ค้นหาสินค้า

หนวดปลาหมึก

ขายหนวดปลาหมึก พันธุ์หนวดปลาหมึก สอนการเพาะปลูกและสรรพคุณที่เป็นประโยชน์

ผู้ให้การสนันสนุน

หนวดปลาหมึกเขียว

ต้นหนวดปลาหมึก

หนวดปลาหมึกเขียว
หนวดปลาหมึกเขียว ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

ราคา 8.00 บาท /ต้น

ปลาหมึกเขียว
ปลาหมึกเขียว บ้านฉาง ระยอง

ราคา 8.00 บาท /ต้น

ต้นหนวดปลาหมึกเขียว  6 นิ้ว
ต้นหนวดปลาหมึกเขียว 6 นิ้ว หนองหญ้าปล้อง เพชรบุรี

ราคา 12.00 บาท /กระถาง

ต้นหนวดปลาหมึกยักษ์
ต้นหนวดปลาหมึกยักษ์ คลองสามวา กรุงเทพมหานคร

ราคา 15,000.00 บาท /1ต้น

ต้นหนวดปลาหมึก
ต้นหนวดปลาหมึก องครักษ์ นครนายก

ราคา 25.00 บาท /ต้น

ต้นหนวดปลาหมึก
ต้นหนวดปลาหมึก ปทุมธานี

ราคา 35.00 บาท /ต้น

หนวดปลาหมึกด่าง
หนวดปลาหมึกด่าง เมืองปราจีนบุรี ปราจีนบุรี

ราคา 100.00 บาท /ต้น

 หนวดปลาหมึกด่าง
หนวดปลาหมึกด่าง เมืองปราจีนบุรี ปราจีนบุรี

ราคา 100.00 บาท /ต้น

#หนวดปลาหมึก
#หนวดปลาหมึก กันทรวิชัย มหาสารคาม

ราคา 150.00 บาท /ต้น

ต้นหนวดหมึก
ต้นหนวดหมึก หนองจอก กรุงเทพมหานคร

ราคา 8.00 บาท /ต้น สั่งเยอะราคาพิเศษ

หนวดปลาหมึก(ถุง7)
หนวดปลาหมึก(ถุง7) องครักษ์ นครนายก

ราคา 35.00 บาท /ต้น

หนวดปลาหมึกด่าง
หนวดปลาหมึกด่าง เมืองปราจีนบุรี ปราจีนบุรี

ราคา 100.00 บาท /ต้น

จังหวัดที่ขายต้นหนวดปลาหมึก

กรุงเทพมหานคร (2 ร้าน)

นครนายก (3 ร้าน)

ปทุมธานี (1 ร้าน)

ปราจีนบุรี (3 ร้าน)

เพชรบุรี (1 ร้าน)

มหาสารคาม (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด ต้นหนวดปลาหมึก ทั้งหมดในเว็บ

ต้นกล้าหนวดปลาหมึก

หนวดปลาหมึกเขียว
หนวดปลาหมึกเขียว ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

ราคา 8.00 บาท /ต้น

ปลาหมึกเขียว
ปลาหมึกเขียว บ้านฉาง ระยอง

ราคา 8.00 บาท /ต้น

หัวใจเศรษฐี หัวใจทศกัณฐ์ กระถาง 6 นิ้ว
หัวใจเศรษฐี หัวใจทศกัณฐ์ กระถาง 6 นิ้ว สวนหลวง กรุงเทพมหานคร

ราคา 50.00 บาท /กระถาง

ต้นหนวดปลาหมึกเขียว
ต้นหนวดปลาหมึกเขียว องครักษ์ นครนายก

ราคา 30.00 บาท /ต้น

จังหวัดที่ขายต้นกล้าหนวดปลาหมึก

กรุงเทพมหานคร (1 ร้าน)

นครนายก (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด ต้นกล้าหนวดปลาหมึก ทั้งหมดในเว็บ

สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นหนวดปลาหมึก

- เปลือกต้น เป็นยาระบาย

- ใบ ใช้ในการขับเหงื่อ

- ดอก แก้ปวดศีรษะ แก้หวัด ปวดเกร็งในทางเดินอาหาร ลดไข้ เป็นยาขับระดู และแก้โรคตับอักเสบ

