ค้นหาสินค้า

ต้นตะขบป่า ตานเสี้ยน

ร้าน วรากรสมุนไพร
ชื่อสินค้า:

ต้นตะขบป่า ตานเสี้ยน

รหัส:
215384
ราคา:
350.00 บาท
ติดต่อ:
คุณปุณณภา งานสำเร็จ
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 13 ปี 6 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
ปุ่มติดต่อ:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ขายต้นตะขบป่า ตานเสี้ยน
ขายต้นประคำไก่ สมุนไพรหายาก ที่มาของคำว่า หมู (แห้วหมู) เห็ด(ชุมเห็ดเทศ) เป็ด(รากต้นตีนเป็ด) ไก่ (ปะคำไก่) คำสำนวนตำรับยาแก้กษัยที่หมอพื้นบ้านชอบพูดติดปาก
ช่องทางการติดต่อร้านวรากรสมุนไพรทางไลน์สะดวกที่สุดค่ะ
ไอดีไลน์ herbsddd
QR code https://line.me/ti/p/T-oZ81KZrM
โทร 0629246459,0616498997
ต้องการมาดูสินค้าโทรนัดหมายล่วงหน้านะคะ
ประคำไก่ (Drypetes roxburghii Wall.)
วงศ์ EUPHORBIACEAE
เป็นไม้ยืนต้น ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรี โคนใบเบี้ยว ดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน ผลกลมสุกสีดำ
สรรพคุณ ต้นเป็นยาเย็น ขับและปัสสาวะ ระบาย กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ ใบ ผล เมล็ด กินเป็นยาลดไข้ และแก้หวัด
ต้นมะคำป่า (ประคำป่า)ต้นไม้ประจำเมืองโกสุมพิสัย ในจดหมายเหตุ การตั้งเมืองโกสุมพิสัย ได้ระบุว่าชาวบ้านวังท่าหอขวางได้ทำดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง ไปถวาย กรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์ จนได้สารตราตั้งเมืองโกสุมพิสัยมา เพราะสมัยนั้นพื้นที่บริเวณนี้เต็มไปด้วยต้มมะคำป่า (ซึ่งน่าจะเป็นภาษาถิ่นเรียก) เมื่อสืบหาต้นไม้ประจำเมืองที่ยังพอหลงเหลือถึงปัจจุบันเพียงไปกี่ 10 ต้นก็เทียบเคียงได้ว่าต้นมะคำป่าในตำนานนั้นใกล้เคียงกับต้น ประคำไก่
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Drypetes roxburghii (Wall.) Hurasawa
ชื่อวงศ์ : Euphorbiaceae
ชื่อสามัญ : -
ชื่ออื่น : มะคำไก่ มะคำดีไก่ (ภาคกลาง) หมากค้อ มักค้อ (ขอนแก่น) ,ปะอานก,ยาแก้,โอวนก(เหนือ),ทะขามกาย(ตะวันออก)
ลักษณะ
ประคำไก่เป็นไม้ต้น ต้นและกิ่งก้านสีขาวนวล กิ่งทอดห้อยลง
ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปรี โคนใบเบี้ยว ใบหนา สีเขียว เป็นมัน
ดอก เพศผู้และเมียอยู่ต่างต้นกัน
ผล รูปทรงกลม สีขาวอมเทา สุกสีดำ
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด
สรรพคุณ
ต้น - เป็นยาเย็น ขับปัสสาวะ เป็นยาระบายและกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ
ใบ ผล และเมล็ด - กินเป็นยาลดไข้ แก้หวัด และแก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย
ราก - มีรสขมเบื่อเล็กน้อย แก้กระษัย แก้เส้นเอ็น ทำให้เส้นเอ็นหย่อน ถ่ายฝีภายในทั้ง 5 หรือมะเร็ง แก้วัณโรค ขับปัสสวะ
