ค้นหาสินค้า

ต้นสายน้ำผึ้ง

ร้าน วรากรสมุนไพร
ชื่อสินค้า:

ต้นสายน้ำผึ้ง

รหัส:
207892
ราคา:
350.00 บาท /ต้น
ติดต่อ:
คุณปุณณภา งานสำเร็จ
ที่อยู่ร้าน:
อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 13 ปี 6 เดือน
ไอดีไลน์:
โทรศัพท์:
ปุ่มติดต่อ:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ต้นสายน้ำผึ้ง ต้นปลูก ความสูง 50-100 ซม. น้ำหนักถุงเพาะ 0.5-1กก/ถุงส่งสินค้าแบบอีเอมเอส ค่าส่งต้นไม้ 1-4 ต้น/กล่อง/ ค่าส่ง100 บาท
สายน้ำผึ้ง หรือ กิมหงี่ฮวย (จีน) Japanese Honeysuckle เป็นพืชจำพวกเถา ดอกสายน้ำผึ้ง ต้นสายน้ำผึ้ง เป็นไม้เถาเลื้อย ดอกกลิ่นหอม มีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายอย่าง ปกติทั่วไปเราปลูกไว้เพื่อได้กลิ่นหอมจากดอกที่หอมยามเช้า บานได้มากกว่า 1 วัน วันแรกดอกจะบานเป็นสีขาว วันต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ออกดอกได้ตลอด และมีผลทรงกลมสีดำ
ทำชาเพื่อสุขภาพ
เด็ดดอกสายน้ำผึ้งมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับร่างกายของเราได้ ดอกสายน้ำผึ้ง มีรสหวานเย็น เอามาคั้น หรือทำชาดอกสายน้ำผึ้งสดๆ โดยเด็ดดอกสายน้ำผึ้งเช้าๆ เพราะมีกลิ่นหอมมาก กว่าเวลาอื่นๆ ล้างน้ำ ค่อยๆ สลัดน้ำออก นำใส่แก้ว หรือกาชงชา กดน้ำร้อนใส่ แช่ไว้สักพัก เมื่อเห็นสีของน้ำชาเป็นสีเหลืองอ่อนๆ ก็เทใสแก้ว หรือถ้วยชา ดื่มอุ่นๆ เป็นชาหอมมากๆ หากมีดอกบานมากเอามาตากแห้งเก็บไว้ยามที่ไม่ออกดอก ดื่มได้ตลอดปี หรือใส่ถุงสวยๆ ไว้เป็นของฝากของเยี่ยม

ชาดอกสายน้ำผึ้ง มีสรรพคุณช่วยให้เจริญอาหาร เป็นยาอายุวัฒนะ ขับปัสสาวะ แก้ไข แก้ปวดหลัง แก้ความดันเลือดสูง รวมถึงส่วนอื่นๆของต้นสายน้ำผึ้งทั้งต้นมีรสขมหวาน ชงแทนชาหรือต้มดื่ม ช่วยแก้บิด ท้องเสีย แก้ตับอักเสบ แก้ปวดเมื่อยตามข้อ ขับปัสสาวะ แก้ปากนกกระจอก แก้อาการมึนงง ตำพอก แก้แผลฝีหนอง แก้ไข้ แก้ปวดหลัง และช่วยแก้ความดันโลหิตสูง
ชื่อจีนกลาง : จินอิ๋นฮวา
ชื่อเครื่องยา : Flos Lonicerae
ส่วนที่ใช้ทำยา : ดอกตูมหรือดอกเริ่มบาน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lonicera japonica Thunb.
ชื่อสามัญ : Honey Suckle
วงศ์ : Caprifoliaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถา กิ่งสีน้ำตาลเป็นมัน มีขนนุ่ม ใบเดี่ยวเกิดเป็นคู่ตรงกันข้าม มีขนตามเส้นกลางใบทั้งสองด้าน ด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ก้านใบสั้น ดอกมีสีเหลืองอมส้ม กลิ่นหอม ออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกเป็นหลอดยาว 1.5-3 ซม. แยกเป็น 2 กลีบๆ บนมี 4 หยัก กลีบล่างมี 1 กลีบ เกสรเพศผู้ยาวกว่ากลีบดอก ผลกลมสีดำ เส้นผ่าศูนย์กลาง 6-7 ซม. เกลี้ยงไม่มีขน
ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น ดอกตูม เถาสด