- ผล มีกลิ่นหอมบำรุงกำลัง ทำให้ชุ่มชื่นหัวใจ

- ราก ขับเสมหะ

หนวดปลาหมึก

ความเชื่อของต้นหนวดปลาหมึกในทางฮวงจุ้ย เป็นไม้มงคล

เชื่อกันว่าด้วยใบของเขาที่มีการเรียงตัวกันราวกับฝ่ามือ ทำให้มันเป็นต้นไม้ที่จะมาคอยปัดเป่าและไล่สิ่งชั่วร้ายให้ออกไปได้ และส่งเสริมการเจริญเติบโต ความมีชีวิตชีวา สุขภาพที่ดีและความเป็นอยู่ที่ดี ขจัดอุปสรรคในชีวิต สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว หากได้รับการดูแลอย่างดีจะดึงดูดความมั่งคั่งและความเจริญรุ่งเรือง ไม่ควรวางต้นหนวดปลาหมึกในมุมมืด ควรปลูกในทางทิศตะวันออก

หนวดปลาหมึก

การปลูกต้นหนวดปลาหมึกด่าง โดยการย้ายกระถาง

- เตรียมดินปลูก กาบมะพร้าวสับและอินทรียวัตถุ อัตราส่วนละ 1 ส่วน เท่าๆ กัน ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน

- ใช้นิ้วมือดันดินใต้รูก้นกระถาง แล้วค่อยๆ ดึงต้นหนวดปลาหมึกแคระด่างออกจากกระถางเดิม

- นำดินรองพื้นก้นกระถางใหม่ วางต้นไม้ลงในกระถางแล้วเติมดินจนเต็มกระถาง

- รดน้ำเพียงวันละ 1 ครั้ง ไม่ควรจัดวางให้โดนแสงแดดโดยตรง ควรจัดวางในบริเวณพื้นที่ที่มีแสงแดดร่มรำไรหรือบริเวณหน้าต่างที่มีการพรางของแสงแดด

- ควรใช้ไม้ค้ำมาดามต้น เพื่อป้องกันการเอนกิ่งก้านล้ม เนื่องจากเป็นต้นไม้ที่มีกิ่งก้านที่ไม่แข็งแรง

ต้นหนวดปลาหมึกด่าง
ต้นหนวดปลาหมึกด่าง

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นหนวดปลาหมึกแคระ

ชื่อวิทยาศาสตร์ต้นหนวดปลาหมึกแคระ : Schefflera arboricola (Hayata) Merr.

ชื่อภาษาอังกฤษต้นหนวดปลาหมึกแคระ : Miniature Umbrella Plant, Hawaiian Elf

ลักษณะลำต้นต้นหนวดปลาหมึกแคระ : เป็นไม้พุ่ม ทรงพุ่มกลม

ลักษณะใบต้นหนวดปลาหมึกแคระ : เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ปลายมนหรือเว้าบุ๋ม โคนสอบ ขอบเรียบ แผ่นใบสีเขียวเข้ม เกลี้ยง เป็นมัน ก้านใบย่อยสีเขียวอ่อน

ลักษณะดอกต้นหนวดปลาหมึกแคระ : ออกเป็นช่อตามปลายกิ่งหรือยอด ช่อดอกตั้ง ดอกสีชมพู มีขนาดเล็ก

ต้นหนวดปลาหมึกแคระ
ต้นหนวดปลาหมึกแคระ

การขยายพันธุ์ของต้นหนวดปลาหมึกแคระ

โดยการปักชำกิ่ง

การดูแลต้นหนวดปลาหมึกแคระ

ปลูกได้ในดินทุกประเภทที่ระบายน้ำดี ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดรำไรถึงปานกลาง

ต้นกล้าหนวดปลาหมึกแคระ
ต้นกล้าหนวดปลาหมึกแคระ

ประโยชน์ของต้นหนวดปลาหมึกแคระ

นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นหนวดปลาหมึกด่าง

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นหนวดปลาหมึกด่าง

ชื่อวิทยาศาสตร์ต้นหนวดปลาหมึกด่าง : Schefflera arboricola (Variegated)

