทาแก้พิษร้อน ดับพิษร้อน (ราก)[5],[7]
เมล็ดมีสรรพคุณช่วยแก้อาการปวดฟัน (เมล็ด)[4]
น้ำจากใบสดใช้หยอดหู แก้อาการปวดหู (ใบ)[4]
เมล็ดลำโพงนำมาตำให้เป็นผงผสมกับน้ำมันงา ใช้หยอดหูน้ำหนวก (เมล็ด)[7]
ใบมีฤทธิ์กดสมอง มีสรรพคุณแก้อาเจียนจากการเมารถเมาเรือ (ใบ)[7]
ใบใช้เป็นยาทาเต้านมของสตรีลูกอ่อนที่ให้นมบุตร เพื่อช่วยแก้อาการอักเสบของเต้านม (ใบ)[1]
ช่วยขับลมชื้น ให้ใช้ดอกลำโพงมาดองกับเหล้า 500 ซีซี เป็นเวลา 2 สัปดาห์ แล้วนำมารับประทานครั้งละ 1 ถ้วยชาจีน วันละ 2 ครั้ง (ดอก)[3]
ช่วยแก้อาการปวดกระเพาะ (เมล็ด)[3]
ช่วยแก้อาการปวดเกร็งท้อง (ใบ)[7]
ช่วยแก้ริดสีดวง (เปลือกผล)[7]
ใบใช้เป็นยาพอกแก้แผลเรื้อรัง แผลฝี แผลไหม้ (ใบ)[1],[4]
เปลือกผลมีรสเมาเบื่อ สรรพคุณช่วยแก้มะเร็ง คุดทะราด (เปลือกผล)[7]
ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย (ใบ)[7]
เมล็ดมีสรรพคุณช่วยแก้โรคผิวหนัง (เมล็ด)[4]
น้ำมันจากเมล็ดมีฤทธิ์ช่วยฆ่าเชื้อโรค เชื้อโรคที่ตัว แก้กลากเกลื้อน หิด เหา (น้ำมันจากเมล็ด)[5] ส่วนเมล็ดนำมาหุงทำน้ำมันใส่แผล แก้กลากเกลื้อนผื่นคันได้ (เมล็ด)[2]
ใบมีรสเบื่อเมา ใช้เป็นยาตำพอกรักษากลากเกลื้อน และฝี ทำให้ฝียุบ (ใบ)[1],[2],[4],[5]
รากมีรสเมาหวานเล็กน้อย มีสรรพคุณแก้ฝีกาฬทั้งปวง (ราก)[5]
ใบใช้ตำพอกแก้ปวดบวมอักเสบ แก้ปวดบวมที่แผล (ใบ)[2],[4],[5],[7] ส่วนรากก็มีสรรพคุณแก้ปวดบวมอักเสบเช่นกัน (ราก)[5] ช่วยรักษาไขข้ออักเสบ และมีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบ (ใบ)[4],[7]
ใช้เมล็ดประมาณ 30 กรัม นำมาทุบให้พอกแหลก แล้วแช่กับน้ำมันพืชไว้ประมาณ 7 วัน (เช่น น้ำมันมะพร้าว หรือน้ำมันงา ฯลฯ หรือนำมาดองกับเหล้าก็ได้) ใช้ทาบริเวณที่มีอาการปวดเมื่อยหรือขัดยอก จะช่วยบรรเทาอาการปวดลงได้ แต่ถ้านำมาใช้ใส่ฟันที่เป็นรูจะช่วยบรรเทาอาการปวดได้ (เมล็ด)[1] ส่วนอีกวิธีให้ใช้ดอกลำโพงมาดองกับเหล้า 500 ซีซี เป็นเวลา 2 สัปดาห์ แล้วนำมารับประทานครั้งละ 1 ถ้วยชาจีน วันละ 2 ครั้ง จะช่วยแก้อาการปวดเมื่อยได้ (ดอก)[3]
เมล็ดใช้เป็นยาชา (เมล็ด)[3]
บางตำรายังระบุว่า รากลำโพงใช้แก้หมาบ้ากัดได้ (ราก)[5]
เมล็ดมีสรรพคุณเป็นยาแก้ปวด แก้ชัก แก้เหน็บชาเนื่องจากลมชื้น และช่วยขับลม ส่วนเมล็ดที่นำไปคั่วให้น้ำมันในเมล็ดออก ใช้เป็นยาแก้ปวดข้อ ขาบวม ปวดบวม แก้พิษฝี ส่วนมากใช้เป็นยาภายนอก (เมล็ด)[3]
ทั้งต้นหรือทุกส่วนของลำต้นมีฤทธิ์เป็นยาเสพติด ช่วยระงับความเจ็บปวด และแก้อาการเกร็ง ใช้มากจะทำให้เกิดการเสพติด (ทั้งต้น)[1]
หมายเหตุ : วิธีใช้ตาม [3] เมล็ดให้ใช้ครั้งละ 0.34-0.5 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทานหรือใช้ชงกับน้ำรับประทาน หรือจะบดเป็นผงรับประทานครั้งละ 0.1-0.2 กรัม หากใช้ภายนอกให้ใช้น้ำตมล้างแผล หรือใช้บดเป็นผงโรยใส่แผลตามต้องการ ส่วนดอกและใบตากแห้ง นำมาใช้ทำเป็นยาสูบ แก้หอบหืด[3]
หมายเหตุ : ลำโพงยังมีอีกหลายชนิดที่พบได้ในประเทศไทย เช่น ลำโพงกาสลัก (Datura Fastuosa L.) จะมีลักษณะของต้นคล้ายกับต้นลำโพงขาว แต่จะมีกิ่งก้านเป็นสีม่วงหรือสีม่วงอมแดง และดอกเป็นสีม่วง ปลายกลีบซ้อนกันหลายชั้น, ลำที่พบในประเทศจีน (Datura inermis Jasq.) ทั้งต้นมีขนปกคลุม มีดอกสีขาวขนาดใหญ่ ผลกลมเรียบไม่มีหนาม, ลำโพงยุโรป (Datura stramonium L.) ชนิดนี้มีดอกสีขาว ผลมีหนามแข็งปกคลุม ปลายผลแหลมเล็กน้อย เป็นต้น โดยลำโพงหลายชนิดที่กล่าวมาจะมีสรรพคุณทางยาที่ใกล้เคียงกันกับลำโพงขาว และสามารถนำมาใช้แทนกันได้[3] แก้ไขข้อมูลเมื่อ 03 Sep 20 05:09
คำสำคัญ: แตรนางฟ้า