ค้นหาสินค้า

ต้นพญาไร้ใบ

ร้าน วรากรสมุนไพร
ชื่อสินค้า:

ต้นพญาไร้ใบ

รหัส:
225940
ราคา:
100.00 บาท
ติดต่อ:
คุณปุณณภา งานสำเร็จ
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 13 ปี 6 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
ปุ่มติดต่อ:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ขายต้นพญาไร้ใบ
ร้านวรากรสมุนไพร
ID Line varakhonherbs
โทร 0821515014
ต้องการมาดูสินค้า พิมพ์ในกูเกิล หาคำว่า วรากรสมุนไพร คลิ๊กเลือกแผนที่
รบกวนโทรนัดหมายล่วงหน้านะคะ
พญาไร้ใบ ชื่อสามัญ Milk Bush[3], Indian Tree Spurge
พญาไร้ใบ ชื่อวิทยาศาสตร์ Euphorbia tirucalli Linn.
จัดอยู่ในวงศ์ EUPHORBIACEAE
พญาไร้ใบ ยังมีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ อีกว่า เคียะจีน พญาร้อยใบ (เชียงใหม่), เคียะเทียน (ภาคเหนือ) เป็นต้น
ลักษณะของพญาไร้ใบ
•ต้นพญาไร้ใบ จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 4-7 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามากดูคล้ายกับปะการัง เปลือกลำต้นแก่เป็นสีน้ำตาลเข้ม ไม่มีหนาม ส่วนกิ่งอ่อนเป็นรูปทรงกระบอกเป็นสีเขียวเรียบเกลี้ยง อวบน้ำ เมื่อหักหรือกรีดดูจะมีน้ำยางสีขาวข้นออกมาจำนวนมาก ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและการตัดชำ ชอบดินร่วน ระบายน้ำได้ดี และมีแสงแดดตลอดวัน มักพบขึ้นตามป่าเบญจพรรณ โดยจะออกดอกและติดผลในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤศจิกายน
•ใบพญาไร้ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ใบมีขนาดมาก ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบมน โคนใบมน โดยมีขนาดกว้างประมาณ 0.2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1 เซนติเมตร หลุดร่วงได้ง่าย
•ดอกพญาไร้ใบ ออกเป็นดอกเดี่ยว ออกเป็นกระจุกที่ปลายยอด ดอกมีขนาดเล็กสีเขียว ดอกเพศผู้และดอกเพศเมีย ไม่มีกลีบดอก และอยู่ในช่อเดียวกัน มีแต่กลีบรองดอกสีขาว กลีบเลี้ยงมี 4 กลีบ
•ผลพญาไร้ใบ ผลเป็นผลแห้งจะแตกและอ้าออก
สรรพคุณของพญาไร้ใบ
1.รากมีรสเฝื่อน ใช้ต้มดื่มเป็นยาแก้ธาตุพิการ (ราก)
2.รากนำมาต้มกับน้ำมะพร้าวใช้ทาแก้อาการปวดท้อง (ราก)
3.ต้นใช้ต้มดื่มเป็นยาแก้กระเพาะอักเสบ (ต้น)
4.รากใช้สกัดเป็นเป็นยาระบายได้ (ราก)
5.ใบและรากมีรสเฝื่อน ใช้ตำพอกแก้ริดสีดวงทวาร (ใบและราก) และใช้ต้นนำมาตำพอกริดสีดวง (ต้น)
6.น้ำยางจากต้นใช้รักษาโรคผิวหนัง (น้ำยางจากต้น) ส่วนเนื้อไม้ใช้ผสมเป็นยาสำหรับรักษาโรคผิวหนัง โรคเรื้อน กรณีที่มือและเข่าอ่อนเปรี้ยหลังการคลอดบุตรของสตรี (เนื้อไม้)
7.ต้นใช้ตำพอกเป็นยาแก้รังแค (ต้น)
8.ต้นใช้เป็นยาพอกแผล (ต้น)
9.ตำรายาพื้นบ้านจะใช้น้ำยางจากต้นมาแต้มกัดหูด (ใช้น้ำยางจากกิ่งที่หักมาใหม่ๆ มาหยดลงบริเวณที่เป็นหูด วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น) (น้ำยางจากต้น)
10.ต้นมีรสเฝื่อน ใช้ต้มแช่รักษาอาการบาดเจ็บ (ต้น)
11.ต้นใช้ตำพอกเป็นยาแก้ปวดบวม (ต้น)
12.ต้นใช้ตำทาแก้อาการปวดกระดูก กระดูกเดาะ (ต้น)
13.ใช้น้ำยางจากต้นนำมาถูผิวหนังบริเวณที่กระดูกแตกหัก เชื่อว่าจะช่วยเชื่อมกระดูกได้ (น้ำยางจากต้น) แก้ไขข้อมูลเมื่อ 18 Feb 18 11:57
คำสำคัญ: พญาไร้ใบ