ลักษณะพฤกษศาสตร์ของดาวเรือง ชื่อวิทยาศาสตร์: Tagetes erecta L.ชื่อวงศ์: Compositaeชื่อสามัญ: Marigoldชื่อพื้นเมือง: ดอกคำพู่จู้ คำปูจู้หลวง ดาวเรืองใหญ่ พอทู ดาวเรืองอเมริกันลักษณะทั่วไป: ต้น ไม้ดอกล้มลุก มีทั้งพันธุ์เตี้ยเเละพันธุ์สูง ลำต้นเป็นเหลี่ยม ใบ ใบประกอบแบบขนนก เรียงตรงข้าม ใบย่อยรูปรีถึงรูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน กว้าง 0.5-1.5 เซนติเมตร ยาว 1.5-5 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบแคบ ขอบใบจักฟันเลื่อย ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม ดอก มีหลายสี เข่น สีขาว เหลือง เหลืองทอง และส้ม ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกเดี่ยวที่ปลายกิ่ง ดอกวงนอกกลีบดอกเป็นรูปรางน้ำซ้อนกันแน่น โคนกลีบดอกเป็นหลอดเล็ก ปลายแผ่เป็นรูปไข่กลับ ดอกวงในกลีบดอกเป็นหลอดสีเหลืองปลายจักเป็น 5 ซี่ ดอกบานเต็มที่กว้าง 5-8 เซนติเมตร มีทั้งดอกชั้นเดียวและดอกซ้อน ฝัก/ผล ผลแห้งไม่แตก มีสีดำฤดูกาลออกดอก: ตลอดปีการปลูก: ปลูกประดับเป็นจุดเด่นในสวนหรือปลูกเป็นกลุ่ม ริมถนน ทางเดินการดูแลรักษา: ต้องการแสงแดดจัด สามารถเจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิดการขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด, ปักชำยอดส่วนที่มีกลิ่นหอม: ดอกกลิ่นหอมฉุนการใช้ประโยชน์: - ไม้ประดับ - สมุนไพร - สีของดอกใช้เป็นสีย้อมผ้า - ดอกดาวเรืองผสมในอาหารสัตว์เป็นอาหารเสริม เนื่องจากดาวเรืองเป็นพืชที่สารแซธโธฟิล (Xanthophyll) สูง จึงสามารถนำไปเป็นส่วนผสมอากหารสัตว์ได้ดี โดยเฉพาะอาหารของของไก่ไข่ จะทำให้ไข่แดงมีสีแดงสดใสน่ากินยิ่งขึ้น - ป้องกันแมลง เนื่องจากดาวเรืองเป็นสารที่มีกลิ่นเหม็นแมลงไม่ชอบ จึงสามารถใช้เป็นเกราะป้องกันแมลงให้แก่พืชอื่น ๆ ในรากของดาวเรืองมีสารชนิดหนึ่งคือ แอลฟ่า เทอร์เธียนิล (& - terthienyl) ซึ่งเป็นสารที่สามารถควบคุมปริมาณไส้เดือนฝอยในดินได้เป็นอย่างดี - เพื่อจำหน่าย ดาวเรืองเป็นไม้ดอกที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ใช้ทำพวงมาลัย ใช้ปักแจกันถิ่นกำเนิด: ประเทศเม็กซิโก, อเมริกาใต้สรรพคุณทางยา:- ใบ มีสรรพคุณพอกแผลฝี ทาแผลเน่าเปื่อย น้ำคั้นจากใบแก้ปวดหู - ดอก แก้ริดสีดวงทวาร ขับเสมหะแก้เจ็บตา เวียนศีรษะ ไอกรน คางทูม
ชนิดและพันธุ์ของดาวเรือง ชนิดของดาวเรือง ดาวเรืองที่ปลูกกันอยู่โดยทั่วไปแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1. ดาวเรืองอเมริกัน (American Marigolds ) เป็นดาวเรืองที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปอเมริการ ลำต้นสูงตั้งแต่ 10-40 นิ้ว ดอกสีเหลือง ส้ม ทอง และขาว กลีบ ดอกซ้อนกันแน่น ดอกมีขนาดใหญ่ประมาณ 3-4 นิ้ว ดาวเรืองชนิดนี้มีหลายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์เตี้ย สูงประมาณ 10-14 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์ ปาปาย่า (papaya) ไพน์แอปเปิล (pineaple) ปัมพ์กิน (Pumpkin) เป็นต้น พันธุ์สูงปานกลาง สูงประมาณ 14-16 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์อะพอลโล (Apollo) ไวกิ่ง (Ziking) มูนช๊อต (Moonshot) เป็นต้น พันธุ์สูง สูงประมาณ 16-36 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์ดับเบิล อีเกิล (Double Egle) ดับบลูน (Doubloon) ซอฟเวอร์เรน (Sovereign) เป็นต้น 2. ดาวเรืองฝรั่งเศส (French Marigolds) ดาวเรืองฝรั่งเศสเป็นดาวเรืองต้นเล็ก ต้มเป็นพุ่มเตี้ย ๆ สูงประมาณ 6-12 นิ้ว ดอกสีเหลือง ส้ม ทอง น้ำตาลอมแดง และสีแดง ดอกมีขนาดเล็กประมาณ 1.5 นิ้ว นิยมปลูกประดับในแปลงมากกว่าปลูกเพื่อตัดดอก เนื่องจากมีกานดอกสั้น นอกจากนี้ยังเป็นดาวเรืองที่สามารถลดปริมาณไส้เดือนฝอยที่ทำให้เกิดอาการรากปมในรากพืชได้ ตัวอย่างดาวเรืองฝรั่งเศส ได้แก่ พันธุ์ดอกชั้นเดียว ดอกมีขนาด 1.5-2 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์เรด มาเรตต้า (Red Marietta) นอธตี้ มาเรตต้า (Naughty Marietta) เอสปานา (Espana) ลีโอปาร์ด (Leopard) เป็นต้น พันธุ์ดอกซ้อน ดอกมีขนาดตั้งแต่ 1.5-3 นิ้ว ได้แก่ พันธุ์ควีน โซเฟีย (Queen Sophia ) สการ์เลต โซเฟีย (Scarlet Sophia) โกลเด้น เกต (Golden Gate ) เป็นต้น 3. ดาวเรืองพันธุ์ลูกผสม (Mule Mariglds หรือ Afro American Marigolds) เป็นดาวเรืองลูกผสมระหว่างดาวเรืองอเมริกันและดาวเรืองฝรั่งเศส โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำลักษณะความแข็งแรง ดอกใหญ่ และมีกลีบซ้อนมากของดาวเรืองอเมริกัน รวมเข้ากับลักษณะต้นเตี้ยทรงพุ่มกะทัดรัดของดาวเรืองฝรั่งเศส ดาวเรืองลุกผสมให้ดอกเร็วมาก คือเพียง 5 สัปดาห์หลังจากเพาะเมล็ดดอกมีขนาด 2-3 นิ้ว ดอกดกและอยู่กับต้นได้ดี ดาวเรืองชนิดนี้มีข้อเสียก็คือเมล็ดจะลีบ ไม่สามารถนำมาเพาะให้เป้นต้นใหม่ได้จึงเรียกว่า ดาวเรืองล่อ เช่นเดียวกับการผสมม้ากับลา มีลูกออกมาเรียกว่า ล่อ ซึ่งเป็นหมัน จึงทำให้เมล็ดมีราคาแพงมาก และการปลูกดาวเรืองด้วยเมล็ดชนิดนี้ จึงควรใช้เมล็ดเป็นปริมาณ 2 เท่าของจำนวนที่ต้องการ เนื่องจากเมล็ดมีเปอร์เซ็นต์ความงอกต่ำ ดาวเรืองลูกผสมที่นิยมปลูกมีอยู่หลายพันธุ์ คือ พันธุ์นักเก็ต (Nugget) ไฟร์เวิร์ก (Fireworks) เรด เซเว่น สตาร์(Red Sevenstar) และโชว์โบ๊ต (Showboat)พันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับในประเทศไทย 1. พันธุ์ซอฟเวอร์เรน ดอกสีเหลือง กลีบดอกซ้อนกันแน่น สวยงาม ดอกมีขนาดประมาณ 10 ซ.ม 2. พันธุ์ทอรีดอร์ ดอกสีส้ม ขนาดประมาณ 8.5-10 ซ.ม 3. พันธุ์ดับเบิล อีเกิล ดอกสีเหลือง ขนาดประมาณ 8.5 ซ.ม และมีก้านดอกแข็ง 4. พันธุ์ดาวเรืองเกษตร เป็นดาวเรืองที่มหาวิทยลับเกษตรศาสตร์ นำเข้ามาทดลองปลูกและคัดเลือกพันธุ์ที่โครงการเกษตรที่สูง และได้คัดเลือกพันธุ์ไว้ได้ 2 พันธุ์ คือ พันธุ์สีทองเบอร์ 1 พันธุ์สีทองเบอร์ 4 เป็นพันธุ์ที่มีดอกสีเหลืองขึ้นได้ดีในสภาพของประเทศไทย และให้ผลลิตสูงพอสมควรเอื้อเฟื้อข้อมูล กรมวิชาการเกษตร (www.doae.go.th)
