ค้นหาสินค้า

ผักพฤกษ์

จำหน่ายต้นผักพฤกษ์ กล้าและกิ่งพันธุ์ผักพฤกษ์ สอนการเพาะปลูกและสรรพคุณที่เป็นประโยชน์

ต้นผักพฤกษ์

จามจุรีสีทอง4"(พฤกษ์)
จามจุรีสีทอง4"(พฤกษ์) เมืองปราจีนบุรี ปราจีนบุรี

ราคา 1,000.00 บาท /ต้น

จามจุรีสีทอง 4-5-6-7-8 *ราคาที่ระบุเป็นราคาเริ่มต้น
จามจุรีสีทอง 4-5-6-7-8 *ราคาที่ระบุเป็นราคาเริ่มต้น ศรีประจันต์ สุพรรณบุรี

ราคา 1,500.00 บาท /ต้น

ต้นจามจุรีสีทอง
ต้นจามจุรีสีทอง ปทุมธานี

ราคา 600.00 บาท /ต้น

จามจุรีสีทอง
จามจุรีสีทอง ปราจีนบุรี

ราคา 180.00 บาท /ต้น

ต้น จามจุรีสีทอง ต้นพฤกษ์  ผักตุ๊ด ยอดแกงอร่อย
ต้น จามจุรีสีทอง ต้นพฤกษ์ ผักตุ๊ด ยอดแกงอร่อย เวียงชัย เชียงราย

ราคา 39.00 บาท /ต้น

จามจุรีสีทอง
จามจุรีสีทอง สระบุรี

ราคา 12,000.00 บาท /1ต้น

จามจุรีสีทอง
จามจุรีสีทอง แก่งคอย สระบุรี

ราคา 12,000.00 บาท /ต้น

จามจุรีสีทอง 20”
จามจุรีสีทอง 20” แก่งคอย สระบุรี

ราคา 16,000.00 บาท /ต้น

จังหวัดที่ขายต้นผักพฤกษ์

เชียงราย (1 ร้าน)

ปทุมธานี (1 ร้าน)

ปราจีนบุรี (2 ร้าน)

สระบุรี (3 ร้าน)

สุพรรณบุรี (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด ต้นผักพฤกษ์ ทั้งหมดในเว็บ

เมล็ดพันธุ์ผักพฤกษ์

พกฤษ์
พกฤษ์ เมืองระยอง ระยอง

ราคา 1.00 บาท

เมล็ดต้นผักพฤกษ์ ต้นซึก มะรุมป่า
เมล็ดต้นผักพฤกษ์ ต้นซึก มะรุมป่า แก่งคอย สระบุรี

ราคา 1.00 บาท /เมล็ด

เมล็ดซึก,ต้นซึก,ต้นอีซึก
เมล็ดซึก,ต้นซึก,ต้นอีซึก สายไหม กรุงเทพมหานคร

ราคา 50.00 บาท

จังหวัดที่ขายเมล็ดพันธุ์ผักพฤกษ์

กรุงเทพมหานคร (1 ร้าน)

ระยอง (1 ร้าน)

สระบุรี (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด เมล็ดพันธุ์ผักพฤกษ์ ทั้งหมดในเว็บ

ต้นกล้าผักพฤกษ์

ต้นกล้า จามจุรีสีทอง
ต้นกล้า จามจุรีสีทอง หนองเสือ ปทุมธานี

ราคา 50.00 บาท /ต้น

จังหวัดที่ขายต้นกล้าผักพฤกษ์

ปทุมธานี (1 ร้าน)

ดูสินค้าหมวด ต้นกล้าผักพฤกษ์ ทั้งหมดในเว็บ

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของต้นผักพฤกษ์

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Albizia lebbeck (L.) Benth.