ชื่อภาษาอังกฤษต้นหนวดปลาหมึกด่าง : Miniature Umbrella Plant

ชื่ออื่นๆ ต้นหนวดปลาหมึกด่าง : หนวดปลาหมึกใบกลม

ลักษณะลำต้นต้นหนวดปลาหมึกด่าง : เป็นไม้พุ่ม

ลักษณะใบต้นหนวดปลาหมึกด่าง : เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ใบรูปไข่ แผ่นใบหนาเหมือนแผ่นหนัง สีเขียวเป็นมันมีด่างสีขาวและด่างสีเหลือง ก้านใบยาว

ลักษณะดอกต้นหนวดปลาหมึกด่าง : ออกเป็นช่อที่ซอกใบใกล้ปลายยอด

ต้นหนวดปลาหมึกยักษ์ด่าง
ต้นหนวดปลาหมึกยักษ์ด่าง

การขยายพันธุ์ของต้นหนวดปลาหมึกด่าง

โดยการปักชำกิ่ง ตอนกิ่ง

ต้นกล้าหนวดปลาหมึกด่างเหลือง
ต้นกล้าหนวดปลาหมึกด่างเหลือง
ต้นกล้าหนวดปลาหมึกด่างขาว
ต้นกล้าหนวดปลาหมึกด่างขาว

การดูแลต้นหนวดปลาหมึกด่าง

ปลูกได้ในดินทั่วไป ที่ระบายน้ำดี ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดรำไร-ปานกลาง เจริญเติบโตปานกลาง การดูแลใบของต้นหนวดปลาหมึกด่าง สามารถทำได้โดยการใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำหมาดๆ ลูบผิวใบเพื่อเช็ดฝุ่นออก หลังจากนั้นใช้ผ้าสะอาดชุบด้วยน้ำมันมะกอกหรือน้ำมันมะพร้าว ลูบเช็ดใบอีกครั้ง เพื่อให้ผิวใบด่างมัน

ต้นหนวดปลาหมึกด่างขาว
ต้นหนวดปลาหมึกด่างขาว

ข้อเสียของต้นหนวดปลาหมึกด่าง

มีกิ่งก้านที่ไม่แข็งแรง ทำให้มีการเอนกิ่งก้านออกจากกระถาง ควรใช้ไม้ค้ำมาดามต้น เพื่อป้องกันการเอนกิ่งก้านล้ม

ประโยชน์ของต้นหนวดปลาหมึกด่าง

นิยมปลูกริมถนนหรือริมทางเดิน และใช้เป็นไม้ประดับในอาคาร

ต้นหนวดปลาหมึกด่าง
ต้นหนวดปลาหมึกด่าง

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นหนวดปลาหมึกเขียว

ชื่อวิทยาศาสตร์ต้นหนวดปลาหมึกเขียว : Schefflera actinophylla (Eudl.) Harms

ชื่อภาษาอังกฤษต้นหนวดปลาหมึกเขียว : Umbrella Tree, Octopus tree

ลักษณะลำต้นต้นหนวดปลาหมึกเขียว : เป็นไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มทรงกระบอก หรือรูปร่ม ลำต้นตั้งตรง เปลือกต้นสีน้ำตาลอ่อนหรือสีเทา ค่อนข้างเรียบ มีรากอากาศห้อยตามลำต้นและกิ่ง

ลักษณะใบต้นหนวดปลาหมึกเขียว : เป็นใบประกอบรูปนิ้วมือ รูปรี หรือรูปรีแกมรูป ขอบขนาน ปลายใบติ่งแหลมหรือมน โคนใบแหลมหรือมน ขอบใบเป็นคลื่น แผ่นใบค่อนข้างหนาและเหนียว สีเขียวเข้มเรียบเป็นมัน

ลักษณะดอกต้นหนวดปลาหมึกเขียว : ดอกสีชมพู ออกเป็นช่อแบบช่อย่อยซี่ร่มที่ปลายกิ่ง ใบเป็นแฉกสวยงาม

