ค้นหาสินค้า

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของกระดังงาจีน

ชื่อวิทยาศาสตร์:  Artabotrys hexapetalus (L.f.) Bhandari.
ชื่อวงศ์:  ANNONACEAE
ชื่อสามัญ:  Climbing Ilang-Ilang
ชื่อพื้นเมือง:  กระดังงาจีน (ภาคกลาง), สะบันงาจีน (ภาคเหนือ), การเวก สะบันงาเครือ
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ไม้เถาเนื้อแข็ง เลื้อยพาดซุ้มหรือค้าง ผิวของกิ่งก้านค่อนข้างเรียบ ยอดอ่อนมีขน
    ใบ  เดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานแกมรี ปลายแหลม โคนสอบ ขอบเรียบ แผ่นใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างสีจางกว่าและมีขนประปรายตามเส้นกลางใบ
    ดอก  ช่อดอกออกตรงข้ามกับใบ ก้านแบนและโค้งงอคล้ายขอ ดอกใหญ่มี 1-5 ดอก ออกตามส่วนโค้งของก้านช่อดอก ดอกอ่อนสีเขียว มีขน เมื่อแก่สีเหลือง ผิวค่อนข้างเรียบ กลิ่นหอม กลีบเลี้ยง 3 กลีบ รูปสามเหลี่ยม ปลายกลีบกระดกขึ้น กลีบดอกหนาแข็งเรียงสลับกัน 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ รูปขอบขนานปลายแหลม โคนกลีบเว้าคล้ายรูปไข่ป้อมและโค้งแนบกับโคนกลีบชั้นใน มีจุดกระสีแดงที่ด้านในของโคนกลีบ เนื้อกลีบหนา ด้านในมีสันกลางกลีบ กลีบดอกชั้นในคล้ายกลีบชั้นนอกแต่ขนาดเล็กกว่า เกสรเพศผู้เล็ก มีจำนวนมาก เกสรเพศเมียมีหลายอัน อยู่แยกกัน แต่ยอดเกสรเพศเมียมีเมือกเหนียวติดกัน  ก้านช่อดอกส่วนหนึ่งแบนและโค้งคล้ายตะขอใช้เกาะเกี่ยว
    ฝัก/ผล  เป็นผลกลุ่ม กลุ่มละ 4-20 ผล แต่ละผลรูปรีป้อมหรือรูปไข่กลับ ก้านผลสั้น ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง แต่ละผลมี 1-2 เมล็ด
ฤดูกาลออกดอก:  ตลอดปี
การขยายพันธุ์:  เพาะเมล็ด หรือโดยการตอนและปักชำ
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:  ดอก
การใช้ประโยชน์:  ไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด:  อินเดีย ศรีลังกา และจีนตอนใต้
แหล่งที่พบ:  ทั่วประเทศ

คำสำคัญ: กระดังงา