ชื่อภาษาอังกฤษ : Indian walnut, Siris tree

ชื่ออื่นๆ : จามจุรีสีทอง, มะขามโคก, มะรุมป่า

ลำต้น : เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ทรงพุ่มรูปร่มแผ่กว้าง เปลือกขรุขระ สีเทาเข้ม และแตกเป็นร่อง

ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น แผ่นใบรูปไข่กลับ ปลายใบกลม โคนใบสอบเบี้ยว ใบดกหนา เวลาเย็นใบจะหุบลง พอตอนเช้าจะแผ่ออกตามเดิม

ดอก : ออกเป็นช่อกระจุกบริเวณซอกใบใกล้ปลายยอด ดอกสีขาวอมเขียว มีกลิ่นหอม

ผล : เป็นฝักแบนยาว บาง ผิวเกลี้ยง สีทอง

เมล็ด : แบนยาว

ผักพฤกษ์

การขยายพันธุ์ของต้นผักพฤกษ์

เพาะเมล็ด

การดูแลต้นผักพฤกษ์

ปลูกได้ในดินร่วน ต้องการน้ำปานกลาง ชอบแดดเต็มวัน เจริญเติบโตเร็ว

สรรพคุณทางสมุนไพรของต้นผักพฤกษ์

- ยอดอ่อน ช่วยเจริญอาหาร

- เปลือก รักษาแผลในปาก ลำคอ เหงือกอักเสบ ฟันผุ บำรุงกำลัง แก้บิด แก้ริดสีดวงทวาร

- ใบ ดับพิษร้อนทำให้เย็น

- เมล็ด รักษาโรคผิวหนัง ขับพยาธิ แก้ปวดข้อ

- ราก แก้โรคผิวหนังเรื่อรัง แก้หิด กลากเกลื้อน

ประโยชน์ของต้นผักพฤกษ์

- ยอดอ่อน ช่อดอกอ่อน และฝักอ่อน กินเป็นผักสด ต้มกินกับน้ำพริก

- เนื้อไม้ ใช้ในงานก่อนสร้าง ทำเครื่องมือทางการเกษตร

- เปลือก ใช้ฟอกหนัง

- นิยมนำมาปลูกในที่เสื่อมโทรมและแห้งแล้ง เพื่อใช้ปรับปรุงสภาพดินให้สมบูรณ์ขึ้น เนื่องจากเป็นพืชตระกูลถั่วจึงสามารถจับไนโตรเจนจากอากาศมาเปลี่ยนเป็นปุ๋ยไนเตรดได้ดี