การปลูกและการขยายพันธุ์ดาวเรือง การขยายพันธุ์ดาวเรือง 1. การเพาะเมล็ด เป็นวิธีการที่นิยมปฏิบัติกันและผลผลิตดีกว่าวิธีอื่น โดยนำเมล็ดดาวเรืองมาเพาะในกระบะหรือแปลงเพาะการเพาะเมล็ดในกระบะ กระบะที่จะใช้เพาะอาจเป็นกระบะไม้หรือกระบะพลาสติกก็ได้ วัสดุเพาะประกอบด้วยขุยมะพร้าว ทราย ขี้เถ้าแกลบ ปุ๋ยคอก ในอัตราส่วน 1:1:1:1 การเพาะเมล็ดในแปลง แปลงที่จะใช้เพาะเมล็ดดาวเรือง ควรเป็นดินร่วนซุยและค่อนข้างละเอียด ขุดแปลงกลับหน้าดินตากไว้ประมาณ 1 สัปดาห์เพื่อฆ่าเชื้อโรคและแมลง จากนั้นนำปุ๋ยคอก(มูลโค มูลเป็ด มูลไก่ เป็นต้น ) มาผสมและคลุกเคล้าให้เข้ากับดิน ย่อยดินให้ละเอียดแล้วปรับหน้าแปลงให้เรียบการเพาะเมล็ดทั้งการเพาะในกระบะและในแปลง มีวิธีการปฏิบัติดังนี้ 1. ทำร่องบนวัสดุเพาะในกระบะหรือบนแปลงให้ลึกประมาณ 5 เซนติเมตร และให้แต่ละร่องห่างกันประมาณ 5 ซ.ม 2. หยอดเมล็ดดาวเรืองในร่อง ห่างกันประมาณ 3-5 ซ.ม แล้วกลบร่องเพื่อกลบเมล็ดดาวเรือง 3. ให้ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ เศษฟาง หรือหญ้าแห้ง คลุมกระบะเพาะ เพื่อป้องกันความเสียหายเนื่องจากฝนชะแต่ถ้าเป็นฤดูหนาวก็ควรคลุมพลาสติกเช่นกัน เพื่อเพิ่มความร้อนให้กับกระบะหรือแปลงเพาะ จะทำให้เมล็ดงอกได้ดีขึ้น หลังจากเพาะได้ประมาณ 3-5 วัน เมล็ดจะงอก และอีกประมาณ 10-12 วัน จึงย้ายต้นกล้าไปปลูกได้ 2. การปักชำ เป็นวิธีการขยายพันธุ์ที่สามารถทำได้อีกวิธีหนึ่ง แต่ไม่ค่อยนิยมมากนัก เนื่องจากได้จำนวนน้อยและให้ผลผลิตต่ำกว่า ดอกมีขนาดเล็กกว่า สาเหตุที่ทำกันเพาะเป็นผลพลอยได้จากการเด็ดยอดทิ้ง ยอดที่เด็ดทิ้งจะมีความยาว 1-2 นิ้ว แล้วนำไปปักชำที่ใช้คือขี้เถ้าแกลบเพราะเก็บความชื้นได้ดีหลังจากเตรียมแปลงหรือถุงหักชำแล้ว นำยอดดาวเรืองมาปักชำ หากควบคลุมความชื้นได้ดี ยอดดาวเรืองจะออกรากภายใน 3-4 วัน และถ้ามีการใช้ฮอร์โมนเร่งรากจะทำให้ดาวเรืองออกรากได้ดียิ่งขึ้นจากนั้นนำไปใว้ให้ถูกแดดอีกประมาณ 3-4 วัน จึงสามารถย้ายไปปลูกยังแปลงปลูกได้การปลูกดาวเรือง การปลูกดาวเรืองเป็นขึ้นตอนแต่การเตรียมแปลงปลูก การย้ายกล้ามาปลูกในแปลง รวมถึงการปฏิบัติดูแล ขั้นตอนในการปฏิบัติดูแลมีดังนี้ 1. การเตรียมแปลงปลูก ดินที่ที่จะใช้ปลูกดาวเรืองควรเป็นดินที่ระบายน้ำได้ดี เก็บรักษาความชื้นได้สูง และมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 6-5-7.5 ในขณะที่เตรียมดินนั้น ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักลงไปด้วย เพื่อเมธาตุอาหารและปรับโครงสร้างให้ดินโปร่ง ควรขุดพลิกหน้าดินไว้ประมาณ 1-2 สัปดาห์ เพื่อทำลายเชื้อโรคและแมลงศัตรูพืช แปลงควรมีขนาดกว้างประมาณ 1 เมตร ความยาวตามความเหมาะสมของพื้นที่ จากนั้นจึงย่อยดินให้ละเอียดและปรับหน้าแปลงให้เรียบ แล้วจึงปลูกดาวเรืองโดยให้แต่ละแถวห่างกัน 30 ซ.ม และระยะระหว่างต้นห่างกัน 30 ซ.