ค้นหาสินค้า

ลำไย

ร้าน พีพี การ์เด้น
ชื่อสินค้า:

ลำไย

รหัส:
127122
ราคา:
80.00 บาท /ต้น
ติดต่อ:
คุณ
ที่อยู่ร้าน:
อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี
ร้านนี้ยังไม่มีการแจ้งเลขทะเบียนพานิชย์ เปิดร้านมาแล้ว 13 ปี 2 เดือน
โทรศัพท์:
ปุ่มติดต่อ:
คำเตือน: โปรดตรวจสอบความน่าเชื่อถือของร้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการทุจริต การขอชำระเงินปลายทางเมื่อรับสินค้าถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดี
รายละเอียด
ลำไยเป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศชนิดหนึ่ง ลำไยเป็นที่นิยมบริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพราะมีรสชาติหวาน อร่อย นอกจากนี้ ลำไยยังเป็นที่ต้องการของโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อนำไปทำลำไยกระป๋องและลำไยอบแห้ง ลำไยจึงมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด เพราะต้นลำไยจะให้ผลผลิตดีในช่วงหน้าร้อนเท่านั้น ดังนั้น การปลูกลำไยจึงยังเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรที่สนใจ
ขั้นตอนการปลูกลำไย
การพิจารณาแหล่งปลูก
- เลือกแหล่งปลูกที่ระบายน้ำได้ดี ระดับน้ำใต้ดินควรมีความลึกกว่า 2 เมตร
- ลักษณะดิน ควรเลือกดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง หน้าดินลึกประมาณ 50 เซนติเมตร และควรมี ความเป็นกรดด่าง 5.5-6.5
การเลือกพันธุ์ลำไย
เกษตรกรควรเลือกลำไยที่มีความสมบูรณ์เต็มที่ อายุของต้นลำไยไม่ควรเกิน 5 ปี เกษตรกรควรทำการตัดแต่งกิ่งทันทีหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว โดยตัดแต่งกิ่งที่อยู่ในแนวตั้งออก เหลือโคนกิ่งไว้ให้มีความสูงไม่เกิน 3 เมตร ส่วนกิ่งในแนวราบ ตัดแต่งปลายหักหรือกิ่งที่บอบช้ำจากการเก็บเกี่ยว กิ่งที่อ่อนแอ กิ่งที่ถูกโรคและแมลงทำลายออกไป
การปลูก
เตรียมหลุมปลูกขนาด 80 x 80 x 80 เซนติเมตร วางผังให้ระยะห่างระหว่างต้นมีขนาด 80 x 10 เมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก 3-5 กิโลกรัม คลุกเคล้ากับหน้าดินแล้วใส่ลงหลุม พูนดินให้สูงจากปากหลุมประมาณ 15 เซนติเมตร วางต้นลำไยแล้วกลบโคนให้แน่น ทำหลักป้องกันต้นลำไยโยกคลอน และทำการกำจัดวัชพืชบริเวณโคนต้นไม้ให้สะอาด รวมทั้งเก็บกวาดใบแห้งและเศษวัชพืชออกไปจากบริเวณโคนต้น หลังจากนั้น จึงรดน้ำให้ชุ่มบริเวณรอบต้นลำไย
การให้ปุ๋ย
ลำไยที่มีอายุ 5 ปี ขึ้นไป เกษตรกรควรบำรุงรักษา ดังนี้
- หลังเก็บเกี่ยวผลผลิต ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 และ 46-0-0 อัตราส่วน 1 : 1 ต้นละ 2 กิโลกรัม เพื่อกระตุ้นให้ลำไยแตกใบอ่อน
- เมื่อลำไยแตกใบอ่อนชุดที่ 2 ประมาณต้นเดือนกันยายน ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 และ 46-0-0 อัตราส่วน 1:1 ต้นละ 2 กิโลกรัม
- ประมาณเดือนตุลาคม กระตุ้นให้ลำไยที่มีใบแก่แล้วพักตัว (เพื่อสะสมอาหารต่อไป) และเตรียมความพร้อมที่จะให้ลำไยออกดอกในช่วงฤดูหนาว ควรใส่ปุ๋ยสูตร 0-46-0 อัตราต้นละ 1-1.5 กิโลกรัม
