ค้นหาสินค้า

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของอินทนิลบก

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Lagerstroemia macrocarpa
ชื่อวงศ์:  LYTHRACEAE
ชื่อสามัญ:  Inthanin bok
ชื่อพื้นเมือง:  กาเสลา (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ),กากะเลา (อุบลราชธานี),จ้อ,ล่อ,จะล่อ,จะล่อหูกวาง (ภาคเหนือ),ปะหน่าฮอ,ซี,มุง (แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  เป็นไม้ต้น ผลัดใบสูงประมาณ 5 – 12 เมตร เป็นไม้ทรงพุ่ม เปลือก ต้นสีน้ำตาล ผิวเปลือกต้นแตกเป็นร่องตื้นให้ใบดก เป็นไม้ที่ให้ร่มเงา
    ใบ  เป็น ใบเดี่ยว รูปไข่กลับ ออกตรงข้ามกัน ขอบใบเรียบ ปลายแหลม โคนมน ผิวใบมัน และหนา สีเขียวเข้ม กว้าง 10 – 15 ซม. ยาว 20 – 27 ซม.
    ดอก  ออกดอกเป็น ช่อที่ปลายกิ่ง ดอกตูมเป็นก้อนกลมขนาด 1 ซ.ม. มีหลายสี เช่น ม่วงเข้ม ม่วงอ่อน ชมพูอมม่วง ชมพูอ่อนเกือบขาว มีกลีบดอก 6 กลีบ รูปทรงดอกค่อนข้างกลม ขอบกลีบหยักย่น แผ่นกลีบบางและนิ่ม โคนกลีบเรียว เป็นก้าน เชื่อมกับกลีบรองที่เป็นรูปถ้วย กลีบรองปลายแฉก 6 แฉก สีน้ำตาลแดง เมื่อดอกบานเต็มที่เส้นผ่านศูนย์กลาง 5 – 10 ซม.
    ฝัก/ผล  เป็นรูปกลม รี เปลือกแข็ง เมื่อผลแก่จะแตกออก มีเมล็ดด้านในจำนวนมาก
    เมล็ด  ใน 1 ผล มีประมาณ 6 เมล็ด เมล็ด ขนาดเล็กสีน้ำตาล มีปีกบางโค้งทางด้านบนหนึ่งปีก
ฤดูกาลออกดอก:  มีนาคม – พฤษภาคม
การปลูก:  เป็นไม้ประดับสวน หรือปลูกเป็นไม้ให้ร่มเงาตามริมถนน
การดูแลรักษา:  ชอบแสงแดดจัด ดินร่วนซุย
การขยายพันธุ์:  เพาะเมล็ด
การใช้ประโยชน์:  เนื้อไม้ นิยมใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน โดยมากใช้ทำกระดานพื้น ฝา กระเบื้อง มุงหลังคา ใช้ต่อเรือใบ เรือแจว เรือเดินทะเล ทำเกวียน เครื่องตบแต่งบ้าน ทำแจว พาย เปียโน หีบใส่ของ ถังไม้ กังหันน้ำ เครื่องมือการเกษตรต่าง ๆ เช่น ทำไถ ไม้นวดข้าว ครก สาก กระเดื่อง ลูกหีบ ซี่ล้อ ทำไม้คาน ไม้กั้นบ่อน้ำ ร่องน้ำ ทำหีบศพอย่างดี
ถิ่นกำเนิด:  อินเดีย และประเทศในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
แหล่งที่พบ:  ขึ้นตามป่าผลัดใบ และป่าเบญจพรรณทั่วไป
สรรพคุณทางยา: 
•    เปลือก รสฝาดขม แก้ไข้ แก้ท้องเสีย
•    ใบ รสจืดขมฝาดเย็น ต้มหรือชงน้ำร้อนดื่ม แก้โรคเบาหวาน ขับปัสสาวะ เป็นยาลดความดัน
•    เมล็ด รสขม แก้โรคเบาหวาน แก้นอนไม่หลับ
•    แก่น รสขม ต้มดื่มแก้โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ แก้โรคเบาหวาน
•    ราก รสขม แก้แผลในปาก ในคอ เป็นยาสมานท้อง

คำสำคัญ: อินทนิล