ม เช่นกัน ถ้าพื้นที่ปลูกเป็นแปลงขนาดใหญ่ ให้เว้นทางเดินระหว่างแปลงประมาณ 80 ซ.ม แต่ถ้าเป็นที่ลุ่มและยกร่องปลูกก็ไม่ต้องเว้นทางเดินไว้ เพียงแต่เว้นขอบแปลงริมร่องน้ำไว้เล็กน้อยเพื่อใช้เป็นทางเดิน 2. วิธีการปลูก 1) การเตรียมหลุมปลูก ขุดหลุมในแปลงโดยให้หลุมห่างกัน 30 ซ.ม และแต่ละแถวห่างกัน 30 ซ.ม รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟตหรือปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตราหลุมละ1 ช้อนชา แล้วเกลี่ยดินกลบปุ๋ยเพื่อป้องกันไม่ให้รากดาวเรืองสัมผัสปุ๋ยโดยตรง 2) การย้ายกล้า ควรย้ายกล้าดาวเรืองในตอนเย็น ก่อนย้ายกล้ารดน้ำล่างหน้า 1 วัน หรือรดน้ำตอนเช้าแล้วย้ายกล้าตอนเย็น และควรใช้ช้อนปลูกขุดต้นกล้า เพื่อให้ดินติดรากต้นกล้ามาด้วย ต้นกล้าจะได้ไม่โทรมและตั้งตัวได้เร็ว 3) การปลูกต้นกล้า ปลูกต้นกล้าหลุมละต้น โดยฝังต้นกล้าลงในหลุมให้โคนต้นอยู่ระดับปากหลุมและกลบดินให้เสมอใบเลี้ยง จากนั้นจึงรีบรดน้ำให้ชุ่มตลอดเวลา 3.การปฏิบัติดูแลรักษา 1) การรดน้ำ ในช่างแรกคือตั้งแต่เริ่มปลูกถึงอายุ 7 วัน ควรรดน้ำวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็นหลังจากนั้นรดน้ำวันละครั้งในตอนเช้าก็พอ และในช่วงที่ดอกเริ่มบานจะต้องระวังอย่าให้น้ำถูกดอกดาวเรือง เพราะจะทำให้ดอกเสียหายและถูกเชื้อโรคเข้าทำลายได้ง่าย 2) การใส่ปุ๋ย เมื่อดาวเรืองมีอายุ 15 และ 25 วัน ควรใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15 อัตรา 1 ช้อนชาต่อหลุม และเมื่อดาวเรืองมีอายุ 35 และ 45 วัน ควรใส่ปุ๋ยสูตร15-24-12 อัตรา 1 ช้อนชาต่อหลุม เช่นกัน การใส่ปุ๋ยควรใส่ให้ห่างโคนต้นประมาณ 6 นิ้ว โดยฝังลงในดินประมาณครึ่งนิ้ว จากนั้นควรพรวนดินรอบ ๆ โคนต้นและกลบโคนต้นไว้ การใส่ปุ๋ยทุกครั้งจะต้องรดน้ำให้โชกเสมอ 3) การปลิดยอด นิยมเรียกว่า การเด็ดตุ้ม หรือการแต่งตุ้ม ทำเพื่อให้ดาวเรืองแตกพุ่มและจะทำให้ดอกดาวเรืองมีขนาดใหญ่ การปลิดยอดนี้ควรทำเมื่อดาวเรืองมีอายุ 21-25 วัน ซึ่งเป็นระยะที่ดาวเรืองมีใบจริงขนาดใหญ่ประมาณ 4 คู่ และส่วนยอดมีใบเล็ก ๆ ประมาณ 1-2 คู่ วิธีการปลิดยอดทำได้โดยใช้มือซ้ายจับใบคู่บนสุดที่ต้องการเหลือไว้แล้วใช้ มือขวาดึงส่วนยอดลงทางด้านข้าง เพื่อให้ยอดหลุดออกมา ไม่ควรเด็ดยอด เพราะจะทำให้ส่วนตาของยอดเหลือติดอยู่ ซึ่งจะเจริญเป็นดอกในภายหลัง ทำให้ดอกไม่เป็นไปตามกำหนด คือดอกบานไม่พร้อมกันและมีขนาดเล็ก ปกติดาวเรืองต้นหนึ่งควรไว้ดอกประมาณ 8 ดอก จึงจะได้ดอกที่มีคุณภาพ 4) การปลิดตาข้าง หลังจากการปลิดตายอดประมาณ 1 สัปดาห์ ตาข้างจะเริ่มแตกขึ้นใหม่นั้น มียอดที่ยอดและมีตาข้างเจริญออกมาหรือยัง เมื่อดอกที่ยอดและมีตาข้างเจริญออกมาหรือยัง เมื่อดอกที่ยอดมีขนาดประมาณเท่าเมล็ดข้าวโพด ให้ปลิดตาข้างออกให้หมด เพื่อไม่ให้ตาข้างเจริญเป็นดอกต่อไป ซึ่งจะทำให้ดอกที่ยอดมีขนาดใหญ่ ก้านดอกยาว และมีขนาดสม่ำเสมอ 4. การตัดดอกก่อนตัดดอกดาวเรืองเพื่อนำไปจำหน่ายประมาณ 