- เดือนพฤศจิกายน ควรใส่ปุ๋ยสูตร 0-52-34 อัตราส่วน 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่ม เพื่อไม่ให้ลำไยแตกใบใหม่
- เมื่อลำไยติดผลขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร ควรใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 และ 46-0-0 อัตราส่วน 1:1 ต้นละ 1-1.5 กิโลกรัม เพื่อบำรุงผลให้เจริญเติบโต
- ก่อนเก็บเกี่ยว 1 เดือน ควรใส่ปุ๋ยสูตร 0-0-60 อัตราส่วนต้นละ 1-2 กิโลกรัม เพื่อเพิ่มคุณภาพของผลผลิต
วิธีการให้น้ำ
การให้น้ำต้นลำไย มี 3 วิธี คือ
- แบบใช้สายยางรด ลงทุนต่ำ แต่ต้องมีแหล่งน้ำเพียงพอ
- แบบข้อเหวี่ยงขนาดเล็ก เป็นการให้น้ำในกรณีที่มีแหล่งน้ำจำกัด ต้นทุนสูงกว่าแบบแรก
- แบบน้ำหยด เหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำจำกัดมาก แต่ต้นทุนจะสูง
การเก็บเกี่ยว
- ใช้กรรไกรตัดช่อผลลำไยจากต้น นำช่อผลบรรจุภาชนะรองรับ เช่น ตะกร้าที่มีกระสอบหรือฟองน้ำรองก้น
- การตัดช่อผลต้องให้มีใบสุดท้ายที่ติดช่อผล (หรือใบแรกที่ติดช่อผล) ไปด้วย เพราะตาที่อยู่ถัดลงไปอีก 1 ตา เป็นตาที่สมบูรณ์แข็งแรง พร้อมจะแตกเป็นกิ่งใหม่ต่อไป
- ทำการขนย้ายผลลำไยไปโรงคัดเกรดอย่างระมัดระวัง เพื่อไม่ให้เกิดการบอบช้ำ
เทคนิคการเร่งผลผลิตลำไยให้ออกผลนอกฤดู
สำหรับเกษตรกรที่ต้องการเร่งผลผลิตของต้นลำไยให้สามารถออกผลได้หลายๆ ครั้งใน 1 ปี สามารถกระทำได้ ดังนี้ (โดยปกติถ้าเป็นการปลูกต้นลำไยแบบทั่วไป สามารถให้ผลผลิตได้ 1-2 ครั้ง / ปี )
1. เตรียมสารละลายโพแทสเซียมครอเรตในอัตรา 30 กรัม ผสมกับน้ำ 80 ลิตร คนให้ทั่วจนสารละลายหมด แล้วจึงบรรจุในภาชนะที่ปิดมิดชิด
2. ขณะนำไปใช้ ควรรดสารละลายที่ผสมแล้วลงดินบริเวณชายพุ่ม เป็นแนววงแหวน กว้างประมาณ 50 เซนติเมตร เนื่องจากบริเวณชายพุ่มมีรากฝอยที่กำลังเติบโต จึงสามารถดูดซึมสารโพแทสเซียมครอเรตเข้าสู่ลำต้นได้อย่างรวดเร็ว
3. หลังจากให้สารละลายโพแทสเซียมครอเรตแล้ว ในช่วงระยะ 10 วันแรก เกษตรกรควรรดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอ เพื่อให้ปริมาณสารโพแทสเซียมคลอเรตลดลง ซึ่งจะลดความเป็นพิษกับลำต้นของลำไยและลดการสะสมสารในดิน
4. หลังการราดสารละลายโพแทสเซียมครอเรต ประมาณ 15 วันแรก ลำไยจะเริ่มออกดอก ควรให้น้ำแก่ลำไยชุ่มสม่ำเสมอ เพื่อให้การพัฒนาของดอกเป็นไปอย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ ควรดูแลในเรื่องของโรคและแมลงของลำไยอย่างสม่ำเสมอ
5. ต้นลำไยที่ถูกบังคับให้ออกดอกโดยการให้สารโพแทสเซียมคลอเรตในปีที่ 1 และในปีที่ 2 ควรเว้น การให้สารโพแทสเซียมคลอเรต เพื่อให้ต้นลำไยมีความอุดมสมบูรณ์เต็มที่ จากนั้นในปีที่ 3 จึงให้สารโพแทสเซียมอีกครั้ง ซึ่งควรทำสลับปีเว้นปี เพื่อไม่ให้ต้นลำไยโทรม
6. ควรใช้สารโพแทสเซียมครอเรตตามกำหนด หากใช้ในปริมาณที่มากเกินไป จะส่งผลทำให้ต้นลำไยโทรมเร็วขึ้น แก้ไขข้อมูลเมื่อ 27 Sep 23 08:17
คำสำคัญ: ลำไย ต้นลำไย