ใบ - มีรสขมเบื่อเล็กน้อย แก้ริดสีดวงทวาร แก้พิษฝีในกระดูก ปอด ตับ ม้าม กระเพาะ ลำไส้ แก้กระษัย ขับปัสสาวะ ตำพอกฝี ปรุงยาถ่ายพิษฝี ถ่ายเส้น ถ่ายกระษัย
ยาทาพระเส้น ยาตำรับนี้ใช้ทาแก้โรคเส้นพิรุธ แก้ลมอัมพาต ลมปัฏฆาตกร่อน ตะคริว จับโปง เมื่อยขบ สำหรับส่วนผสมในตำรับยาก็คือ
พริกไทย ข่า กระชาย หอม กระเทียม มหาหิงคุ์ ยาดำ ทั้ง 7 อย่างนี้ให้นำมาอย่างละ 1 ส่วน
ตะไคร้หอม ใบขี้เหล็ก ใบตองแตก ใบมะขาม ใบเลี่ยน ทั้ง 5 อย่างนี้ให้นำมาอย่างละ 4 ส่วน
นอกจากนี้ยังมี ใบมะคำไก่ 16 ส่วน
นำส่วนผสมเหล่านี้มาตำให้ละเอียด แล้วนำมาห่อด้วยผ้าขาวบางคั้นเอาแต่น้ำมาทาบริเวณที่มีอาการเส้นตึง เป็นตะคริว หรือเมื่อขบ
หมูเห็ดเป็ดไก่เดิมเป็นชื่อเรียกสมุนไพร
หมู คือ หญ้าแห้วหมู
เห็ด คือ ใบชุมเห็ดเทศ
เป็ด คือ รากต้นตีนเป็ด
ไก่ คือ ต้นประคำไก่
คนที่เป็นโรดกษัย ( กะ - สัย ) คือ มีอาการผอมแห้ง ตัวเหลือง เท้าเย็น ร่างกายทรุดโทรม แพทย์แผนโบราณก็จะจัดยาสมุนไพรทั้ง 4 ชนิดที่กล่าวมาข้างต้นให้กิน จึงได้เรียกกันสั้นๆว่า หมู เห็ด เป็ด ไก่
ตะขบป่า (ชื่อวิทยาศาสตร์: Flacourtia indica) ภาคเหนือเรียก มะเกว๋นนก มะเกว๋นป่า หรือตานเสี้ยน
ตะขบป่า
ชื่ออื่นๆ เบนโคก (อุบลราชธานี) ตานเสี้ยน มะแกว๋นนก มะแกว๋นป่า มะขบ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Flacourtia indica (Burm.f.) Merr.
ชื่อวงศ์ Flacourtiaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก ผลัดใบ สูง 2-15 เมตร ลำต้น และกิ่งใหญ่ๆมีหนามแหลม กิ่งแก่ๆมักจะไม่มีหนาม กิ่งอ่อนมีหนามแหลมตามซอกใบ หนามยาว 2-4 เซนติเมตร เรือนยอดแผ่กว้าง ปลายกิ่งโค้งลง เปลือกสีเหลืองอมเทาแตกเป็นร่องลึก มีช่องอากาศรูปรีกระจายห่างๆ ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ ขนาดค่อนข้างเล็ก มักเรียงชิดกันเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง รูปร่าง ขนาด เนื้อใบ และขนที่ปกคลุมแตกต่างกัน ส่วนใหญ่แผ่นใบรูปไข่กลับ กว้าง 1.5-3 เซนติเมตร ยาว 2-4 เซนติเมตร ปลายกลม โคนสอบแคบ ขอบใบค่อนข้างเรียบ หรือจัก มักจักใกล้ปลายใบ แผ่นใบบางคล้ายกระดาษถึงหนาคล้ายแผ่นหนัง เกลี้ยงถึงมีขนสั้นหนานุ่มทั้งสองด้าน ใบอ่อนและเส้นกลางใบสีแดงอมส้ม เส้นแขนงใบมี 4-6 คู่ เส้นใบย่อยสานกันเป็นร่างแห พอเห็นได้ลางๆ ก้านใบยาว 3-5 มิลลิเมตร ก้านใบสีเขียวหรือแดง มีขน ก้านใบยาว 3-8 มิลลิเมตร ดอกแบบช่อกระจะ ออกเป็นช่อสั้นๆ ตามซอกใบ และปลายกิ่ง มีขน ดอกย่อยจำนวนน้อย ดอกขนาดเล็ก สีขาว แยกเพศอยู่คนละต้น ที่โคนช่อมีใบประดับ บางทีมีหนาม ก้านดอกยาว 3-5 เซนติเมตร มีขน กลีบดอก 5-6 กลีบ รูปไข่ ปลายมน ยาว 1.5 มิลลิเมตร ด้านนอกค่อนข้างเกลี้ยง ด้านในและที่ขอบกลีบมีขนแน่น