ลักษณะพฤกษศาสตร์ของเตยหอม ชื่อวิทยาศาสตร์: Pandanus amaryllifolius Roxb.ชื่อวงศ์: PANDANACEAEชื่อสามัญ: Pandanusลักษณะทั่วไป: ต้น ไม้พุ่มขนาดเล็ก เจริญเติบโตลักษณะเป็นกอ มีลำต้นเป็นเหง้าอยู่ใต้ผิวดิน ลำต้นติดดิน ออกรากตามข้อของลำต้นได้เมื่อลำต้นยาวมากขึ้นใช้เป็นรากค้ำยัน ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับเวียนเป็นเกลียวขึ้นไปจนถึงยอด ลักษณะใบยาวเรียวคล้ายใบหอก ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเป็นมัน เส้นกลางใบเว้าลึกเป็นแอ่ง ถ้าดูด้านท้องใบจะเห็นเป็นรูปคล้ายกระดูกงูเรือ ดอก เป็นดอกช่อแบบ สแปดิก(spadix) ดอกย่อยแยกเพศและแยกต้น ไม่มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก ฝัก/ผล ผลขนาดเล็ก ส่วนใหญ่ไม่เกิดดอกและผล เป็นเตยเพศผู้การปลูก: ตามริมคูน้ำบริเวณที่น้ำขังแฉะ หรือที่ดินชื้นการดูแลรักษา: ชอบแสงแดดรำไร แต่ก็ทนต่อแสงแดดจัดการขยายพันธุ์: ปักชำลำต้น หรือกิ่งแขนงส่วนที่มีกลิ่นหอม: ใบการใช้ประโยชน์: - ไม้ประดับ - สมุนไพร - ใช้เป็นภาชนะห่อและใส่เพื่อปรุงกลิ่น อาหาร คาวหวาน และยังเป็นพันธุ์ที่ชาวสวนปลูกตัดใบออกจำหน่ายเป็นการค้าถิ่นกำเนิด: เอเชียตะวันออกเฉียงใต้สรรพคุณทางยา: - ใช้ใบเตยสดเป็นยาบำรุงหัวใจ ให้ชุ่มชื่นช่วยลดอาการกระหายน้ำ - รากใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ใช้รักษาเบาหวาน
ลักษณะพฤกษศาสตร์ของกล้วยหอมทอง ชื่อวิทยาศาสตร์: Musa (AAA group) "Kluai Hom thong"ชื่อวงศ์: MUSACEAEชื่อสามัญ: Gros Michelชื่อพื้นเมือง: กล้วยหอมลักษณะทั่วไป: ต้น ลำต้นสูง 2.5 - 3.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 20 เซนติเมตร กาบลำต้นด้นนอกมีประดำ ด้นในสีเขียวอ่อน และมีเส้นลายสีชมพู ใบ ก้านใบมีร่องค่อนข้างกว้าง และ มีปีก เส้นกลางใบสีเขียว ดอก ก้านเครือมีขน ปลีรูปไข่ ค่อนข้างยาว ปลายแหลม ด้านบนสีแดงอมม่วง มีไข ด้านในสีแดงซีด ฝัก/ผล เครือหนึ่งมี 4 - 6 หวี หวีหนึ่งมี 12 - 16 ผล กว้าง 3 - 4 เซนติเมตร ยาว 21 - 25 เซนติเมตร ปลายผลมีจุก เห็ดชัดเปลือกบาง เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทอง แต่ที่ปลายจุกจะมีสีเขียว แล้วเปลี่ยนสีภายหลัง เนื้อสีเหลืองเข้ม กลิ่นหอม รสหวานการขยายพันธุ์: หน่อการดูแลรักษา: ชอบดินที่มีการระบายน้ำดี และอุดมสมบูรณ์การใช้ประโยชน์: ผลใช้รับประทานสดแหล่งที่พบ: พบทั่วไป