ลักษณะทางพฤกษศาตร์ของดาหลา (3571)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Etlingera elatior (Jack) R.M. Smith
ชื่อวงศ์:  Zingiberales
ชื่อสามัญ:  Torch  Ginger
ชื่อพื้นเมือง:  กาหลา, กะลา
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ลักษณะคล้ายข่า มีลำต้นใต้ดินเรียกว่าเหง้า (rhizome) เหง้านี้จะเป็นบริเวณที่เกิดของหน่อดอกและหน่อต้น ดาหลา 1 ต้น สามารถให้หน่อใหม่ได้ประมาณ 7 หน่อ ในเวลา 1 ปี ส่วนลำต้นเหนือดินเป็นกาบใบที่โอบซ้อนกันแน่น เช่นเดียวกับพวกกล้วย ส่วนนี้คือลำต้นเทียม (pseudostem) ลำต้นเหนือดินสูง 2-3 เมตร มีสีเขียวเข้ม
    ใบ  มีรูปร่างยาวรี กลางใบกว้างแล้วค่อย ๆ เรียวไปหาปลายใบ และฐานใบ ใบไม่มีก้านใบ ผิวเกลี้ยงท้งด้านบนและด้านล่าง ใบยาว 30-80 เซ็นติเมตร กว้าง 10-15 เซนติเมตร ปลายใบ แหลมฐานใบเรียวลาดเข้าหาก้านใบ เส้นกลางใบปรากฏชัดทางด้านล่างของใบ
    ดอก  ดอกดาหลาเป็นดอกช่อมีลักษณะดอกแบบ (head) ประกอบด้วยกลีบประดับ (Bracts) มี 2 ขนาด ส่วนโคนประกอบด้วยกลีบประดับขนาดใหญ่ มีความกว้างกลีบ 2-3 ซ.ม. จะมีสีแดงขลิบขาวเรียงซ้อนกันอยู่และจะบานออก ประมาณ 25-30 กลีบ และมีกลีบประดับ ขนาดเล็กอยู่ส่วนบนของช่อดอก ความกว้างกลีบประมาณ 1 ซ.ม. ซึ่งมีสีเดียวกับกลีบประดับ ขนาดใหญ่ กลีบประดับเล็กนี้จะหุบเข้าเรียงเป็นระดับมีประมาณ 300-330 กลีบ ภายในกลีบ ประดับขนาดใหญ่ที่บานออกจะมีดอกจริงขนาดเล็กกลีบดอกสีแดง ซึ่งเป็นดอกสมบูรณ์เพศอยู่ จำนวนมาก ดอกบานเต็มที่จะมีขนาดความกว้างดอกประมาณ 14-16 เซนติเมตร ความยาวช่อ 10-15 เซนติเมตร มีก้านช่อดอกยาว 30-150 เซนติเมตร ลักษณะก้านช่อดอกแข็งตรง ดอกจะ พัฒนามาจากหน่อดอกที่แทงออกมาจากเหง้าใต้ดินลักษณะของหน่อจะมีสีชมพู ที่ปลายหน่อ
ฤดูกาลออกดอก:  ออกตลอดปีแต่จะให้ดอกดกที่สุดในช่วงฤดูร้อน คือ เดือนมีนาคม - พฤษภาคม
การดูแลรักษา:  เจริญเติบโตได้ดีในที่มีแสงแดดรำไรหรือที่ร่มไม้ยืนต้น ถ้าหากโดนแดดจัดเกินไปสีของกลีบประดับจะจางลง และทำให้ใบไหม้  สามารถปลูกได้ทุกฤดู ฤดูปลูกที่เหมาะสมที่สุดคือ ฤดูฝน
การขยายพันธุ์:  แยกหน่อ แยกเง้า ปักชำหน่อแก่
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:  ดอก
การใช้ประโยชน์:
    -    ไม้ประดับ
    -    สมุนไพร
    -    บริโภค
    -    ไม้ตัดดอก
ถิ่นกำเนิด:  เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ส่วนที่ใช้บริโภค:  ดอก
การปรุงอาหาร:  นำกลีบดอกไปยำ หรือจะนำดอกตูมและหน่ออ่อนต้มจิ้มน้ำพริก ใส่แกงเผ็ดก็ได้  หรือหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ผสมในข้าวยำ หรือปรุงแบบยำ ใส่เนื้อหมูนึ่งสุกหั่นบางๆ และใส่แตงกวาจะช่วยให้มีรสหวาน
สรรพคุณทางยา:  ดอกดาหลามีรสเผ็ดร้อน มีสรรพคุณช่วยแก้ลมพิษ แก้โรคผิวหนัง ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ


ลักษณะพฤกษศาตร์ของทองอุไร (3576)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Tecoma stans (L.) Kunth
ชื่อวงศ์:  Bignoniaceae
ชื่อสามัญ:  Yellow elder, Yellow bells, Trumpet vine
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ไม้พุ่มชนาดกลาง  ไม่ผลัดใบ เรือนยอดทรงกลมถึงรูปไข่ ทรงพุ่มโปร่ง  ลำต้นตั้งตรง
    ใบ  ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น กว้าง 14-16 เซนติเมตร  ยาว 20-23 เซนติเมตร ใบย่อย 5-11 คู่ เรียงตรงข้าม ใบรูปใบหอกหรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง 2.5-3 เซนติเมตร  ยาว 5-6 เซนติเมตร  ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ  ขอบใบจักฟันซี่  แผ่นใบบาง ผิวใบด้านบนสีเขียวสด  ก้านใบยาว  9-12 เซนติเมตร
    ดอก  สีเหลืองสด ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะแยกแขนงที่ปลายกิ่ง ก้านช่อดอกยาว 7-11 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงสีเขียว โคนเชื่อมติดกันปลายแยก 5 แฉก ปลายแหลม โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายเเยกเป็น 5 แฉก คล้ายรูปแตร ดอกร่วงง่าย
    ฝัก/ผล  ผลแห้งแตก  เป็นฝักกลม  เรียวเล็ก  ยาว 12-14 เซนติเมตร
    เมล็ด  เมล็ดแบนบาง  สีน้ำตาลอ่อนมีปีก
ฤดูกาลออกดอก:  กรกฎาคม-กันยายน
การปลูก:  ปลูกประดับสวน
การดูแลรักษา:  ดินร่วน ระบายน้ำดี แสงแดดจัด
การขยายพันธุ์:  เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง
การใช้ประโยชน์:  ไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด:  อเมริกากลางและใต้ หมู่เกาะอินดีสตะวันตก
แหล่งที่พบ:  พบได้ทั่วทุกภาค