2-3 วัน ควรใช้น้ำตาลทรายจำนวน15 ลิตร ฉีดพ่นใบดาวเรืองทั้งด้านบนและด้านล่าง จะทำให้ก้านดอกแข็งแรงขึ้น จากนั้นจึงทยอยตัดดอก อายุของดาวเรืองที่สามารถตัดดอกขายได้คือประมาณ 55-65 วัน หรือให้สังเกตจากดอกที่ยังมีกลีบดอกตรงกลางเป็นสีเขียวอยู่ได้นานกว่าดอกที่ บานทั้งหมด ในการตัดดอกนั้นควรตัดให้ชิดโคนกิ่งให้มากที่สุด จะทำให้ก้านดอกที่ติดมามีขนาดยาวเอื้อเฟื้อข้อมูล กรมวิชาการเกษตร (www.doae.go.th)
การจำแนกลักษณะลำต้นของดาวเรือง ลักษณะลำต้นของดาวเรืองมีหลากหลาย ทั้งอย่างสูงโปร่ง เป็นทรงพุ่มแน่น หรือลำต้นเตี้ยแผ่ ซึ่งลักษณะดังกล่าวจะมีปัจจัยเรื่องความยาวของแสงและอุณหภูมิเข้ามาเกี่ยว ข้อง เช่น พันธุ์ Sovereign gold เมื่อเพาะเมล็ดในช่วงเดือนมกราคมไปจนถึงกลางเดือนกันยายน จะทำให้ได้ต้นดาวเรืองที่มีความสูง 80-120 เซนติเมตร แล้วแต่พื้นที่ แต่เมื่อเพาะดาวเรืองช่วงกลางเดือนกันยายนจนถึงกลางเดือนมกราคม จะทำให้ได้ต้นมีความสูงลดลง 40-50 เปอร์เซ็นต์ ตัวอย่างเช่น ดาวเรืองที่ปลูกในเขตอำเภอพบพระ จังหวัดตาก ช่วงฤดูหนาวที่มีอุณหภูมิ 10-15 องศาเซลเซียส ดาวเรือง Sovereign gold จะมีความสูงเพียง 20 เซนติเมตรเท่านั้น ที่โคนต้นจะมีรากอากาศ เนื่องจากดาวเรืองเป็นพืชที่ไม่มีเนื้อไม้ เมื่อเจอลมแรงทำให้หักล้มง่าย รากอากาศนี้เมื่อสัมผัสดินก็จะชอนไชลงดินหาอาหาร และทำหน้าที่ยึดลำต้นทำให้เจริญเติบโตได้ตามปกติต่อไปทั้งนี้ สามารถจำแนกรูปแบบลักษณะลำต้นของดาวเรืองได้เป็น 5 รูปแบบ ได้แก่ 1.Ball shaped หรือ compact มีลักษณะทรงพุ่มเตี้ยกลม ความสูงประมาณ 15-25 เซนติเมตร ได้แก่ กลุ่มดาวเรืองฝรั่งเศสต้นเตี้ย เช่น Janie series, Little Devil series 2.Bushy มีลักษณะทรงพุ่มเตี้ย แตกกิ่งสาขามาก ความสูงประมาณ 25-30 เซนติเมตร ได้แก่ กลุ่มดาวเรืองฝรั่งเศสพวก Bonanza series, Hero series 3.Basal-branching มีลักษณะทรงพุ่มเตี้ย แผ่กิ่งก้านเกือบแนบพื้น ความสูงประมาณ 30-40 เซนติเมตร ได้แก่ Discovery series, Inca series 4.Hedge type มีลักษณะทรงพุ่มแน่น ความสูงประมาณ 45-60 เซนติเมตร ได้แก่ Galore series, Lady series, Perfection series 5.Tall, bushy มีลำต้นสูงโปร่ง แตกกิ่งก้านสาขามาก ความสูงประมาณ 60-120 เซนติเมตร ได้แก่ Sovereign series (Gold Coin Series) และ Jubillee seriesข้อปฏิบัติ 1.ถ้าปลูกต้นดอกแบบติดก้านยาวสำหรับทำเป็นดอกไม้กำ ระยะระหว่างต้นระหว่างแถว 40 x 40 ซ.ม. แปลงกว้าง 1.10 เมตร ปลูกได้ 3 ต้นต่อแถว หรือร่องกว้าง 4.50 เมตร ปลูกได้ 11 ต้นต่อแถว 2.ถ้าปลูกแบบเด็ดดอกใส่ถุงสำหรับร้อยพวงมาลัย ระยะระหว่างต้นระหว่างแถว 70 x 70 ซ.ม. แปลงกว้าง 1.10 เมตร ปลูกได้ 2 ต้นต่อแถว หรือร่องกว้าง 4.50 เมตร ปลูกได้ 6 ต้นต่อแถว 3.ถ้าปลูกใส่กระถางควรปลูกในกระถางขนาด 6 หรือ 8 นิ้ว กระถางละ 1 ต้น โดยย้ายกล้าลงปลูกภายหลังเด็ดยอดแล้ว เมื่อแตกกิ่งข้างยาวประมาณ 1-2 นิ้ว ควรวางกระถางให้ห่างหนึ่งเว้นหนึ่งกระถาง มิเช่นนั้นพุ่มต้นจะชะลูด การแตกกิ่งข้างจะไม่พร้อมกัน อีกทั้งมีดอกน้อยเอื้อเฟื้อข้อมูล ข่าวสด (www.khaosod.co.th)
การปลูกดาวเรืองเป็นอาชีพ เงินลงทุนครั้งแรกประมาณ 15,000 บาท ขึ้นไป / ไร่ ( ไม่รวมค่าที่ดิน ) (เมล็ดดาวเรืองราคา 0.80 - 1 บาท/เมล็ด ใช้ปลูก 8,000 กว่าเมล็ด/ไร่)รายได้ประมาณ 24,000 บาท ขึ้นไป/ไร่/รุ่นวัสดุ/อุปกรณ์กระบะเพาะ จอบ เสียม เครื่องฉีดพ่นยาฆ่าแมลง ปุ๋ย บัวรดน้ำแหล่งจำหน่ายเมล็ดดาวเรืองภาควิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร้านขายสินค้าเกษตรวิธีดำเนินการดาวเรืองมีหลายพันธุ์ แต่พันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับปลูกเพื่อตัดดอกไปจำหน่าย ได้แก่ พันธุ์ซอฟเวอร์เรน ทอรีดอร์ และดับเบิ้ล-อีเกิ้ล ซึ่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางดอกประมาณ 8.5-10 เซนติเมตรการขยายพันธุ์ ทำได้โดยการใช้เมล็ดและการปักชำ แต่วิธีที่นิยมทำคือ การใช้เมล็ด เพราะได้จำนวนมากกว่า โดยนำเมล็ดดาวเรืองมาเพาะในกระบะเพาะ ซึ่งมีวัสดุเพาะ คือ ขุยมะพร้าว ทราย ขี้เถ้าแกลบ ปุ๋ยคอก ในอัตราส่วน 1:1:1:1 หรือแปลงเพาะที่มีดินร่วนซุยค่อนข้างละเอียด คราดดินให้ผิวดินเรียบสม่ำเสมอ ทำร่องบนกระบะเพาะหรือแปลงเพาะให้ลึกประมาณ 0.5 เซนติเมตร กว้าง 1 เซนติเมตร แต่ละร่องห่างกัน 5 เซนติเมตร หยอดเมล็ดลงร่องห่างกัน 1-2 นิ้ว แล้วกลบแต่ละร่องด้วยวัสดุเพาะ หรือดินละเอียดเพียงบางๆรดน้ำด้วยฝักบัวฝอยให้ชุ่ม แล้วคลุมกระบะเพาะด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ หรือคลุมแปลงเพาะด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง ควรรดน้ำวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น เพื่อรักษาความชื้น เมล็ดดาวเรืองจะงอกภายใน 3-5 วัน เป็นต้นกล้าการปลูก 1. ไถเตรียมดิน หว่านปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักลงไป ประมาณ 1 ตัน/ไร่ ยกร่องแปลงปลูกกว้าง 1 เมตร รดน้ำแปลงไว้ล่วงหน้า 1 วัน 2. ขุดหลุมกว้าง 15 เซนติเมตร แปลงละ 3 แถว ระยะระหว่างแถว 30 เซนติเมตร ระยะระหว่างต้น 30 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยทริบเบิ้ลซุปเปอร์ฟอสเฟส หรือสูตร 15-15-15 ประมาณ 1 ช้อนชา รองก้นหลุม แล้วเกลี่ยดินข้างหลุมมากลบปุ๋ยเล็กน้อย เพื่อป้องกันไม่ให้รากดาวเรืองสัมผัสปุ๋ยโดยตรง 3. นำต้นกล้าที่มีอายุ 7-10 วัน ( นับจากวันเพาะเมล็ด ) โดยแยกต้นกล้าให้มีวัสดุเพาะ หรือดินหุ้มติดรากมาด้วย เพื่อป้องกันรากกระทบกระเทือน นำมาปลูกในแต่ละหลุมที่เตรียมไว้ รดน้ำให้ชุ่ม 4. หลังจากนั้น ต้องรดน้ำเช้า-เย็น ประมาณ 7 วัน ซึ่งต้นกล้า จะตั้งตัวได้ดี แล้วจึงรดน้ำเพียงวันละ 1 ครั้ง ในตอนเช้า ในช่วงที่ดอกเริ่มบานไม่ควรรดน้ำให้โดนดอก เพื่อป้องกันดอกเป็นโรค 5. เมื่อดาวเรืองอายุ 15 และ 25 วัน ควรใส่ปุ๋ย 15-15-15 ในอัตรา 1 ช้อน : ต้น เมื่ออายุ 35 และ 45 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 12-24-12 ในอัตราเดียวกัน โดยวิธีฝังลงในดินตื้นๆ ประมาณ ? นิ้ว ห่างโคนต้น 6 นิ้ว แล้วรดน้ำให้ชุ่มทุกครั้งที่ใส่ปุ๋ย 6. ช่วงดาวเรืองอายุ 21-25 วัน ซึ่งเป็นระยะที่ต้นมีใบจริงขนาดใหญ่ ประมาณ 4 คู่ และส่วนยอดมีใบเล็กๆ 1-2 คู่ จะต้องปลิดยอดทิ้งเพื่อให้แตกกิ่งข้าง โดยใช้มือซ้ายจับคู่ใบบนสุดที่จะเหลือไว้ แล้วใช้มือขวาดึงส่วนยอดลงทางด้านข้างจนหลุดออกมา หลังจากนั้น 5-7 วันตาข้างจะเริ่มแตกและเจริญเป็นกิ่งใหม่ ซึ่งจะติดตุ่มดอกทั้งที่ตายอดปลายกิ่งและตาข้าง 7. หลังจากปลูก 40-45 วันในแต่ละกิ่ง เมื่อดอกยอดมีขนาดเท่าเมล็ดข้าวโพดดอกข้างมีขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียว ต้องรีบปลิดดอกข้างออกให้หมดภายใน 2-3 วัน คงเหลือดอกยอดไว้ดอกเดียว เพื่อให้ดอกมีขนาดใหญ่ 8. หลังจากนั้นประมาณ 20 วัน ( อายุ 60-65 วัน ) ก็ตัดดอกไปจำหน่ายได้ ซึ่งจะได้ประมาณ 10-12 ดอก/ต้นโรคและแมลงที่สำคัญ 1. โรคเหี่ยว เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อราไฟทอปทอรา (Phytoptora) มักเกิดกับดาวเรืองที่ดอกกำลังเริ่มทยอยบาน ระยะแรกมีอาการคล้ายกับดาวเรืองขาดน้ำ กล่าวคือ อาการเหี่ยวจะแสดงในตอนกลางวันส่วนกลางคืนอาการจะปกติ หลังจากนั้นประมาณ 3 -4 วัน ดาวเรืองก็จะเหี่ยวทั้งด้นและตายไปในที่สุด การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดเชื้อรา เช่น แมนโคเซ็ป ฉีดพ่นสลับกับคาร์เบนดาซิมประมาณสัปดาห์ละครั้ง และถ้าพบมากต้นที่เป็นโรคและตายในแปลงต้องรีบกำจัดทิ้ง 2. โรคราแป้ง เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่งลักษณะอาการ คือจะเห็นสปอร์ของเชื้อราเป็นฝุ่นสีขาว ๆ ตามใบของดาวเรือง ทำให้ใบหยิก การเจริญเติบโตชะงัก ถ้าเป็นมากอาจทำให้ต้นตายในที่สุด การป้องกันกำจัด โดยการพ่นด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น แมนโคเซ็ป ไดแทน-เอ็ม 45 ประมาณสัปดาห์ละครั้ง 3. โรคดอกไหม้ เกิดเชื้อราเข้าทำลายดอกดาวเรือง ทำให้ดอกเป็นสีน้ำตาลจนไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้ การป้องกันกำจัด ควรฉีดพ่นด้วยสารเคมีแมนโคเซ็ปหรือดาโคนิล โดยฉีดพ่นให้ทั่วทั้งแปลง 4. เพลี้ยไฟ เข้าทำลายโดยดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดอ่อนและใบอ่อน จะเห็นมีรอยขีดตามใบหรือกลีบเลี้ยงของดอก เพลี้ยไฟจะระบาดมากในช่างฤดูร้อน การป้องกันกำจัด ใช้สารเทมมิค เอ จี (Temic A.G.) ฝังรอบ ๆ โคนต้น โดยฝังให้ห่างโคนต้นประมาณ 1 ฝ่ามือ หรือฉีดพ่นด้วยสารโตกุไธออนสัปดาห์ละครั้ง 5. หนอนกระทู้หอม เป็นหนอนของผีเสื้อกลางคืน จะเข้าทำลายในขณะที่ดอกดาวเรืองเริ่มบานหนอนจะกัดกินดอกดาวเรือง ทำให้ดอกแหว่งเสียหาย การป้องกันกำจัด ฉีดพ่นด้วยสารเคมีกำจัดแมลง เช่น แลนเนท,แคสเคต หรือใช้เชื้อไวรัสทำลายแมลงพวกเอ็น.พี.วี (NPV) ฉีดพ่นในแปลงที่มีหนอนกระทู้หอมระบาดตลาด / แหล่งจำหน่าย แหล่งรับซื้อดาวเรืองที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพ ฯ คือ ตลาดปากคลองตลาด ส่วนตลาดอื่น ๆ เช่น สวนจตุจักร นิยมรับซื้อดาวเรืองที่ปลูกในกระถางหรือถุงพลาสติก นอกจากนี้ยังมีตลาดอื่น ๆ อีก เช่น ตลาดเทเวศร์ ลาดพร้าว สะพานควาย บางเขน และตามศูนย์การค้าหรือซุปเปอร์มาร์เก็ต ส่วนในต่างจังหวัดนั้น สามารถนำดาวเรืองไปจำหน่ายได้ตามตลาดสดทั่วไป และจะมีพ่อค้าไปรับซื้อในท้องที่ที่ปลูกดาวเรือง จากนั้นพ่อค้าก็จะนำไปจำหน่ายต่อที่ตลาดกรุงเทพ ฯสถานที่ให้คำปรึกษา1. กองส่งเสริมพืชสวน กรมส่งเสริมการเกษตร โทร. 561-48792. สำนักงานเกษตรจังหวัดและอำเภอข้อแนะนำ1. เมล็ดดาวเรืองที่ยังไม่พร้อมที่จะปลูก ควรเก็บรักษาไว้ในตู้เย็นช่องแช่ผัก จะช่วยให้เปอร์เซ็นต์การงอกลดลงไม่มากนัก2. ดาวเรืองสามารถปลูกได้ปีละประมาณ 3 รุ่น เก็บดอกได้ 5-7 ครั้ง/รุ่น แล้วต้องโละแปลงปลูกใหม่เอื้อเฟื้อข้อมูล กรมวิชาการเกษตร (www.doae.go.th) SME BANK (http://mdit.pbru.ac.th/sme/)
การปลูกดาวเรือง การเพาะกล้าเพาะกล้าจะใช้ 2 วิธี คือ การเพาะในแปลง กับเพาะในถาดหลุม โดยใช้ดินกับขุยมะพร้าว วิธีที่เพาะในถาดหลุมจะดีกว่า เพราะตอนถอนไปปลูกจะมีวัสดุปลูกติดไปด้วย ไม่เหมือนวิธีปลูกแปลงตอนถอนไปปลูกจะไม่มีดินติด ต้นจะฟื้นช้ากว่าต้นกล้าที่ได้จากถาดหลุม ประมาณ 15 วัน ต้นกล้าก็พร้อมที่จะปลูกได้ ถ้าต้นกล้าอายุเกิน 20 วัน ไม่เหมาะจะนำมาปลูกแล้วเนื่องจากต้นมีขนาดใหญ่เกินไปการเตรียมแปลงไถด้วยผาล 3 ตากดินไว้ 1 สัปดาห์ โรยขี้วัวซึ่งได้จากวัวนมแถบๆ นั้น แล้วจึงไถด้วยผาล 7 หมักขี้วัวในแปลง ปลูกต้นดาวเรือง 3 ต้น ห่างกันประมาณ 30 เซนติเมตร ปลูกแถวละ 45 ต้น รวม 3 แถว ได้ต้นทั้งหมด 135 ต้น ถือว่าเป็น 1 ร่องการใส่ปุ๋ยเอาปุ๋ยสูตร 25-7-7 รองก้นหลุมก่อนปลูกประมาณครึ่งช้อนแกง ช่วงปลูกใหม่ๆ รดน้ำเช้า-เย็น จนกระทั่งต้นฟื้นตัวดี จึงรดน้ำแค่วันละครั้ง พอต้นโตได้ประมาณคืบ ก็จะเด็ดยอด ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 15 วัน หลังปลูก ส่วนต้นไหนยังไม่ถึงคืบอย่าเพิ่งเด็ด ค่อยมาเด็ดทีหลัง พอต้นโตเกิน 1 ศอก ก็ให้เอาหลักไม้ปัก กะระยะว่าต้นดาวเรือง 7 ต้น ให้ปักไม้ 1 หลัก แล้วก็ขึงเชือกมาทางยาว ขึงเอาไว้เพื่อพยุงต้น ไม้หลักสูงประมาณ 1 เมตร พอต้นสูงไปเรื่อย ก็ขึงเชือกขึ้นไปอีกเส้น รวมจนหมดอายุขัยของต้นจะขึงเชือกได้ 2-3 เส้น แล้วแต่พันธุ์ต้นสูงต้นเตี้ย โดยปกติจะเก็บดอกดาวเรืองได้เมื่อปลูกครบ 45 วัน และจะตัดดอกดาวเรืองได้เกินกว่า 30 วัน ดาวเรืองจะปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ลักษณะดินของแถบกลางดงจะเป็นดินสีแดง ถ้าเป็นดินทรายการเจริญเติบโตและการให้ดอกไม่ค่อยจะดี บริเวณที่เราปลูกดาวเรืองในรุ่นนี้แล้วจะปลูกซ้ำเลยอีกไม่ได้ ควรจะต้องปลูกพืชอย่างอื่นทดแทนก่อน แล้วค่อยกลับมาปลูกซ้ำในที่เดิม วิธีการตัดดอกก็จะตัดให้ชิดโคนดอก ซึ่งจะได้ยาวประมาณ 5-7 เซนติเมตร โดยไม่มีใบติดมา