สายพันธุ์ของกล้วยหอม กล้วยหอมทอง จะมีอยู่ 2 สายพันธุ์ด้วยกัน คือ 1. กล้วยหอมทองต้นสูง ต้นสูงประมาณ 2-4 เมตร ลำต้นอบใหญ่ กาบสีดำเป็นบางส่วน เครือใหญ่ ผลยาว เมื่อสุกมีกลิ่นหอมมาก สีผิวของเปลือกเป็นสีเหลือง เปลือกไม่ยุ่ย 2. กล้วยหอมทองค่อม ต้นสูงประมาณ 1.5-2 เมตร ลำต้นอวบใหญ่ ต้นเตี้ย ผลสั้น เครือเล็กกว่า กลิ่นหอมน้อยกว่าพันธุ์ต้นสูง
การปลูกและดูแลรักษากล้วยหอมทอง การปลูก การเตรียมดิน : ไถดะ 1 ครั้ง ตากดินแล้วไถพรวน 1-2 ครั้ง ให้ดินร่วนซุย ไม่มีวัชพืช ถ้ามีวัชพืชมากกว่าร้อยละ 20 ต้องไถพรวนใหม่ การเตรียมหลุมปลูก: - ระยะปลูกระหว่างแถวและต้น 2x2 เมตร - ขนาดหลุมปลูก กว้าง ยาว ลึก 30x30x30 เซนติเมตร - รองก้นหลุมด้วยดินผสมปุ๋ยอินทรีย์ ด้วย 5 กิโลกรัมต่อหลุม การเตรียมพันธุ์และการปลูก: - ใช้หน่อพันธุ์ที่สมบูรณ์ ปราศจากศัตรูพืช มีความยาวหน่อ 25-35 เซนติเมตร มีใบแคบ 2-3 ใบ - วางหน่อพันธุ์ที่ก้นหลุม จัดวางให้ด้านที่ติดต้นแม่อยู่ในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้มีการออกดอกไปในทิศทางเดียวกัน และสะดวกในการดูแลรักษา - กลบดินและกดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น คลุมดินด้วยฟางข้าวหรือหญ้าแห้ง และรดน้ำให้ชุ่ม การดูแลรักษา การให้น้ำ: ต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอตลอดฤดูปลูก เมื่อหน้าดินแห้งต้องให้น้ำ (โดยเก็บตัวอย่างดินจากผิวดินลึก15 เซนติเมตร กำเป็นก้อน ถ้าแบมือแล้วแตกร่วงควรให้น้ำเพิ่มแก่ต้นกล้วย) การให้ปุ๋ย: - ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 และ 2 เมื่อกล้วยหอมอายุ 1 และ 3 เดือน ด้วยสูตร 20-10-10 หรือ 15-15-15 หรือสูตร ใกล้เคียงอัตรา 125-250 กรัมต่อต้นต่อครั้ง - ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 3 และ 4 เมื่ออายุ 5 และ 7 เดือน ด้วยสูตร 13-13-21 หรือสูตรใกล้เคียง อัตรา 125-250 กรัมต่อต้นต่อครั้ง - ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก) ปีละ 1-2 ครั้ง การแต่งหน่อ: หลังจากปลูกกล้วยประมาณ 5 เดือน ให้แต่งหน่อ เพื่อให้ต้นแม่มีความสมบูรณ์ การค้ำยันต้น: ต้องใช้ไม้ค้ำยันหรือดามกล้วยทุกต้น ที่ออกปลีแล้ว เพื่อป้องกันลำต้นหักล้ม