ลักษณะพฤกษศาตร์ของนมแมว (3580)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Rauwenhoffia siamensis Scheff.
ชื่อวงศ์:  ANNONAEAE
ชื่อสามัญ:  Rauwenhoffia siamensis
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  เป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อย ขนาดไม่สูงนัก สูงประมาณ 1-2 เมตร ลำต้น กิ่ง และก้านมีสีคล้ำ
    ใบ  ใบเดี่ยวออกเป็นคู่ ลักษณะของใบเป็นรูปหอก  โคนใบมน ปลายใบแหลมยาวประมาณ 3 นิ้ว ใบด้านบนสาก มีขนตามเส้นกลางใบ
    ดอก  เป็นดอกเดี่ยว เหมือนดอกลำดวน แต่เล็กกว่ากลีบบางกว่าไม่งุ้มโค้งมากเท่าดอกลำดวน สีขาวออกเหลืองนวล มี 6 กลีบ แบ่งเป็น 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ กลีบดอกแข็งและสั้น เมื่อบานเต็มที่มีขนาดประมาณ 0.5 นิ้ว
    ฝัก/ผล  ออกเป็นพวง  เมื่อสุกสีเหลืองอมส้ม รับประทานได้
ฤดูกาลออกดอก:  มีดอกเกือบตลอดปี
การปลูก:  นิยมปลูกประดับและตัดแต่งให้เป็นทรงพุ่มสวยงาม
การดูแลรักษา:  ชอบดินที่มีความชุ่มชื้นระบายน้ำได้ดี
การขยายพันธุ์:  เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:  ดอกกลิ่นหอมแรงในเวลาเย็นถึงค่ำ
การใช้ประโยชน์:
    -    ไม้ประดับ
    -    สมุนไพร
    -    ดอก กลั่นทำน้ำหอม
    -    บริโภค
ถิ่นกำเนิด:  ประเทศไทย
แหล่งที่พบ:  ชายป่าชื้นทางภาคใต้ และภาคกลางของประเทศไทย
สรรพคุณทางยา:
    -    ดอก มีน้ำมันหอมระเหยมีกลิ่นหอมใช้แต่งกลิ่น
    -    เนื้อไม้และราก ต้มรับประทานแก้ไข้กลับ ไข้ซ้ำ
    -    ราก เป็นยาแก้โรคผอมแห้งของสตรีเนื่องจากคลอดบุตรอยู่ไฟไม่ได้


