ค้นหาสินค้า

ปรง 

ขายต้นปรง ราคาถูก ประดับบ้าน ต้นไม้ทำรั้ว และบังแดดให้ร่มเงา ปรง ต้นเล็กต้นใหญ่ ปลูกในกระถาง วิธีดูแล

ต้นปรง 

ปรงเงินCycas siamensis Miq or silver cycad
ปรงเงินCycas siamensis Miq or silver cycad เมืองปราจีนบุรี ปราจีนบุรี

ราคา 800.00 บาท /ต้น

ต้น ปรงเม็กซิกัน ต้นปรงเม็กซิกัน ปรงแม็กซิกัน Maxi
ต้น ปรงเม็กซิกัน ต้นปรงเม็กซิกัน ปรงแม็กซิกัน Maxi เมืองมหาสารคาม มหาสารคาม

ราคา 149.00 บาท /ต้น

มะพร้าวสีดา
มะพร้าวสีดา สามร้อยยอด ประจวบคีรีขันธ์

ราคา 500.00 บาท

จังหวัดที่ขายต้นปรง 

ประจวบคีรีขันธ์ (1 ร้าน)

ปราจีนบุรี (1 ร้าน)

มหาสารคาม (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด ต้นปรง  ทั้งหมดในเว็บ

ต้นกล้าปรง 

ต้น ปรงญี่ปุ่น Sago palm พร้อมปลูกในถุงดำ 59 บาท
ต้น ปรงญี่ปุ่น Sago palm พร้อมปลูกในถุงดำ 59 บาท เวียงชัย เชียงราย

ราคา 59.00 บาท /ต้น

#จำหน่ายปรง ราคาต้นละ 190 บาท สนใจสอบถามได้นะคะ
#จำหน่ายปรง ราคาต้นละ 190 บาท สนใจสอบถามได้นะคะ กันทรวิชัย มหาสารคาม

ราคา 190.00 บาท

จังหวัดที่ขายต้นกล้าปรง 

เชียงราย (1 ร้าน)

มหาสารคาม (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด ต้นกล้าปรง  ทั้งหมดในเว็บ

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของปรง (3693)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Cycas cirinalis L.
ชื่อวงศ์:  Cycadaceae
ชื่อสามัญ:  Cycas tree หรือ Cycas palm
ชื่อพื้นเมือง:  กา กาเดาะ กูดหลวา แข่ดู่ ทอคลิ บอกะ มะพร้าวเต่าดอย  มะพร้าวเต่าหลวง มุ่งม่าง
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  เป็นต้นไม้เปลือกสีน้ำตาล มีรอยแผลใบที่ลำต้น มีเหง้ากึ่งใต้ดิน
    ใบ  ประกอบแบบขนนก เรียงเวียนสลับหนาแน่นช่วงยอดหรือปลายกิ่ง ใบย่อยด้านล่างมักลดรูปเป็นหนามแหลม ใบย่อยรูปแถบ หนา จำนวนมาก เรียงสลับหรือเกือบตรงข้าม เส้นกลางใบนูนเด่นชัด ไม่มีเส้นแขนงใบย่อย มีเกล็ดหุ้มยอด (cataphyll)
    ดอก  แยกเพศต่างต้น ใบสร้างอับไมโครสปอร์ (microsporophyll) จำนวนมาก รูปลิ่ม ปลายมักแหลมคล้ายหนาม เรียงเวียนเป็นรูปโคน ตั้งขึ้นที่ยอดลำต้น เรียกว่า male cone หรือ pollen cone ใบสร้างอับเมกาสปอร์ (megasporophyll) ของเพศเมีย เรียงเป็นกลุ่มคล้ายใบกระจุกแบบกุหลาบซ้อน (rosette) ไม่เป็นรูปโคน แต่ละสปอร์โรฟิลมีก้าน ปลายก้านเป็นแฉกแบบขนนกรองรับออวุล ออวุลมี 1-5 เม็ด
    เมล็ด  ทรงกลมหรือรี ขนาดค่อนข้างใหญ่ มีเนื้อสดหนาด้านนอก ด้านในแข็งเป็นเนื้อไม้ ลักษณะคล้ายผลแบบเมล็ดเดียวแข็ง (drupe) ใบเลี้ยง 2 ใบ ติดกันที่โคน
การปลูก:  เมล็ดของปรงจะงอกได้ช้ามาก ถึงแม้ว่าจะไม่มีการฟักตัวก็ตาม การทำให้เมล็ดปรงงอกได้เร็ว จึงต้องนำเมล็ดปรงมาปอก เอาเนื้อหุ้มเมล็ด ที่อยู่ชั้นนอกออกให้หมด แล้วจะพบเปลือกแข็งอีกชั้นหนึ่งที่เรียกว่า กะลาห่อหุ้มเมล็ดอยู่ จึงควรนำไปฝนจนกะลาทะลุหรือกะเทาะให้แตก เพื่อให้น้ำหรือความชื้นซึมเข้าไปในเมล็ด แล้วเมล็ดจะงอกได้เร็วขึ้น ถ้ามีการแกะกะลาออกให้หมดจะเหลือแต่ endosperm ก่อนนำไปเพาะ ควรนำไปแช่น้ำยาป้องกันเชื้อราเสียก่อน การเพาะโดยวิธีนี้จะได้ต้นอ่อน ที่มีเปอร์เซ็นต์การงอกสูงและต้นอ่อนมีขนาดสม่ำเสมอกัน
การดูแลรักษา:  ต้องการดินปลูกที่ระบายน้ำดี ต้องการน้ำน้อย
การขยายพันธุ์:  การแยกหน่อและการเพาะเมล็ด
การใช้ประโยชน์:
    -    ไม้ประดับ
    -    ใบใช้ ในงานพิธีต่างๆ
    -    ลำต้นของปรงบางชนิด ทำแป้งสาคู
    -    เมล็ดของปรงบางชนิด การสกัดยาจาก แต่การนำมาเป็นอาหารและยา ควรจะระมัดระวัง ให้มากเนื่องจากปรงบางชนิดยังมีสารพิษอยู่ด้วย
แหล่งที่พบ:  ขึ้นอยู่บนภูเขา ตามหน้าผาหรือเกาะอยู่กับโขดหิน