สรรพคุณ :
ทั้งต้น
-ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้แผลฝีต่างๆ
- แก้ท้องร่วง ตับอักเสบ โรคลำไส้
- ปวดเมื่อยตามข้อ
ดอกตูม
- ใช้รักษาโรคผิวหนัง
- ดอกคั้นรับประทานเป็นยาเจริญอาหาร
เถาสด - ใช้รักษา บิดไม่มีตัว (ท้องเสีย) ลำไส้อักเสบ
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
ใช้เถาสด 100 กรัม สับเป็นท่อนเล็กๆ ใส่ลงในหม้อเคลือบ เติมน้ำลงไป 200 มิลลิลิตร แช่น้ำไว้ 12 ชั่วโมง แล้วต้มด้วยไฟอ่อนๆ 3 ชั่วโมง แล้วเติมน้ำให้ได้ 100 มิลลิลิตร กรองเอาน้ำรับประทานวันละ 1.6-2.4 มิลลิลิตร ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ให้เพิ่มหรือลดขนาดของยาตามอาการ โดยทั่วไปเริ่มต้นให้รับประทาน 20 มิลลิลิตร ทุก 4 ชั่วโมง เมื่ออาการดีขึ้นให้รับประทานครั้งละ 20 มิลลิลิตร ทุก 6 ชั่วโมง หลังจากอาการท้องร่วงหายไปให้รับประทานต่ออีก 2 วัน
สารเคมี
ใบ มี lonicerin และ luteolin-7-rhamnoglucoside
ดอก มี luteolin-7-glucoside, inositol และ saponin
ผล มี Cryptosanthin