ดอกแยกเพศ ดอกเพศผู้ จานฐานดอกแยกเป็นแฉกเล็กน้อย หรือหยักมน มีเกสรตัวผู้จำนวนมาก ก้านเกสรยาว 2-2.5 มิลลิเมตร มีขนเฉพาะที่โคน ดอกเพศเมีย จานฐานดอกเรียบ รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ มีรังไข่กลม ปลายสอบแคบ มี 1 ช่อง ก้านเกสรเพศเมียมี 5-6 อัน ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร แต่ละก้านปลายแยกเป็นสองแฉก และม้วนออก กลีบเลี้ยง 5-6 กลีบ รูปไข่ กว้างประมาณ 1 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 1.5 มิลลิเมตร ปลายมน ผิวด้านนอกเกลี้ยง ด้านในและขอบมีขนหนาแน่น ผลกลม หรือรี เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.8-1 เซนติเมตร ออกเดี่ยว หรือเป็นกลุ่ม เป็นพวงเล็กๆ ตามกิ่ง เมื่ออ่อนสีเขียว สุกสีแดงคล้ำ ลักษณะชุ่มน้ำ มี 5-8 เมล็ด มีก้านเกสรเพศเมียติดอยู่ที่ปลายผล ผลจะสุกประมาณเดือนกรกฎาคม ถึงสิงหาคม รับประทานได้ รสหวานอมฝาด พบตามป่าเต็งรัง ป่าชายหาด ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าผสมผลัดใบ ตลอดจนตามริมแม่น้ำ
ผลและยอดอ่อนรับประทานได้ ผลสดนำมาแปรรูปเป็นแยมหรือไวน์ เนื้อไม้ใช้ทำด้ามอุปกรณ์ต่างๆ ผลและเนื้อไม้มีฤทธิ์เป็นยาถ่ายพยาธิตัวกลม ใบใช้แก้งูกัด เปลือกไม้รักษาโรคผิวหนังได้ ชาวกะเหรี่ยงในจังหวัดเชียงใหม่ใช้รากต้มน้ำดิ่มแก้ปวดเมื่อย
สรรพคุณ
ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี ใช้ แก่น ต้มน้ำดื่ม แก้ผิดสำแดง หรือเข้ายากับแก่นมะสัง เบนน้ำ และหนามแท่ง ต้มน้ำดื่ม แก้ปวดเมื่อย แก้คัน
ยาพื้นบ้านอีสาน ใช้ แก่นหรือราก 1 กำมือ ต้มน้ำพอท่วมยา ดื่มวันละ 3-5 ครั้ง แก้โรคไตพิการ
ตำรายาไทย ใช้ แก่น รสฝาดขื่นต้มน้ำดื่ม แก้ท้องร่วง บิดมูกเลือด ขับเหงื่อ ขับพยาธิไส้เดือน แก้ตานขโมย แก้โรคผิวหนัง ประดง ผื่นคัน
ราก รสหวานฝาดร้อน กินแก้ไตอักเสบ แก้ตานขโมย ขับพยาธิไส้เดือน บำรุงน้ำนม แก้โรคปอดบวม
ทั้งต้นหรือราก แก้โรคผิวหนัง ประดง ผื่นคันตามตัว ลำต้น ผสมหัวเอื้องหมายนา ผักแว่นทั้งต้น หอยขมเป็นๆ 3-4 ตัว แช่น้ำให้เด็กอาบ แก้อีสุกอีใส อีดำอีแดง น้ำยางจากต้น ใช้แก้อหิวาตกโรค เปลือก แก้เสียงแห้ง อมกลั้วคอแก้เจ็บคอ
น้ำยางจากต้นและใบสด กินเป็นยาลดไข้สำหรับเด็ก แก้โรคปอดอักเสบ แก้ไอ แก้บิดและท้องเสีย ช่วยย่อย
เปลือก ตำรวมกับน้ำมัน ใช้ทาถูนวด แก้ปวดท้อง แก้คัน นำเปลือกมาแช่หรือชงเป็นยากลั้วคอ
น้ำต้มใบแห้ง กินเป็นยาฝาดสมาน ขับเสมหะ แก้หืดหอบ หลอดลมอักเสบ แก้ไข้ แก้ไอ แก้ท้องร่วง ขับลม และบำรุงร่างกาย
ใบที่ย่างไฟจนแห้งใช้ชงกินหลังคลอดบุตร เมล็ด ตำพอกแก้ปวดข้อ
ผล กินได้มีวิตามินซีสูง แก้อ่อนเพลีย บรรเทาอาการโรคดีซ่าน ม้ามโต แก้คลื่นไส้อาเจียน และเป็นยาระบาย แก้ไขข้อมูลเมื่อ 13 Jul 20 05:31