ลักษณะผลต้นหนวดปลาหมึกเขียว : ผลแห้งแตก สีแดง ออกอยู่รวมกันเป็นกระจุก

ลักษณะเมล็ดต้นหนวดปลาหมึกเขียว : ทรงกลม สีนํ้าตาล อมดำ ขนาดเล็ก

หนวดปลาหมึก

การขยายพันธุ์ของต้นหนวดปลาหมึก

โดยการเพาะเมล็ด ตอนลำต้น ปักชำกิ่ง

การดูแลต้นหนวดปลาหมึก

ปลูกได้ในดินร่วน ชอบแดดรำไร-ปานกลาง ต้องการน้ำปานกลาง เจริญเติบโตเร็วมาก

หนวดปลาหมึก

ประโยชน์ของต้นหนวดปลาหมึก

เป็นพืชที่สามารถดูดอากาศหรือฟอกอากาศได้ในระดับดี เนิยมนำไปปลูกเป็นแนวสวนเรียงติดกัน ปลูกลงกระถางประดับในอาคาร หรือปลูกในสวน ริมน้ำตก ลำธาร สระว่ายน้ำ หรือริมถนน ทางเดิน และสามารถนำมาทำเป็นไม้บอนไซได้อีกด้วย


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของหนวดปลาหมึก (3768)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Schefflera actinophylla
ชื่อวงศ์:  ARALIACEAE
ชื่อสามัญ:  Umbrella tree, Octopus   tree
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรงแตกกิ่งก้านจำนวนมาก ทรงพุ่มกลม
    ใบ  ใบประกอบรูปฝ่ามือ เรียงสลับ  มีใบย่อยแตกออกจากก้านใบที่จุดเดียวกัน 7-11 ใบ   ใบย่อยรูปไข่กลับ กว้าง 4-6 เซนติเมตร ยาว 4.5-11 เซนติเมตร ปลายใบมน โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มผิวเกลี้ยงเป็นมัน ก้านใบย่อยสีเขียวอ่อน
    ดอก  สีชมพู ออกเป็นช่อแบบช่อซี่ร่มเชิงประกอบที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยมีขนาดเล็ก
    ฝัก/ผล  ผลสด มีเมล็ดเดียว แข็ง สีดำ
ฤดูกาลออกดอก:  มีนาคม - พฤษภาคม
การดูแลรักษา:  ไม่ชอบแสงแดด  เจริญงอกงามได้ดีในดินร่วนซุย ต้องการน้ำมากและความชื้นสูง
การขยายพันธุ์:  การตัดชำ, การเพาะเมล็ด
การใช้ประโยชน์:  ไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด:  รัฐควีนส์แลนด์ ปาปัวนิวกินี และอินโดนีเซีย


ลักษณะพฤกษศาสตร์ของหนวดปลาดุกแคระ (3767)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Ophiopogon japonicus
ชื่อวงศ์:  Liliaceae
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ไม้คลุมดิน ลำต้นสั้น แตกใบขึ้นเป็นพุ่ม
    ใบ  ใบเดี่ยว  เรียงเวียนสลับแน่น  ใบรูปแถบ  เป็นเส้นเล็กๆ   กว้าง 0.3-0.5 เซนติเมตร  ยาว 4-7 เซนติเมตร   ปลายใบแหลม  โคนใบแผ่เป็นกาบหุ้มลำต้น ขอบใบเรียบ ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน  เมื่อใบ ยาวเต็มที่แล้วจะห้อยโค้งลงเล็กน้อย
    ดอก  สีม่วงอ่อน ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะตามซอกใบจากกอ ดอกขนาดเล็ก
    ฝัก/ผล  ผลสด มีเนื้อ มีเมล็ดจำนวนมาก
ฤดูกาลออกดอก:  ฤดูร้อน
การดูแลรักษา:  ขึ้นได้ในดินทั่วไป ชอบแสงรำไร
การขยายพันธุ์:  การปักชำ
การใช้ประโยชน์:  ไม้ประดับ เหมาะกับการปลูกแทรกตามก้อนหินหรือพันธุ์ไม้ชนิดอื่น ไว้ด้านหน้าก็เหมาะ เพราะต้นค่อนข้างเตี้ยกว่าต้นไม้อื่นๆ