ค้นหาสินค้า

ว่านเสน่ห์จันทร์ดำ

ร้าน วรากรสมุนไพร
ชื่อสินค้า:

ว่านเสน่ห์จันทร์ดำ

รหัส:
243603
ราคา:
300.00 บาท
ติดต่อ:
คุณปุณณภา งานสำเร็จ
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 13 ปี 6 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
ปุ่มติดต่อ:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ว่านเสน่ห์จันทน์ดำ ว่านเต่าเขียด ขิงแดงปลากั้ง
ช่องทางการติดต่อร้านวรากรสมุนไพรทางไลน์สะดวกที่สุดค่ะ
ไอดีไลน์ herbsddd
QR code https://line.me/ti/p/T-oZ81KZrM
โทร 0629246459,0616498997
ต้องการมาดูสินค้าโทรนัดหมายล่วงหน้านะคะ
ว่านเสน่ห์จันทน์ดำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Homalomena aromatica Schott.
วงศ์ ARACEAE
ชื่อสามัญ Colla aromatica Roxb.
ชื่ออื่น เต่าเขียด (ภาคกลาง), โหรา (ชุมพร)
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นเป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน ส่วนที่โผล่ขึ้นมาเหนือดินนั้นเป็นเพียงก้านใบและใบ ก้านใบยาว 30-40 ซม. ซึ่งจะชูใบแตกขึ้นมาบนผิวดิน ก้านใบสีเขียวแกมแดง ลักษณะกลมเรียว ใบเป็นรูปสามเหลี่ยม ปลายแหลม โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ขอบใบเรียบ ไม่มีจัก มีสีเขียวกว้างประมาณ 10-15 ซม. ยาว 10-20 ซม. ดอกออกเป็นช่อ แต่จะไม่มีก้านช่อดอกลักษณะของดอกจะคล้ายกับดอกบอน แต่มีขนาดเล็กกว่า ดอกสีเขียวอมเหลือง
การปลูก
ปลูกโดยใช้ส่วนผสมของดินร่วน 5 ส่วน ทรายหยาบ 1 ส่วน เปลือกถั่วและอิฐก้อนเล็กอย่างละ 1 ส่วน
การขยายพันธุ์
ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ
ความเป็นมงคล
เป็นมงคลในด้านการค้าและเมตตามหาเสน่ห์ พัดโบกเงินทองและสิ่งเป็นมงคลเข้ามาในบ้าน สิ่งที่ไม่ดีตลอดจนโรคภัยไขเจ็บก็ให้ห่างไกล
สรรพคุณทางยา
หัวมีกลิ่นหอม นำมาบดเป็นผงใช้ผสมกับใบยาสูบและยานัตถุ์ได้ เมื่อนำมากลั่นด้วยไอน้ำจะได้น้ำมันหอมสีเหลือง นอกจากนี้หัวยังใช้ผสมกับเครื่องเทศใส่แกงทำให้มีรสหอมอีกด้วย ทั้งต้นนำมาตำแล้วใช้ทาแก้โรคผิวหนัง
ส่วนที่ใช้เป็นยา : หัว และทั้งต้น
สรรพคุณตามตำรายาไทย :
หัว ราก รสเมาเบื่อ ขับเสมหะ แก้หอบหืด แก้โรคผิวหนัง เรื้อน มะเร็ง คุดทะราด
ต้น รสขม เผ็ดร้อน กลิ่นหอมฉุน รับประทานแก้โรคตับ ปอดพิการ
หัว (เหง้า) รสเย็น กลิ่นหอมฉุน ชักตับ ชักดาก แก้ตับปอดพิการ แก้ตับทรุด เนื่องจากชอกช้ำ หัวเมื่อนำมาบดเป็นผงใช้ผสมกับใบยาสูบ และยานัตถุ์ได้ ซึ่งหัวนี้จะมีกลิ่นหอม และเมื่อนำมากลั่นด้วยไอน้ำจะได้น้ำมันหอมสีเหลือง จะมีฤทธิ์กระตุ้น (stimulant) นอกจากนี้หัวยังใช้ผสมกับเครื่องเทศใส่แกงทำให้มีรสหอมอีกด้วยทั้งต้น นำมาตำแล้วใช้ทาแก้โรคผิวหนัง
ว่านเสน่ห์จันทร์ตามโบราณเขาว่ามีทั้งหมดดังนี้ ว่านเสน่ห์จันทร์ขาว ,แดง,เขียว,มหาโพธิ์,ศรีมหาโพธิ์,หอม,ทอง
7 ชนิด แต่ยุคหลังเอา ว่านเต่าเกียดมาเป็นว่านเสน่ห์จันทร์ดำ เลยเป็น 8 ชนิด แก้ไขข้อมูลเมื่อ 13 Jul 20 05:27
คำสำคัญ: ว่านมงคล