ลักษณะพฤกษศาตร์ของกล้วยพัด (3661)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Ravenala madagascariensis  Sonn.
ชื่อวงศ์:   Strelitziaceae
ชื่อสามัญ:  Traveller s - tree
ชื่อพื้นเมือง:  กล้วยฝรั่ง กล้วยลังกา กล้วยศาสนา
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ไม้ต้นขนาดกลาง   ลำต้นตั้งตรงสีน้ำตาลไม่แตกกิ่งก้าน ลำต้นเป็นข้อสั้นๆ ลักษณะคล้ายปาล์ม กิ่งก้านแผ่คล้ายพัดกว้างประมาณ 3 เมตร
    ใบ  ใบคล้ายกล้วยแต่มีขนาดใหญ่หนา และมีก้านยาวกว่า ใบเรียงตรงข้ามซ้อนชิดกัน  2  ข้างที่ปลายยอดลำต้นแผ่ออกเป็นรูปคล้ายพัด ใบรูปขอบขนาน กว้าง  0.6-1 เมตร  ยาว 1.5-3 เมตร  ปลายใบมนโคนใบตัดหรือเบี้ยว  ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 2-3 เมตร โคนก้านขยายออกเป็นกาบหุ้มลำต้น ระหว่างกาบมีน้ำขังอยู่
    ดอก  สีเหลือง ออกเป็นช่อกระจุกด้านเดียวตามซอกใบระหว่างใบที่ 1-4 นับจากใบล่าง ก้านช่อดอกยาวประมาณ 1 เมตร  มีกาบขนาดใหญ่ 10-12 กาบ  สีขาว แต่ละกาบยาว 50 เซนติเมตร มี 10-15 ดอก ไม่มีก้านดอก มีใบประดับยาวประมาณ 20 เซนติเมตร ปลายเเหลม
    ฝัก/ผล  ผลแห้งแตกกลางพู ทรงกระบอก ยาว 7-10 เซนติเมตร เปลืองเเข็งมาก กินไม่ได้
    เมล็ด  เมล็ดกลม เมื่อแก่เป็นสีน้ำเงินเข้ม
ฤดูกาลออกดอก:  ออกดอกเมื่อต้นสมบูรณ์เต็มที่
การปลูก:  ปลูกประดับสวนเพื่อเป็นจุดเด่นหรือเรียงแถว เวลาปลูกควรเผื่อพื้นที่สำหรับใบที่แผ่กาง
การดูแลรักษา:  ไม่ควรปลูกในพื้นที่ที่มีลมแรงจะทำให้ใบแตกไม่สวย ขึ้นได้ในดินทั่วไป  ชอบแดดเต็มวัน
การใช้ประโยชน์:  ไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด:  ประเทศมาดากัสการ์


ลักษณะพฤกษศาตร์ของปริกน้ำค้าง (3701)

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Asparagus densiflorus (Kunth) Jessop. Sprengeri Group
ชื่อวงศ์:  Asparagaceae
ชื่อสามัญ:  Asparagus fern
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ไม้คลุมดิน ลำต้นสั้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่ม ใบดูละเอียด  กิ่งก้านตั้งตรงหรือโค้งห้อยลง
    ใบ  ใบจริงเปลี่ยนเป็นหนามเล็กๆ ส่วนที่คล้ายใบ (phyllocade) เป็นส่วนของลำต้นลักษณะเป็นรูปแถบถึงรูปเข็มสั้น  กว้าง 1-2 มิลลิเมตร  ยาว 5-15 มิลลิเมตร ปลายแหลมค่อนข้างแข็ง สีเขียวสดเป็นมัน ออกข้อละ 3 อัน
    ดอก  สีขาวอมชมพู ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะที่ปลายกิ่ง ขนาด 2-5 มิลลิเมตร
    ฝัก/ผล  ผลสดแบบมีเนื้อ สีแดงสด ขนาดประมาณ 1 มิลลิเมตร มีเมล็ดเดียว
การปลูก:  ปลูกลงกระถาง
การดูแลรักษา:  ชอบดินระบายน้ำดี  ชอบแสงรำไร
การใช้ประโยชน์:  ไม้ประดับ


ราชพฤกษ์เป็นไม้มงคล (3910)

คนไทยเราเชื่อกันมาแต่โบราณว่า ราชพฤกษ์เป็นไม้มงคลนำโชคชัยมาสู่ตัวเรา ปลูกไว้จะน้อมนำแต่ความสุขความเจริญมาสู่ชีวิตและครอบครัว จิตใจของเจ้าของจะสูงขึ้น อำนาตแห่งความดีจะน้อมนำชีวิตสู่ความสำเร็จในที่สุด นอกจากนั้นราชพฤกษ์ยังเป็นต้นไม้ประจำชาติไทยอีกด้วย

เพื่อให้ฤทธิ์มงคล ควรปลูกราชพฤกษ์ในวันเสาร์ และควรปลูกไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ หากให้ผู้ใหญ่ที่มีความน่าเคารพมาปลูกจะเป็นมงคลยิ่งขึ้น