ค้นหาสินค้า

แตงเมล่อน ยอดหงิก เถาแตก เป็นไอ้โต้งไอ้แจ้ เพราะขาดซิลิก้า พีเอช ไม่เหมาะสม


โดย ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ

เมื่อวานนี้ได้มีโอกาสไปบรรยายที่จังหวัดราชบุรี กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูหลุม ซึ่งก็ไม่ได้มีแต่หมูเท่านั้นนะครับ พี่น้องเกษตรกรที่นี่ก็ยังประกอบอาชีพเกษตรอื่นๆ อีกเยอะแยะมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเพาะเห็ด ปลูกถั่ว ปลูกมะเขือ ปลูกข้าว และโดยขณะนี้ก็มีเรื่องของการปลูกแตงญี่ปุ่น หรือเมล่อน ที่กำลังฮอทฮิตติดดาวอยู่ในขณะนี้ เนื่องด้วยใช้ระยะเวลาในการปลูกสั้น ใช้น้ำน้อย  เพราะใช้ระยะเวลาเพียง 75-80 วันก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้    
   
แต่ปัญหาที่ลุงป้าน้าอาทั้งหลายกำลังเดือดร้อนและให้ผู้เขียนเขาไปให้ข้อมูลก็คือเรื่องของการที่แตงเมล่อนนั้น มีอาการยอดหงิก ต้นเตี้ยแคระแกร็น เถาแตก แถมมีร่องรอยของหนอนชอนใบเข้ามารบกวน  บางแปลงก็ถูกทำลายเสียหายเกินเยี่ยวยา บางแปลงก็ถูกทำลายไปเกือบครึ่ง โดยที่ก็ยังไม่รู้ว่าเป็นอะไร   เพราะว่าอาศัยคำแนะนำของเซลล์ขายยาในท้องถิ่น ก่อนที่ผู้เขียนจะไปถึงแปลง  ลุงท่านหนึ่งก็ได้บอกว่าเพิ่งจะฉีดพ่นยาฆ่าหนอนไม่นาน ก่อนหน้านี้ก็ฉีดมาสองสามรอบแต่ก็ไม่ได้ผล  ไม่รู้ว่าเป็นอะไร    
   
หลังจากที่เขาไปสำรวจแปลงกับกลุ่มเกษตรกร ทำให้พบว่าในแต่ละแปลงนั้นทำการปลูกโดยใช้ถุงพลาสติกคลุมแปลง และเจาะรูตรงกลางให้ต้นเมล่อนรอดขึ้นมาเกาะเถาหรือค้างที่ปักไว้ ไม่ได้ปลูกแบบโรงเรือนดังที่เราๆท่านๆ คุ้นตา ปลูกแบบโล่งแจ้ง ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีนะครับ เพราะต้นทุนต่ำ แต่ปัญหาก็คือ ไม่ว่าจะถามพี่ๆ ลุง ป้า น้า อาท่านใด ว่าได้ทำการตรวจวัดกรดด่างของดินหรือไม่ ปรากฏว่าไม่มีใครตรวจดินเลยสักคน จึงทำให้คาดว่า ค่าความเป็นกรดและด่างของดินนั้นอาจจะเป็นปัญหาต่อการเจริญเติบโตของแตงเมล่อนด้วยเช่นกัน  เพราะดินที่ผ่านการใช้ปุ๋ยเคมีมาเป็นระยะเวลานานนั้น มีโอกาสที่สสารของเคมีในรูปกรด โดยเฉพาะกลุ่มของซัลเฟตอาจจะสมตกค้างอยู่ทำให้บล็อกดิน บล็อกปุ๋ย ไม่สามารถใช้ทรัพยากรในพื้นที่ดินเดิมได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย  ทำให้แตงเมล่อนอาจจะขาดสารอาหารบางตัว กินไม่ครบโภชนาการจึงได้แนะนำให้กลุ่มเกษตรกรไปปรึกษาหมอดินและนำดินไปตรวจให้ทราบค่าที่แน่นอนชัดเจน  จะได้ดูแลแก้ไขให้ถูกต้อง คือควรปรับปรุงบำรุงดินให้มีค่าพีเอชอยู่ระหว่าง 5.8-6.3 จึงจะเหมาะสมที่สุด    
   
อีกเรื่องหนึ่งก็คือ เทคนิคการสร้างวัคซีนและภูมิคุ้มกันให้กับต้นเมล่อน  พบว่ายังไม่มีการนำเอากลุ่มของหินแร่ภูเขาไฟ (พูมิช, พูมิชซัลเฟอร์) เข้ามาใช้ในการเตรียมแปลง  และระหว่างปลูกทำให้ต้นเมล่อนนั้นหลังจากได้รับปุ๋ยแล้ว ก็พบอาการอ่อนแอ ผนังเซลล์ถูกหนอนชอนใบทั้งในระยะวัยหนึ่ง วัยสองเข้าทำลาย และกลุ่มของแมลงปากดูด ที่เข้ามาดูดกินน้ำเลี้ยงและนำมาพาเอาเชื้อวิสา หรือไวรัสเข้ามาในแปลงและเกิดการระบาดรุกรามไปทั่ว  ลักษณะอาการแบบนี้ ให้รีบนำเอา พูมิช (Pumish) หรือ พูมิชซัลเฟอร์ (Pumish Sulpher) ใส่โรยรอบทรงพุ่มโคนต้น 1 – 2 กำมือต่อต้น ก็จะช่วยทำให้แตงเมล่อนฟื้นตัวขึ้นมา หลังจากนั้นฉีดพ่นด้วยกลุ่ม สารสกัดจากระเทียมพริกไท (ไพเรี่ยม ) และจุลินทรีย์ บิวเวอร์เรีย เมธาไรเซียม (ทริปโตฝาจ , คัทออฟ ,  ฟอร์ทราน )  เพื่อตัดวงจรของกลุ่มแมลงปากดูดก็จะช่วยทำให้กลุ่มของพวกตระกูลเพลี้ย อย่าง เพลี้ยไฟไรแดง เพลี้ยอ่อนเพลี้ยแป้ง ลดจำนวนล้มตายลงไป    
   
ถึงแม้ว่าโรคที่เกิดจากไวรัสจะไม่มียารักษา แต่ถ้าทำให้พืชหรือแตงเมล่อนมีความแข็งแรง มีภูมิคุ้มกันเหมือนไก่ชน ก็สามารถทำให้ไวรัสไม่สามารถแสดงอาการออกมาได้  เหมือนไก่ชนที่สามารถทนต่อเชื้อไข้หวัดนก ไม่เจ็บป่วย ไม่ล้มตาย ไม่ถูกรัฐบาลในขณะนั้นนำไปฆ่าเป็นแสนเป็นล้านตัว สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมฝ่ายวิชาการ ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  02 9861680-2    
   
มนตรี  บุญจรัส    
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ  www.thaigreenagro.com

คำสำคัญ: เมล่อน กำจัดเพลี้ย