และตรวจดูการค้ำยันให้อยู่ในสภาพที่มั่นคงแข็งแรง การหุ้มเครือ และตัดใบธง: การหุ้มเครือกระทำหลังจากตัดปลีไม่เกิน 15 วัน เพื่อให้ผิวกล้วยสวย และป้องกันแมลงทำลายด้วยถุงพลาสติกสีฟ้า แบบเปิดด้านล่าง โดยหุ้มทั้งเครือ และหุ้มทุกเครือ ส่วนการตัดใบธง ตัดเมื่อใบธงเริ่มหักก่อนที่จะเสียดสีกับผิวกล้วยระยะเวลาในการให้ผลผลิตของกล้วยหอมทอง :ประมาณ 10 เดือนหลังจากปลูก กล้วยจะเริ่มแทงปลีออกมา การที่กล้วยจะออกปลีช้าหรือเร็วนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของหน่อกล้วยว่ามีความ แข็งแรงสมบูรณ์ดีหรือไม่ รวมทั้งการดูแลรักษาเมื่อกล้วยแทงปลีจนสุด(กล้วยหวีตีนเต่าโผล่ – กล้วยตีนเต่าหมายถึงกล้วยหวีสุดท้ายที่มีลักษณะไม่สมบูรณ์ ) ให้ตัดปลีทิ้ง หรือจะตัดปลีหลังจากปลีโผล่มาประมาณ 10-12 วัน ถ้าไม่มีการตัดปลีกล้วยทิ้งผลกล้วยจะเจริญเติบโตไม่เต็มที่หลังจากตัดปลีประมาณ 90-110 วัน กล้วยจะแก่พอดี สามารถสังเกตได้จากกล้วย หวีสุดท้ายจะเริ่มกลม สีที่ผลจางลงกว่าเดิม(สีเขียวอ่อน) ถ้าปล่อยให้กล้วยแก่คาต้นมากเกินไปจะสบกับปํญหากเรื่องเปลือกกล้วยที่แตก ทำให้ผลผลิตเสียหายในปีที่2และ3 จะเรียกกล้วยที่มีอายุเหล่านี้ว่ากล้วยตอ เมื่อถึงเวลาที่ตัดเครือกล้วยออกแล้ว เกษตรกรจะตัดต้นแม่ออก เพื่อลดความหนาแน่นและการแข่งขันในการหาอาหาร แต่การตัดต้นกล้วยนั้นควรจะตัดให้เหลือตอสูงประมาณ 1.5-2 เมตร เพื่อให้หน่อที่แตกใหม่มีอาหารที่สมบูรณ์และน้ำที่ถูกกักเก็บไว้ในตอกล้วยจะ ช่วยเลี้ยงหน่อที่เหลือให้เจริญต่อไปได้ การเลี้ยงตอนั้นจะเลี้ยงไว้จนตอแห้งแล้วจึงตัดออกการตัดหน่อกล้วยไว้สำหรับปีต่อไป :หน่อกล้วยที่สมควรจะคัดไว้เป็นหน่อที่ให้ผลผลิตในปีต่อไป ควรจะคัดหน่อกล้วยที่มีลักษณะ ดังนี้1. ควรเป็นหน่อใต้ดิน ลำต้นแวบ อยู่ห่างจากโคนต้นแม่ประมาณ 10 นิ้ว ควรเหลือไว้ประมาณ 25 หน่อ ที่อยู่ตรงกันข้าม2. ถ้าใช้ระยะปลูก 3 x 3 เมตร ควรคัดหน่อกล้วยอีกครั้งหนึ่งจาก 2 หน่อ ให้เหลือเพียงหน่อเดียวหรือเหลือไว้ไม่เกิน 2 หน่อ ซึ่งจะทำให้แปลงกล้วยทึบ ลำต้นจะสูงชะลูดและหักล้มได้ง่ายปัญหาและอุปสรรคในการเพาะปลูกกล้วยหอมทอง :1.กล้วยหอมทองมีลำต้นสูง เครือใหญ่ จึงมีปัญหาในการหักล้มก่อนกล้วยจะแก่ได้ง่าย2. ต้องสิ้นเปลืองค่าไม้ค้ำ3. ถ้าปลูกมากเกินไปในท้องถิ่นหนึ่งกล้วยจะล้นตลาด