ปรงมีกี่ชนิด (3694)

ปรง (cycad) เป็น พืชที่อยู่ในอันดับ (order) Cycadales ในอันดับนี้มีอยู่ ด้วยกัน 3 วงศ์ (Family) ได้แก่
1. วงศ์Cycadaceae ประกอบด้วยปรงสกุล (Genus) Cycas
2. วงศ์ Zamiaceae มีอยู่หลายสกุล เช่น Bowenia, Lepidozamia, Encephalarios, Zamia (ปรงเม็กซิกัน)
3. วงศ์ Stangeriaceae มีสกุลเดียวคือ Strangeria

ปรงพื้นเมืองของไทยที่นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ ได้แก่
Cycas rumphii คือ ปรงทะเล
Cycas circinalis คือ ปรง (ในภาษาของภาคกลาง) มะพร้าวสีดา (ประจวบคีรีขันธ์)
Cycas siamensis คือ ปรงป่า ปรงเหลี่ยม (ตราด) ตาลปัตรฤาษี (กาญจนบุรี)
ส่วนปรงต่างประเทศที่นิยมปลูกในเมืองไทย ได้แก่ ปรงญี่ปุ่น (Cycas revoluta)


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของปรงทะเล (3695)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Cycas rumphii Miq.
ชื่อวงศ์:  CYCADACEAE
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  เป็นไม้พุ่ม  ต้นเป็นกอ สูงได้ถึง 2 เมตร  ต้นคล้ายพวกปาล์ม  เป็นไม้ใหญ่
    ใบ  ยาวเป็นทางเรียงถี่ๆ คล้ายทางมะพร้าว ยาว 1-2  เมตร  โคนก้านมีหนามแข็งๆ ทั้ง 2 ข้าง  ผิวใบมัน สีเขียวเข้ม   ใบอ่อนสีแดง
    ดอก  กว้าง 10  ซม. ยาว 30 ซม. ปลายดอกงอ
    เมล็ด  เกิด 2 ข้างของแผ่นใบที่ลดรูปลงมาเป็นแถบสีน้ำตาลแคบๆ  ติดตามโคนก้านเป็นคู่ๆ   เมล็ดเป็นรูปทรงกลมขนาดผลส้มขนาดเล็ก  สีน้ำตาลอมส้มหรือสีเหลืองแก่
การดูแลรักษา:  เจริญเติบโตช้า  ชอบแดด  ต้องการน้ำปานกลาง  ชอบขึ้นที่ดินที่เป็นทรายหรือตามซอกหิน
การขยายพันธุ์:  เพาะเมล็ด
การใช้ประโยชน์:  ไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด:  ริมทะเลแปซิฟิก
แหล่งที่พบ:  ภาคใต้ ภาคตะวันออก


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของปรงญี่ปุ่น (3696)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Cycas revoluta Thunb.
ชื่อวงศ์:  CYCADACEAE
ชื่อสามัญ:  Sago Plam
ชื่อพื้นเมือง:  ปรงจีน  สาคูปาล์ม
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  คล้ายปาล์ม สูง 2-4 ม. ลำต้นตรง แตกกิ่งก้านสาขา ได้ในสภาพท้องถิ่นกำเนิด  มีรากสะสมอาหารอ้วน
    ใบ  ใบโค้งเป็นทางยาวแบบขนนก และมีใบย่อยออกจากสองข้างเป็นจำนวนมาก  และโค้งลง  ใบย่อยแคบแข็ง  ปลายแหลม  สีเขียวเข้มเป็นมัน ขอบใบม้วนเข้าหากลางใบ
    ดอก  แยกเพศคนละต้น จึงมีต้นตัวผู้  ตัวเมีย  ไม่มีการติดผล
การขยายพันธุ์:  แยกหน่อ
การใช้ประโยชน์:
    -    ไม้ประดับ
    -    สมุนไพร
    -    ให้แป้งสาคูมีรากสะสมอาหารอ้วน  และมีแป้งใช้รับประทานได้
ถิ่นกำเนิด:  ญี่ปุ่น
สรรพคุณทางยา:
    -    หัว แก้ฟกช้ำ แก้แผลเรื้อรัง
    -    ต้น สระผมรักษารากผม เป็นยาขับเสมหะ


