ค้นหาสินค้า

ลักษณะพฤกษศาสตร์ของกรรณิการ์

ชื่อวิทยาศาสตร์:    Nyctanthes arbortristis Linn.
ชื่อวงศ์:    VERBENACEAE
ชื่อสามัญ:    Night blooming jasmin
ชื่อพื้นเมือง:    กณิการ์ กรณิการ์
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น    สูงประมาณ 3 - 4 เมตร ตามลำต้นจะมีรอยเป็นเส้นคาดรอยต้นเป็นช่วงๆ ไปตามข้อต้น เปลือกของลำต้นนั้นมีสีขาว ลักษณะของลำต้นและกิ่งก้านโดยเฉพาะส่วนที่เป็นแขนงและกิ่งอ่อนจะเป็นสี่ เหลี่ยม บริเวณแนวสันเหลี่ยมของกิ่งหรือลำต้นมีตุ่มเล็ก ๆ ประเป็นแนวอยู่ด้วย
    ใบ    เป็นไม้ใบเดี่ยวแต่ออกเป็นคู่ๆ สลับกันไปตามข้อของต้น มีรูปมนรี ปลายใบแหลม มีสีเขียวและมีขนอ่อนๆ เป็นละอองปกคลุมอยู่ทั่วใบ มีลักษณะสากคายมือ
    ดอก    ดอกสีขาว ออกเป็นช่อดอกเล็ก ๆ กระจายที่ปลายกิ่ง ประมาณช่อละ 5 - 8 ดอก แต่ละดอกมี 6 กลีบ กลีบดอกจะบิดเวียนไปทางขวาคล้ายกังหัน วงในดอกเป็นสีแสด หลอดดอกเป็นสีแสด เกสรเป็นเส้นเล็กละเอียดซ้อนอยู่ในหลอดดอก ปลายแยกเป็น 5 - 8 แฉก ก้านช่อดอกมีใบประดับเล็กๆ 1 คู่
    ฝัก/ผล    ผลแห้งแตกออกเป็นสองซีก รูปไข่กลับหรือทรงกลมค่อนข้างแบน ปลายมีติ่งสั้น
    เมล็ด    มีเมล็ด 2 เมล็ด
ฤดูกาลออกดอก:    ออกดอกตลอดปี
การขยายพันธุ์:    การตอน การปักชำกิ่ง การเพาะเมล็ด
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:    ดอกกลิ่นหอมแรง  โดยจะบานตอนกลางคืน
การใช้ประโยชน์:    - สมุนไพร 
                             - ก้านดอกสามารถนำมาทำเป็นสีย้อมผ้าจีวรพระและดอกทำน้ำหอม
ถิ่นกำเนิด:    ทวีปเอเชียเขตร้อน เช่น พม่า ศรีลังกา อินเดีย และไทย
ส่วนที่ใช้บริโภค:    ก้านดอก
การปรุงอาหาร:    ก้านดอก ทำสีทำขนม


คำสำคัญ: กรรณิการ์