ลักษณะพฤกษศาสตร์ของไทรย้อยใบทู่ ชื่อวิทยาศาสตร์: Ficus microcarpa L. f.ชื่อวงศ์: MORACEAEชื่อสามัญ: Chinese Banyan, Curtain Fig, Glossy-leaf Fig ,Malay Banyan, Indian Laurelชื่อพื้นเมือง: ไทรเขา (นครศรีธรรมราช) ไทรย้อย ( สุราษฎร์ธานี) ไทรหิน (ชุมพร) ไฮรี (เพชรบูรณ์)ลักษณะทั่วไป: ต้น ไม้ยืนต้นสูง 15-20 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดทรงกลมแผ่กว้าง เปลือกต้นสีน้ำตาล กิ่งก้านห้อยย้อยลง มีรากอากาศห้อยย้อย มีน้ำยางขาวทุกส่วนของต้น รากอากาศมีน้ำยางสีขาว ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่กลับ กว้าง 2-5 เซนติเมตร ยาว 5-11 เซนติเมตร โคนใบสอบ ปลายใบทู่ แผ่นใบค่อนข้างหนาเป็นมัน สีเขียวเข้ม เส้นกลางใบเห็นชัด แต่เส้นแขนงใบไม่ค่อยชัดนัก ขอบใบเรียบ ดอก ดอกช่อ ช่อย่อยเป็นแบบดอกมะเดื่อ โดยฐานรองดอกพลิกหุ้มดอกเพศผู้และเพศเมียไว้ภายใน ช่อดอกย่อยรูปค่อนข้างกลมหรือรูปไข่ ดอก ขนาดเล็ก ออกเป็นคู่จากข้างกิ่ง ไม่มีกลีบดอกเมื่อติดผล ช่อผลแบบมะเดื่อ สีเหลือง ส้ม หรือแดงเข้ม ฝัก/ผล ทรงกลม ไม่มีก้านผล ผลออกเป็นคู่ติดกันอยู่ตรงซอกใบ ผลมีาเขียวอ่อน แก่เป็นสีเหลืองการขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด ตอน หรือปักชำกิ่งการใช้ประโยชน์: - ไม้ประดับ - สมุนไพรถิ่นกำเนิด: อินเดียและมาเลเซียสรรพคุณทางยา: - ราก แก้ปวด แก้ฝีพุพอง แก้นิ่ว - รากอากาศ แก้ขัดเบา ไตพิการ - เปลือกต้น สมานแผล ท้องเดิน แก้บวม ทาแผลฟกช้ำ ดอก แก้ท้องเสีย แก้บวม - ผล แก้ท้องเสีย แก้ฝีพุพอง - ยาง ฆ่าพยาธิ ใส่บาดแผล แก้มะเร็ง