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของปรงเขา (3697)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Cycas  circinalis L.
ชื่อวงศ์:  Cycadaeae
ชื่อสามัญ:  Queen Sago, False Sago
ชื่อพื้นเมือง:  ปรง (กลาง)   มะพร้าวสีดา (ประจวบคีรีขันธ์)
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ไม้ยืนต้น สูง 8 เมตร ลำต้นทรงกระบอกเปลือกสีน้ำตาลมีเหง้ากึ่งใต้ดิน ใบอ่อนปลายม้วนเข้าข้างใน
    ใบ  เป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับกันรูปยาวแคบ ปลายใบแหลมหรือทู่ ปลายสุดเป็นหนามแหลม ขอบใบม้วนกลับลงด้านล่าง เส้นกลางใบเห็นเด่นชัด ทั้ง 2 ด้าน มีหนามโคนใบ
    ดอก  ดอกเพศผู้และดอกเพศเมีย อยู่ต่างต้นกันดอกเพศผู้ออกเป็นช่อแน่นที่ยอด 1-2 ช่อตั้งตรงรูปขอบขนานแกมรูปไข่มีก้านสั้นๆ กาบทำหน้าที่สร้างเรณูมีจำนวนมากเรียงรอบแกนกลางรูปยาว โคนตรงตั้งฉาก
การขยายพันธุ์:  เพาะเมล็ด
การใช้ประโยชน์:
    -    ไม้ประดับ
    -    สมุนไพร
สรรพคุณทางยา:
    -    ใบ  น้ำคั้นใบอ่อนกินเป็นยาขับลม แก้คลื่นไส้อาเจียน และอาเจียนเป็นเลือด   
    -    ดอก   กาบของดอกเพศผู้ใช้ทำเครื่องยาสำหรับบำรุงร่างกายเรณูเป็นยาเสพติด   
    -    ผลเมล็ดสด เป็นพิษ ใช้เบื่อปลา แต่แป้งที่มีอยู่ทำให้สุกใช้เป็นอาหารได้


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของปรงเม็กซิกัน (3698)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Zamia furfuracea L.f.
ชื่อวงศ์:  ZAMIACEAE
ชื่อสามัญ:  Jamican Sago Tree, Cardboard palm.
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  เป็นปรงที่มีลำต้นเป็นพุ่มเตี้ย เหมือนปาล์มตรงที่ใบแตกจากส่วนยอดของลำต้น มีสีน้ำตาล เป็นรูปทรงแตกกอ เมื่อโตเต็มที่มีความสูง 1-3 ม. ขนาดทรงพุ่ม 1.5-2.5 ม.
    ใบ  เป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ใบย่อยหนาแข็ง สากมือ ไม่มีเส้นกลางใบ เส้นใบย่อยจะขนานกัน โคนก้านใบมีหนาม ใบอ่อน มีขนสีน้ำตาลปกคลุม
    ดอก  Cone เพศเมียจะมีสปอร์โรฟิลล์เวียนสลับ
การปลูก:  ไม้กระถาง
การดูแลรักษา:  ชอบแห้งแล้ง แสงแดดจัด
การขยายพันธุ์:  การเพาะเมล็ด มักแตกหน่อใกล้ๆ โคนต้น
การใช้ประโยชน์:  ไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด:  เม็กซิโกและโคลัมเบีย


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของปรงเขาชะเมา (3705)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Cycas chamaoensis K.D. Hill
ชื่อสามัญ:  Cycad
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ลำต้นสูงได้กว่า 10 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 12-25 เซนติเมตรหรือมากกว่า เปลือกเกือบเกลี้ยงสีเทาอ่อน
    ใบ  ใบประกอบแบบขนนกแผ่ออกจำนวนมากสีเขียวหรือเขียวอมเทา ก้านใบยาว 30-60เซนติเมตร ขอบมีหนามสั้นๆ แผ่นใบยาว 1.5-2.5 เมตร มีใบย่อยด้านละ 85-155 ใบเรียงชิดกันเป็นระเบียบ
    ดอก  ดอกมีโคนเพศผู้รูปร่างและโคนเพศเมียกลมแป้น
    เมล็ด  เมล็ดรูปไข่แบนขนาด 3x4 เซนติเมตร เปลือกเมล็ดสีเหลือง คล้ายกับ C.pactinata แต่โคนเพศผู้แคบและยาวกว่า มีหนามที่ใบสร้างอับไมโครสปอร์น้อยกว่า
การขยายพันธุ์:  เพาะเมล็้ด
การใช้ประโยชน์:  ไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด:  ประเทศไทย (เขาชะเมา อำเภอแกลง จังหวัดระยอง)
แหล่งที่พบ:  ที่เปิดโล่งตามเนินเขาหินทรายที่ความสูง 400-600 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล