ลักษณะของกุหลาบกระเป๋าเปิด ชื่อวิทยาศาสตร์: Aerides falcata Lindl. ตระกูล: ORCHIDACEAE ชื่อพื้นเมือง: กุหลาบกระเป๋าเปิด, พวงกุหลาบ,เอื้องกุหลาบหลวง, เอื้องกุหลาบป่าลักษณะทั่วไป: ต้น ยอดเลื้อยทอดทรงโปร่งตั้งตรงหรือเอน ลำต้นส่วนที่ใบร่วงแล้วจะห้อยลง พวกที่ห้อยลงยาวได้ถึง 1 เมตร ส่วนยอดจะตั้งขึ้น ลำต้นเป็นข้อปล้อง สามารถแตกเป็นยอดใหม่ได้ ทำให้เป็นกล้วยไม้ที่มีกอขนาดใหญ่ ใบ แบน หนา ผิวเรียบเป็นมัน ปลายใบยาวเรียว อวบน้ำ กว้างประมาณ 2-4 ซม. ยาวประมาณ 15-30 ซม. ปลายใบมนและเว้าตรงกลางเล็กน้อย ดอก เป็นช่อ ออกดอกคราวละหลายช่อ แต่ละช่อมีหลายดอก ก้านช่อดอกยาวประมาณ 20-40 ซม. ดอกโตประมาณ 2.5 ซม. แต่ละช่อดอกจะบานพร้อมกันและช่อจะห้อยลง ช่อรูปทรงกระบอก กลีบปากมี 3 แฉก เปิดกว้าง ริมแผ่นปากเป็นฝอย มีลายสีม่วงแดงแล้วจางเป็นสีขาว พื้นกลีบดอกเป็นสีขาว มีแต้มสีม่วงอมชมพูที่ปลายกลีบ ลักษณะกลีบทั้งสองคู่งุ้มมาข้างหน้า ราก เป็นแบบรากอากาศ (epiphytic) ฤดูกาลออกดอก: เมษายน – พฤษภาคม ส่วนที่มีกลิ่นหอม: ดอกการใช้ประโยชน์: ไม้ประดับถิ่นกำเนิด: ไทย เมียนม่าร์ ลาว กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซียแหล่งที่พบ: พบตามป่าทั่วทุกภาค
ลักษณะเอื้องกระเป๋าปิด ชื่อวิทยาศาสตร์: Aerides odorata Lour. ตระกูล: ORCHIDACEAE ชื่อพื้นเมือง: กุหลาบกระเป๋าปิด กุหลาบขาว, เอื้องเปา, เป็ดน้อย, ม้าหมุยลักษณะทั่วไป: ต้น มี 2 แบบ คือแบบโปร่ง ลำต้นจะบิดเป็นเกลียวเล็กน้อย และต้นห้อยย้อยลงแต่ละต้นมักแตกแขนงเป็นหลายยอด ต้นอาจยาวถึง 1 เมตรครึ่ง และแบบลำต้นหนาแข็ง ใบ กว้างประมาณ 2.5 ซม. ยาวประมาณ 20-30 ซม. มี 2 แบบตามลักษณะลำต้น คือลำต้นแบบแรกใบจะมีลักษณะแบนและปลายบิด (ภาคใต้) ส่วนลำต้นแบบที่สองใบจะหนาสั้น อวบน้ำ ปลายใบมนเป็นแฉกไม่เท่ากัน (ภาคเหนือ) ดอก เป็นช่อดอกยาวประมาณ 40 เซนติเมตร และห้อยลง แต่ละช่อมีประมาณ 30 ดอก แต่ละดอกกว้างประมาณ 3 เซนติเมตร ช่อเอนในแนวระนาบหรือห้อยลงเล็กน้อยดอกในช่อมีจำนวนมากกลีบดอกหนาและเป็นมัน คล้ายเทียนไขพื้นดอกสีขาวทั้งสองแบบปลายกลีบเป็นสีม่วงอมแดงอ่อน ๆ ส่วนปลาบปากเป็นสีม่วง มีเดือยดอกค่อนข้างเรียวโค้งยื่นออกมา ทางด้านหน้า บานนานประมาณ 2 สัปดาห์ ราก เป็นแบบรากอากาศ (epiphytic) ฤดูกาลออกดอก: เมษายน – พฤษภาคม ส่วนที่มีกลิ่นหอม: ดอกการใช้ประโยชน์: ไม้ประดับถิ่นกำเนิด: ไทย เนปาล อินเดีย ภูฐาน ลาว มาเลเซีย เวียดนาม เมียนม่าร์ และ ฟิลิปปินส์แหล่งที่พบ: พบตามป่าดิบเกือบทุกภาค ยกเว้นตะวันออกเฉียงใต้*กุหลาบกระเป๋าปิดจากภาคเหนือจะมีโครโมโซมมากกว่าปกติเป็น 2 เท่า ในทางพันธุศาสตร์เรียกพวกนี้ว่า เตตราพลอยด์ (tetraploid-4N) ส่วนพวกที่มีโครโมโซมจำนวนปกติเช่นที่พบทางภาคใต้ เรียกว่า ดิพลอยด์ (diploid-2N)