สายน้ำผึ้งจะออกดอกตลอดปี
สรรพคุณ ใช้ส่วน ดอกแก้ไข้ร้อนใน แก้อักเสบ แก้เจ็บคอ มักจะ
ใช้ร่วมกับชะเอมเทศ (กำเช่า) ต้มกินเพื่อแก้ร้อนใน ตามบันทึกประวัติการใช้ของจีน ดอกสายน้ำผึ้ง มีอยู่ในยาตำหรับแผนโบราณต่าง ๆ หลักของการใช้ดอกสายน้ำผึ้ง คือ การขับพิษ และขับร้อน
ส่วนที่ใช้ทำยา คือ ดอกบาน , ดอกตูม และ ก้านดอก
โดยทั่วไปนิยมใช้ทำยาน้ำแก้ไอ หอบหืด และขับปัสสาวะ ขับพิษ ยับยั้งปฏิกิริยาของเชื้อ ลดไข้ให้พลังเย็น รักษาแผลในปาก เจ็บคอ รวมทั้งอาการอักเสบของผิวหนังได้ด้วย ดอกสายน้ำผึ้งชงน้ำร้อนร่วมกับใบหม่อน ใช้แก้ไอ และอาการหอบหืดระยะแรกได้
ใช้ส่วนใบรวมทั้งกิ่งก้านต้มรวมกับดอกเบญจมาศ (เก๊กฮวย) หรือ สมุนไพรอย่างอื่น ๆ เช่น ใบว่านกาบหอย หรือ ใบเตย ทำเป็นเครื่องดื่มแก้ร้อนในเป็นประจำ
นอกจากนั้น ต้มถั่วเขียวใส่กิ่งและใบของสายน้ำผึ้งลงไปเพื่อช่วยแก้ร้อนในอีกด้วย
สรรพคุณตามตำราการแพทย์แผนจีน :
กิมหงึ่งฮวย รสอมหวาน เย็น มีฤทธิ์ระบายความร้อน แก้หวัดจากการกระทบลมร้อน ระบายความร้อน ขับพิษ มีฤทธิ์ขับพิษ แก้แผลฝี แผลเปื่อย บวม (มักใช้ภายนอก) และมีฤทธิ์ผ่อนคลายและกระจายความร้อน ใช้แก้บิด มีพิษร้อน ถ่ายบิด เป็นมูกเลือด
กิมหงึ่งฮวยถ่าน : มีสรรพคุณแก้ถ่ายบิดเป็นมูกเลือด สตรีที่มีอาการตกเลือด อาเจียนเป็นเลือด และเลือดกำเดาใหล
ขนาดที่ใช้และวิธีใช้ : ใช้ 6-15 กรัม ต้มเอาน้ำดื่ม
ข้อห้ามใช้ ข้อควรระวัง และอาการข้างเคียง : ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะเย็นพร่องของม้ามและกระเพาะอาหาร
ตำรับยาจีน ป้องกันรักษา covid -19 ประกอบด้วยสมุนไพรจีน 6 ชนิดได้แก่
1. ฉิ่งผ้วย หรือ “เปลือกผลส้มจีน” มีสรรพคุณช่วย “ลมปราณไหลเวียน” ละลายเสมหะ ขจัดความชื้น ทำให้พลังชี่ของปอดและม้ามไหลเวียนสะดวก มีงานวิจัยในสัตว์ทดลอง พบว่าเปลือกผลส้มจีนนี้ออกฤทธิ์ช่วย “ขยายหลอดลม” ในกระต่าย และมีฤทธิ์แก้อาการหอบในหนูตะเภาและแมว เมื่อทดลองฉีดผิวส้มจีนเข้าใต้ผิวหนังของสัตว์ติดต่อกันนาน 6 วัน พบว่าช่วยบรรเทาอาการแผลในกระเพาะอาหาร
2. กิมหงึ่งฮวย หรือ “ดอกสายน้ำผึ้ง” ตำรายาจีนเชื่อว่ามีฤทธิ์เย็นต่อปอดและกระเพาะอาหาร ใช้ขับพิษร้อนถอนพิษไข้ แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ โดยเฉพาะในผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ รักษาโรคผิวหนังและแก้ลำไส้อักเสบ ท้องเสีย ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ
3. โหล่วกิง “รากหญ้าแขม” ใช้รากแห้งมาต้มกินเพื่อแก้อาการหลอดลมอักเสบ รักษาอาการไอและขับเสมหะ บรรเทาอาการร้อนใน กระหายนํ้า เพิ่มความชุ่มชื้นให้ปอดและกระเพาะอาหาร ระงับคลื่นไส้ อาเจียน
4. ปักคี้ เป็น “พืชล้มลุกตระกูลถั่ว” ตำราแพทย์แผนจีนจัดลำดับยาปักคี้ให้มีสรรพคุณเช่นเดียวกับ “โสม” ช่วยเพิ่มกำลังบำรุงผู้มีร่างกายอ่อนแอ ไม่มีเรี่ยวแรง อ่อนเพลีย แก้อาการอักเสบ และช่วยเสริมระบบและกระตุ้นการทำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกันร่างกาย ช่วยลดการสูญเสียโปรตีนที่ออกมาพร้อมปัสสาวะ เนื่องจาก “ไต” ทำงานผิดปกติ
5. ซังเยี่ย หรือ “ใบหม่อน” ใช้ใบตากแห้งต้มกิน บรรเทาเจ็บคอ แก้ร้อนในกระหายน้ำ ทำให้เนื้อเยื่อชุ่มชื้น ช่วยระงับอาการทางประสาทบางประเภท ที่สำคัญคือมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยรักษาโรคระบบทางเดินหายใจ โรคความดันโลหิตสูง หรือผู้ป่วยที่แขนขาอ่อนแรงหรือหมดความรู้สึก หมอจีนนิยมใช้ เปลือกราก กิ่งอ่อน ใบ ผล ทำเป็นยาบำรุง แก้โรคเกี่ยวกับทรวงอก ไอ หืด วัณโรคปอด
6.
ชวนเกียง หรือ “เหง้าโกฐหัวบัว” ตำราแพทย์แผนจีนใช้ช่วยการไหลเวียนของชี่และรักษาอาการปวดจากเลือดคั่ง ทำให้ลดการตีบตันของเส้นเลือด อาการปวดศรีษะ ส่วนตำรายาไทยนั้น มักนำเหง้าโกฐหัวบัว มาช่วยผู้ป่วยริดสีดวงทวาร แก้โรคโลหิตจาง แก้ปวดประจำเดือน รวมถึงโรคที่เกี่ยวกับระบบไหลเวียนโลหิตผิดปกติ บำรุงเลือด
แก้ไขข้อมูลเมื่อ 23 Feb 22 06:57